ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สโมสรเรือใบหัวหิน

สโมสรเรือใบหัวหิน
Sailing Club Hua Hin






อัตราค่าสมาชิก
  • สมาชิกแบบครอบครัว ส่วนลด 10% ค่าเช่าเรือ ค่าเรียน ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 15,000 บาท/ปี
  • สมาชิกแบบบุคคล ส่วนลด 10% ค่าเช่าเรือ ค่าเรียน ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 12,000 บาท/ปี
  • สมาชิกครอบครัวรายเดือน ได้รับประโยชน์จากการเช่าเรือ และค่าเรียน 1,500 บาท/เดือน 
  • สมาชิกบุคคลรายเดือน ได้รับประโยชน์จากการเช่าเรือ และค่าเรียน 1,200 บาท/เดือน






เอกสารอ้างอิง : Sailing Club Hua Hin

สโมสรเรือใบฐานทัพเรือสัตหีบ

สโมสรเรือใบฐานทัพเรือสัตหีบ
Sattahip Naval Sailing Club




สโมสรเรือใบกองเรือยุทธการ

สโมสรเรือใบกองเรือยุทธการ
RTN Sailing Club







มีการเปิดสอนการแล่นใบเป็นช่วงๆ
ค่าสมัครของโครงการแล่นใบ กองเรือยุทธการ
1.ลูกข้าราชการ กร. 700 บ.
2.ลูกข้าราชการ ทร. 1,200 บ.
3.บุลคลภายนอก 3,000 บ.

หมายเหตุ การรับสมัครจะพิจารณาจากครอบครัวข้าราชการของกองเรือยุทธการเป็นอันดับแรก ต่อจากนั้นเป็นครอบครัวข้าราชการนอกกองเรือยุทธการสังกัดกองทัพเรือ และบุคคลภายนอกเป็นอันดับต่อไป การรับสมัครรับจำกัดจำนวน

รายละเอียดอ้างอิง : สโมสรเรือใบกองเรือยุทธการ

สโมสรเรือใบราชวรุณ

สโมสรเรือใบราชวรุณ
Royal Varuna Yacht Club

สมาคมสโมสรเรือใบราชวรุณ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสโมสรเรือใบแห่งแรก ของประเทศไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2500 เป็นคลับระดับ Premier มีค่าสมาชิกแรกเข้า 50,000 บาท และค่าสมาชิกรายเดือนๆละ 2,300 บาท มีที่พัก ร้านอาหาร และบริการสอนแล่นใบ








ข้อมูลอ้างอิง : Royal Varuna Yacht Club

ศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน

ศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน
Nongbon Water Sports Center

สำหรับคนที่สนใจเรือใบและวินเซิร์ฟ เสียค่าสมาชิกปีละ 40 บาท มีบริการสอนฟรี และบริการเครื่องเล่นทางน้ำฟรี










ข้อมูลอ้างอิง : ศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน

วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ซ่อมชุดควบคุมทริม Yamaha ง่ายด้วยตัวเอง

ซ่อมชุดควบคุมทริม Yamaha ง่ายด้วยตัวเอง
D.I.Y. Repair Control Yamaha Trim Easy yourself


ชุดควมคุมทริม หน้าที่
  • ใช้เร่งรอบเครื่องยนต์
  • ใช้เข้าเกียร์เดินหน้า ถอยหลัง
  • ใช้เข้าเกียร์ว่าง
  • ใช้ปรับยกหางขึ้น ลง

อาการเสียเกิดจากผมเอง ไปใช้น้องช่วยปรับกดทริมกระดกหางตอนรื้อซ่อมเครื่องยนต์ ปรกติสวิทซ์ทริมต้องกดไม่ขึ้นก็กดลง พอดีน้องกดตรงกลางสวิทซ์เลยหัก และทริมอัพก็ค้างตลอด เพิ่งมารู้ตอนออกทริปลาดาดีดู

เอ้า... สวิทซ์หายและจะทริมอย่างไงล่ะตู
 


สวิทซ์ที่หัก การไม่มีทริมเวลาวิ่งเรือนี่ วิ่งไม่ค่อยเนียนเท่าไหร่


ในเรือนอกของยี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะใช้ทริมยี่ห้อนี้ครับ ชุดทริมจะซ่อนอยู่ในบอดี้เรือ จะโผล่มาแค่แกนบังคับ ถอดฝาก่อน


ใช้ไขควงถอดน๊อตยึดแขนควบคุม น๊อต 1 ตัว



ถอดน๊อตใต้คันสวิทซ์ตรงปุ่มแดง น๊อต 4 ตัว


ถอดน๊อตยึดขาเหล็กควบคุม น๊อต 2 ตัว





ถอดฝาครอบสวิทซ์ทริม น๊อต 2 ตัวจะมีแผ่นยางกันน้ำ และ ฝาครอบ


หน้าตาสวิทซ์ทริม


ทริมอัพ (UP) สายสีเขียว ทริมดาว์น (Down) สายสีน้ำเงิน สายแดงอยู่ตรงกลาง


ชุดสวิทซ์ทริมหลายๆ แบบ ทั้งแบบกด และแบบดันโยก สวิทซ์เป็นของโรงงานยี่ปุ่นยี่ห้อเดิม สวิทซ์แบบเดิมเลิกผลิตไปแล้ว



มี 2 แบบ แบบกดขึ้น กดลง กับแบบดันขึ้น ดันลง แบบกดต้องใช้แรงเยอะกว่าหน่อย แบบโยกจะเบาแรงกว่า เสียงคลิกแน่นๆ เหมือนเดิม



ทดลองใส่แบบกด บล๊อคเท่าเดิม ขาล๊อคเหมือนเดิมเปี้ยบ


สวิทซ์แบบโยก ก็ขนาดเท่ากัน เหมือนกัน


ตัดสินใจเอาแบบโยกดีกว่า เบาแรงดี ไล่สายสีเหมือนเดิม เขียว แดง น้ำเงิน


ใส่ท่อหดกันช๊อตหน่อย


ดูดีมีตระกูลขึ้นเยอะ Safty First


ใส่เข้าไปในบล๊อค พอดีเปี้ยบ


ใส่ยางกันน้ำเข้าสวิทซ์


ใส่ฝาครอบสวิทซ์ เหมือนรีโมทเครื่องเล่นบังคับเลย


ใส่สปริงปุ่มกด ใต้ปุ่มกดแดง


ใส่แกนเหล็กเกียร์ น๊อตล็อค 2 ตัว เวลาใส่เรียงสายไฟเป็นเส้น อย่าให้ทับกัน


ก่อนใส่ฉีดน้ำมันหล่อลื่นนิดหน่อย


ติดตั้งแขนควบคุมเข้ากับแป้น


เย้ ... กลับมาเท่ห์เหมือนเดิม


เสร็จแล้วครับ

วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย ฉบับที่ 17 2560

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย  ฉบับที่ 17 2560




เป็นกฎหมายเพื่อควบคุมการปลูกสร้างอาคาร หรือสิ่งอื่นใดลงไปในแม่น้ำลำคลอง ทะเล ชายหาดสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการรักษาลำน้ำสำหรับการพาณิชยนาวี การเกษตรกรรม และการป้องกันอุทกภัย มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2560






เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง


วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Thomas Coville ผู้พิชิตแห่งท้องทะเล 49 วันรอบโลก

Thomas Coville ผู้พิชิตแห่งท้องทะเล 49 วันรอบโลก

Thomas Coville

Thomas Coville และเรือ Sodebo เรือใบแบบ Trimaranได้ออกเดินทางล่องเรือรอบโลกเพียงคนเดียว โดยทำสถิติแล่นใบรอบโลกใช้เวลา 49 วัน 3 ชั่วโมง 7 นาที 38 วินาที (2016) โดยไม่หยุดพัก

Sodebo Trimaran

ถ้าความฝันของนักปีนเขา คือ ปีนเอเวอร์เรส  ความฝันของนักเดินเรือ ก็คือ เดินทางโดยเรือรอบโลก



ขนาดเรือของ Sodebo มีขนาด
  • ความยาว 31 เมตร ( 103 ฟุต) 
  • ความกว้าง 21 เมตร ( 70 ฟุต)
  • เสากระโดงสูง 35 เมตร ( 116 ฟุต)
  • Upwind Sail Area: 442 ตารางเมตร
  • Downwind Sail Area: 662 ตารางเมตร
  • Designer: VPLP + Sodebo Design Team



เส้นทางเดินเรือรอบโลกของ Thomas Coville

หากไม่นับรวมเวลา วิ่งเข้า-ออกจากจุดเริ่มต้น การขับรอบโลกจริงๆ จะใช้เวลาเพียงแค่ 32 วัน (หรือประมาณ 1 เดือน) ในการขับตัดข้ามมหาสมุทรรอบโลก


"มันจำเป็นต้องยอมรับความจริง ณ เวลานั้นว่า คุณกำลังแล่นใบอยู่ใต้น้ำ แม้ Sodebo จะลำใหญ่ แต่การอยู่ในร่องน้ำของคลื่นสูง 10 ม. มันไม่ต่างอะไรกับเรือของเล่น"



"ความฝันใหญ่ๆไม่เคยเป็นจริงได้ในครั้งแรก ผมพยายาม, ผมล้มเหลว, ผมเศร้า, ผมลุกขึ้นมาใหม่ และสร้างตัวเองขึ้นอีกครั้ง"

"ผมอยากบอกทุกคนว่า จงอย่าหลงเชื่อพวกที่บอกว่าวันพรุ่งนี้จะแย่ยิ่งกว่าเก่า อย่าให้พวกเขาทำให้หวาดกลัว นั่นเป็นสิ่งที่เขาพูดๆกัน เรื่องราวของผมบอกให้ผู้คนรู้ว่าฝันเป็นจริงได้ บางทีความฝันของผมจะช่วยปลดปล่อยความฝันอื่นๆอีกมากมาย”