ปลาใบขนุน ปลาญวน ปลาอั้งนำฮื้อ
ชื่อสามัญ FALSE TREVALLY
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Lactarius lactarius (Bloch & Schneider)
ถิ่นอาศัย หากินบริเวณพื้นหน้าดิน ตามเกาะและชายฝั่งทะเลในอ่าวไทย และชายฝั่งทะเลอันดามัน
ลักษณะ ปลาใบขนุน รูปร่างเรียวยาว ลำตัวค่อนข้างแบน หัวสั้นด้านข้างใหญ่ จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโตปากกว้างมีฟันซี่เล็กๆเรียงกันเป็นแผงอยู่บนขากรรไกรเพดานและลื้น เกล็ดมีขนาดใหญ่และหลุดง่ายครีบหลังแยกเป็นสองอัน อันที่สองมีขนาดใกล้เคียงกับครีบก้น ครีบหูครีบท้องมีขนาดไล่เลี่ยกัน ครีบหางเว้าลึก สีของลำตัวเป็นสีขาวปนเทา และมีสีน้ำเงินแทรกด้านหลังและท้อง บริเวณหลังช่วงเปิดเหงือกมีสีจุดขนาดใหญ่ ข้างละจุด
ขนาด โดยทั่วไปที่พบในอ่าวไทย ความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ถ้าจับจากฝั่งทะเลอันดามันจะมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
อาหาร กินลูกปลา และสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในบริเวณหน้าดิน
ประโยชน์ เนื้อมีรสดี เป็นที่นิยมของนักบริโภค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น