วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เกาะจังหวัดปัตตานี (Islands in Pattani )

เกาะจังหวัดปัตตานี (Islands in Pattani )



เกาะในจังหวัดปัตตานี มีทั้งหมด 4 เกาะ
  • เกาะโลซิน
  • เกาะละปิ
  • เกาะบาเละ
  • เกาะตู้





แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดปัตตานี ในแผนที่ GPS





 เกาะโลซิน เรื่องราวของเกาะหินปูนเล็ก ๆ น้ำใสสุดๆ เกาะเล็กๆ ที่อาจพูดได้ว่าเป็นแค่กองหินกลางทะเลเวิ้งว้างในอ่าวไทย โผล่พ้นน้ำขึ้นมาไม่เกิน 100 ตารางเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นหินล้วนๆ ไม่มีต้นไม้ใบหญ้า ห่างจาก ชายฝั่งอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 106 กิโลเมตร

แต่ทว่าหินระเกะระกะที่รวมตัวกันผุดเป็นเกาะขึ้นมาแห่งนี้ เบื้องหลังกลับเป็นตำนานของโครงการมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้าน หรืออาจเรียกได้ว่า เกาะโลซินเป็นเกาะที่มีมูลค่าเท่ากับโคตรเพชรเลยก็ได้

เพราะหากไม่มีเกาะโลซิน วันนี้เราก็คงไม่มีสิทธิ์บนพื้นที่สัมปทานก๊าซกลางอ่าวไทย พื้นที่ครอบคลุมมากกว่า 7,000 ตารางกิโลเมตร และมีแหล่งสำรองก๊าซให้ประเทศถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไทยทั้งหมด

ครั้งนั้นได้มีการใช้หลักการแบ่งสันพื้นที่กลางทะเล ด้วยวิธีลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของแผ่นดินแต่ละฝ่ายขึ้นไป หรือเรียกว่าเขตไหล่ทวีป และปรากฏว่าเส้นตั้งฉากของมาเลเซียทับซ้อนพื้นที่สัมปทานทั้งหม ดของแหล่งก๊าซธรรมชาติมูลค่ากว่าแสนล้านบาทนี้ ดูเหมือนกับว่าไทยจะไม่สามารถใช้สิทธิโต้แย้งได้มากนัก เพราะลักษณะแผ่นดินของมาเลเซียงุ้มเข้ามาในอ่าวไทย ขณะที่แผ่นดินของไทยกลับเทลาดออกไป

แหล่งสัมปทานแห่งนี้ ห่างจากจังหวัดสงขลา 260 กิโลเมตร ขณะที่ห่างจากเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ของมาเลเซียประมาณ 150 กิโลเมตร แต่เดชะบุญที่คณะเจรจาครั้งนั้นไปพบเกาะหินกลางทะเลสุดเวิ้งว้าง..นั่นคือเกาะโลซิ

เราจึงได้ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1958 หรือราว ๆ พ.ศ. 2501 ที่ให้ความหมายคำว่าเกาะคือ แผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ เมื่อเกาะโลซินคือแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบของไทย จึงสามารถประกาศสิทธิเขตเศรษฐกิจจำเพาะจากแนวน้ำลดบริเวณชายฝั่งออกไปได้ 200 ไมล์ทะเลและพื้นที่ซึ่งประกาศออกไปนี้ก็ครอบคลุมแหล่งก๊าซมหาศาลนี้ด้วย

ผลของการค้นพบเกาะโลซินจึงทำให้ทั้งไทยและมาเลเซียหันมานั่งโต๊ะเจรจากัน และสุดท้ายก็ตกลงจะนำพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว มาร่วมกันพัฒนา ภายใต้โครงการพื้นที่ พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือเรียกชื่อย่อว่า เจดีเอ โดยรัฐบาลสมัยนั้นนำโดย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ไปลงนามร่วมกันบริหารจัดการพื้นที่อย่างเท่าเทียม โดยแบ่งผลประโยชน์กันคนละครึ่ง และจนกระทั่งมาถึงการพัฒนา กลายเป็นโครงการสำรวจสัมปทานกลางทะเล โครงการสร้างท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซในปัจจุบัน




เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง



ข้อมูลอ้างอิง
  • สมาชิก Pantip คุณ Armiblue
  • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกาะจังหวัดนราธิวาส (Islands in Narathiwat)

เกาะจังหวัดนราธิวาส (Islands in Narathiwat)

จังหวัดติดทะเลภาคใต้สุดของฝั่งอ่าวไทย มีเกาะจำนวนทั้งสิ้น 3 เกาะ
  • เกาะปูลาเจ๊ะมูดอ
  • เกาะมะปิง
  • เกาะยาว






แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดนราธิวาส ในแผนที่ GPS

มีสะพานปูนทอดจากแผ่นดินใหญ่ ข้ามแม่น้ำตากใบไปที่เกาะยาว ชื่อสะพานคอยร้อยปี ก่อนหน้านี้เป็นสะพานไม้ ต้องใช้เวลารอคอยมาถึงร้อยปีถึงเพิ่งได้สะพานปูน




เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง



เอกสารอ้างอิง
  • สมาชิก Pantip คุณPepito mi corazon
  • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกาะจังหวัดฉะเชิงเทรา (Islands in Chachoengsao)

เกาะจังหวัดฉะเชิงเทรา (Island in Chachoengsao)

เกาะในจังหวัดฉะเชิงเทรา มี 1 เกาะ คือ เกาะนก หรือเกาะธรรมชาติท่าข้าม หรือเกาะกลางแม่น้ำบางปะกง ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง






แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดฉะเชิงเทรา ในแผนที่ GPS

เป็นเกาะกลาง ปากแม่น้ำบางปะกง เกิดจากสันดอนปากแม่น้ำ เกาะประกอบด้วยป่าชายเลนทั้งเกาะมีพื้นที่ 125 ไร่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ต.ท่าข้าม อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้กลางแจ้ง เกี่ยวกับระบบนิเวศป่าชายเลน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ บนเกาะท่านจะได้พบเห็นพันธุ์ไม้ป่าชายเลนต่างๆรวมทั้งนกนานาชนิด ที่อาศัยอยู่ มากกว่า 50 สายพันธุ์ ซึ่งสามารถเที่ยวชมได้ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ (สะพานไม้) ความยาวกว่า 1,500 เมตร โดยตลอดเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายต่างๆรวมทั้งยังมีศาลาพักนักท่อง เที่ยว,หอดูนกและหอชมวิวความสูง 34 ฟุต ซึ่งท่านจะสามารถมองเห็นนกนานาชนิดและทิวทัศน์บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง

 



เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง

ข้อมูลอ้างอิง
  • เทศบาลตำบลท่าข้าม บางปะกง ฉะเชิงเทรา
  • กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

บทความที่เกี่ยวข้อง