เกาะจังหวัดปัตตานี (Islands in Pattani )
เกาะในจังหวัดปัตตานี มีทั้งหมด 4 เกาะ
- เกาะโลซิน
- เกาะละปิ
- เกาะบาเละ
- เกาะตู้
แผนที่เดินเรือ
แผนที่เกาะจังหวัดปัตตานี ในแผนที่ GPS
เกาะโลซิน เรื่องราวของเกาะหินปูนเล็ก
ๆ น้ำใสสุดๆ เกาะเล็กๆ ที่อาจพูดได้ว่าเป็นแค่กองห
ินกลางทะเลเวิ้งว้างในอ่าวไ
ทย โผล่พ้นน้ำขึ้นมาไม่เกิน 100 ตารางเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นหินล้วนๆ ไม่มีต้นไม้ใบหญ้า ห่างจาก ชายฝั่งอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทา
ง 106 กิโลเมตร
แต่ทว่าหินระเกะระกะที่รวมต
ัวกันผุดเป็นเกาะขึ้นมาแห่ง
นี้ เบื้องหลังกลับเป็นตำนานของ
โครงการมูลค่ามหาศาลหลายแสน
ล้าน หรืออาจเรียกได้ว่า เกาะโลซินเป็นเกาะที่มีมูลค
่าเท่ากับโคตรเพชรเลยก็ได้
เพราะหากไม่มีเกาะโลซิน วันนี้เราก็คงไม่มีสิทธิ์บน
พื้นที่สัมปทานก๊าซกลางอ่าว
ไทย พื้นที่ครอบคลุมมากกว่า 7,000 ตารางกิโลเมตร และมีแหล่งสำรองก๊าซให้ประเ
ทศถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไท
ยทั้งหมด
ครั้งนั้นได้มีการใช้หลักกา
รแบ่งสันพื้นที่กลางทะเล ด้วยวิธีลากเส้นตั้งฉากจากแ
นวโค้งของแผ่นดินแต่ละฝ่ายข
ึ้นไป หรือเรียกว่าเขตไหล่ทวีป และปรากฏว่าเส้นตั้งฉากของม
าเลเซียทับซ้อนพื้นที่สัมปท
านทั้งหม ดของแหล่งก๊าซธรรมชาติมูลค่
ากว่าแสนล้านบาทนี้ ดูเหมือนกับว่าไทยจะไม่สามา
รถใช้สิทธิโต้แย้งได้มากนัก
เพราะลักษณะแผ่นดินของมาเลเ
ซียงุ้มเข้ามาในอ่าวไทย ขณะที่แผ่นดินของไทยกลับเทลาดออกไป
แหล่งสัมปทานแห่งนี้ ห่างจากจังหวัดสงขลา 260 กิโลเมตร ขณะที่ห่างจากเมืองโกตาบารู
รัฐกลันตัน ของมาเลเซียประมาณ 150 กิโลเมตร แต่เดชะบุญที่คณะเจรจาครั้ง
นั้นไปพบเกาะหินกลางทะเลสุด
เวิ้งว้าง..นั่นคือเกาะโลซิ
น
เราจึงได้ใช้อนุสัญญากรุงเจ
นีวาว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1958 หรือราว ๆ พ.ศ. 2501 ที่ให้ความหมายคำว่าเกาะคือ
แผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ เมื่อเกาะโลซินคือแผ่นดินที
่มีน้ำล้อมรอบของไทย จึงสามารถประกาศสิทธิเขตเศร
ษฐกิจจำเพาะจากแนวน้ำลดบริเ
วณชายฝั่งออกไปได้ 200 ไมล์ทะเลและพื้นที่ซึ่งประก
าศออกไปนี้ก็ครอบคลุมแหล่งก
๊าซมหาศาลนี้ด้วย
ผลของการค้นพบเกาะโลซินจึงท
ำให้ทั้งไทยและมาเลเซียหันม
านั่งโต๊ะเจรจากัน และสุดท้ายก็ตกลงจะนำพื้นที
่ทับซ้อนดังกล่าว
มาร่วมกันพัฒนา ภายใต้โครงการพื้นที่ พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
หรือเรียกชื่อย่อว่า เจดีเอ โดยรัฐบาลสมัยนั้นนำโดย พล.อ.เกรียงศักดิ์
ชมะนันทน์ ไปลงนามร่วมกันบริหารจัดการ
พื้นที่อย่างเท่าเทียม โดยแบ่งผลประโยชน์กันคนละคร
ึ่ง และจนกระทั่งมาถึงการพัฒนา กลายเป็นโครงการสำรวจสัมปทา
นกลางทะเล โครงการสร้างท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซในปัจจุบัน
เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง
ข้อมูลอ้างอิง
- สมาชิก Pantip คุณ Armiblue
- กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
บทความที่เกี่ยวข้อง