วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กฏสำหรับหลีกเลี่ยงเรือชนกัน

กฏสำหรับหลีกเลี่ยงเรือชนกัน
 
การเดินทาง ทางเรือเนื่องจากไม่มีถนน หรือเส้นทางที่ใช้บังคับทิศทางเป็นช่องทางในแบบการเดินทางแบบรถยนต์ จะสามารถเดินทางแบบอิสระทุกทิศทุกทาง จึงจะต้องมี กฏเกณฑ์เวลาเดินทาง ทางเรือ เราเรียกว่า กฏสำหรับหลีกเลี่ยงการชนกัน (Rules for Avoiding Collisions) โดยจะแบ่งเส้นตามตัวเรือเป็นดังนี้ตามรูป

  • Port
  • Starboard
  • Stern


จะสังเกตุว่า Port จะมีสี แดงและ Starboard จะมีสีเขียว ซึ่งตรงกับไฟหัวเรือ ที่เป็นไฟ แดง-เขียว นั่นเอง


Port กับ Starboard เป็นคำที่ใช้เรียกมาตั้งแต่ยุคแรกๆ ของการใช้เรือ และก็ใช้กันมานานจนกลายเป็นคำศัพท์ทางเรือ จนเป็นที่เข้าใจว่า Port คือ ด้านซ้าย หรือ เขตที่เป็นสีแดง ส่วน Starboard ก็คือ ด้านขวา หรือเขตที่เป็นสีเขียว ส่วน Stern ก็คือ ด้านท้ายเรือ (แปลตรงตัว)

คนส่วนใหญ่จะถนัดมือขวา มากกว่ามือท้าย ทำให้เวลาคัดท้ายเรือ หรือคัดหัวเรือ จึงต้องมาคุมที่กาบด้านขวาของเรือ ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่า "steorbord" ซึ่งหมายถึง "ด้านที่เรือจะนำ" ทำให้เวลาคัดท้ายเรือ หรือคัดหัวเรือ จึงต้องมาควบคุมที่กาบเรือด้านขวา และก็เพี้ยนจนกลายมาเป็น Starboard ในปัจจุบัน


เดิมด้านซ้ายเรือไม่ได้ใช้คำว่า Port แต่มาจากภาษาอังกฤษโบราณ จากคำว่า "bæcbord" แล้วเพี้ยนมาเป็นคำว่า "laddebord" ความหมายคือ "ด้านของเรือ ที่ใช้ในการถ่ายสินค้า"  และอีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ด้านข้างเรือที่อยู่ด้านท่าเรือหรือฝั่ง "Port" (เพื่อลดความเสียหายจากพายพวงมาลัย และทำให้ง่ายในการขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลง) และในปี ค.ศ.1844 การเปลี่ยนแปลงจาก "กาบซ้ายของเรือ" เป็น "พอร์ต" ถูกใช้เป็นทางการในราชนาวีอังกฤษ และอีกสองปีถัดมาใน ราชนาวีสหรัฐอเมริกา



หลักการจำ การใช้ Port กับ Starboard ให้ดู ไฟที่หัวเรือเราเป็นเกณฑ์
  • สีแดงจะอยู่ทางซ้าย หมายถึง ด้านนี้อันตราย
  • สีเขียวจะอยู่ทางขวา หมายถึง ด้านนี้ปลอดภัย

  การขับเรือในกฏสำหรับเลี่ยงเรือชนกัน ก็ให้เลี้ยวไปด้านที่ปลอดภัยของตัวเอง คือ สีเขียว หรือทางขวานั่นเอง

Port vs starboard for sailboat


กรณี Port

  • เรือ B อยู่ในฝั่ง Starboard ทิศทางวิ่งไป ฝั่ง Port ลำ A
  • เรือลำ A จะต้องหลีกทาง (Give way) กับ เรือลำ B  โดยการที่เรือลำ A จะต้องไปทางฝั่ง Starboard ของตนเอง
  • เรือลำ B จะขับต่อเนื่อง (Stand on) 
  • ให้ขับด้วยความระมัดระวังทั้ง 2 ลำ และใช้ความเร็วให้เหมาะสม


Port case


กรณี Starboard

  • เรือลำ B อยู่ฝั่ง Port
  • เรือลำ A จะขับต่อเนื่อง (Stand on)
  • เรือลำ B จะต้องหลีกทาง (Give way) โดยทำการเลี้ยวขวา หรือวิ่งไปทางฝั่ง Starboard ของฝั่งตนเอง
  • ให้ขับด้วยความระมัดระวังทั้ง 2 ลำ และใช้ความเร็วให้เหมาะสม

Starboard case
กฏการหลีกเลี่ยงเรือชนกัน sailboat


กรณี Stern (ท้ายเรือ)

  • เรือลำ B จะขับต่อเนื่อง (Stand on)
  • เรือลำ A จะหลีกทาง (Give way) โดยแซงด้านใดด้านหนึ่ง
Stern case


กรณี Port to port

  • กรณีวิ่งหากันโดยหัวเรือตรงกัน
  • เรือลำ A ให้วิ่งไปในเขตสีเขียวของตนเอง หรือ ด้านขวา (Startboard)
  • เรือลำ B ก็วิ่งไปในเขตสีเขียวของตนเองเหมือนกัน หรือ ด้านขวา (Starboard)

Port to port case


กรณีแล่นเข้าใกล้เรือใบ (Approaching a Sailing Vessel)

  • เรือใบลำ A จะขับตรงต่อเนื่องเสมอ (Stand on) ยกเว้นกรณีเรือใบต้องการแซง
  • เรือที่ใช้พลังเครื่องยนต์ ลำ B จะต้องหลีกทางก่อน อย่างชัดเจน เพื่อให้เรือใบลำ A เข้าใจการหลีกทางกัน
  • เรือใบจะไม่สามารถเดินเรือถอยหลังได้แบบเรือที่ใช้เครื่องยนต์ ฉะนั้นเรือใบจึงไม่มีเบรค (การเดินเรือที่ใช้เครื่องยนต์ถอยหลัง ก็คือการเบรค อย่างหนึ่ง) ฉะนั้นเรือที่ใช้เครื่องยนต์ขับ ควรหลีกทางให้กับเรือใบทุกกรณี เพราะเรือใช้เครื่องยนต์จะควบคุมได้อิสระกว่าเรือใบมาก
  • กรณีเรือที่มีขนาดต่างกันมาก ถ้าเรือลำ A เป็นเรือสินค้าขนาดใหญ่ หรือเป็นเรือที่บังคับตัวเองได้ไม่คล่องตัว เรือลำที่บังคับได้คล่องตัวกว่า จะต้องเป็นเรือที่ต้องหลีกทางอย่างชัดเจน ให้กับเรือที่บังคับควบคุมยากกว่า

กรณีการหลีกทางให้เรือใบ


การหลีกการชนกันของเรือใบ (Approaching Another Sailing Vessel)



ประวัติ Port และ Starboard


วิธีจำ Port และ Starboard


การไม่ให้ความสำคัญของกฏหลีกเลี่ยงการชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น