เกาะในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (Islands in Prachuap Khiri Khan)
เมืองประจวบคีรีขันธ์ หรือเรียกอีกอย่างว่า เมือง 3 อ่าว เพราะจะมีอ่าว 3 อ่าวติดกันเป็นวงๆ
อ่าวมะนาว
อ่าวเกาะหลัก
อ่าวน้อย
ลักษณะเด่นของที่นี่คือ เป็นเมืองที่เงียบสงบ วิวสวย ค่าครองชีพถูก ที่พัก อาหารการกินราคามิตรภาพ เหมาะเป็น Long Stay พักระยะยาว ... ทริปหลักร้อยวิวหลักล้าน
VIDEO
VIDEO
เกาะในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี 23 เกาะ
เกาะระวาง
เกาะระวิง
เกาะนมสาว
เกาะขี้นก (ต.สามร้อยยอด)
เกาะกูรำ
เกาะท้ายทรีย์
เกาะจาน หรือ เกาะท้ายจาน
เกาะร่ำร่า
เกาะหัวหิน
เกาะสิงห์
เกาะสังข์
เกาะทะลุ
เกาะพิง
เกาะหลำ
เกาะร่ม
เกาะหลัก
เกาะพัง
เกาะอีแอ่น
เกาะแรด
เกาะเหลือม
เกาะขี้นก (ต.หนองแก)
เกาะสะเดา
เกาะทราย
แผนที่เดินเรือ
แผนที่เกาะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในแผนที่ GPS
สงครามแปซิฟิก (อังกฤษ : Pacific War ) หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (อังกฤษ : Greater East Asia War)
เมื่อญี่ปุ่นบุกไทยใน สงครามมหาเอเชียบูรพา
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นในทวีปยุโรป เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2482 ในระยะแรกฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำการรบแก่เยอรมนี ทำให้เยอรมนีสามารถครอบครองดินแดนทวีปยุโรปตะวันตก ซึ่งประกอบด้วย เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศสไว้ได้เกือบทั้งหมด รวมทั้งเข้ายึดครองนอร์เวย์ และเดนมาร์คทางด้านเหนือได้อีกด้วย
ขณะเดียวกันญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ก็มีความปรารถนาที่จะแผ่อิทธิพลลงมาในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของ สหรัฐอเมริกา จีน อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ จึงได้ฉวยโอกาสที่อังกฤษ ฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำ ในการทำสงครามส่งกำลังเข้าไปในอินโดจีนภาคเหนือ
สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นพันธมิตรของอังกฤษและฝรั่งเศสเล็งเห็นว่า หากปล่อยให้ญี่ปุ่นแผ่อิทธิพลลงมาในเอเชียอาคเนย์จะเป็นภัย และกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของสหรัฐ ฯ ใน มหาสมุทรแปซิฟิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เกาะฟิลิปปินส์และหมู่เกาะฮาวาย ทั้งจะกระทบกระเทือน ต่อระบบการป้องกัน และเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ อีกด้วย ดังนั้น จึงยื่นคำขาดให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกจากจีน มิฉะนั้นสหรัฐ ฯ จะยกเลิกสัญญาการเดินเรือ และการพาณิชย์กับญี่ปุ่นรวมทั้งจะยึดทรัพย์สินของญี่ปุ่นในสหรัฐ ฯ และระงับการส่งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากสหรัฐ ฯ เข้าไปในญี่ปุ่นอีกด้วย
และ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 (ตามเวลาของญี่ปุ่น)ญี่ปุ่นได้ส่งกองบิน ไปทิ้งระเบิดเพิร์ลฮาร์เบอร์ (Pearl Harbor) เพื่อทำลายฐานทัพเรือและกำลังทางอากาศของสหรัฐฯ โดยญี่ปุ่นเลือกโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐที่แข็งแกร่งที่สุด
วิดีโอจำลองเหตุการณ์การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ (จากภาพยนต์ Pearl Harbor)
VIDEO
การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์เริ่มเมื่อ 7.48 น. ตามเวลาฮาวาย ฐานทัพสหรัฐถูกเครื่องบินขับไล่
เครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินตอร์ปิโดญี่ปุ่น 353 ลำโจมตี
แบ่งเป็นสองระลอก บินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน 6 ลำ เรือรบแห่งกองทัพเรือสหรัฐทั้ง 8 ลำเสียหาย โดย 4 ลำจม ฝ่ายญี่ปุ่นยังจมหรือสร้างความเสียหายแก่เรือลาดตระเวน 3 ลำ เรือพิฆาต 3 ลำ
เรือฝึกต่อสู้อากาศยาน 1 ลำและเรือวางทุ่นระเบิด 1 ลำ อากาศยานสหรัฐ
188 ลำถูกทำลาย ฝ่ายอเมริกันเสียชีวิต 2,403 นาย บาดเจ็บ 1,178 นาย
สถานที่ตั้งฐานทัพสำคัญอย่างโรงไฟฟ้า อู่เรือ โรงซ่อมบำรุง
โรงเชื้อเพลิงและโรงเก็บตอร์ปิโด ตลอดจนสะพานเทียบเรือดำน้ำและอาคารกองบัญชาการ
(ซึ่งเป็นที่ตั้งของฝ่ายข่าวกรอง) ไม่ถูกโจมตี
ฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสียเล็กน้อย
คือ อากาศยาน 29 ลำและเรือดำน้ำขนาดเล็กมาก 5 ลำ
และทหารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 65 นาย
ในวันที่โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นวันที่กองทัพญี่ปุ่นได้บุกจู่โจมประเทศไทย เวลาเช้าตรู่ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 (ค.ศ. 1941) วันเดียวกัน (ตอนเช้าที่อเมริกา เวลาก่อนตอนเช้าประเทศไทย ประมาณ 9 ชั่วโมง)
โดยยกพลขึ้นบกพร้อมกัน 7 จุด มีจังหวัดสมุทรปราการ(บางปู)เท่านั้นที่ไม่มีการปะทะ นอกนั้นปะทะกับคนไทยทุกจุดคือจังหวัดประจวบ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี ส่วนกองกำลังทางบกที่ข้าศึกรุกผ่านเข้ามาทางจังหวัดพระตะบอง และจังหวัดพิบูลสงครามไร้การต่อต้าน
ประเทศไทย ซึ่งเป็นดินแดนถูกเลือกเป็นสถานที่สำหรับการเริ่มต้นในสงครามมหาเอเชียบูรพา
ยอมจำนนภายใน 24 ชั่วโมงหลังถูกญี่ปุ่นรุกราน
(น่าจะเห็นศักยภาพของญี่ปุ่น ในการโจมตี เพิร์ลฮาร์เบอร์ ที่สหรัฐอเมริกา) คิดว่าอย่างไรคงสู้ญี่ปุ่นไม่ได้ รัฐบาลไทยลงนามเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21
ธันวาคม
ฮ่องกง คราวน์โคโลนีของอังกฤษ ถูกโจมตีเมื่อวันที่
8 ธันวาคม และพ่ายแพ้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1941
โดยที่กองทัพแคนาดาและอาสาสมัครฮ่องกงมีส่วนสำคัญในการป้องกันดังกล่าว
ฐานทัพสหรัฐบนเกาะกวมและเกาะเวกเสียแก่ข้าศึกในเวลาไล่เลี่ยกัน
ใ นเดือนมกราคม ญี่ปุ่นรุกรานพม่า อินเดียตะวันออกของดัตช์ นิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน และยึดกรุงมะนิลา กัวลาลัมเปอร์และราบูล
หลังจากกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรถูกขับไล่ออกจากมาลายา
ในสิงคโปร์เองก็พยายามที่จะต้านทานการรุกของญี่ปุ่นแต่ต้องยอมจำนนเมื่อวันที่
15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 และทหารอินเดีย อังกฤษ
ออสเตรเลียและดัตช์ตกเป็นเชลยศึกถึงกว่า 130,000 คน อัตราการพิชิตดินแดนของญี่ปุ่นเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ฝ่ายอังกฤษ ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก สู้รบล่าถอยจากย่างกุ้งไปยังชายแดนอินเดีย-พม่า
กองทัพฟิลิปปินส์และสหรัฐอเมริกายังคงทำการรบต้านทานอยู่ในฟิลิปปินส์จนถึงวันที่
8 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 เมื่อทหารมากกว่า 80,000 นายได้รับคำสั่งให้ยอมจำนน
อนุสาวรีย์รายนามผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก
อ่าวมะนาวนี้เคยเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์
โดยเมื่อครั้งเหตุการณ์สงครามมหาเอเชียบูรพาในปี 2484
ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในบริเวณอ่าวมะนาวแห่งนี้เพื่อใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังประเทศพม่า
ทหารไทยได้ต่อสู้อย่างเข้มแข็งแม้จะมีกำลังพลเพียง 120 คน
ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นซึ่งมีกำลังพลถึง 3,000 คน
ซึ่งสุดท้ายแล้วฝ่ายไทยเสียชีวิต 42 ราย ซึ่งประกอบด้วยทหารอากาศ 38 นาย
ตำรวจ 1 นาย ยุวชนทหาร 1 คน และครอบครัวทหาร 2 คน ดังนั้น ทางกองบิน 5 จึงได้จัดทำพื้นที่ประวัติศาสตร์ซึ่งเคยเป็นสนามรบนี้ให้เป็น “พิพิธภัณฑ์อุทยานประวัติศาสตร์กองบิน 5” โดยมีสิ่งที่น่าสนใจให้ชมหลายอย่าง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงประวัติศาสตร์สมัยญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่อ่าวมะนาว
เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง
ข้อมูลอ้างอิง
เรือนไทย วิชาการ.คอม
วิกิพิเดีย Wikipidia
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ The National Memorial
กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
บทความที่เกี่ยวข้อง