วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คลองประเวศบุรีรมย์

คลองประเวศบุรีรมย์
จากคลองพระโขนงไปเชื่อมกับคลองด่าน ออกสู่แม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

เดินเรือ คลองประเวศบุรีรมย์ ในแผนที่ GPS


คลองท่าถั่ว หรือชื่อทางการคือคลองประเวศบุรีรมย์ เรือที่จะสัญจรผ่านประตูน้ำท่าถั่วต้องจอดรอเวลาการเปิดบานประตูที่ด้านนอกบานประตู 


ประวัติ
คลองประเวศน์บุรีรมย์ เป็นคลองยุทธศาสตร์ เป็นคลองที่เริ่มต้นขุดจากกรุงเทพมหานคร สาเหตุให้มีการขุดคลองนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมันนั้นทำสงครามกับญวน โดยรบกันในดินแดนลาวและเขมร โดยการนำทัพของเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รบกับญวนถึง 15 ปี หากขุดคลองประเวศบุรีรมย์สำเร็จ จะเป็นทางลำเลียงกำลังบำรุงจากเมืองหลวงไปสู่สนามรบได้รวดเร็วและสะดวกที่สุด นับว่าเป็นคลองขุดยุทธศาสตร์ (เฉพาะช่วงแรก) ขนานกับคลองแสนแสบ เริ่มต้นขุดต่อจากคลองพระโขนง ที่เป็นคลองธรรมชาติแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ขุดโดยหวังจะไปบรรจบกับแม่น้ำบางประกง พอผ่านเข้าเขตลาดกระบังจึงเรียกว่า คลองประเวศน์ แต่ยังไม่ทันเสร็จ รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคตก่อน 

จากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า ก่อนหน้าที่จะขุดคลองประเวศบุรีรมย์ พื้นที่แถบนี้เป็นป่าโปร่ง มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบางมาก ในประวัติศาสตร์ได้มีกองทัพช้างศึกของพระยาตากเดินผ่าน โดยมาพักที่บริเวณวัดคู้ ลาดกระบัง แล้วจึงเดินทัพผ่านคลองหลวงแพ่ง คลองสวน เทพราช ประเวศ ถึงแม่น้ำบางปะกง มารวมทัพกันที่ป่าต้นจันทร์ หรือสนามจันทร์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บ้านโพธิ์ และได้เดินเลาะไปตามชายน้ำบางปะกง ไปพักในเขตอำเภอบางคล้า และสนามชับเขต ตามลำดับ

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ฝรั่งเศสแผ่อำนาจจักรวรรดินิยม รุกยึดได้ญวน และได้ยึดเอาพื้นที่บางส่วนในเขมรและลาว ที่อยู่ในปกครองของไทยไปด้วย ไทยจึงมองเห็นภัยจากการรุกรานจากฝรั่งเศส จึงต้องเตรียมป้องกันภัยที่จะรุกของประเทศตะวันตกเข้ามาทางด้านตะวันออกของไทย

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในราวปี 2420 (ปีหลังจากฝรั่งเศสยึดครองญวน และตราด ประมาณปี 2376 และในปี พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้นำทหารญวนเข้ายึดจังหวัดจันทบุรี) ได้ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติ "ประกาศขุดคลองคลอง พ.ศ.2420" โปรดเกล้าฯให้ขุดคลองจากพระโขนงเชื่อมกับแม่น้ำเชื่อมกับแม่น้ำบางปะกง ต่อจากคลองที่ได้ขุดค้างไว้แต่รัชกาลที่ 3 จังหวัดฉะเชิงเทรา มีความยาวทั้งสิ้น 1150 เส้น หรือ 46 กิโลเมตร ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาดำรงราชพลขันธ์ เป็นแม่กลองขุด และ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยรัฒน์ เป็นผู้อำนวยการขุด เริ่มขุดในปี 2421 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2423 ใช้เวลาขุด 3ปีเศษ โดยมีวัตถุประสงค์ในการขุด คือ เพื่อการคมนาคม ระหว่างเมืองนครเขื่อนขันธ์ (จ.สมุทรปราการ) และเมืองฉะเชิงเทรา และเพื่อเปิดพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น บริเวณสองฝั่งคลอง ในการขุดนี้ใช้ที่มาของเงินทุน 3 แหล่ง คือ พระราชทานเงินจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 80,000 บาทเศษ เพื่อจ้างจีนขุด มีการจ่ายเนื้อฝิ่นเป็นค่าจ้างขุดให้แก่พวกจีน และทรงอนุญาติให้ราษฏรช่วยออกค่าใช้จ่ายในการขุดคลอง รวมเป็นเงิน 32,752 บาท โดยผู้ออกค่าใช้จ่ายจะได้จับจองที่ดินอยู่อาศัยและทำกินเป็นการตอบแทนตามอัตราที่ได้จ่ายเงินช่วยเหลือ

พระราชบัญญัติ "ประกาศขุดคลอง" นั้นทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปอย่างกว้างขวางตามความต้องการของรัฐบาล ราษฏรหลายพันครอบครัวได้เข้าไปทำการเพาะปลูกตลอดแนวสองฝั่ง คลองประเวศฯ และคลองแยก จึงน่าจะนับว่าเป็นโครงการแรกที่รัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ประสพความสำเร็จในการพัฒนาที่ดินให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยประชาชนได้มีส่วนร่วม นอกจากนี้พระองค์ยังได้ออกกฏหมายห้ามราษฏรปลูกอาคารชิดริมคลอง ต้องถอยร่น 3 วา (6 เมตร) ซึ่งแรกติดปากว่า "กฏหมาย 3 วา" แต่ด้วยคลองได้ขยายออกไปเพราะตลิ่งพังทลาย ทั้งมีได้มีการบังคับกฏหมายกันอย่างจริงจัง กฏหมาย 3 วา จึงไม่มีผลบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน

คนเก่าแก่ในพื้นที่ได้เล่าสืบต่อกันมาว่าก่อนปี พ.ศ. 2420 พระยาประเวศบุรีรมย์ ได้รับมองหมายให้เป็นแม่กองคุมคนจีนขุดคลองเชื่อมแม่น้ำสองสาย คือแม่น้ำเจ้าพระยาตรงพระโขนงกับแม่น้ำบางปะกงตรงท่าถั่ว ปัจจุบัน คือ ประตูน้ำท่าถั่ว คลองขุดที่มีขนาดกว้าง 4 วา (ปัจจุบันกว้างราม 20 วาเศษ) ขุดตามวิถีกระสุนปืนใหญ่ที่ยิงไป ซึ่งเป็นการขุดคลองนี้ เป็นการขุดอย่างมีการรังวัดแนวคลองเป็นเส้นตรง ทำให้ย่นระยะทางเดินทางให้สั้นมากที่สุด และให้ขุดคลองแยกจากคลองประเวศบุรีรมย์ อีก 4 คลอง คือ คลองหนึ่ง คลองสอง คลองสาม และคลองสี่ เพื่อเป็นการขยายที่แหล่งทำกินให้เพียงพอกับความต้องการของราษฏร และในกาลต่อมาได้มีคลองอื่นๆ มาตัดอีกหลายคลอง เช่น คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามคลองตามชื่อนายกองคุมขุดคลองว่า คลองประเวศบุรีรมย์ ชาวไทย ชาวจีน ไทยจีน ไทยมุสลิม รามัญ เขมร พากันจับจองที่ดินสองฝั่งคลองเป็นที่ทำกิน กลายเป็นชุมชนริมคลองที่หลากหลายวัฒนธรรม จนทุกวันนี้ ในอดีด การเดินทางจากฉะเชิงเทราเข้ากรุงเทพฯ การเดินทางโดยเรือจะสะดวกและรวดเร็วที่สุด โดยเรือเมล์ขาวของนายเลิศ ที่มีเพียงลำเดียวรับคนจากประตูน้ำท่าถั่ว (ฉะเชิงเทรา) ผ่านตลาดคลองสวน ก่อนแล่นเข้าประตูน้ำ (วังสระประทุม) กรุงเทพฯ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น