วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

ทักษะสำหรับนักเล่นเรือ เรื่องการเอาชีวิตรอด การช่วยคนตกน้ำ และความปลอดภัยในน้ำ Life saving

การเอาชีวิตรอด (Self Rescue)

เมื่อเกิดอุบัติภัยทางน้ำ เรือล่มหรือมีคนตกน้ำ หากผู้ประสบภัยทางน้ำว่ายน้ำไม่เป็น อุบัติภัยทางน้ำ การประสบภัยทางน้ำนั้นจะพัฒนาไปสู่การเสียชีวิต ดังนั้นทักษะทางน้ำจึงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน จะว่ากันไปแล้วทักษะใด ๆ

 







 











 ในการดำรงชีวิตที่ว่าจำเป็นก็ไม่สำคัญเท่าทักษะทางน้ำ การขี่จักรยานหรือขับรถไม่เป็น ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ แม้แต่การเล่นกีฬาต่าง ๆ หากเล่นไม่เป็นก็ไม่ถึงทำให้เสียชีวิตฉับพลัน แต่หากว่ายน้ำไม่เป็นแล้วประสบอุบัติภัยทางน้ำจมน้ำตายแน่นอน

การที่เราว่ายน้ำเป็น อาจไม่เพียงพอแล้วที่จะป้องกันการจมน้ำตายได้

แต่หากเราแบ่งระดับทักษะความสามารถของเราในเรื่องว่ายน้ำก็พอจะแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้

1. กลุ่มว่ายน้ำไม่เป็น ตกน้ำเมื่อไรก็จมน้ำตายแน่นอนภายใน 2–3 นาที

2. กลุ่มว่ายน้ำเป็น กลุ่มนี้หากตกน้ำก็จะไม่จม สามารถจะเอาชีวิตรอดได้ แต่หากจะต้องว่ายน้ำเข้าฝั่งระยะทาง 3–5 กิโลเมตร เขาจะว่ายได้หรือไม่ และหากจะต้องลอยตัวอยู่ในน้ำเพื่อรอความช่วยเหลือจะรอได้นานแค่ไหน 10 นาที,1 ชั่วโมง หรือ มากกว่า 3 ชั่วโมง ในน้ำ

3. กลุ่มนักกีฬาว่ายน้ำ กลุ่มนี้จะต้องซ้อมว่ายน้ำวันหนึ่งประมาณไม่ต่ำกว่า 5-6 กิโลเมตร ซึ่งหากประสบอุบัติภัยทางน้ำก็อาจจะว่ายได้ 10–15 กิโลเมตร แต่การที่จะว่ายน้ำได้ไกล ๆ จะต้องฝึกซ้อมมาก แต่ก็ใช่ว่าจะรอด

มาลองดูวิธีกัน .... รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม

เข้าใจกฏการลอยตัว

จริง ๆ แล้วโดยธรรมชาติและด้วยกฎของ “อาร์คิมิดิส”

ร่างกายของเรานั้น "ลอยน้ำได้" แต่ที่คนจมน้ำก็เพราะคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น ดังนั้นเมื่อตกน้ำจะตื่นตระหนกตกใจกลัวจะจมน้ำตาย กลัวจะหายใจไม่ออก จึงพยายามดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดด้วยการใช้มือและเท้าถีบ  หรือพุ้ยน้ำเพื่อดันให้ตัวลอยอยู่ที่ผิวน้ำจะได้หายใจได้ แต่นั่นกลับเป็นการเร่งให้จมน้ำเร็วยิ่งขึ้น เพราะไม่นานก็จะหมดแรง และจะถูกน้ำหนักของร่างกายส่วนที่โผล่พ้นน้ำกดลง ยิ่งส่วนของร่างกายโผล่พ้นน้ำขึ้นมามากเท่าไรก็จะยิ่งมีน้ำหนักกดลงมามากยิ่งขึ้น



ก้อนหินหนัก 1 กก.โยนลงน้ำ ...จมน้ำ

เรือเหล็กหนัก 50,000 กก. กลับลอยน้ำ

ฉะนั้นความสำคัญของการลอย หรือจมมันไม่ได้อยู่ที่น้ำหนักเสมอไป



ความสำคัญของการลอยตัว อยู่ที่ ปริมาตร กับความหนาแน่น


ความสำคัญของ อากาศ

ในอากาศที่เราหายใจ จะประกอบไปด้วย ในโตรเจน 78 % ออกซิเจน 21 % อื่นๆ 1 %

 
เมื่อเราหายใจเข้าเอาออกซิเจนเข้าไปในปอดเพื่อฟอกโลหิตดำเป็นโลหิตแดง (การแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์)

ขั้นตอนนี้ใช้ออกซิเจนไป 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หายใจออกเหลือออกซิเจนกลับออกมากับทิ้งไปกับลมหายใจออก 17 เปอร์เซ็นต์

ถ้าหากขาดออกซิเจนเพียงแค่ 4 นาที เซลสมองก็จะเกิดความเสียหาย...



ดังนั้นเมื่อคนจมน้ำ หรือขาดอากาศหายใจเพียง 4 นาที

เซลล์สมองก็จะเสียหาย เมื่อเซลล์สมองเสียหาย แล้วช่วยไม่ทันก็ตาย

หรือถ้าหากไม่ตายก็อาจกลายเป็นเจ้าชาย หรือเจ้าหญิงนิทรา


สูงสุด ....คืนสู่สามญ 

ทักษะพื้นฐานของนักเล่นเรือ สำหรับการเอาชีวิตรอดในน้ำ

วิธีการที่จะเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำที่ถูกต้องคือ ....


การลอย ตัวอยู่นิ่ง ๆ และควบคุมลมหายใจ

อย่าเพิ่งขำ...

มันเป็นการแนะนำจากหลักสูตร ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ (Water Safety Knowledge) จริงๆ

"วิธีการที่จะเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำที่ถูกต้องคือ การลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ จะเป็นแบบนอนหงายให้ปากและจมูกโผล่พ้นน้ำหายใจได้ ก็จะไม่จมน้ำ หรือแบบนอนคว่ำลำตัวจะลอยปริ่มน้ำสามารถจะเงยหน้าขึ้นมาหายใจได้ ที่สำคัญคือ ให้ลอยอยู่ที่ผิวน้ำโดยใช้กำลังให้น้อยที่สุดจะได้ไม่เหนื่อย ไม่หมดแรงการยิ่งดิ้นรนให้ตัวพ้นน้ำเป็นการใช้กำลังที่ผิด ในที่สุดก็จะหมดแรงดิ้นรนนำไปสู่การจมน้ำตาย"

หลายท่านอาจจะขำ 555

ไม่จำเป็นต้องว่ายน้ำเป็นก็สามารถทำได้ ไม่จมน้ำ.... ไม่ยาก แต่ต้องฝึกนิดหน่อย จะได้คุ้ยเคยกับน้ำ และการหายในในน้ำ


การลอยตัว มี 3 แบบ ได้แก่

1.การลอยคอ หรือการลอยตัวแบบลูกหมาตกน้ำ (Tread water)
การลอยตัวด้วยท่านี้ลำตัวจะอยู่ในแนวตั้งตรงหรือเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย ศีรษะตั้ง ปากและจมูกจะพ้นระดับน้ำเพื่อหายใจ มือทั้งสองจะสลับกันพุ้ยน้ำลงข้างล่าง ฝ่าเท้าและขาจะถีบน้ำสลับกันแบบขี่จักรยานหรืออาจจะใช้วิธีเตะเท้าสลับกัน (Flutter kick) แต่เปลี่ยนทิศทางผลักดันให้น้ำลงไปด้านล่างเพื่อดันให้ร่างกายลอยขึ้นมา การจะลอยตัวท่านี้ได้ดีจะต้องฝึกการใช้ฝ่ามือ แขน ขาและฝ่าเท้าถีบผลัก และพุ้ยน้ำให้ชำนาญ การลอยตัวท่านี้จะช่วยให้มองเห็นทิศทางและสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัว

2.การลอยตัวแบบนอนคว่ำ (ปลาดาวคว่ำ แมงกะพรุน Drown proofing or Survival floating)
ท่านี้ฝึกง่ายและคนส่วนใหญ่จะลอยน้ำท่านี้ได้ โดยการหายใจเข้าเต็มปอดแล้วกลั้นเอาไว้ จากนั้นให้นอนคว่ำหน้าลงในน้ำปล่อยตัวตามสบาย ลำตัวอาจจะตรง หรือโค้งเล็กน้อย แขน และขากางออกปล่อยตามสบายไม่เกร็ง เมื่อใกล้จะสุดกลั้นลมหายใจให้หายใจออก ด้วยการเป่าลมออกทางปากแล้วเงยหน้าขึ้น หายใจเข้าทางปากแล้วคว่ำหน้าลงไปในน้ำอีก ในขณะที่เงยหน้าขึ้นเพื่อหายใจให้ใช้มือผลักน้ำให้ลำตัวลอยขึ้นเล็กน้อย ท่านี้จะใช้ลอยตัวในน้ำมีคลื่นและลมพัดแรงจัด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าจมูก ปาก

3.การลอยตัวแบบนอนหงายหรือแม่ชีลอยน้ำ (Face-up floating)
การลอยตัวท่านี้จะเหมือนกับการนอนหงายอยู่บนที่นอน ที่สำคัญคือลำตัวต้องเหยียดตรง เงยหน้า ท่านี้จะเหมาะสำหรับการลอยตัวนานๆ โดยใช้พลังงานน้อย และยังสามารถหายใจเป็นปรกติ

ส่วนการหายใจ เพื่อช่วยในการลอยตัว เวลาหายใจออกให้เก็บอากาศไว้ในปอดบ้าง ทำใด้แค่นี้ ก็ไม่จมน้ำแล้วครับ


 เนื่องจาก พี่น้อง ที่เล่นเรือ อยู่กับน้ำ จะมีโอกาสจะเห็นคนจมน้ำ มากกว่ากีฬาอย่างอื่น

เราลองมาสำรวจเรือ กันก่อนซิว่า มีอะไรในเรือบ้างที่สามารถลอยน้ำได้บ้าง

-ชูชีพ
-ลูกบวบกันกระแทก
-ถังน้ำแข็ง ที่เอาไว้ใส่ปลา
-ถังน้ำมัน
-เบาะนั่ง เบาะนอน
-ถุงใส่ของ
-กล่องเก็บเครื่องมือ
-เรือยางเป่าลม
-ห่วงยางชูชีพ
-เชือก
-ฯลฯ

อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้สามารถเอามาใช้ใด้เวลาเหตุคับขัน หรือกรณีฉุกเฉินใด้

หลักการช่วยเหลือที่ถูกต้องมีหลักง่ายๆ อยู่ 4 วิธี คือ

“ยื่น – โยน – พาย – ลาก” 



1. กรณีผู้ช่วยอยู่บนฝั่ง บนตลิ่ง หรือบนเรือ
ผู้ช่วยไม่เปียก ปลอดภัยแน่นอน จากนั้นก็ช่วยด้วย

1.1 การยื่นอุปกรณ์ให้คนตกน้ำจับ เช่น เชือก เสื้อ กางเกง ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดตัว เข็มขัด กิ่งไม้ ท่อนไม้ ไม้ง่ามลูกเสือ ตามสระว่ายน้ำก็จะมี HOOK (ไม้ตะขอ) เตรียมไว้สำหรับช่วยผู้ประสบภัย

1.2 การโยนอุปกรณ์ที่ลอยน้ำให้คนตกน้ำจับหรือเกาะ เช่น ขวดน้ำ ถังพลาสติก ห่วงชูชีพ ยางในรถยนต์ และเราอาจจะเอาเชือกมาผูกอุปกรณ์เหล่านั้น เพื่อที่จะลากคนตกน้ำเข้าฝั่ง หรือหากโยนพลาดก็สาวเข้ามาแล้วโยนให้อีกครั้งหนึ่ง

1.3 การลุยน้ำออกไปช่วย ในพื้นที่ที่ระดับน้ำตื้นยืนถึง เช่น ในลำธาร น้ำตก หรือชายทะเล ที่เราสามารถจะลุยน้ำออกไปได้ ก็ควรจะลุยน้ำออกไปแล้วใช้อุปกรณ์ตามข้อ 1.1 หรือ 1.2 ยื่น หรือโยนให้คนตกน้ำจับแล้วพาเข้าฝั่ง ข้อ 1.1-1.3 เป็นวิธีการช่วยคนตกน้ำที่มีความปลอดภัยเกือบจะ 100 % เพราะเราผู้ช่วยอยู่บนฝั่งหรือยืนได้ในน้ำตื้น

1.4 การใช้เรือออกไปช่วยเรือในที่นี้หมายถึงเรือหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีขนาดใหญ่พอควร ลอยน้ำได้ แล้วตัวเราอยู่ข้างบนหรือข้างใน เช่น กระดานโต้คลื่น กระดานเล่นใบ เจ็ทสกี เรือพาย เรือแคนู เรือกรรเชียง เรือใบ ฯลฯ ประเภทเรือนี่มีหลายขนาดนัด ปกติเมื่อเคลื่อนเข้าไปใกล้ตัวคนตกน้ำ ก็จะใช้อุปกรณ์ตามข้อ 1.1, 1.2 ยื่นหรือโยนให้คนตกน้ำจับแล้วพาเข้าหาเรือ หากเป็นเรือขนาดเล็ก ต้องระมัดระวังหากจะให้คนตกน้ำปีนขึ้นทางกราบเรือ เรืออาจจะพลิกคว่ำได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ ให้ขึ้นทางท้ายเรือ อย่าลืมดับเครื่องเรือด้วย

2. การกระโดดลงน้ำแล้วว่ายเข้าไปช่วยคนจมน้ำ หรือตกน้ำ
วิธีแบบนี้อันตรายมาก เพราะจะทำให้คนช่วยเสียชีวิตมาเยอะแล้ว เนื่องจากไม่รู้วิธีการช่วยที่ถูกต้อง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมทั้งนักว่ายน้ำ คนว่ายน้ำเก่ง ๆ ตายเพราะว่ายน้ำเข้าไปช่วยนี่แหละ

2.1 การลงน้ำไปช่วยคนตกน้ำ จมน้ำ จำไว้ว่าต้องเอาอุปกรณ์ช่วยไปด้วย เช่น แท่งโฟมยาว ๆ (Kick board ซึ่งถ้าหากเล็กและสั้นเกินไป ก็จะไม่ปลอดภัย) ห่วงหรือยางในรถยนต์ หรือเราใส่เสื้อชูชีพไป เมื่อว่ายน้ำเข้าไปจวนถึงตัวคนตกน้ำ ให้หยุดอยู่ห่าง ๆ แล้วใช้อุปกรณ์ที่เอาไปด้วยยื่น หรือโยนให้คนตกน้ำเกาะ อย่าพยายามเข้าไปจนถึงตัวคนตกน้ำ เพราะเขาอาจจะเข้ามากอดเราแน่นเสียจนแกะไม่ออก และจะพาเราจมน้ำไปด้วย หากไม่มีอุปกรณ์ก็ให้ใช้ผ้าเช็ดตัวตัว ผ้าขาวม้า เข็มขัด หรืออะไรก็ได้ที่ยาว ๆ หน่อย จะได้ป้องกันไม่ให้เราต้องเข้าไปใกล้เขามากเกินไป ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ก็จะดีมาก เพราะเมื่อยื่นให้เขาจับหรือเกาะแล้วเขาก็จะลอยน้ำอยู่ได้ ความตื่นตกใจก็จะลดลง ทำให้เราช่วยได้ปลอดภัยมากขึ้น หากยื่นให้แล้วเขายังตกใจ และโผเข้ามาจะกอดเรา ก็ให้รีบดำน้ำหนี รับรองเขาไม่ดำตามเราลงไปแน่ ๆ

2.2 การลาก/พา

2.2.1 การลาก / พา คนจมน้ำที่สงบพวกว่ายน้ำเป็น หมดแรง หรือเป็นตะคริว ไม่ตื่นตกใจ ลากพาง่าย เบาแรง ไม่ค่อยมีอันตราย

2.2.2 การลาก / พา คนจมน้ำที่ตื่นตกใจ กลัวจมน้ำตาย พวกนี้ต้องใช้ท่า Cross chest (เอารักแร้เราหนีบบนบ่าคนจมน้ำ แขนพาดผ่านหน้าอกแบบสะพายแล่ง ไปจับซอกรักแร้อีกด้านของคนจมน้ำ) ว่ายน้ำด้วยท่า Side stroke ท่านี้เหนื่อยหนักแรง และมีอันตรายมากๆ

2.2.3 คนจมน้ำที่สลบ ต้องใช้ท่าลาก / พา ที่ประคองหน้าคนจมน้ำให้พ้นน้ำตลอด เพื่อที่ปากและจมูกของเขาจะพ้นน้ำ ทำให้หายใจได้ตลอด


การช่วยคนที่จมน้ำ


1.คนที่ยังไม่จมน้ำ อยู่ในช่วงดิ้นรนตะเกียดตะกาย
แบบนี้ให้ใช้วิธีตามหัวข้อ  "ยื่น โยน พาย ลาก"

2.คนที่จมน้ำแล้ว แต่ยังไม่หมดสติ
ให้สังเกตุจากฟองอากาศ ที่ปุดๆ ขึ้นมาจากน้ำ ต้องใช้คนที่มีทักษะความสามารถว่ายน้ำสูง และต้องอย่าดำไปไกลคนที่จมน้ำมากนัก เพราะต้องระวังการถูกกอดรัด วิธีปลอดภัยคือเข้าไปช่วยจากทางด้านหลัง แล้วใช้วิธีลากพา

3 คนที่จมน้ำแล้ว หมดสติ
ให้สังเกตุจุดหมายให้ดี ใช้วิธีดำแนวดิ่ง อาจลากขึ้นโดยการดึงผม ชอนคาง หรือดึงคอเสื้อขึ้นมา แล้วพยามลากโดยให้หน้าโผล่พ้นน้ำ โดยลำตัวขนานกับน้ำ เพื่อช่วยในการลอยตัว

การช่วยเหลือแบบที่ 1 กับแบบที่ 3 จะปลอดภัยกับผู้ช่วยเหลือมากกว่า ให้คำนึงถึงทักษะ และโปรดใช้วิจารณญาณในการช่วยเหลือ



คนส่วนใหญ่จะตายเมื่อหยุดหายใจเป็นเวลา 10 นาที

ถ้าดูจากกราฟ จะเห็นว่า ถ้าหยุดหายใจไป 3 นาที มีโอกาศที่จะฟื้นคืนชีวิตถึง 75%

ถ้าหยุดหายใจไป 4 นาที มีโอกาศที่จะฟื้นคืนชีวิต 50%

และถ้าหยุดหายใจไป 5 นาที มีโอกาศที่จะรอดชีวิต 25%


 อาการของคนจมน้ำ 
จะสำลักน้ำ น้ำจะเข้าปอด และกระเพาะอาหาร หายใจขัด หรือหยุดหายใจ หัวใจจะอาจหยุดเต้น เนื่องจากขาดออกซิเจน



 1.อาการของคนจมน้ำจืด
น้ำที่เข้าไปปอดจะซึมผ่านถุงลมอย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนน้ำในกระแสเลือดมีมาก ความดันโลหิตสูง เม็ดเลือดถูกทำลาย จะตายด้วยหายใจลำบาก และหัวใจไม่ทำงาน มีใบหน้าเขียว

2.อาการของคนจมน้ำทะเล
น้ำทะเลจะคลั่งในถุงลมในปอด และจะดึงน้ำจากกระแสเลือดเข้าใปในปอดด้วย ทำให้เกิดมีน้ำคลั่งในเนื้อปอด จะตายเนื่องจากหายใจลำบาก และหัวใจล้มเหลว มีอาการหน้าซีด เขียวคล้ำ หายใจขัด จะหมดสติก่อนจะหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น










 วิธีปฏิบัติการช่วยชีวิต ผู้จมน้ำ CPR


ให้รีบทำการผายปอดอย่างเร็ว ถ้าหัวใจหยุดเต้นใหทำการปั้มหัวใจ อย่าเสียเวลาในการฟังหัวใจเต้น หรือคล่ำชีพจร หรือมัวช้าในการทำเสื้อผ้าให้หลวม

และไม่มีวิธีการใดในการนำน้ำออกจากปอดได้ และอย่าเสียเวลาที่จะพยายามเอาน้ำออก จากผลการวิจัยค้นพบว่าเราไม่สามารถที่จะเอาน้ำออกจากปอดได้ ซึ่งไม่ควรเสียเวลาอันมีค่ายิ่งที่จะช่วยชีวิตของเขา

มีสิ่งเดียวที่ควรทำคือ "ทำการผายปอด และปั้มหัวใจ"

การผายปอดยังใช้ได้กับผู้ป่วยที่หายใจขัด หัวใจหยุดเต้น หรือผู้สูงอายุที่วูป เป็นลม หมดสติ จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองใด้บางขณะ  ฉะนั้นจึงต้องทำ CRP


การผายปอด

การผายปอดมีหลายวิธี ปากต่อปาก ปากต่อจมูก แบบของโฮลเกอร์ -นิสเซ่น(Holger Neilsen) ฯลฯ ยังมีอีกหลายแบบ แต่วิธีที่ดีและได้ผลและดีที่สุด คือ ปากต่อปาก (Mouth to Mouth)

ยกเว้นผู้จมน้ำใช้ปากไม่ได้ เช่น กรามหักหรือเป็นแผล อาจใช้ ปากต่อจมูกแทน


ขั้นตอนการผายปอด ขอรวมขั้นตอนการผายปอด และปั้มหัวใจไว้ในขั้นตอนเดียวกันเลย

เนื่องจากคนตกน้ำส่วนใหญ่พอขาดอากาศหายใจ หัวใจมักจะหยุดเต้นตามด้วย



ขั้นที่ 1 ให้จัดท่าผู้ที่จมน้ำให้อยู่ท่าที่ลมจะเข้าปอดสะดวก

โดยจับนอนหงาย พร้อมกับจับศรีษะให้แหงนมากที่สุด และยกคางให้สูง

ขั้นที่ 2 ให้ทำการผายปอดแบบปากต่อปาก (Mouth to Mouth)

วิธีการ ให้สูดหายใจเข้าปอดให้ลึกที่สุด แล้วกดริมฝีปากของท่านอ้าปากออก กดลงไปบนปากผู้ที่บาดเจ็บ ให้ปากแนบสนิทกัน ขณะจะเป่าให้ใช้มือข้างหนึ่งดันคางผู้บาดเจ็บมาข้างหน้า โดยมืออีกข้างบีบจมูกผู้บาดเจ็บไว้ เพื่อไม่ให้ลมรั่วออกทางรูจมูก
 

ขั้นตอนนี้อย่าคิดมาก ในสถานะการณ์จริงผู้บาดเจ็บอาจมีการสำลัก หรืออาเจียร มีทั้งเศษอาหาร น้ำลาย น้ำมูก ผสมปนเปกันไปหมด

"ให้คิดอย่างเดียว คือเราจะช่วยชีวิตของเขา"

ขั้นตอนที่ 3 ให้ทำการปั้มหัวใจและการผายปอด

การปั้มหัวใจ มีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เลือด มีการไหลเวียนไปที่สมองและอวัยวะสำคัญอื่นๆ ทำให้ระบบในร่างกายกลับมาทำงาน


โดยทำการผายปอด 1 ครั้ง แล้วปั้มหัวใจ 5 ครั้ง สลับกันไปเรื่อยๆ ไม่จำเป็นที่หัวใจหยุดเต้นแล้วทำการปั้มหัวใจ ให้ทำจนกว่าจะฟื้น บางครั้ง อาจต้อง
ทำนานกว่า 4 ชั่วโมง

วิธีสังเกตุว่าผู้บาดเจ็บจะฟื้นหรือไม่สังเกตุจาก
-ผิวหนังทั่วไปมีสีแดงมากขึ้น
-ร่างกายมีความอบอุ่น
-มีอาการสำลัก
-มีชีพพรเต้นเบาๆ

ขณะที่ทำการ CPR ให้มองรอบๆ ด้าน มองหาผู้ช่วย ให้โทรแจ้งเหตุ

โดยให้โทรไปแจ้งเหตุเพื่อประสานขอความช่วยเหลือ เนื่องจากผู้บาดเจ็บต้องได้รับการช่วยเหลือ เพื่อประสานชีวิตขั้นสูงโดยบุคลากรทางการแพทย์ ในขั้นต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น