วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แม่น้ำแม่กลอง

แม่น้ำแม่กลอง

เดินเรือ แม่น้ำแม่กลอง ในแผนที่ GPS

ประวัติ
แม่น้ำแม่กลอง เป็นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่งในภาคตะวันตก เกิดจากแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย ไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ่านจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม และไหลลงสู่ปากอ่าวไทยที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม มีความยาวประมาณ 132 กิโลเมตร





คู่มือการใช้งานแผนที่ GPS แม่น้ำคูคลองสยาม

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แม่น้ำบางปะกง

แม่น้ำบางปะกง

เดินเรือ แม่น้ำบางปะกง ในแผนที่ GPS



ประวัติ
แม่น้ำบางปะกง เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งที่ไหลลงสู่อ่าวไทย ทางด้านจังหวัดฉะเชิงเทรา มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำปราจีนบุรี ไหลมาบรรจบกันบริเวณ ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี มีความยาวตลอดลำแม่น้ำ 122 กิโลเมตร และปริมาณการไหลของแม่น้ำบางประกงในแต่ละปี โดยเฉลี่ยแล้ว หลังเดือนเมษายน คือเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน ปริมาณน้ำในแม่น้ำบางปะกงจะเพิ่มขึ้นสูงตามลำดับ จนถึงประมาณเดือนสิงหาคม หลังจากนั้นปริมาณการไหลของน้ำจะค่อยๆลดลงหลังจากหมดฤดูฝน ซึ่งปริมาณน้ำจะน้อยที่สุดในเดือนธันวาคม เมื่อเริ่มเข้าเดือนเมษายนในปีถัดไปปริมาณการไหลของน้ำจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น วัฏจักร ลุ่มน้ำบางปะกง

ทำไมต้องเรียก ฉะเชิงเทราว่า แปดริ้ว ด้วยว่า เมืองแปดริ้ว เป็นชื่อที่ใช้เรียกจังหวัดฉะเชิงเทรามาช้านานแล้ว ที่เรียกว่าแปดริ้วก็เพราะว่า ปลาช่อนที่จับได้จากแม่น้ำบางปะกง เมื่อสมัยก่อนมีตัวใหญ่มาก เวลาที่เค้าจะแล่ปลา เค้าจะแล่กันเป็น 8 ริ้ว!!! ที่ต้อง 8 ริ้ว ก็เพราะว่า ถ้าแล่ 9 ริ้วจะถี่ไป แล่ 7 ริ้วก็ห่างไป นั่นแสดงให้เห็นว่าชาวแปดริ้วเป็นคนประณีตมากทีเดียว ไม่มองข้ามแม้การแล่ปลา

ฉะเชิงเทราเป็นคำมาจากภาษาเขมรแปลว่า "คลองลึก" รากศัพท์ ฉะเชิงเทรา มาจากคำว่า สตรึงเตรง แล้วเพี้ยนมาเรื่อยๆ กลายเป็น ฉะเชิงเทรา

สตึงจรึว แปลว่า คลองลึก

        ฉะเชิง   =     สตึง       แปลว่า   คลอง
        เทรา     =     จรึว        แปลว่า   ลึก

ดังนั้น เพราะแถวนี้มีคลองที่ลึกมาก จนมีคำคุ้นหูว่า ด่านคลองลึก นั่นเอง

มีตลาดน้ำสำคัญ คือ ตลาดน้ำคลองสวน 100 ปี อยู่ที่ คลองประเวศบุรีรมย์ และตลาดน้ำบางคล้า

คู่มือการใช้งานแผนที่ GPS แม่น้ำคูคลองสยาม

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เกาะเกร็ด

เกาะเกร็ด

เดินเรือ เกาะเกร็ด ในแผนที่ GPS

ประวัติ
เกาะเกร็ดเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ. 2265 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ คลองลัดดังกล่าวเรียกว่า "คลองลัดเกร็ดน้อย"หรือ "คลองเตร็ดน้อย" ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศเนื่องจากไหลทางตรงได้สะดวกกว่าและกัดเซาะตลิ่งทำให้คลองสายนี้ขยายเป็นแม่น้ำลัดเกร็ด แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบุในโฉนดชื่อว่า เกาะศาลากุล ตามชื่อวัดศาลากุลที่สร้างโดยเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล) ตั้งแต่สมัยธนบุรี ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ด จึงเรียกเป็น เกาะเกร็ด จนกระทั่งผ่านไปกระแสน้ำได้ค่อย ๆ เซาะฝั่งคลองน้อยให้ใหญ่ขึ้น จนส่วนที่เป็นแหลมถูกตัดขาดจากแผ่นดินและกลายเป็นเกาะกลางแม่น้ำในที่สุด


วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คลองมหาสวัสดิ์

คลองมหาสวัสดิ์

เดินเรือ คลองมหาสวัสดิ์ ในแผนที่ GPS

ประวัติ
คลองมหาสวัสดิ์ หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า คลองชัยพฤกษ์ เป็นคลองลัดบางกรวย - คลองบางกอกน้อย  เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตตลิ่งชันและเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร กับ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ไหลผ่านอำเภอพุทธมณฑล สู่แม่น้ำท่าจีนที่ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รวมระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร 

คลองมหาสวัสดิ์ เริ่มขุดเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2402 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เพื่อย่นระยะทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโก ษาธิบดี (ขำ บุนนาค) และพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ เป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุด แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2403 ใช้เงินทั้งสิ้น 1,101 ชั่ง 10 ตำลึง เมื่อขุดคลองมหาสวัสดิ์แล้วเสร็จ รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ฯ จับจองที่ดินว่างเปล่าสองฝั่งคลอง ชุมชนแรก ๆ และผู้ที่เข้ามาอาศัยอยู่ส่วนใหญ่ได้แก่ชาวบ้านจากริมแม่น้ำนครชัยศรี ดอนหวาย ดาวคะนอง และชาวจีนที่มาขุดคลอง นอกจากนี้ยังได้ให้สร้างศาลาริมคลองสำหรับผู้สัญจรไป-มาเป็นระยะทุกๆ 100 เส้น หรือประมาณ 4 กิโลเมตร ได้สร้างศาลาและเขียนตำรายารักษา โรคต่าง ๆ ติดไว้เป็นการกุศล ต่อมาเรียกกันว่า "ศาลายา" ส่วนศาลาที่ 7 เรียกกันว่า "ศาลาดิน" และศาลาที่ 5 สร้างในการกุศลปลงศพคนของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เรียกกันว่า "ศาลาทำศพ" ปัจจุบันกลายเป็น "ศาลาธรรมสพน์" และเป็นชื่อแขวงกับสถานีรถไฟในเขตทวีวัฒนาของกรุงเทพมหานคร


คลองสุนัขหอน

คลองสุนัขหอน

เดินเรือ คลองสุนัขหอน ในแผนที่ GPS

ประวัติ
คลองสุนัขหอนได้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย เพราะเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พม่าได้ยก กองทัพมาตีไทย ทหารไทยพวกหนึ่งมีนายสุจินดา เป็นหัวหน้า ถูกพวกพม่าไล่กวาดต้อนหนีทัพมาทางเรือ จากกรุงเทพฯ พายเรือโกลนล่องลงมาเรื่อยจนถึงคลองสุนัขหอน ซึ่งเป็นคลองที่แคบและสองฝั่งมีทหารพม่า คอยซุ่มดักทำร้ายคนไทยอยู่ตลอดทั้งสองฝั่งคลอง นายสุจินดา กับพวกจะเดินทางไปสมทบกับคนไทยที่สมุทรสงคราม จึงจำเป็นจะต้องล่องเรือผ่านคลองสุนัขหอน นายสุจินดา จึงคว่ำเรือแล้วเอาสวะมาสุมทับบนเรือ แล้วมุด ไปอยู่ใต้ท้องเรือ ลอยไปตามลำคลองสุนัขหอน จนถึงสมุทรสงครามได้อย่างปลอดภัย

คลองสุนัขหอน แยกมาจากแม่น้ำท่าจีน ไหลผ่านตำบลท่าจีน ตำบลบางกระเจ้า ตำบลบ้านบ่อ ตำบลบางโทรัด ตำบลกาหลง ตำบลนาโคก อำเภอเมืองสมุทรสาคร และตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านแพ้ว บรรจบกับแม่น้ำแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ระยะทางยาวประมาณ 30 กิโลเมตร

ได้พยายามศึกษาจากคนเก่าแก่ ว่าทำไมคลองแห่งนี้จึงเรียกว่าคลองสุนัขหอน ไม่มีใครทราบแห่งที่มาแน่นอน แต่มีผู้ใหญ่หลายท่านเล่าให้ฟังตรงกันคือ คลองสุนัขหอนในสมัยก่อนนั้นไม่ค่อยมีบ้านผู้คนอาศัย เท่าใดนัก เป็นป่ารกด้วยต้นกระบูน ต้นลำพู ลำแพนและต้นจาก ขึ้นอยู่หนาแน่นริมสองฝั่งคลอง ในลำคลองจะมีสัตว์น้ำชุกชุมมาก พอกลางคืนจะมีคนออกพายเรือจุดไต้ หาปลาในคลอง ถ้าบ้านนั้นมีสุนัข สุนัขเล่านั้นจะหอนรับกันเป็นทอดๆ เพราะได้ยิน เสียงพายเรือดังจ๋อมๆ และเสียงคนคุยกันในยามที่เงียบสงัดเช่นนั้น บางคนก็บอกว่าคลองสุนัขหอนนั้น เดิมทีมีผีดุมากๆ และมักมีผีกระสือ ล่องลอยหากินกันเพ่นพ่าน สุนัขเมื่อเห็นผี ก็จะพากันเห่าหอน เป็นที่วังเวงมาก จึงเรียกกันว่า "คลองสุนัขหอน"

วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คลองมอญ

คลองมอญ

เดินเรือ คลองมอญ ในแผนที่ GPS

ประวัติ
คลองมอญ เป็นคลองธรรมชาติคลองหนึ่งที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตบางกอกใหญ่และเขตบางกอกน้อย ที่มาของชื่อคลองมาจากที่ริมสองฝั่งคลองเป็นชุมชนชาวมอญเรียงรายกันไปตลอดแนว คลองมอญแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก พาดผ่านเป็นแนวแบ่งเขตแดนระหว่างเขตบางกอกน้อย และบางกอกใหญ่ ไปออกยังบริเวณที่ คลองบางน้อย และ คลองบางเชือกหนัง ไหลมารวมกัน ในรอยต่อเขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชัน คลองมอญมีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีศาสนสถานและวัดสำคัญๆ มากมาย เช่น วัดเครือวัลย์ วัดนาคกลาง วัดพระยาทำ วัดครุฑ วัดโพธิ์เรียง วัดบางเสาธง วัดปากน้ำฝั่งใต้ วัดเกาะ คลองมอญจึงมีความสำคัญต่อการระบายน้ำและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตกรุงเทพมหานครชั้นในเป็นอย่างมาก ชื่ออื่นๆ ของคลองมอญที่นิยมเรียกกัน ก็คือคลองบางเสาธง ซึ่งเรียกกันในช่วงที่มารวมกับคลองบางน้อย และบางเชือกหนัง

ประตูน้ำคลองมอญ

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คลองชักพระ คลองบางขุนศรี

คลองชักพระ คลองบางขุนศรี

เดินเรือ คลองชักพระ ในแผนที่ GPS

ประวัติ
คลองชักพระ หรือ คลองบางขุนศรี เคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ช่วงปากคลองบางกอกน้อยไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ยังเป็นแผ่นดินอยู่ ส่วนเส้นทางเดิมจะอ้อมจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคุ้งกว้างวกกลับมาข้างวัดท้ายตลาด ถึงปี พ.ศ. 2065สมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าให้ขุด คลองลัดเจ้าพระยา ขึ้น  เพื่อย่นระยะทางและเพื่อสะดวกต่อบรรดาชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขาย เจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักร ต่อมาคลองลัดเริ่มกว้างขึ้นกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็เล็กลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อยคลองบางกอกใหญ่ และคลองชักพระไป

คลองชักพระ ไหลแยกจากคลองบางกอกน้อยบริเวณวัดสุวรรณคีรีไปเชื่อมกับบริเวณที่คลองมอญตัดกับคลองบางกอกใหญ่ ลำคลองกว้างประมาณ 10-15 เมตร และยาว 5.45 กิโลเมตร ทุกๆวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 จะมีประเพณีชักพระ โดยเรือที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจะถูกชักลากจากวัดนางชี คลองภาษีเจริญผ่านคลองชักพระและคลองบางกอกน้อย ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แล้วอ้อมมาเข้าคลองบางกอกใหญ่กลับไปที่วัดนางชีตามเดิม ซึ่งนับเป็นงานประเพณีชักพระแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร และเป็นที่มาของชื่อคลองนี้

ตลาดน้ำตลิ่งชัน
ตลาดน้ำลัดมะยม
ตลาดน้ำวัดสะพาน
ประตูน้ำคลองชักพระ