วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิธีดู สึนามิ (Tsunami) แบบชาวเรือ


วิธีดู สึนามิ แบบชาวเรือ
  • ถ้าเราอยู่ในทะเลที่น้ำลึกๆ ถ้าเกิดสึนามิ ยากมากที่จะรู้ว่ามีสึนามิเพราะคลื่นจะสูงขึ้นเพียง 1 ฟุตเท่านั้นเอง แถมเป็นคลื่นยาวซะอีก นั่นหมายความว่าถ้าอยู่ในทะเลลึกจะปลอดภัย แต่จะอันตรายสำหรับคนที่อยู่บนฝั่ง ดูรูปประกอบรูปคลื่น 
  • ถ้าอยู่บนฝั่ง ก่อนเกิดจะ สังเกตุได้ว่าน้ำจะลดมากผิดปรกติอย่างรวดเร็ว ถ้าเห็นแบบนี้ให้วิ่งไปที่สูงโดยเร็ว เพราะอีกสักพักจะมีคลื่นขนาด 5 เมตรเข้ามา ก็ประมาณตึกชั้น 2 ส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตเกิดจาก จมน้ำ ขาดอากาศหายใจ หรือได้รับบาดเจ็บจากวัสดุต่างๆ ที่พัดมากับน้ำ 


โชคดีที่ไม่มีใครคิดอาวุธสร้างคลื่นความถี่ต่ำใต้ท้องทะเลได้ ไม่งั้นเกาะทั้งเกาะ แผ่นดินทั้งผื่นสามารถจมใต้น้ำได้

ทะเลอันดามันจะมี ความเสี่ยงอยู่บ้างในเรื่อง Tsunami แต่โอกาศที่จะเกิด มันไม่บ่อย บางครั้งใน 1 ชีวิตของเราอาจจะเห็นได้แค่ครั้งเดียว แต่เพื่อความไม่ประมาท ลองมาดูกันว่า อะไรบ้างที่ ทำให้เกิดสึนามิ แล้วเราจะป้องกันอย่างไร

สาเหตุที่ทำให้เกิดสึนามิ



1.เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกอย่างฉับพลัน
2.แผ่นดินถล่มใต้ท้องทะเล
3.ลูกอุกกาบาตขนาดใหญ่ตกใส่ท้องทะเล

 ลักษณะที่แตกต่างของคลื่นสึนามิ กับคลื่นทะเลทั่วไป คือความยาวคลื่น กับความเร็วคลื่น



-คลื่นทะเลเกิดจาก ลมพัดน้ำที่อยู่บนติดผิวน้ำ มีคาบเวลาเดินทางจากคลื่นหนึ่งไปอีกคลื่นหนึ่ง ประมาณ 20-30 วินาที หรือมีความยาวคลื่นเพียง 100-200 เมตร จำง่ายๆ มันจะเป็นคลื่นสั้นๆ ระลอกสั้นๆ

-คลื่นสึนามิเป็นคลื่นน้ำลึก อยู่ใต้ทะเล มีคาบเวลาจาก 10 นาที - 2 ชั่วโมง ต่อหนึ่งลูกคลื่น ความยาวคลื่นมากกว่า 500 กม. เป็นคลื่นยาว

ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิง

เนื่องจากคลื่นสึนามิ มีความยาวคลื่นมาก จึงสูญเสียพลังงานน้อยมากขณะที่เคลื่อนตัวผ่านมหาสมุทร โดยแปรผันจากความลึกยิ่งลึกยิ่งแรง โดยมีตัวคูณคือแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้มีพลังมหาศาลมาก ที่ความลึก 6 กม สึนามีจะเดินความด้วยความเร็ว 800 กม/ชั่วโมง ก็ประมาณความเร็วเครื่องบินทีเดียว สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

ส่วนใหญ่มนุษย์จะประยุกต์คลื่นความถี่สูงมาใช้มาก เช่น ไมโครเวฟ วิทยุ โทรศัพท์ Gps Sounder TV Computer แต่จะมีอุปกรณ์คลื่นความถี่ต่ำน้อย

วิทยุเดินเรือ ที่ส่งไกลๆ ใช้วัตต์น้อยๆ จะใช้คลื่นความถี่ต่ำ เพราะการลดทอนน้อยมากนั่นเอง หรือนึกถึงวิทยุ Am กับ Fm ก็ได้ครับ

มาตรการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ 
1.เมื่อรู้สึกว่ามีการสั่นไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่ง ให้รีบออกจากบริเวณชายฝั่ง ไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที โดยไม่ต้องรอประกาศจากทางการ เนื่องจากคลื่นสึนามิเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง

2.เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน ให้เตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้โดยด่วน

3.สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่งหากทะเลมีการลดระดับของน้ำลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยงให้อยู่ห่างจากฝั่งมาก ๆ และอยู่ในที่ดอนหรือที่น้ำท่วมไม่ถึง

4.ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่าจะเกิดคลื่น สึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมาก ๆ จะมีขนาดเล็ก

5.คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอซักระยะเวลาหนึ่งจึงสามารถลงไปชายหาดได้

6.ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

7.หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรงในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องคลื่นสึนามิ

8.หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง

9.วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่นกำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น

10.จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง

11.ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหว

12.วางแผนล่วงหน้าหากเกิดสถานะการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณะสุข การรื้อถอนและฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น

13.อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะหลบหนีได้ทัน

14.คลื่นสึนามิในบริเวณหนึ่ง อาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาทให้เตรียมพร้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น