วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

High Low Tide Table 2016 / ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2559

High Low Tide Table 2016 / ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2559
Support smartphone version

แบ่งต่ามพื้นที่ คลิกเลือกจุดที่ต้องการ ตารางน้ำรายชั่วโมงในแผนที่


ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2016 / 2559
  • บอกระดับน้ำระดับสูงสุด-ต่ำสุด ต่อวัน การใช้งานบางอย่างต้องการรู้ว่าน้ำขึ้นเมื่อใด ลงเมื่อใด ขึ้นสูงสุดเมื่อใด ต่ำสุดเมื่อใด
  • การบอกระดับน้ำละเอียดเป็น เมตรและเซนติเมตร
  • การรู้ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด เท่ากับการรู้ต่ำแหน่งดิถีดวงจันทร์ 
  • ตารางระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด จัดทำเพื่อเป็น Backup Site เหมาะสำหรับชาวเล ชาวประมงชายฝั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตารางน้ำชาวเล รายชั่วโมง 2016 / 2559
                           : ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2015 / 2558
         

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

D.I.Y. เปลี่ยนลูกยางปั้มน้ำ Yamaha Outboard ง่ายด้วยตัวเอง

D.I.Y. เปลี่ยนลูกยางปั้มน้ำ Yamaha Outboard ง่ายด้วยตัวเอง



ระบบระบายความร้อนของเครื่องเรือ ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ลูกยางปั้มน้ำ ทำให้ที่ปั้มน้ำหล่อเลี้ยงระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ หากลูกยางปั้มน้ำตัวนี้เสีย ความร้อนจะขึ้น และหากความร้อนสูงมากๆ โดยที่เครื่องยนต์ไม่ตัดการทำงาน เครื่องยนต์จะเข้าสู่โหมดการพังโดยสมบูรณ์แบบ

เนื่องจากบล๊อคเครื่องขนาด 80-85-90 แรงม้าเป็นเครื่องที่นิยมใช้กันมากในเรือแบบส่วนบุคคล เนื่องจากขนาดเครื่องไซค์นี้ จะได้ทั้งความประหยัดแบบเครื่อง 60 HP และได้ความแรงแบบเครื่อง 115 HP ซึ่งลงตัวทั้งความประหยัดและความแรง (Yamaha Outboard)

การเปลี่ยนลูกยางปั้มน้ำ สามารถทำได้ด้วยคนเดียว (ผมเองก็เปลี่ยนคนเดียว) โดยใช้อุปกรณ์ดังนี้

  • ปะแจบล๊อค เบอร์ 10,12
  • ปะแจแหวน เบอร์ 12
  • น้ำยาหล่อลื่น WD-40
  • จารบี
  • กาวปะเก็นแบบแห้งช้า
  • ไขควงแบน
  • เกียงอันเล็ก
  • ค้อนเล็ก
  • แปรงสีฟันเก่า
ส่วนใหญ่เครื่องมือต่างๆ ก็จะมีในเรืออยู่แล้ว



ขั้นตอนการเปลี่ยนลูกยางปั้มน้ำ

ให้ถอดน๊อดยึดหาง มีน๊อต 4 ตัว ถอดน๊อตชุดนี้ก่อนซ้าย-ขวา




ถอดใบพัดเรือออก ไหนๆ ถอดใบแล้วให้เอาไปพ่นสีขาวเลย เวลาใส่จะได้ปิ้งๆ




งัดจุกพลาสติกออกจะมีมีน๊อตซ่อนอยู่ ตรงนี้ใช้ปะแจบล๊อคขันครับ




น๊อตตัวนี้ยึดหางเสืออันเล็กๆ ไว้สำหรับแก้แรงบิดของใบพัด เนื่องจากใบพัดหมุนทิศทางเดียวถ้าไม่แก้แรงบิดของใบพัด เวลาเรือวิ่งจะเลี้ยวหน่อยๆ เวลาปล่อยมือจากพวงมาลัยทำให้วิ่งไม่ตรง




ให้ใช้ปากกาเมจิกทำ Marker ไว้ จะได้ไม่ต้องมาลองวิ่ง แล้วมาปรับแก้กันใหม่




ตรงจุดไหนขันไม่ออก ให้เอา WD-40 ฉีดทิ้งไว้สักพัก แล้วค่อยมาขันใหม่ อย่าใช้กำลังอย่างเดียว ถ้าน๊อตหัวขาดงานเข้าๆ สังเกตุตรงจุดนี้มีน๊อตซ่อนบน ซ่อนล่างไว้




แล้วก็ค่อยๆ ดึงหางลงก็จะถอดออกมาได้แบบนี้




มาดูตรงเครื่องยนต์กันบ้าง จะเห็นกระเดื่องชุดนี้สำหรับกดเพื่อเลือกเกียร์เดินหน้า ถอยหลัง



ลูกยางปั้มน้ำอยู่ตรงนี้ ถอดน๊อต 4 ตัว




ใช้ไขควงแบนค่อยๆ งัด แล้วค่อยๆโยกๆ ดึงออกมา




ถอดลูกยางปั้มน้ำออก




เทียบสภาพลูกยางปั้มน้ำ อันใหม่ กับ อันเก่า อันนี้ใช้มา 7 ปีแล้วแต่สภาพยางยังไม่เปลื่อย แต่มันปั้มแล้วความดัน (Pressure) แรงน้ำไม่ได้ พอความดันไม่ได้ เทอร์โมสตัท ก็ทำงานไม่ถูกต้อง แล้วมันก็ฮีทในรอบสูงๆ




พวกปะเก็นต่างๆ ให้ใช้เกียงค่อยๆแซะ ก็จะได้ประเก็นที่สภาพสมบูรณ์




แล้วใช้ค้อนตอกบนไขควงแบน ตอกเอาสลักออก แล้วเอาไขควงงัดชุดนี้เพื่อถอดเอามาทำความสะอาด มันจะมีจุดสำหรับงัดออกตามลูกศรครับ




พอดึงออกจะเห็นมีแหวนโอริงยางอยู่กันซึมอีกตัว ก็ต้องเปลี่ยนตัวนี้ด้วย อันไม่เท่าไหร่ เปลี่ยนไปเลยเพราะอีก 5-7 ปีถึงและรื้อเปลี่ยนอีกที  ถ้าซีนโอริงกับประเก็นชุดล่างนี้รั่ว น้ำจะผสมกับน้ำมันเกียร์ มันจะเป็นฟอง หรือจะเห็นน้ำผสมกับน้ำมันเกียร์ แต่ของผมไม่มีน้ำ แสดงว่าซีนโอริงกับประเก็นชุดนี้ยังดี แต่ไงเราก็เปลี่ยนใหม่อยู่ดี เพราะพวกโอริงกับปะเก็นราคาถูก จะได้มั่นใจว่าจะอยู่ได้อีกนาน




ส่วนชุดเกียร์ จะเห็นตลับลูกปืน เดี๋ยวพอประกอบเสร็จ ค่อยเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ใหม่




เอาแปรงสีฟันเก่า ขัดล้างให้สะอาด ขี้เกลือเพียบเลย การใส่ปะเก็นใหม่ให้ใช้กาวปะเก็นแบบแห้งช้า ด้วยเพื่อให้มันสนิทไม่รั่วไม่ซึมจริงๆ




รายการอุปกรณ์ที่ทำการเปลี่ยน

อะไหล่รายการนี้สำหรับปีรุ่นเครื่องยนต์ที่ใหม่กว่าปี 1997 ถ้าปีรุ่นเก่ากว่าอะไหล่จะไม่เหมือนแค่บางตัว

1. ลูกยางปั้มน้ำจะใส่ในลูกถ้วยโลหะนี้ สังเกตุของเดิม โลหะสึกเป็นร่องเลย



2. ปะเก็นตัวล่างสุด



3. ปะเก็นตัวกลาง



4. แผ่น Plate สแตนเลสสำหรับจัดช่องทางน้ำ ใส่ประกบกับปะเก็นตัวกลาง สังเกตุตัวเก่าสึกจนเป็นร่องเหมือนกัน



5. ปะเก็นตัวบน



6.ลูกยางปั้มน้ำ



7.แหวนโอริงกันซึม



8.สลักลูกยางปั้มน้ำ



แล้วก็ประกอบใส่กลับเหมือนเดิม จุดที่ยากที่สุดก็ตอนประกบหางเข้ากับเครื่อง มันฟิตหน่อย แบบสาวพรหมจรรย์ แต่ก็ไม่เท่าไหร่ ...ใบพัดพ่นสีใหม่เท่ห์มาก



ทดสอบเดินน้ำดู รอบเดินเบา พุ่งปริ๊ดดดด .... มันยอดมาก
ของเดิมเหมือนเปิดพัดลมเบอร์ 1 ของใหม่เหมือนเปิดพัดลมเบอร์ 5



การเปลี่ยนยางพัดน้ำ ไม่ยากใครๆก็ทำได้ หรือเผื่อยางปั้มน้ำไปขาดบนเกาะ ปล่อยเรือเกยตื้นถอดหางเลย แค่นี้เรือที่รัก ก็จะอยู่กับเราไปอีกนาน

ข้อสังเกตุจากการใช้งาน

เรือที่ใช้ในบ้านเราส่วนใหญ่ ช่างมักแนะนำให้ถอดวาล์วน้ำ (Thermostat) แต่เรือผมไม่ได้ถอดออก เพราะต้องการอยากรู้ว่่า ถ้าไม่ถอด Thermostat จะดีอย่างไร

หน้าที่ของวาล์วน้ำ (Thermostat) คือ คอยรักษาอุณหภูมิเครื่องยนต์ให้คงที่ มีอุณภูมิค่าหนึ่งที่คอยรักษาให้คงที่ตลอดเวลา โดยวาล์วน้ำจะเปิด/ปิด อัตโนมัติตามอุณหภูมิ ส่วนใหญ่ตอนสตาร์ทครั้งแรก วาล์วน้ำยังไม่เปิด พออุณหภูมิถึงจุดหนึ่งจะเปิด ถ้าน้ำเย็นเกินหรืออุณหภูมิไม่ได้ก็ไม่เปิดวาล์ว


การถอดวาล์วน้ำ

ข้อดี คือ
  • เหมือนถอดประตูน้ำออก ทำให้น้ำไหลสะดวกกว่าไม่มี Thermostat น้ำจะไหลพุ่งแรงขึ้น เครื่องจึงมีโอกาส Heat น้อยกว่า เวลาใช้รอบสูงเวลานานๆ จึง Heat น้อยกว่าเครื่องที่ไม่ได้ถอด Thermostat
  • Thermostat มีอายุการใช้งาน ณ เวลาหนึ่งต้องเปลี่ยน จะประหยัดค่า Thermostat ไปได้หลายร้อยบาท


ข้อเสีย คือ
  • เครื่องจะเย็นเกินกว่าปกติในรอบต่ำ เพราะระบบระบายความร้อนทำงานดีเกิน หรืออย่างวิ่งเรือกลางคืนหรือตอนหน้าหนาว น้ำจะเย็นมากเกิน ระบบระบายความร้อนของเรือเป็นระบบเปิด ซึ่งต่างจากรถยนต์ซึ่งเป็นระบบปิด รถยนต์จะใช้น้ำหมุนวนในหม้อน้ำ ซึ่งถึงแม้จะถอดวาล์วน้ำอุณหภูมิจะไม่ต่ำมาก เพราะน้ำผ่านหม้อน้ำแล้ววนกลับมาในระบบ และหมุนเวียนในระบบ อุณหภูมิจึงไม่ต่ำเกิน แต่ระบบระบายความร้อนของเรือเป็นระบบเปิด ดูดน้ำใหม่มาระบายความร้อนตลอดเวลา น้ำจึงเย็นตลอดเวลา ฉะนั้นถ้าไม่มี Thermostat ในรอบเครื่องต่ำๆ เครื่องยนต์จะเย็นเกิน เครื่องยนต์ที่เย็นเวลาทำงานจะสึกหรอเร็วกว่าปกติ ถ้าใช้ในเวลาที่เท่ากันกับเครื่องที่มีวาล์วน้ำ เครื่องที่ไม่มีวาล์วน้ำเครื่องจะหลวมไวกว่า อายุงานสั้นกว่า
  • วาล์วน้ำจะทำงานสัมพันธ์กับ ลูกยางปั้มน้ำ และจะทำงานตามอุณหภูมิ (Temperature) และความดัน (Pressure) อันนี้จากการสังเกตุนะครับ มันจึงมีย่าน (Range) บางอย่างที่จะบอกบางสิ่งว่า ลูกยางปั้มน้ำคุณสภาพเริ่มแย่แล้วนะ โดยจะแสดงอาการมาก่อนที่ลูกยางปั้มน้ำคุณจะเสียจริงหรือใช้ไม่ได้จริง ในรูปแบบความดัน (Pressure) ที่ลดลง แต่เครื่องยนต์ก็ยังทำงานในโหมดกลับบ้านได้ ทำให้เรารู้ว่าจะต้องซ่อมบำรุงก่อนที่จะเสียหายจริง หากไม่มีวาล์วน้ำเราจะไม่มีสิ่งบอกเหตุ ซึ่งหากเสียหายจริงๆ ตอนนั้น ... โหมดกลับบ้านไม่ได้

Thank you friend ... Brandon Abril


วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Sea Man Tide Table 2016 / ตารางน้ำชาวเล รายชั่วโมง 2559

ตารางน้ำชาวเล รายชั่วโมง 2016 (2559)
Support smartphone version

แบ่งต่ามพื้นที่ คลิกเลือกจุดที่ต้องการ ตารางน้ำรายชั่วโมงในแผนที่


จุดประสงค์ การพัฒนาตารางน้ำชาวเล รายชั่วโมง (Sea Man Tide Table)

   เพื่อพัฒนาเครื่องมือที่ใช้สำหรับการคาดการณ์ระดับน้ำด้วยตนเองได้ โดยการจับความสัมพันธ์ของ การขึ้นและตก ของพระจันทร์และพระอาทิตย์ โดยใช้เพียงสายตา สังเกตุปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การขึ้นลงของน้ำที่สัมพันธ์กับการขึ้นตกของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ เราจะเห็นอะไรที่มากกว่า ระดับน้ำที่มันขึ้นแล้วลง แล้วก็ขึ้นแล้วก็ลง แล้วก็ขึ้นแล้วลงเป็นแบบนี้ตลอดเหมือนไม่แน่นอน ซึ่งจริงๆแล้วมันแน่นอน และสามารถคาดการณ์ได้ ... จะดีกว่ามั้ย ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติ และสามารถคาดการณ์อนาคตใกล้ๆ ได้อย่างแม่นยำ

  จริงๆ แล้วตัวเราเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของระบบสุริยะจักรวาล หากเราสังเกตุและดูตารางน้ำชาวเลบ่อยๆ เราจะค่อยๆมีสัมผัสพิเศษ ที่จะหยั่งรู้ รู้สึกได้จากการขึ้นลงของดวงจันทร์กับพระอาทิตย์ กับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของระดับน้ำมันมีนัยยะ ตัวอย่างสัมผัสพิเศษ เช่น ถ้าเราจับนกพิราบปิดตา แล้วนำมันไปตำแหน่งที่มันไม่รู้จัก และไม่เคยไปมาก่อน มันจะสามารถบินกลับรังได้อย่างถูกต้อง มันไม่ได้มีเครื่องบอกพิกัดที่สลับซับซ้อนอะไรเลย และมุมมองการบินแบบ Bird eye ก็ไม่ได้บอกรายละเอียดอะไรมาก แถมทำให้ความละเอียดลดลง มันไม่ได้คิดอะไรที่ยุ่งยาก สลับซับซ้อน แต่มันใช้ความรู้สึก อ่านค่าจากความรู้สึกที่สัมผัส ... แค่นั้น

ตารางน้ำนี้เหมาะกับ
  • ผู้ที่ทำการเลี้ยงสัตว์ทะเล
  • ผู้ที่มีอาชีพ หรือต้องดำรงชีพโดยอาศัยชายฝั่งทะเล
  • ประมงชายฝั่ง / นักตกปลา
  • นักวิจัยทางทะเล
  • ผู้ที่ต้องการใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ทางทะเล
  • ฯลฯ

 ในการจัดทำ ตารางน้ำชาวเลรายชั่วโมง ทดลองจัดทำเพื่อการศึกษาการขึ้นลงของน้ำ กับความสัมพันธ์การขึ้นและตกของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ โดยใช้วิธีดึงข้อมูลเป็น Record มาสรุปเป็นตารางน้ำ จากทั้งหมดประมาณ 3 แสน Record ในฐานข้อมูล Database เพื่อใช้ทำเครื่องมือ สำหรับช่วยในการดำรงชีวิตของชาวเล โดยคนทะเล เพื่อคนทะเล และสำหรับคนทะเล

ตัวอย่างตารางน้ำชาวเล

ตัวอย่างตารางน้ำพระอาทิตย์พระจันทร์

งานบริการทางสังคม หากท่านเป็นชาวเล สามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่ : datum2514@gmail.com

บทความที่เกี่ยวข้อง : D.I.Y. SUNMOON TIDE TABLE ตารางน้ำพระอาทิตย์พระจันทร์



วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทริปเดินเรือ เกาะรัง 2015 / Boater maritime trip @ ko rang 2015

ทริปเดินเรือ เกาะรัง 2015 /  Boater maritime trip @ ko rang 2015

จุดเริ่มต้นของทริปนี้เกิดจาก คนที่มีหัวใจเดียวกัน ... มารวมตัว และพร้อมใจกัน โดยมิได้เอ่ยปากชักชวนแต่ ... เราทำเพราะหัวใจเดียวกัน ...

ความคุ้มค่าในการออกเรือ กับ คุณค่าในการออกเรือ มันจึงคนละความหมาย มาลองสัมผัสถึงจิตใจคนที่เล่นเรือกัน ...


Boater : น้าสุรชัย , น้าเสียง , น้าพงศธร , น้าตุ้ม และน้องไปร์ท

ไปกัน 3 ลำ เดินทางไป เกาะกระดาด , เกาะหมาก ,เกาะกูด และเกาะรัง


จากการเล่นเรือมาหลายปี เดินทางไปหลายๆที่ พบปะผู้คนหลายหลาก ลักษณะของทริปเรือ ก็คือ ทริปของนักเดินทาง 

ทริปของนักเดินทาง กับ ทริปของนักท่องเที่ยว ไม่เหมือนกัน ยิ่งเป็นทริปนักเดินทางทางเรือ ยิ่งต้องมีความรู้เชี่ยวชาญในหลายๆ เรื่องด้วย และพร้อมจะเผชิญสิ่งต่างๆ ในการเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง

นักเดินทางทางเรือ

-เสื้อผ้าเน้นในการใช้งาน พร้อมเปียก พร้อมแห้ง พร้อมลุย ซักบ้างไม่ซักบ้างไม่เป็นไร
-เน้นประสบการณ์ในการผจญภัย การท่องโลก ช่วยเหลือตัวเอง ฝ่าฟันอุปสรรค เสพติดชีวิตสุดขั้ว
-นอนที่ไหนก็ได้ ที่พักก็ได้ เต็นท์ก็ได้ เรือก็ได้ เพราะมองทุกๆ ที่เป็นบ้าน
-กินง่าย อยู่ง่าย อาหารท้องถิ่นก็ได้ มีเวลาก็ทำทาน ไม่มีก็อาหารง่ายๆ
-เดินตามความฝัน อยากไปในที่อยากจะไป หรือจุดที่สนใจ
-ถ่ายภาพที่บอกเรื่องราว มองโลกแบบเห็นวิถีชีวิต
-เวลาไป เป็นกลุ่มเล็ก หรือไปคนเดียว

นักท่องเที่ยว

-เสื้อผ้ามียี่ห้อ อินเทรน สะอาดตาเปลี่ยนแปลงตามสถานที่นั้นๆ
-ไปในจุดที่เป็น จุดท่องเที่ยวแลนด์มาร์คต่างๆ
-ที่พักโรงแรม รีสอร์ท เน้นสบาย ทำไมต้องลำบาก
-ของกิน เลือกสรรร้านดัง อาหารอร่อย ดนตรีไพเราะ

-เดินทางตามกระแสนิยม ที่ๆ เป็นที่นิยม
-ส่วนใหญ่จะถ่ายรูปสถานที่พัก สถานที่กิน
-เวลาไป ไปเป็นกลุ่มใหญ่







ทริปนี้เป็นทริปสำรวจ ได้พบสถานที่กางเต็นท์ริมหาด สุดชิลดีๆ ร่มรื่น สำหรับชาวเรือ


คลิก สถานที่กางเต็นท์ริมหาด เกาะรัง


รวมรูปทริป <= คลิก




กางเต็นท์ริมทะเล เกาะรัง

กางเต็นท์ริมทะเล เกาะรัง ตราด








บ้านพักเป็นหลัง
ห้องน้ำ อาบน้ำ
เป็นเกาะที่ร่มรื่น ร่มเย็นจริงๆ


วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Tide Table Thailand 2016 / ตารางน้ำรายชั่วโมง 2559

ตารางน้ำรายชั่วโมง 2016 (2559)
Support smartphone version

แบ่งต่ามพื้นที่ คลิกเลือกจุดที่ต้องการ ตารางน้ำรายชั่วโมงในแผนที่

จุดประสงค์ การพัฒนาระบบข้อมูลตารางน้ำรายชั่วโมง (Water Tide Table)

   เพื่อพัฒนาเครื่องมือที่เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการเดินเรือ ให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเลกทรอนิกส์  โดยการเข้าถึงข้อมูล ได้จากทุกที่ ทุก Platform ทุก OS โดยใช้งานผ่านระบบ Web Browser  และสามารถใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ตได้ทุกระบบ โดยปัจจุบันอาศัยข้อมูลฐานจาก Water Tide Table จากกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ประเทศไทย

  เนื่องจากในปัจจุบัน ฐานข้อมูลที่อยู่ในรูปตารางน้ำรายชั่วโมง ยังอยู่ในรูปแบบที่ใช้สำหรับ การจำหน่ายโดย กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ โดยปรกติตารางน้ำรายชั่วโมง หรือ มาตราน้ำ จะมีการเผยแพร่ทั่วไปบนอินเตอร์เน็ต หลังจากเริ่มจำหน่าย หลังเดือนมกราคม ไปแล้ว

  เพื่อมิให้ขัด และ มีผลต่อการจัดจำหน่าย ตารางน้ำรายชั่วโมง หรือ มาตราน้ำ จึงจำเป็นต้องมีการเข้ารหัสผ่าน โดยมีการจำกัดการเข้าถึง ในรูปแบบ Shareware โดยการแบ่งปันทดลองใช้ในวงที่จำกัด อาจมีข้อที่ไม่สะดวกบ้าง ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และไม่มีการบริการ ในรูปแบบการ Copy หรือ Download ข้อมูล จึงเรียนมาเพื่อทราบข้อจำกัดด้วย

   ในการจัดทำ ข้อมูลต้นฉบับเป็นฐานข้อมูล Database สำหรับเพื่อการศึกษาเรื่องน้ำขึ้น-น้ำลง โดยมีการเก็บข้อมูลในรูปแบบ Record และใช้วิธีดึงข้อมูลมาสรุปเป็น 29 จุดตรวจวัด  และ 348 Tide Table เพื่อสะดวกในการค้นหาข้อมูลในหลายรูปแบบ และพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการเดินเรือ และเครื่องมือสำหรับการดำรงชีวิตชาวเล

ตัวอย่างตารางน้ำรายชั่วโมง

สนใจรายละเอียดสามารถสอบถาม หรือแนะนำข้อมูลได้ที่ : datum2514@gmail.com

ท่านอาจติดต่อขอ สั่งซื้อหรือช่วยสนับนุนกิจการ การจำหน่ายแผนที่ และบรรณสารทางการเดินเรือ <--คลิก

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตารางน้ำชาวเล รายชั่วโมง 2016/2559



วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พ.ร.บ การเดินเรือในน่านน้ำไทย

พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย




เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง



พ.ร.บ.ป้องกันเรือโดนกัน

พ.ร.บ. ป้องกันเรือโดนกัน





เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง



วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

เรื่องของฟ้าผ่า และ ความปลอดภัยบนเรือ

เรื่องของฟ้าผ่า และ ความปลอดภัยบนเรือ



หากเราอยู่ในเรือช่วงฝนตกฟ้าคะนอง ทั้งคลื่นทั้งลม ทั้งฝนทั้งฟ้าผ่า คงทุลักทะเลน่าดู ช่วงเวลานั้นน่าจะเป็นช่วงที่ดูแย่ที่สุดเวลาอยู่บนเรือ



ถ้าดูจากแผนที่ค่าเฉลี่ยฟ้าผ่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีฟ้าผ่ามากติดอันดับของโลกเหมือนกัน จากแผนที่ ส่วนที่เป็นสีเหลืองในแผนที่ คือส่วนที่มีฟ้าผ่ามาก ประเทศที่มีฟ้าผ่ามากที่สุดคือ ประเทศคองโก ทวีปแอฟริกา

ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าในอากาศ   เป็นการปลดปล่อยประจุออกจากเมฆฝนฟ้าคะนอง เกิดจาก เมฆคิวมูโลนิมบัส” (Cumulonimbus)

หากเพื่อนๆสนใจ เรื่องเกี่ยวกับเมฆ คลิก -> เรื่องของเมฆ สวรรค์บนชั้นฟ้า กับการพยากรณ์


ภายในก้อนเมฆมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า โดยประจุบวกจะอยู่ด้านบนบริเวณยอดเมฆ ส่วนประจุลบจะอยู่บริเวณฐานเมฆ โดยประจุลบที่ฐานเมฆจะเหนี่ยวนำให้พื้นผิวโลกที่อยู่ใต้เงาเมฆมีประจุเป็นบวก



รูปแบบการเกิดฟ้าผ่า

ฟ้าจะผ่าบริเวณที่มีประจุต่างกัน ลักษณะของฟ้าผ่าจะมีดังนี้

  1. ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ จะเชื่อมประจุลบด้านล่าง และประจุบวกด้านบนเข้าด้วยกัน ฟ้าจะผ่าแบบนี้มากที่สุด
  2. ฟ้าผ่าจากก้อนเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง เช่น จากประจุลบในก้อนเมฆก้อนหนึ่งไปยังประจุบวกของเมฆอีกก้อนหนึ่ง
  3. ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุลบออกจากก้อนเมฆ เรียก ฟ้าผ่าแบบลบ (Negative lightning) ฟ้าผ่าแบบนี้จะผ่าบริเวณใต้เงาของเมฆฝนฟ้าคะนองเป็นหลัก เพราะพื้นที่ใต้ฐานเมฆถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาพเป็นประจุบวก
  4. ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุบวกออกจากก้อนเมฆ เรียก ฟ้าผ่าแบบบวก (Positive lightning) ฟ้าผ่าแบบนี้จะผ่าไปได้ไกลจากก้อนเมฆได้ถึง 30 กิโลเมตร นั่นคือ ถึงแม้ท้องฟ้าเหนือศีรษะเราจะดูปลอดโปร่ง แต่เราก็อาจถูกฟ้าผ่าได้ ฟ้าผ่าจากประจุบวก มักเกิดช่วงท้ายๆ ของพายุฝนฟ้าคะนอง หรือหลังจากฝนเริ่มซาลงแล้ว แม้ว่าฟ้าผ่าแบบประจุบวกจะเกิดขึ้นไม่บ่อย (น้อยกว่า 5% ของฟ้าผ่าทั้งหมด) แต่ฟ้าผ่าแบบประจุบวกทรงพลังมากกว่าฟ้าผ่าแบบประจุลบถึง 10 เท่า คือ กระแสไฟฟ้าอาจสูงถึง 3 แสนแอมแปร์ และความต่างศักย์ 1 พันล้านโวลต์

ลำดับขั้นตอนเกิดฟ้าผ่า
แม้ว่าสายตาคนเราเห็นสายฟ้าเพียงแค่แว่บเดียวระดับเสี้ยววินาที แต่จากการศึกษาโดยใช้กล้องความเร็วสูงจับภาพ ประกอบกับความรู้ทางฟิสิกส์ทำให้ทราบว่า การเกิดฟ้าผ่า มีขั้นตอนค่อนข้างซับซ้อน โดยความต่างศักย์ระหว่างฐานเมฆกับพื้นดินจะต้องสูงกว่า 9,000 โวลต์ต่อเมตร จึงจะเอาชนะความต้านทานไฟฟ้าของอากาศได้


จากภาพช้าของฟ้าผ่านนี้ทำให้เราเข้าใจว่า ทำไมสายฟ้าจึงมักผ่า สิ่งที่มีลักษณะสูงและยอดแหลม ในบริเวณหนึ่ง เช่น ต้นไม้ไหญ่ ตึกสูง เสาไฟฟ้า กระโดงเรือ สายอากาศ หรือสายล่อฟ้าบนอาคาร

ในหลักการแล้วสายฟ้าจะฟาดลงมาได้ทุกจุด ไม่ว่าบนพื้นดิน ต้นไม้ หรือบนอาคารสิ่งปลูกสร้างต่างๆ กระแสแบบขั้นอาจผ่ามาที่หลังคาบ้านก็ได้ เพราะมีกระแสสตรีมเมอร์มาจ่อรออยู่แล้ว แต่จากสถิติแล้ววัตถุ หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่สูงกว่ามีโอกาศที่จะถูกฟ้าผ่ามากกว่า

กรณีฟ้าผ่าสิ่งใกล้เคียง อย่างเช่น กระโดงเสาเรือใบ หรือหลังคาเรือ สายฟ้าก็อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ได้รับอันตราย ได้เนื่องจาก
  • กรณีฟ้าผ่าลงกับสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว กระแสไฟฟ้าอาจ "กระโดด" เข้าสู่ตัวทางด้านข้างได้ เรียกว่า ไซด์แฟลช (Side flash) หรือ ไฟฟ้าแลบจากด้านข้าง
  • แม้ว่าจะอยู่ห่างออกมาพอสมควร แต่กระแสไฟฟ้าที่ไหลมาตามพื้น ก็ยังอาจมาทำอันตรายคุณได้ (ตัวเรืออลูมิเนียม จะนำไฟฟ้า จะเสียเปรียบในเรื่องนี้กว่าเรือประเภทอื่นๆ เพราะอลูมิเนียมเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี สายไฟฟ้าตามเสาไฟก็ใช้อลูมิเนียมเป็นตัวนำ) กระแสไฟแบบนี้เรียกว่า กระแสวิ่งตามพื้น (Ground current) หรือ สเต็ปโวลต์เตจ (Step voltage) กล่าวคือจะมีความต่างศักย์ระหว่างสองบริเวณ ที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน

ท่านั่งเพื่อลดอันตรายจากการถูกฟ้าผ่า และลดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าของฟ้าผ่า

ลองนึกถึงเหตุการณ์จริง ในสภาวะฝนตกฟ้าคะนอง ฝนกระตก ตัวก็เปียก คลื่นก็จัด ฟ้าก็ดันมาผ่าเปรี้ยงลงตรงเรืออีก ในสภาวะคลื่นลม ไม่สามารถยื่นประคองตัวแบบขาชิดติดกันได้ ทำให้ต้องกางขาเพื่อการทรงตัวและจะต้องมีการจับส่วนหนึ่งส่วนใดของเรือ มือที่จับ ขาสองข้างที่กางห่างกัน ทั้ง 3 จุดนี้ทำให้เกิด Step voltage หรือ การได้รับแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เท่ากัน เราจึงถูกไฟ 100 ล้านโวลต์ดูด หากไม่สามารถเลี่ยงได้ในสภาวะแบบนี้ให้ใช้ท่านั่งเก็บขาเก็บแขนปิดหู โดยให้ตัวเองสัมผัสพื้นที่จุดเดียวจะอันตรายน้อยที่สุด และอย่านอน การนอนจะทำให้จุดสัมผัสพื้นมีหลายจุด ทำให้ยิ่งมีความต่างศักย์ของแรงดันไฟยิ่งมาก ทำให้เกิด Step voltage มากขึ้น

ตัวเรือบอดี้เรือที่ต้านการนำไฟฟ้ามากที่สุด คือ เรือไฟเบอร์ -> เรือไม้ ->เรือเหล็ก ->เรืออลูมิเนียม
ส่วนบอดี้เรือที่นำไฟฟ้าดีที่สุด ก็ในทางกลับกันจากด้านบน



ในเว็ปไวต์ของ NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration) ผู้เชี่ยวชาญด้านฟ้าผ่า John Jensenius ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า "โทรศัพท์มือถือ โลหะชิ้นเล็กๆ เครื่องประดับ หรือ อื่นๆ ไม่ได้ล่อฟ้าผ่า ไม่มีอะไรล่อฟ้าผ่า สายฟ้ามีแนวโน้มที่จะผ่าวัตถุที่อยู่สูงกว่า คนที่ถูกฟ้าผ่าเนื่องจากพวกเขาอยู่ผิดที่ ผิดเวลา ... ผิดที่คือ อยู่นอกอาคาร ผิดเวลาคือ อยู่ในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนองอยู่ใกล้ๆ"

กระแสไฟที่เกิดจากฟ้าผ่า ทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแผ่ออกไปโดยรอบๆ หากมีโลหะอยู่ไกล้ๆ โลหะก็จะถูกกระแสเหนี่ยวนำ ทำให้โลหะร้อนขึ้น NOAA ยังให้คำแนะนำภายใต้หัวข้อความปลอดภัยว่า "ให้ละทิ้งสิ่งต่างๆ ที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบให้ห่างตัวคุณออกไป เช่น ที่ตกปลา  ร่ม ไม้กอล์ฟ เครื่องมือต่างๆ ที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ กระเป๋าเป้สะพายหลัง หรือวัตถุที่เป็นโลหะใดๆ เพราะผิวหนังคุณจะไหม้หากสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ (เนื่องจากโลหะจะร้อนขึ้นเพราะกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำนั่นเอง)"

ตัวอย่างเหตุการณ์ฟ้าผ่าแกะในสหรัฐอเมริกา ในปี 1939 มีแกะถูกฟ้าผ่าตายพร้อมกัน 835 ตัว จากฟ้าผ่าเพียงครั้งเดียว ซึ่งเป็นไปได้มากว่า แกะเหล่านี้ถูกกระแสวิ่งมาตามพื้น (Ground current) ทำอันตรายตายพร้อมกัน ไม่ใช่ว่าสายฟ้าแยกเป็นหลายร้อยสายพุ่งเข้าสู่ตัวแกะแต่ละตัวอย่างใด


จากสถิติของ NOAA เก็บข้อมูล ปี 2006 ถึง 2013 กิจกรรมที่มีคนถูกฟ้าผ่าเสียชีวิต 3 อันดับแรกคือ คือ กิจกรรมตกปลา แค้มป์ปิ้ง และการเล่นเรือ ตามลำดับ

การทดสอบฟ้าผ่า โดย เจนเนอรัล อิเล็คทรอนิกส์


กรณีอยู่ในเรือ อาจใช้มาตรฐานเดียวกับอยู่ในรถ เคยมีการทดสอบโดยบริษัท เจนเนอรัล อิเล็คทรอนิกส์ โดยการทดสอบให้ฟ้าผ่ารถยนต์ จะสังเกตุกระแสไฟฟ้ากระโดดออกจากกระทะล้อลงสู่พื้นรถยนต์ เวลาอยู่ในเรือหรือรถ สิ่งที่ต้องทำคือ อย่าสัมผัสกับส่วนใดส่วนหนึ่งของเรือหรือรถที่เป็นโครงโลหะ กรณีเช่นนี้ถึงแม้ฟ้าจะผ่าเรือ หรือรถแต่กระแสไฟฟ้าจะไหลไปตามโครงเรือหรือรถออกไปที่น้ำทะเลหรือพื้นดิน

เรือที่ทรงเป็นเคบิน หรือมีหลังคาครอบจะมีความปลอดภัยจากฟ้าผ่ามากกว่า เรือที่ไม่มีเคบิน และอย่าอยู่ใต้หล้งคาพับ เพราะเวลาฟ้าผ่าที่โครงหลังคาพับ จะมีไฟกระโดดออกจากด้านข้าง (Side flash) จากโคลงหลังคาพับ แบบไฟแลบ จากโครงหลังคา

ตัวเรือที่เป็นไฟเบอร์ และไม้ จะปลอดภัยกว่าตัวเรือที่เป็นเหล็ก กับอลูมิเนียม เนื่องจากลำตัวเรือไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า (การแก้ไขของตัวเรือที่นำไฟฟ้าได้คือ กาบเรือด้านในกับพื้นเรือควรใช้วัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า เพื่อลดผลของ Ground Current)

 

ตัวอย่างฟ้าผ่าเรือ และผลของการถูกฟ้าผ่า







สิ่งบอกเหตุว่าจะถูกฟ้าผ่า
  • หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่เหนือศีรษะ คุณจะมีสิทธิ์ถูกฟ้าผ่าแบบลบได้ หากคุณรู้สึกว่าเส้นขนบนผิวหนังลุกขึ้น หรือถึงขนาดเส้นผมบนศีรษะลุกตั้งขึ้น ก็แสดงว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า เนื่องจากเส้นขนหรือเส้นผมของคุณกำลังถูกเหนี่ยวนำอย่างรุนแรง
ภาพนี้มาจากเหตุการณ์จริง หลังจากผู้หญิงคนนี้เดินจากไปจากจุดนี้ 5 นาที ได้มีสายฟ้าผ่ามายังจุดนี้ที่เธอยืน มีผลทำให้มีคนเสียชีวิต 1 คน พิการ 1 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 6 คน
  • หากท้องฟ้าบนศีรษะคุณไม่มีเมฆฝนฟ้าคะนอง แต่ไกลออกไปราว 30 กิโลเมตร มีพายุฝนฟ้าคะนอง คุณก็ยังเสี่ยงโดนฟ้าผ่าแบบบวก (โอกาสโดนฟ้าผ่าจะน้อย แต่จากสถิติก็มีคนและสัตว์ถูกฟ้าผ่าแบบนี้ไม่น้อย)

หลักการสังเกตุเรื่องฟ้าผ่า
  • ใช้กฏ 30/30
  1.  เลข 30 ตัวแรกมีหน่วยเป็น วินาที หมายถึงว่า หากเห็นฟ้าแลบ แล้วได้ยินเสียงฟ้าร้องตามมาภายในเวลาไม่เกิน 30 วินาที ก็แสดงว่า เมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ใกล้มากเพียงพอที่ฟ้าผ่าจะทำอันตรายคุณได้ ให้หาที่หลบที่ปลอดภัย (ตัวเลขนี้มาจากการที่เสียงเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 346 เมตร ต่อวินาที ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ดังนั้น ระยะเวลาต่ำกว่า 30 วินาที จึงหมายถึงว่า เมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ห่างไปไม่ถึง 10.5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะที่ฟ้าผ่าแบบบวกทำอันตรายได้
  2. ตัวเลข 30 ตัวหลังมีหน่วยเป็น นาที หมายถึงว่า หลังจากพายุฝนฟ้าคะนองหยุดลงแล้ว (ฝนหยุดและไม่มีเสียงฟ้าร้อง) คุณควรหลบอีกอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้มั่นใจว่า เมฆฝนฟ้าคะนองได้ผ่านไป หรือสลายตัวไปแล้ว โปรดจำไว้ ฟ้าผ่าแบบบวกมักจะเกิดในช่วงท้ายของพายุฝนฟ้าคะนอง
  • การวัดระยะห่างจากฟ้าผ่า โดยการนับ 1-2-3 (วินาที) ถ้าได้ยินฟ้าร้องหลังจากฟ้าแลบ 3 วินาทีพอดี แสดงว่าฟ้าผ่าอยู่ห่างจากตัวเรา 1 กิโลเมตร ถ้าได้ยินฟ้าร้องหลังจากฟ้าแลบ 6 วินาที แสดงว่าฟ้าผ่าอยู่ห่างจากตัวเรา 2 กิโลเมตร


ผลกระทบของฟ้าผ่าต่อชีวิต

          ข้อมูลจาก ผู้ถูกฟ้าผ่าประมาณ 1/3 หรือร้อยละ 30 เสียชีวิตในที่เกิดเหตุส่วนที่รอดจะมีความพิการถาวร จากการถูกทำลายระบบประสาท เช่น อัมพาต ตาบอด หูหนวก เป็นต้น

         ไฟฟ้าจากฟ้าผ่า มีแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 100 ล้านโวลต์มีกระแสไฟฟ้าประมาณ 25-250 กิโลแอมแปร์ (KA) มีอุณหภูมิประมาณ 15,000 องศาเซลเซียส มีความเร็วประมาณ 1/10 ของความเร็วแสง   สามารถวิ่งผ่านร่างกายด้วยเวลาเพียง 1/10,000-1/1,000 วินาที จึงส่งผลต่อการเต้นของหัวใจและการทำงานของระบบประสาท ทำให้หัวใจหยุดเต้น และระบบหายใจหยุดทำงาน

สิ่งที่ต้องทำคือ การผายปอดและปั้มหัวใจ ด้วยการ CPR (การช่วยชีวิตแบบนี้จะใช้วิธีเหมือนกับการช่วยคนตกน้ำ เนื่องจากคนเจ็บจะไม่สามารถหายใจ และหัวใจหยุดเต้น)

หากเพื่อนๆ ท่านใดสนใจ วิธีการช่วยชีวิตแบบ CPR ศึกษาเพิ่มเติม คลิก-> การช่วยชีวิตด้วยการ CPR


ระบบความปลอดภัยจากฟ้าผ่าสำหรับเรือ

ถ้าเรือใหญ่อาจทำได้ง่ายกว่าเรือเล็ก เพราะเรือเล็กๆ ส่วนใหญ่จะไม่มีเคบิน โดยจะใช้วิธีทำสายล่อฟ้า แบบตึกหรือที่พักอาศัยนั่นเอง นั่นหมายความว่า ฟ้าก็ยังคงผ่าเรือ แต่จะใช้วิธีส่งต่อกระแสไฟฟ้า ออกไปหาจุดที่เป็น Ground current อย่างสมบูรณ์ โดยจุดที่เป็น Rod ที่ใช้ล่อฟ้าจะครอบคลุมมุมด้านล่างประมาณ 60 องศาในแนวดิ่ง




อย่างเรือใบจะมีการต่อสายไฟจากเสากระโดง ที่เป็นจุดเสี่ยงที่ฟ้าจะผ่า มาลงจุด Ground ที่สัมผัสน้ำ
ในเรือที่มีเคบิน จะป้องกันฟ้าผ่าได้สมบูรณ์ และมีความปลอดภัยกว่า แบบเรือเรือทรง Center control


การต่อ Ground ให้กับเสาเรือใบ



ข้อมูลอ้างอิง

  • NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration)
  • อ.บัญชา ธนบุญสมบัติ
  • วิชาการดอดคอม