วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประภาคาร อัษฏางค์

ประภาคาร อัษฎางค์ (หินสัมปะยื้อ)



คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 16m
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 15 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 10nm (18.52 km)

ประวัติ
   เมื่อ พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับที่เกาะสีชัง ปรากฏว่า สมเด็จพระเจ้าอัษฎางค์เดชาวุธสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ทรงพระประชวร และเสด็จมาประทับรักษาพระองค์อยู่ ณ เกาะสีชัง ทรงพระราชดำริว่า ทางที่เรือจะเข้าร่องเกาะสีชัง คือตำบลที่หินสัมปะยื้อ ท้ายเกาะนั้น มีกองหินโสโครกเป็นที่น่ากลัว หรือต้องระวังมากแก่ผู้เดินทางเข้าออก ณ เกาะสีชังนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำเรือนสว่าง หรือประภาคารขึ้นที่หินนั้น ประภาคารหลังนี้มีชื่อว่า “อัษฎางค์” ดังมีปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๘ พุทธศักราช ๒๔๓๘ ว่า

“อนึ่ง ทรงพระราชดำริว่า ทางเรือที่เข้าช่องเกาะสีชัง คือ ตำบลหินสัมปะยื้อ ท้ายเกาะนั้นมีกองหินหรือหินโสโครกเป็นที่น่ากลัว หรือต้องระวังมากแก่ผู้เดินทางเข้าออก ณ เกาะสีชัง นั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำเรือนแสงสว่างหรือประภาคาร (Lighthouse) ขึ้นที่หินนั้น และจะให้มีคนรักษาเพื่อเป็นที่หมายของเรือไปมาโดยง่ายสะดวกยิ่งขึ้น”

ต่อมาตัวประภาคารหินสัมปะยื้อ และบ้านพักของเจ้าหน้าที่ได้ชำรุดทรุดโทรมมาก และประกอบกับการคมนาคมไม่สะดวก ดังนั้น จึงได้ทำการบูรณะซ่อมแซมตัวประภาคารใหม่ และได้ย้ายบ้านพักของเจ้าหน้าที่ประภาคารไปตั้งอยู่บนเกาะขามใหญ่ (ตรงข้ามเกาะสีชัง) เมื่อ พ.ศ.2512 มาจนถึงทุกวันนี้ สำหรับตัวเรือนตะเกียงที่ติดตั้งบนประภาคาร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงจากระบบน้ำมันก๊าด มาใช้เป็นระบบตะเกียงก๊าซอเซทีลีน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2471 และต่อมาได้เปลี่ยนแปลงมาใช้ตะเกียงระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 15ธันวาคม พ.ศ.2534

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น