วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2562

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

หนังสือคู่มือการซ่อมเครื่องเรือ (Outboard Yamaha Repair Handbook)

หนังสือคู่มือการซ่อมเครื่องเรือ (Outboard Yamaha Repair Handbook)


หนังสือคู่มือการซ่อมเครื่องเรือ Yamaha Outboard แบบออนไลน์เล่มแรกของประเทศ หรือ เครื่องเรือยี่ห้ออื่นๆ ใช้สำหรับเป็นคู่มือการซ่อมใหญ่แบบรื้อเป็นชิ้นๆ ทุกชิ้นส่วนของเครื่องเรือ สามารถใช้อ้างอิงยี่ห้ออี่นๆได้นอกเหนือจาก Yamaha ได้เพราะเทคโนโลยี่อยู่บนพื้นฐานเดียวกันทุกยี่ห้อ สำหรับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ

 

หนังสือซ่อมเครื่องเรืออย่างละเอียด รวมทั้งการทำเครื่องมือช่วยในการซ่อม เหมาะสำหรับซ่อมเครื่องยนต์ด้วยตัวเอง และเป็นพื้นฐานสำหรับการซ่อมเครื่องทุกรุ่นทุกยี่ห้อ

(หนังสือคู่มือซ่อมเรือออนไลน์ ราคา 2000 บาท สำหรับสมาชิกรับ ...จำนวนจำกัด)

1. วิธีดูรุ่นเครื่องยนต์ (Model Engine Outboard)
2. การหาบล๊อคไดอะแกรมเครื่องยนต์ (ฺBlock Diagram Engine)
3. อาการเสีย และปัญหาส่วนใหญ่ของเครื่องยนต์ Outboard
4. อาการเสียของปั้มติก หรือปั้มเอซี และวิธีซ่อม แก้ไข
5. อาการเสียของคาบูสกปรก การทดสอบตรวจเช็ค การแก้ไข และการล้างคาบูเรเตอร์เรือ
6. อาการเสียยางพัดน้ำและการแก้ปัญหาความร้อน
7. อาการสูบติด การตรวจเช็ค ซ่อมและการแก้ไข
8. การซ่อมทริม และอาการเสียของทริม และอุปกรณ์ควบคุมทริม
9. อาการเครื่องฮีท ร้อนจัด และการแก้ไข
10. การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์
11. การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันทริม
12. การซ่อมเครื่องยนต์แบบรื้อเป็นชิ้น โอเวอร์ฮอร์น เปลี่ยนสูบ เปลี่ยนแหวน
13. การรันอินเครื่องยนต์ในระดับโรงงาน
14. การทำเครื่องมือที่ใช้การการซ่อม ถอดอุปกรณ์ และเครื่องมือที่ต้องใช้ในการซ่อมเครื่องยนต์และอุปกรณ์ส่วนประกอบอื่นๆ
15. การติดตั้งซาว์ดเดอร์
16. การหาอะไหล่และการดูพาร์ทอะไหล่ และการหาอะไหล่หายาก และการสั่งซื้อ
17. การทำให้เสียงเครื่องนิ่ม เงียบ แบบเครื่องใหม่ป้ายแดง
18. การเลือกซื้อเครื่องยนต์เก่า หรือมือสอง

และอื่นๆอีก เพิ่มเติมเรื่อยๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาเครื่องยนต์ Outboard



บทความนี้เป็นบทความสำหรับจำหน่าย เฉพาะสมาชิก ... สนใจติดต่อ datum2514@gmail.com

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562

พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (Kromluang Chumphon Khet Udom Sak)

พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (Kromluang Chumphon Khet Udom Sak)



ประวัติ

 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่าพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง



การศึกษา



ทรงเข้าเป็นนักเรียนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อมีพระชันษาได้ 13 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ



ในปี พ.ศ. 2436 ทรงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรืออังกฤษ ในปี พ.ศ. 2439 ต่อจากนั้นทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยทหารเรือ โรงเรียนปืนใหญ่ และโรงเรียนตอร์ปิโด จนได้เลื่อนยศเป็นเรือเอก รวมเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ในราชนาวีอังกฤษ 6 ปีเศษ


รับราชการ


 เสด็จกลับประเทศไทย ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2443 จึงได้รับพระราชทานยศเป็น นายเรือโท (ปัจจุบันเทียบเท่า นาวาตรี) ทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ "กรมหมื่นชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์" ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการกรมทหารเรือ และทรงดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ใน พ.ศ. 2449 พระองค์ได้ทรงแก้ไขปรับปรุงระเบียบการในโรงเรียนนายเรือ ทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ ทรงจัดเพิ่มเติมวิชาสำคัญสำหรับชาวเรือ เพื่อให้เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว สามารถเดินเรือทางไกลในทะเลน้ำลึกได้ คือวิชาดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ พีชคณิต อุทกศาสตร์ การเดินเรือเรขาคณิต

ทรงเป็นเรี่ยวแรงสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญและโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชวังเดิม ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 ทำให้กิจการทหารเรือมีรากฐานมั่นคง และกองทัพเรือจึงยึดถือวันดังกล่าวของทุกปีเป็น "วันกองทัพเรือ"


พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้พระองค์ออกจากราชการอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ จากตำราไทย ทรงเขียนตำราสมุดข่อยด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง และรับรักษาโรคให้ประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่า ทรงคิดแต่เพียงค่าครูเท่านั้น ทรงเรียกพระองค์เองว่า "หมอพร"


พ.ศ. 2460 ประเทศไทยได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกองทัพเรือยังขาดผู้มีความรู้ความสามารถ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์ เสด็จกลับเข้ารับราชการในตำแหน่ง เจ้ากรมจเรทหารเรือ และดำรงตำแหน่ง เสนาธิการทหารเรือในปี พ.ศ. 2461

พ.ศ. 2462 ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงพิเศษออกไปจัดหาซื้อเรือในภาคพื้นยุโรป เรือที่จะจัดซื้อนี้ได้รับพระราชทานนามว่า "เรือรบหลวงพระร่วง" ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ นำเรือรบหลวงพระร่วงเดินเรือข้ามทวีปจากประเทศอังกฤษ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร ด้วยพระองค์เอง

พ.ศ. 2463 มีพระบรมราชโองการให้เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์ ขึ้นเป็นกรมหลวงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สิงหนาม ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐ ฯลฯ (คำ "เขตร์" ในพระนามเปลี่ยนเป็น "เขต" ด้วย)




ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ที่เล็งเห็นการไกล พระองค์ได้ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานที่ดินบริเวณอำเภอสัตหีบ สร้างเป็นฐานทัพเรือ เมื่อ พ.ศ. 2465 เนื่องจากทรงเห็นว่า อ่าวสัตหีบเป็นอ่าวที่มีขนาดใหญ่ น้ำลึกเหมาะแก่การฝึกซ้อมยิงตอร์ปิโด มีเกาะน้อยใหญ่รายล้อม สามารถบังคับคลื่นลมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้เมื่อเรือภายนอกแล่นผ่านบริเวณนี้จะไม่สามารถมองเห็นฐานทัพได้เลย

พ.ศ. 2466 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เสด็จในกรมฯ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ต่อจากจอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต นับเป็นดำแหน่งทางราชการตำแหน่งสุดท้ายในพระชนม์ชีพของพระองค์


สิ้นพระชนม์



ศาลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่หาดทรายรี ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ซึ่งชาวชุมพรได้สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แห่งการสิ้นพระชนม์ของพระองค์

หลังจากทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือได้ไม่นาน พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้กราบถวายบังคมลาเพื่อเสด็จออกไปรักษาพระองค์ (ลาป่วย) ณ มณฑลสุราษฎร์ เป็นเวลา 1 เดือน เนื่องจากประชวรเรื้อรังด้วยโรคประจำพระองค์มาเป็นเวลานาน โดยประทับพักรักษาพระองค์อยู่ที่ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ระหว่างนั้นทรงถูกฝนและประชวรด้วยพระโรคไข้หวัดใหญ่ พระอาการได้ทรุดลงอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 เวลา 11 นาฬิกา 40 นาที[10] สิริพระชันษาได้ 42 ชันษา 5 เดือน

กองทัพเรือไทยได้ถือเอาวันที่ 19 พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็น "วันอาภากร"


งานศิลปะ







กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ยังมีความสามารถในด้านศิลปะ โดยพระองค์ได้ทรงเขียนภาพพุทธประวัติไว้ที่ผนังโบสถ์ของวัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท อันเป็นภาพเหตุการณ์ที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงพบปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นผลงานที่ยังคงปรากฏสืบมาจนถึงปัจจุบัน และได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผลงานที่มีความละเอียดอ่อนลึกซึ้ง


งานพระนิพนธ์


เพลงดอกประดู่ (เพลงสัญลักษณ์ของกองทัพเรือไทย)




เพลงเดินหน้า (เดิมแบ่งเป็น 2 เพลง ชื่อ "เกิดมาทั้งทีมันก็ดีอยู่แต่เมื่อเป็น" และ "เกิดมาทั้งทีมันก็มีอยู่แต่ทุกข์ภัย") สันนิษฐานว่าทรงพระนิพนธ์ขึ้นในช่วงที่ทรงออกจากราชการในสมัยต้นรัชกาลที่ 6




เพลงดาบของชาติ ทรงพระนิพนธ์ไว้เป็นโคลงสี่สุภาพ



    เพลงสรรเสริญพระบารมี สำนวนขับร้องของทหารเรือ (ขึ้นต้นว่า "ข้าวรพุทธเจ้า เหล่ายุทธพลนาวา...")




    พระคัมภีร์ อติสาระวรรค โบราณะกรรม และปัจจุบันนะกรรม เป็นสมุดข่อยตำราแพทย์ไทยแผนโบราณที่ทรงเขียนด้วยพระองค์เองเมื่อ พ.ศ. 2458






กู กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ผู้เป็นโอรสของพระปิยะมหาราช
ขอประกาศให้พวกมึงรับรู้ไว้ว่า
แผ่นดินสยามนี้ บรรพบุรุพใด้เอาเนื้อ เอาชีวิตเข้าแลกไว้
ไอ้อีผู้ใดมัน คิดบังอาจทำลายแผ่นดิน
ทำลายชาติ ทำลายศาสนา พระมหากษัตริย์
ฤากระทำการทุจริต ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม
จงหยุดคิดการกระทำนั้นเสียโดยเร็ว
ก่อนที่กูจะสั่งทหารผลาญสิ้นทั้งโครตให้หมดเสนียดของแผ่นดินสยาม
อันเป็นที่รักของกู ตราบใดที่คำว่าอาภากร
ยังยืนหยัดอยู่ในโลก กูจะรักษาแผ่นดินสยามของกู
ลูกหลานทั้งหลาย
แผ่นดินสยามให้กำเนิดเรามา แผ่นดินที่ให้ที่ซุกหัวนอน
ให้ความร่มเย็นเป็นสุข มิให้อนาทรร้อนใจ
จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น

พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์


เอกสารอ้างอิง

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562

แร็มป์บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ (Bang Saphan Noi Ramp)g

แร็มป์บางสะพานน้อย ประจวบคีรีขันธ์ (Bang Saphan Noi Ramp)

เครติด น้าโต๊ะ


เกาะจังหวัดระนอง (Islands in Ranong)

เกาะจังหวัดระนอง (Islands in Ranong)


เส้นทางการค้าโบราณ  มีเส้นทางอยู่ 5 เส้นทางด้วยกันคือ
  • เส้นทางที่ 1  แหลมอินโดจีน โดยเฉพาะภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย เป็นเส้นทางติดต่อค้าขายของชาวอินเดียและชาวจีน โดยมีพ่อค้าชาวอินเดีย พร้อมด้วยพราหมณ์ เดินทางโดยเรือใบ จากอินเดียภาคใต้มาแวะที่ตะกั่วป่า ซึ่งมีเกาะคอเขาอยู่ที่ปากน้ำ แล้วเดินทางต่อไปตามลำน้ำจนถึงเขาสก ข้ามเขาสกล่องเรือต่อไปตามลำน้ำตาปี เดินทางต่อไปตั้งหลักแหล่งที่เขาตก อำเภอสิชล และหมู่บ้านโมคลาน ส่วนอีกพวกหนึ่งเดินทางต่อไปตั้งหลักแหล่งที่ปากแม่น้ำโขง พ่อค้ารุ่นแรกดังกล่าวนี้ นักประวัติศาสตร์หลายคนลงความเห็นว่า ได้เดินทางต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.100 - 200เมืองกระบุรี ระนอง คุระบุรี ตะกั่วป่า พังงา และกระบี่ เป็นเมืองชายฝั่งทะเลอันดามันฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู ซึ่งมีเทือกเขาสลับซับซ้อนติดต่อกันไป ส่วนด้านอ่าวไทยซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออกของเทือกเขาตะนาวศรี ก็มีเมืองชุมพร หลังสวน ไชยา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชเป็นต้น  การติดต่อกันระหว่างชายฝั่งทะเลอันดามันกับอ่าวไทย มีความกันดารมากในสมัยโบราณ น้ำที่ไหลจากทิวเขาตะนาวศรีได้กลายเป็นต้นน้ำของแม่น้ำปากจั่น และแม่น้ำกระบุรี ซึ่งไหลไปออกทะเลอันดามันที่ระนอง ทางฝั่งตะวันตกเป็น เมืองมลิวัน ซึ่งแต่เดิมเป็นของไทย มาตกเป็นของอังกฤษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อ่าวไทย กลายเป็นเส้นทางค้าขายของพ่อค้าในสมัยโบราณ ซึ่งเดินทางข้าม คอคอดกระ อันเป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู นับเป็นเส้นทางการค้าเส้นทางแรก และสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในสมัยโบราณ
  • เส้นทางที่ 2  ปรากฎหลักฐานชุมชนโบราณที่ภูเขาทอง ตำบลกำพวน กิ่งอำเภอสุขสำราญ และอาจมีชุมชนเก่าแห่งอื่น เช่นที่ตาคลี บางหิน และกะเปอร์ มีคลองต้นน้ำจากเทือกเขา กลายเป็นคลองบางหิน คลองกะเปอร์ ซึ่งพ่อค้าจากชุมชนโบราณกำพวน บางหิน กะเปอร์ ได้เดินทางผ่านบ้านเชี่ยวเหลียง บ้านนา ลัดเลาะหุบเขาไปติดต่อสค้าขายกับชุมชนโบราณที่บ้านท่าชนะ ไชยา  พุมเรียง และบ้านดอน สุราษฎร์ธานี
  • เส้นทางที่ 3  คือชุมชนชาวเกาะเขา ซึ่งเป็นเกาะยาวไปถึงปากน้ำตะกั่วป่า ปากน้ำคุระบุรี ปากน้ำตะกั่วป่าเป็นสถานีการค้าที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดในสมัยโบราณ มีหลักฐานระบุเด่นชัดมากกว่าแหล่งอื่น ๆ
  • เส้นทางที่ 4  เป็นเส้นทางจากปากอ่าวพังงาไปยังคลองท่อม มีการตั้งหลักแหล่ง และเดินทางติดต่อกับจังหวัดตรัง และนครศรีธรรมราช
  • เส้นทางที่ 5  เป็นเส้นทางจากปากน้ำกันตัง โดยล่องเรือไปตามแม่น้ำตรัง แล้วเดินทางผ่านห้วยยอด ทุ่งสง ต่อไปถึงนครศรีธรรมราช


เกาะจังหวัดระนองมี 56 เกาะ
  • เกาะกำนุ้ย
  • เกาะลูกกำออก
  • เกาะกลาง (ต.นาคา)
  • เกาะลูกกำกลาง
  • เกาะลูกกำใต้
  • เกาะนก (ต.นาคา)
  • เกาะลูกกำตก
  • เกาะค้างคาว
  • เกาะล้าน (ต.กำพวน)
  • เกาะทับนอ
  • เกาะกำนุ้ย
  • เกาะกำใหญ่
  • เกาะเปียกน้ำน้อย
  • เกาะนกฮูก
  • เกาะมะพร้าว (ต.บางหิน)
  • เกาะเทา
  • เกาะเปียกน้ำใหญ่
  • เกาะนุ้ย
  • เกาะขี้นก (ต.เกาะพยาม)
  • เกาะต้นไม้
  • เกาะลูกปลาย
  • เกาะลูกสินไห
  • เกาะโพธิ์น้อย
  • เกาะสะระนีย์
  • เกาะกลม
  • เกาะนกเปร้า
  • เกาะภูมิ
  • เกาะปริง
  • เกาะโชน
  • เกาะปลิง
  • เกาะคัน
  • เกาะโคม
  • เกาะไฟไหม้
  • เกาะหม้อ
  • เกาะหมู (ต.ราชกรูด)
  • เกาะขาม (ต.เกาะพยาม)
  • เกาะวัวดำ
  • เกาะทะลุ (ต.เกาะพยาม)
  • เกาะตาวัวดำ
  • เกาะโพธิ์
  • เกาะลมราบ
  • เกาะไร่
  • เกาะหลาม
  • เกาะเสียด
  • เกาะคณฑี
  • เกาะขวาง
  • เกาะตาครุฑ
  • เกาะกลาง (ต.ปากน้ำ)
  • เกาะสน
  • เกาะยาว
  • เกาะเหลา
  • เกาะสินไห
  • เกาะกำ
  • เกาะพยาม
  • เกาะช้าง (ต.เกาะพยาม)
  • เกาะทรายดำ



แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดระนอง ในแผนที่ GPS


ข้อมูลอ้างอิง
  • วิกิพิเดีย
  • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 
  • รูปจาก PaiNaiHub

บทความที่เกี่ยวข้อง


วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562

เกาะจังหวัดชุมพร (Islands in Chumphon)

เกาะจังหวัดชุมพร (Islands in Chumphon)


ชุมพร ประตูสู่ภาคใต้ หาดทรายสวย 400 ลี้

ชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้

ใน พ.ศ. 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงนี้ชนชาติจาม แห่งราชอาณาจักรจามปา ถูกชาวเวียดนามรุกราน ชาวจามกลุ่มนี้อพยพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ปรากฏว่ามี "อาสาจาม" ในแผ่นดินนี้ เพื่อการขยายอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งต้องมารักษาด่านเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี และตั้งชาวจาม เป็นเจ้าเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถในการรบ ที่มีชื่อเสียง เช่น กองอาสาจาม เป็นทหารชั้นดี มีวินัย เชี่ยวชาญการเดินเรือ รับใช้ราชสำนักมานาน และเก่งการค้ามาหลายพันปี

และต่อมาระหว่าง ปี พ.ศ. 2173 - 2199 ในแผ่นดิน พระเจ้าปราสาททองแห่งราชอาณาจักกรุงศรีอยุธยา ได้กวาดต้อนชาวเมืองแถง หรือ (เดียนเบียนฟู) อยู่ในประเทศเวียดนาม และชาวเมืองพงสาลี อยู่ในประเทศลาว มาเป็นพลเมือง เมืองชุมพร เมืองปะทิว(อำเภอปะทิว) เพื่อทำการเกษตรกรรม และเมืองท่าการค้าสำคัญ ตั้งแต่นั้นมา





เกาะในจังหวัดชุมพร มี 54 เกาะ

  • เกาะขี้นก (ต.ปากตะโก)
  • เกาะกะทิ
  • เกาะสูบ
  • เกาะรางบรรทัด
  • เกาะมุกด์
  • เกาะยอ
  • เกาะรังห้า
  • เกาะคางเสือ
  • เกาะกลาง
  • เกาะมะพร้าว (ต.ปากตะโก)
  • เกาะไข่ (ต.ชุมโค)
  • เกาะเตียบ
  • เกาะขี้นก (ต.ปากคลอง)
  • เกาะยอ
  • เกาะร้านไก่
  • เกาะซีกง
  • เกาะร้านเป็ด
  • เกาะพระ
  • เกาะรัง (ต.ปากคลอง)
  • เกาะเอียง
  • เกาะจระเข้
  • เกาะมัตโพน
  • เกาะมาตรา หรือ เกาะมัตรา
  • เกาะหอก
  • เกาะหลักง่าม
  • เกาะหลักแรด
  • เกาะกะโหลก
  • เกาะทะลุ (ต.หาดทรายรี)
  • เกาะคอเทียน
  • เกาะกา
  • เกาะสาก
  • เกาะง่ามเล็ก
  • เกาะละวะ
  • เกาะมะพร้าว (ต.หาดทรายรี)
  • เกาะรังกาจิว
  • เกาะง่ามใหญ่
  • เกาะอีแรด
  • เกาะทองหลาง
  • เกาะเสม็ด
  • เกาะบาตร์
  • เกาะทองแก้ว
  • เกาะขี้นก
  • เกาะกระ (ต.ด่านสวี)
  • เกาะแรด
  • เกาะแกลบ
  • เกาะมัดหวายน้อย
  • เกาะหนู
  • เกาะมัดหวายใหญ่
  • เกาะยูง
  • เกาะแมว
  • เกาะกุลา
  • เกาะแก้ว
  • เกาะคราม
  • เกาะพิทักษ์




แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดชุมพร ในแผนที่ GPS






เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง


ข้อมูลอ้างอิง
  • วิกิพิเดีย
  • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 
  • Beautiful sundae.com

บทความที่เกี่ยวข้อง