ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เรื่องของการดำน้ำ Diving Story

เรื่องของการดำน้ำ Diving Story

การดำน้ำเป็นกิจกรรมหนึ่งของการเล่นเรือที่ให้ความรู้สึกเหมือนหลุดไปอยู่อีกโลกหนึ่ง นักเล่นเรือมักจะมีโอกาสดีๆ กว่าคนคนทั่วไปที่จะได้สัมผัสการเดินทางไปบนเกาะได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีเรือ

บนเกาะส่วนใหญ่ จะมีภูเขา ก้อนหิน หาดทราย ต้นไม้ ปะการัง หอย ปลาชนิดต่างๆ และน้ำทะเลที่ใสแบบกระจก

สิ่งที่ได้จากการดำน้ำคือ ความสงบ ความอิสระ สมาธิ และได้เห็นความสวยงามและความสงบของโลกใต้ทะเล

การดำน้ำจะแบ่งเป็น 3 ประเภท  คือ

1.การดำน้ำแบบ Snorkeling

การดำน้ำแบบสน๊อคเกลลิ่ง เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นหัดดำน้ำ โดยส่วนใหญ่เป็นการดำน้ำตื้น


การดำน้ำแบบนี้จะมีหน้ากาก 2 แบบ

หน้ากากแบบแรก
เป็นหน้ากากแบบแว่นตา แล้วคาบท่อหายใจ หน้ากากแบบนี้มีข้อดี คือ เป็นการเรียนรู้การหายใจโดยใช้ปากหายใจ ซึ่งต้องฝึกความคุ้นเคย และเป็นพื้นฐานการดำน้ำ ในระดับสูงต่อไป เช่น การดำน้ำลึกแบบสกูบ้า


การดำน้ำแบบนี้เป็น วิธีดำน้ำที่ง่ายที่สุด ใช้เพียงอุปกรณ์หลักเพียง หน้ากากกับท่อหายใจ สำหรับคนที่ว่ายน้ำไม่เป็นก็ใส่ชูชีพ ก็จะสนุกกับการดำน้ำแบบนี้ได้แล้ว เชื่อมั้ย! ยังมีคนจำนวนไม่น้อยใช้อุปกรณ์แบบนี้ไม่เป็น

การดำน้ำเกือบทุกประเภท เราจะไม่ใช้จมูกหายใจ แต่เราจะใช้ปากแทนในการหายใจ อย่างตอนเวลาเราเป็นหวัดหายใจทางจมูกไม่สะดวก เราก็ใช้ปากหายใจแทนมันก็หายใจได้เหมือนจมูก

การใช้ท่อหายใจแบบนี้บางทีอาจมีน้ำเข้าท่อหายใจ วิธีไล่น้ำจากท่อคือ เป่าแรงๆ หรือไม่ก็เอามือปิดท่อด้านบนแล้วเป่าแรงๆ ก็ได้ น้ำจะถูกไล่ออกจากท่อหมดเอง


หน้ากากแบบที่สอง 
หน้ากากแบบครอบทั้งหน้า (Full Face) การดำน้ำแบบนี้เหมาะสำหรับคนที่อยากเปิดโลกทัศน์ใต้น้ำ เหมาะกับการน้ำตื้นอย่างเดียว แต่จะมีข้อดี คือ หายใจทางจมูกแบบปรกติ  (Easy Breath) ทำให้ไม่ต้องเรียนรู้การหายใจมาก ทำให้เข้าถึงโลกใต้ทะเลได้ง่ายขึ้น หากภายหลังสนใจที่จะเรียนดำน้ำขั้นสูงค่อยมาเรียนรู้หายใจทางปากทีหลังได้ มีคนจำนวนมากได้เห็นแค่ความสวยงามของเกาะและหาดทรายเท่านั้น หน้ากากแบบนี้จึงเป็นหน้ากาก ที่ใช้เปิดโลกใต้ทะเลให้กับคนที่ไม่ได้สนใจ และไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับโลกใต้ทะเล


ข้อเสียของหน้ากากแบบเต็มหน้า
  • ไม่สามารถดำน้ำโดยใช้ท่าหัวปักน้ำได้ (Duck dive) เพราะระบบ Dry top จะไม่สามารถทำงานได้เพราะเมื่อปักศีรษะดำน้ำแล้วท่อจะอยู่แนวนอน
  • ปริมาณอากาศในหน้ากากมีมากกว่าหน้ากากธรรมดา และหน้ากากใหญ่คลุมหน้า เวลาดำน้ำลึกจะมีแรงกดมาทั้งใบหน้าทำให้รู้สึกอึดอัด
  • เวลาดำน้ำลึกจะมีความกดอากาศเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงต้องมีการปรับความดันที่หู พอหน้ากากคลุมหน้าเลยปรับความดันหูไม่ได้ เลยดำน้ำลึกๆ ไม่ได้


การดำน้ำแบบ Snockeling นี้เราอาจดำน้ำดำมุดลงไปใต้น้ำได้ โดยใช้ท่าดำน้ำแบบเป็ด Duck dive




วิธีการดำน้ำแบบเป็ด คือ งอตัวกมหัวลง แล้วเอาขาชี้ขึ้น ใช้มือแหวกน้ำดึงตัวเองลง แล้วใช้ขาตีน้ำ ถ้าใช้ตีนกบ (Fins) ก็จะดำน้ำลึกลงได้ง่ายขึ้น

 

ในคนส่วนใหญ่จะกลั้นหายใจได้ประมาณ 1-2 นาที แล้วก็ดำขึ้นมาหายใจ และการ Snockeling จะไม่ได้ดำลึกมาก จะดำมุดดำมุดๆ สนุกๆ ถ่ายรูป เล่นกับปลา การดำน้ำแบบนี้ถึอว่ามีความปลอดภัยมากที่สุด กว่าการดำน้ำประเภทอื่น

2. การดำน้ำแบบสกูบ้า (Scuba Diving) 
การดำน้ำลึกแบบนี้เป็นการดำน้ำลึกโดยมีอุปกรณ์ช่วยหลายอย่าง


  • หน้ากากดำน้ำพร้อมท่อหายใจแบบ Snockeling พร้อมตีนกบ (Fin)
  • เสื้อชุด BCD เสื้อตัวนี้ช่วยในการลอยตัวได้แบบชูชีพ โดยมีวาว์ลเติมอากาศ และวาว์ลปล่อยอากาศออก
  • ชุด Wetsuit ช่วยในการลอยตัว กับป้องกันการบาดจากสิ่งมีคมใต้น้ำ
  • ถังอากาศ (Tank)
  • Regulator จะมีวาล์วที่ช่วยการหายใจเข้าและออกทางปากอย่างธรรมชาติมาก พร้อมมาตรวัดความดันอากาศ เข็มทิศ อากาศที่เหลือในถังอากาศ พร้อมตัวหายใจสำรองชุดที่ 2
  • เข็มขัดตะกั่ว ใช้สำหรับเป็นน้ำหนักถ่วงให้จม ถ้าไม่มีตัวนี้ดำน้ำไม่ได้เลย



 การดำน้ำแบบสกูบ้า (Scuba diving) จำเป็นต้องมีการเรียนรู้ในหลายอย่างมาก เช่น
  • เรื่องความกดอากาศ
  • เรียนรู้การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการดำน้ำ
  • ทักษะต่างๆใต้น้ำ
  • อากาศที่เราหายใจ และผลของมัน
  • การบาดเจ็บ สาเหตุการบาดเจ็บ และการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ จากการดำน้ำ
  • การคำนวนเวลาพักน้ำ เพื่อขับไนโตรเจนออกจากร่างกาย
  • ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ต้องเข้ารับการฝึกอบรม แล้วมีการสอบ และทดสอบ เมื่อผ่านจะได้รับบัตรอนุญาติดำน้ำ ซึ่งใช้ได้ทั่วโลก หากสนใจคลิก -> การดำน้ำแบบสกูบ้า


3.การดำน้ำแบบ Freediving

การดำน้ำแบบนี้สามารถดำน้ำได้ลึกได้ใกล้เคียงการดำน้ำแบบสกูบ้า โดยใช้อุปกรณ์น้อยมากหรือไม่ใช้เลย แต่ใช้ขีดความสามารถ การเรียนรู้ การฝึกฝน ทักษะ เพื่อชนะขีดจำกัดของตัวเอง



พอไม่ใช้อุปกรณ์เยอะแยะแบบการดำน้ำแบบสกูบ้า จึงมีอิสระในการเคลื่อนที่และแหวกว่ายได้แบบปลา ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดทักษะของการดำน้ำในปัจจุบัน


การดำน้ำแบบนี้ต้องมีการเรียนรู้ในเหมือนดำน้ำสกูบ้า เพื่อความปลอดภัย แต่ถ้าคนที่เคยเรียนดำน้ำแบบสกูบ้ามาแล้ว จะเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยในน้ำ หากฝึกการควบคุมการหายใจและไม่หายใจได้ และไม่ดำน้ำนานเกินจาก 2-3 นาทียังถือว่าการดำน้ำแบบนี้ เป็นการดำน้ำในแบบปรกติ ที่ยังไม่เลยจุดวิกฤติเลยเส้นแบ่งความเป็นกับความตาย

โดยปรกติคนเราถ้าขาดอากาศหายใจเกิน 10 นาที (ย้ำนะครับ คนปรกติ) ก็จะเข้าสู่โหมดความตายโดยสมบูรณ์ คนส่วนใหญ่สามารถกลั้นหายใจ โดยไม่หายใจได้ประมาณ 1 นาที แต่ถ้าฝึกฝนนิดหน่อยจะได้ 2-3 นาทีแบบสบายๆ

สามารถศึกษาเรื่องการขาดอากาศหายใจได้จาก -> Life Saving ทักษะพื้นฐานของนักเล่นเรือ

ลองมาดู Freediving ของคนไทยเก่งๆบ้าง ทำไว้ดีมาก ผมได้ขออนุญาติคุณบี ( Bee Zoomsai ) ในการแชร์เกี่ยวกับเรื่อง Freediving

Bee : "การฟรีไดฟ์ เป็นสิ่งที่คนมี Free Soul จะหลงรักมาก"



ลองมา Freediving ประเทศเพื่อนบ้านเรา Sipadan Island ประเทศ Malaysia เกาะนี้ปลาใหญ่เยอะจริงๆ ถ้าดูปะการังเราสวยไม่แพ้กัน ส่วนใหญ่ปลาประเทศไทยจะเป็นปลาตัวเล็กๆ และจะเป็นปลาสวยงามมากกว่า ถ้าเป็นปลาใหญ่บอกตามตรงสู้เขาไม่ได้จริงๆ 

ได้อย่างก็ต้องยอมเสียอย่าง ทุกอย่างต้องสามารถเปลี่ยนเป็นเงิน ตามหลักทุนนิยม ... แต่ไม่ต้องกังวล ประเทศไทย เรากลายเป็น ประเทศที่จับปลาเก่งที่สุดในโลก เราจับปลาเก่งจนเรามี/เป็นบริษัททูน่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ยอดขายปีละ 9 หมื่นล้าน หรือทำรายได้ตกชั่วโมงละประมาณ 10.27 ล้านบาท มันจะต้องจับปลามากมายขนาดไหนถึงจะได้เงินขนาดนั้น จนต่างชาติกล่าวหาว่าเราทำการประมงอุตสาหกรรมแบบล้างผลาญ ไปนั่น ...

=> ป.ปลาหายไปไหน

อย่างน้อยยังมีจุดดำน้ำที่น่าสนใจ ไม่ไกลมาก มาเลเซียโดยสามารถเดินทางโดยเรือใบได้ ในแบบชาวเรือ ลองชมกันครับ



ที่ผมอยากจะบอกก็คือ การ Freediving มันให้อิสระมากมายกับการดำน้ำมากจริงๆ จนผมมองว่ามันเหมือนศิลปะอย่างหนึ่ง

ในประเทศอินโดนีเซีย ชาวประมงก็ใช้หลักวิธีของ Freediving ในการดำรงชีพ (จริงๆเขาไม่ได้เคยรู้จัก Freediving ด้วยซ้ำ)  เขาทำตัวให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ง่ายๆ ... เพียงสูดลมหายใจเพียงอึดเดียว ... แค่นั้นจริงๆ

มีสัตว์จำนวนมากที่หายใจใต้น้ำไม่ได้ แต่ก็อาศัยอยู่ในน้ำ ใช้วิธีขึ้นมาสูดลมหายใจบนผิวน้ำ แล้วดำไปใต้น้ำ เช่น
  • วาฬ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด 
  • โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด
  • พะยูน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด
  • แมวน้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด
  • จระเข้ เป็นสัตว์เลื้อยคลาน หายใจด้วยปอด
  • ฯลฯ



คงพอเข้าใจวิธีของ Freediving กันกันพอควร ความน่าสนใจของ Freediving ก็คือ มันเป็นวิธีดำน้ำที่ใช้อุปกร น้อยมากๆ แต่ใช้ความสามารถ และการฝึกฝนเยอะกว่าดำน้ำแบบอื่น

คุณบีฝากทริปหมู่เกาะสุรินทร์ มาให้อีกอัน สำหรับคนที่รักอิสระและรักการเดินทาง คงชอบกับ 5 เหตุผลว่าทำไมต้องไปหมู่เกาะสุรินทร์  Beaches , Freediving , Sharks , Turtles , Coral reefs



Bee : "มันคงจะโชคดีมาก ๆ ถ้าคุณได้มาอยู่บนเกาะที่มีโลกใต้น้ำที่สวยที่สุดแห่งนึงในประเทศไทย และในขณะเดียวกันก็มีเพื่อนคุณ ที่เป็นนักฟรีไดฟ์มือโปรอยู่ด้วย

เพื่อนบีผู้มีผมทรงเดรดล๊อคเป็นเอกลักษณ์ ผู้ร่วมผจญภัย ซึ่งเป็นครูสอนฟรีไดฟ์ของบี เชียร์ให้บีโดดลงน้ำไปเลย พร้อมหน้าการ snorkel, รองเท้าดำน้ำและฟินคู่ใจ  พี่ทอมมี่บอกว่าให้พยายามยืดตัวออกไป อย่างอขางอตัว แล้วก็…หายใจเข้าออกลึกลึกกกกกกก ช้าช้าาาาาาาาาา

พี่ทอมมี่บอกว่า เวลาฟรีไดฟ์ บีจะต้องทำตัวให้รู้สึกว่างเปล่า เหมือนได้ปลดปล่อยทุกอย่างไปแล้ว ให้สงบสติอารมณ์ ตั้งสติ ทำสมาธิจับลมหายใจ และให้รู้สึกว่าอากาศนั้นกำลังไหลไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย บีต้องไม่รีบร้อน ไม่ตื่นตกใจ ให้ผ่อนคลาย และ Enjoy ช่วงเวลานั้นเลย…  และจากนั้นไม่นาน มารู้ตัวอีกที บีก็ล่องลอยแหวกว่ายไปพร้อม ๆ กับพี่ทอมมี่และเพื่อนคู่ใจไปในทะเลสีครามแล้ว  ทั้งปลา ปะการังและดอกไม้ทะเลต่าง ๆ สวยงามมีชีวิตชีวากันอย่างมาก
"



แนวทางการ Freediving เบื้องต้นที่คุณบีสรุปไว้


The most important thing with Freediving (well, with pretty much everything else in life) is safety.

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการฟรีไดฟ์นั้นก็คือความปลอดภัย
ลองมาดู Tips ขั้นพื้นฐานในการฟรีไดฟ์กันนะคะ


Here are some standard tips for anyone who wants to give it a try:


1. Always calm yourself down before going down each time.  Do not dive down if you are nervous or panicking.

สงบสติอารมณ์ให้ได้ก่อนที่จะดำลงไป ถ้ายังตื่นยังลน อย่าเพิ่งลง


2. Take a couple of long and deep breaths *sloooooowly* before you go down to prepare your body.

หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ เต็ม ๆ ซัก 3-4 ครั้งก่อนที่จะดำลงไป เพื่อนเตรียมพร้อมร่างกาย


3. Take the snorkel out of your mouth after your last breath and right before you dive down.  If you are a beginner, sometimes your body’s natural reflect tells you to breathe through your mouth.  Therefore it is important to keep your mouth closed.

ดึงท่อหายใจออกจากปากหลังจากการหายใจเข้าครั้งสุดท้ายก่อนที่จะดำลงไป โดยเฉพาะถ้าคุณเพิ่งเริ่มดำ ร่างกายคุณจะยังไม่ชิน บางทีอาจมีรีเฟล็คที่ทำให้คุณหดูดอากาศเข้าทางปากในขณะที่อยู่ในน้ำ จึงสำคัญมากที่จะต้องปิดปากตอนที่ดำน้ำ


4. Do not forget to equalise your ears.  I do it as soon as my head goes under water, and also every 5 seconds or so I you go down.  The water pressure can hurt your ears faster than you think.  

อย่าลืมปรับความดันหู บีทำตั้งแต่วินาทีที่จุ่มหัวลงน้ำ และทำบ่อย ๆ เกือบทุก ๆ 5 วิในตอนที่ดำดิ่ง


5. Try to keep your body straight and perpendicular to the surface of the water when you first dive down.  It’s easier to dive down when doing so.  

พยายามทำตัวให้เป็นเส้นตรงและตั้งฉากกับผิวน้ำในช่วงแรกที่ดำดิ่งลงไป 


6. Do not rush.  There is no need to race.  Keep your legs rather straight and move them slowly like scissors rather than kicking. 

อย่ารีบ ไม่ต้องพยายามไปให้เร็ว พยายามทำขาให้ตรงและเคลื่อนขาช้า ๆ เหมือนกรรไกร ไม่ใช่พยายามเตะขาไปมาเหมือนตอนว่ายน้ำ


7. Don’t push yourself too much on your first day.  Once you feel more comfortable with freediving, start to push yourself little by little.  When you feel you need to come up to breathe, try staying for 5 seconds longer…or so.  You’ll be surprised how human body can adjust itself to new situations!  

อย่าหักโหมมากในวันแรก หลังจากสองสามวันเมื่อชินแล้ว ค่อยลองพยายามดำให้นานขึ้นทีละนิด ร่างกายเราสามารถปรับตัวได้อย่างน่ามหัศจรรย์ 


8. It is ok to release some air underwater if you feel you need to–through your mouth though.  However I am yet to discover if releasing air furiously through a different channel on my other end would make me go faster…I would have to point it in the accurate direction though…. 

ตอนอยู่ในน้ำ จะปล่อยลมออกมาบ้างก็ได้  นี่คือบีพูดถึงออกมาทางปากนะ  แต่เคยคิดเล่น ๆ เหมือนกันว่า ถ้าปล่อยออกอีกทางนึงมันจะช่วยให้เราไปเร็วขึ้นรึเปล่า แต่ถ้าจะลองคงต้องเล็กทิศทางให้ดี ๆ … หึ ๆๆ


9. Leave the sea animals alone, and do not touch any corals, sea fans or anemones.  Most of them are poisonous, but more importantly let’s not damage or steal our planet earth’s gorgeous creations.  

อย่าไปแกล้งให้สัตว์น้ำตกใจ และอย่าจับปะการังหรือดอกไม้ทะเลเป็นอันขาด เพราะบางอย่างมันมีพิษ!  แต่ที่สำคัญ เราควรร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์สภาพธรรมชาติของโลกเราให้สมบูรณ์ที่สุดนะคะ


10. Remember this: Never dive alone; always dive with a dive-buddy who knows how to freedive well.  

จำไว้เสมอว่า  อย่าดำน้ำคนเดียวเป็นอันขาด ให้ดำกับไดฟ์บัดดี้ที่ดำเป็นและช่วยดูช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้


บทความอ้างอิง


วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แร็มป์ ท่าเรือมะนาวหวาน

แร็มป์ ท่าเรือมะนาวหวาน

เครดิต น้าต้น (Ton9958)




แต่ก่อนเคยห้ามเรือที่มีเครื่องยนต์ทุกชนิดลง และเคยมีคดีความรุนแรงในเรื่องนี้

น้าต้นเคยไปขออนุญาติกับหัวหน้าประมง ให้คำแนะนำโดยมีข้อห้ามคือ สามารถนำเรือลงได้ แต่ห้ามจับสัตว์น้ำด้วยเรือติดเครื่องยนต์ทุกชนิด



ที่เขื่อนจะมีแนวเขตอนุรักษ์ โดยมีทุ่นห่างจากสันเขื่อนประมาณ 1.3 กม. มีกฏหมายเขียนไว้เป็นแนวเขตอนุรักษ์ชัดเจน ห้ามทำการประมงทุกชนิด

ข้อมูลจากน้าโม่ง



วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กางเต็นท์ริมทะเล เกาะช้าง (Tent Camping Ko Chang)

กางเต็นท์ริมทะเล เกาะช้าง (Tent Camping Ko Chang)

กางเต็นท์ หน่วยพิทักษ์ อช.เกาะช้าง-ธารมะยม





ท่าเรือมาบตาพุด (Maptaphut Port)

ท่าเรือมาบตาพุด (Maptaphut  Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย กองทัพเรือ



1. MTT SPR C RTB NFC TPT GLO WW TTT BLC P PTTLN G ท่าเรือนิคมอุสาหกรรมมาบตาพุด

2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ๑. วันที่สำรวจ๒๑ มิ. ย. ๕๔ ๒. ลักษณะน้ำ / ลม / มาตราน้ำ / ข้างขึ้น - แรม ขณะน้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัว ความสูงน้ำ 15 เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด ตรงกับ วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร

3. ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้อง - แผนที่เดินเรือไทย หมายเลข ๑๔๑, ๑๕๗, ๑๖๓ ( อศ.) ตำบลที่ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ต. มาบตาพุด อ. เมือง จ. ระยอง ทุ่นไฟปากร่องแลต ๑๒ องศา ๓๖. ๙๔ ลิปดา น. ลอง ๑๐๑ องศา ๐๙. ๗๐ ลิปดา อ.

4. C- 330 ทุ่นไฟปาก ร่อง C- 345 BLC P MTT PTTL NG SPR C RB T NF C TP T T GLO W W TT T

5. MTT SPR C RBT NFC TPT GLO WW TTT BLC P PTTLN G

6. การนำเรือเข้าเทียบ / ออกจากเทียบ เมื่อถึงบริเวณทุ่นไฟปากร่อง นำเรือเข้าท่าเรือ อุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมีเข็มหลักในการนำ เรือเข้าร่องน้ำ คือ เข็ม 435 ระยะทางประมาณ 2.4 ไมล์ แล้วเปลี่ยนไปถือเข็ม 330 ระยะทางประมาณ 1600 หลา เพื่อเข้าไป ท่าเทียบเรือ โดยให้ระมัดระวังมีเรือสินค้า ขนาดใหญ่ และเรือ TUG ที่สัญจรในร่องน้ำ สำหรับตำบลที่ในการเทียบเรือ เรือ ตกฝ. ควร เทียบเรือบริเวณท่าเทียบเรือ RBT ด้านในและ บริเวณท่าเทียบเรือ TPT3( ด้านข้าง )

7. บริเวณปากร่อง น้ำ กว้างประมาณ 900 เมตร

8. เบรกกัน คลื่น ท่า BLCP

9. ข้อมูลท่าเทียบเรือ RBT ความยาวท่าเทียบเรือประมาณ 1,024 ม. มียางกันกระแทกขนาดใหญ่ ห่างกันประมาณ 30 ม. สามารถให้การสนับสนุนน้ำจืดได้ ( ไม่ สามารถใช้สายสูบได้ ต้องใช้สายยางขนาด 2.5 นิ้ว ) มีตู้ไฟขนาด 220 v สามารถใช้ได้แค่ไฟแสง สว่างในเรือเท่านั้น ก่อนเข้าเทียบต้องติดต่อนายท่ามาบตาพุดให้ เรียบร้อยทาง VHF ช่อง 13

10. ท่า RBT ท่า NFC

11. จุดสังเกตุ มีเครน สีแดง 4 ตัว ที่จอดเรือ ขนาดเล็ก ท่า RBT

12. ข้อมูลท่าเทียบเรือ TPT ความยาวท่าเทียบเรือประมาณ 330 ม. มียางกันกระแทกขนาดใหญ่ ห่างกันประมาณ 5 ม.( ด้านข้าง ) และ 20 ม.( ด้านหน้า ) ก่อนเข้าเทียบต้องติดต่อนายท่ามาบตาพุดให้ เรียบร้อยทาง VHF ช่อง 13

13. ท่า TPT ด้านหน้ าท่า ยางกัน กระแทก จุดสังเกตุ มี เครน สีเหลือง 2 ตัว 20 ม.

14. ด้านข้าง ท่า ยางกัน กระแทก ท่า TPT 3  5ม. 5ม.

15. ข้อควรระมัดระวัง - เนื่องจากเป็นท่าเรือนิคมอุตสาหกรรมจึงมีการ สัญจรของเรือสินค้าขนาดใหญ่ เรือบรรทุกน้ำ และเรือ TUG อยู่ตลอดเวลา ควรใช้ความ ระมัดระวัง - ในการจอดเรือท่า RBT นั้นควรจอดด้านใน ซึ่งอยู่ส่วนของที่จอดเรือขนาดเล็ก เนื่องจาก บริเวณหน้าท่าเป็นพื้นที่รับลม ซึ่งจะทำให้เรือ กระแทกกับท่าจนอาจเกิดอันตรายกับเรือได้ อีก ทั้งยางกันกระแทกบริเวณหน้าท่ามีระยะห่าง ประมาณ 30 ม. ซึ่งเท่ากับความยาวของเรือ ตกฝ. จึงไม่เหมาะกับการเทียบเรือ

16. ข้อควรระมัดระวัง เรือ TUG

17. จุดสังเกตุ มีเครน สีแดง 4 ตัว ที่จอดเรือ ขนาดเล็ก ท่า RTB ข้อควรระมัดระวัง 30 M

18. ๔. การติดต่อ - วิทยุ VHF Marine Band CH.13,CH.14, CH.16 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง - โทรศัพท์ Maptaphut Port Control โทร รายชื่อ คุณ อนุสรณ์ พรรณศิลา บริษัท TPT ทาง โทร ต่อ 104 หรือ VHF.13 - เบอร์ติดต่อสำคัญในพื้นที่ สถานีตำรวจภูธรมาบตาพุด โทร หรือ โรงพยาบาลมาบตาพุด โทร

19. ๕. สิ่งอำนวยความสะดวก ท่อน้ำ ท่า RBT สามารถให้การสนับสนุนน้ำ จืดได้ ( ไม่สามารถใช้สายสูบได้ ต้องใช้สาย ยางขนาด ๒. ๕ นิ้ว ) ท่า TPT ไม่สามารถให้การ สนับสนุนน้ำจืดได้ แต่ติดต่อได้ที่เรือน้ำที่จอด บริเวณใกล้เคียงได้โดยตรง ไฟฟ้า ท่า RBT ไฟฟ้า ๒๒๐ โวลท์ ( เฉพาะ ไฟฟ้าแสงสว่าง ) ท่า TPT ไม่สามารถให้การสนับสนุน ได้ โทรศัพท์ไม่มี

20. ลักษณะของท่อส่งน้ำเป็นแบบปลดเร็ว ต้องใช้สายยางขนาด 2.5 นิ้ว ตู้ต่อไฟ 220 v RBT

ท่าเทียบเรือโอเชี่ยนมารีน่า (Ocean Marina Port)

ท่าเทียบเรือโอเชี่ยนมารีน่า (Ocean Marina Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย กองทัพเรือ



1. ท่าเรือ โอเชี่ยน มารีน่า

2. ลักษณะ ท่าเรือ ท่าเทียบเรือโอเซี่ยน มารีน่า Lat 12 º 49.4´ N Long 100 º ´ E

3 การสำรวจบริเวณท่าเทียบเรือ โอเซี่ยน มารน่า ๑. วันที่สำรวจ ๖ กรกฎาคม พ. ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๑๐๐๐ ๒. ลักษณะน้ำ / ลม / มาตราน้ำ / ข้างขึ้น - แรม ความสูงน้ำ 3 เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด ทิศลม 270 ความเร็ว 3 - 4 น็อต ตรงกับ วันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๘ ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้องแผนที่เดินเรือไทย หมายเลข ๐๔๕, ๑๔๑, ๑๑๖ ( อศ.) ตำบลที่ท่าเทียบเรือ โอเซี่ยน มารีน่า แลต ๑๒ องศา ๔๙. ๔ ลิปดา น. ลอง ๑๐๐ องศา ๕๔. ๒๕ ลิปดา อ. ทุ่นไฟปากร่องไม่มี พื้นท้องทะเลทรายปนโคลนบริเวณปากร่อง ใน ท่าเรือ เป็นทราย ที่หมายเวลากลางคืน ไม่มี

4. โรงแรม โอเซี่ยน มารีน่า คอนโดโอเซี่ยน มารีน่า

5. ไม่มีทุ่นไฟปากร่อง มีแต่ทุ่น เขียว - แดง

6. ท่าเทียบเรือ โอเซี่ยน มารีน่า ลักษณะท่าเรือ เป็นท่าลักษณะคล้ายโป๊ะลอย น้ำ โดยจะแบ่งเป็นช่องๆ ท่าเรือจะขึ้น - ลง ตามน้ำขึ้นน้ำลง น้ำลึก ๕ - ๖ เมตร ท่าเรือมี เบรกกันคลื่นรอบด้าน ไม่มีผลต่อคลื่น แต่มี ผลต่อลม เรือ ตกช. สามารถเข้าจอดได้ การติดต่อสื่อสาร VHF ช่อง ๑๒ นามเรียก ขาน โอเชี่ยน มารีน่า

7. ทางลงท่าเทียบเรือ

8. ให้เทียบเฉพาะท่า G เท่านั้น

9. ลักษณะจุดต่อไฟและลักษณะ พุก

10. มีน้ำและไฟฟ้า สนับสนุน น้ำหน่วยละ 50 บาท ไฟฟ้าหน่วยละ 5 บาท เบอร์โทร ๐๓๘ ๒๓๗๓๑๑ ๐๓๘ ๒๓๗๔๒๗

11. ข้อควรระวัง - ระหว่างเดินทางหลังออกจากช่องเกาะคราม ควร ระมัดระวังเรือประมงเข้าออกจากท่าบริเวณ อำเภอ บางเสร่ - ก่อนถึงบริเวณท่าเทียบเรือควรนำเรือด้วยความ ระมัดระวังเพราะมีการจราจรทางน้ำค่อนข้างหนาแน่น เนื่องจากจะมีเรือประมงทำการประมงในพื้นที่ - บริเวณหลังทุ่นกำกับสีแดงจะมีหินใต้น้ำ - ก่อนถึงเข้าเทียบท่าเทียบเรือโอเซี่ยน มารีน่า ประมาณ 1 วัน ให้โทรประสานกับท่าเรือโอเชี่ยน มารี น่า เพื่อประสานเรื่องการจองท่าเรือ ให้พร้อมเข้า เทียบ เนื่องจากเป็นท่าเรือเอกชนที่ใช้จอดเรือต่างๆ

12. ๔. การติดต่อ วิทยุ โอเชี่ยน มารีน่า โทรศัพท์ ๐๓๘ - ๒๓๗๓๑๑, ๐๓๘ - ๒๓๗๔๒๗ ๕. สิ่งอำนวยความสะดวก ท่อน้ำมีเป็นสายยาง คิดหน่วยละ 50 บาท ( 1 ตัน ) ไฟฟ้ามีเป็นปลั๊ก 3 ตา คิดหน่วยละ 5 บาท โทรศัพท์ ไม่มี

ท่าเทียบเรือแหลมฉบัง (Laem Chabang Port)

ท่าเทียบเรือแหลมฉบัง (Laem Chabang Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย กองทัพเรือ



1. ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง

2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ๑. วันที่สำรวจ ๑๕ ก. ค. ๔๘ ๒. ลักษณะน้ำ / ลม / มาตราน้ำ ขณะน้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัว ความสูง น้ำ ๔ - ๖ เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด ทะเลเรียบ ลมสงบ ใกล้เคียงกับตำบลที่เกาะสีชัง

3. ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้อง แผนที่เดินเรือไทย หมายเลข 156 ( อศ.) ตำบลที่ ท่าเรือแหลมฉบัง สถานที่ตั้ง อ. ศรีราชา จว. ชลบุรี ๒๐๒๓๐ ทุ่นไฟปากร่อง ด้านเหนือแลต 13 องศา 4 ลิปดา 40 ฟิลิปดา น. ลอง 100 องศา 51 ลิปดา 50 ฟิลิปดา อ. ด้านใต้ไม่มีเนื่องจากเป็นร่องน้ำขุดใหม่

4 ท่า A ท่า B ท่า C ที่จอดเรือรับ กบ. ที่จอดเรือ บก. ตำรวจ น้ำ

5 ลักษณะท่าเรือแหลมฉบัง ตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทยใน จังหวัดชลบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่รับอิทธิจากลม ตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทยใน จังหวัดชลบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่รับอิทธิจากลม ตะวันตกเฉียงใต้ เป็นท่าเทียบเรือเอกชน น้ำลึกประมาณ ๑๖ เมตร มีจำนวนทั้งหมด ๓ ท่าเทียบเรือ จาก ทิศเหนือไปใต้ตามลำดับคือ เป็นท่าเทียบเรือเอกชน น้ำลึกประมาณ ๑๖ เมตร มีจำนวนทั้งหมด ๓ ท่าเทียบเรือ จาก ทิศเหนือไปใต้ตามลำดับคือ ๑. ท่าเรือ A มีอู่ลอยสามารถใช้ในการซ่อม ทำและเป็นท่าเรือได้ดี ๑. ท่าเรือ A มีอู่ลอยสามารถใช้ในการซ่อม ทำและเป็นท่าเรือได้ดี ๒. ท่าเรือ B เป็นท่าเรือพาณิชย์มีเครนขนาด ใหญ่ใช้สำหรับขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ ส่วน ใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมอาทิเช่น ขนถ่าย น้ำตาล ๒. ท่าเรือ B เป็นท่าเรือพาณิชย์มีเครนขนาด ใหญ่ใช้สำหรับขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ ส่วน ใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมอาทิเช่น ขนถ่าย น้ำตาล ๓. ท่าเรือ C เป็นท่าเรือพาณิชย์สามารถใช้ จอดเรือของทางราชการได้ซึ่งจะมีที่ทำการ ของตำรวจน้ำอยู่ในบริเวณใกล้ ๓. ท่าเรือ C เป็นท่าเรือพาณิชย์สามารถใช้ จอดเรือของทางราชการได้ซึ่งจะมีที่ทำการ ของตำรวจน้ำอยู่ในบริเวณใกล้

6 ท่า A ท่า B ท่า C เขื่อนกัน คลื่น

7 ท่า A ท่า B ท่า C ที่จอดเรือรับ กบ. c ที่จอดเรือ ทุ่นไฟปาก ร่อง c - 342

8 ร่องน้ำด้านทิศเหนือ เข็ม เข้า 135

9 ถ้าเข้าร่องน้ำเหนือจะผ่าน ท่า A และ ท่า B ก่อน

10 ช่องทางเข้า ท่า C

11 ด้านกราบซ้ายขณะ เลี้ยวเข้าท่า C

12 ร่องน้ำด้านทิศใต้ เข็มเข้า 342 ทุ่นจตุรทิศตะวันออก

13 ขณะเลี้ยวเข้า ท่า C ทางร่องน้ำ ด้านใต้

14 ที่ทำการของตำรวจน้ำ

15 ท่าเรือ C สามารถจอดเรือได้สอง ลักษณะคือ จอดตามยาวของท่าเรือ เช่นเดียวกับการจอดของเรือตำรวจน้ำ และศุลกากร จะลดอาการโคลงของ คลื่นได้ดี แต่หากจอดเทียบเรือด้าน ในสามารถรับ กบ. ได้ แต่คลื่นจะ กระแทกตัวเรือเข้ากับท่าตลอดเวลาที่มี คลื่นลมแรง และต้องคอยระมัดระวัง การเข้าเทียบของเรือต่างๆอีกด้วย การนำเรือเข้าเทียบ / ออกจากเทียบ

16 บริเวณภายในท่า C บริเวณที่เทียบ เรือของทาง ราชการ บริเวณที่เทียบ เรือที่สามารถ รับ กบ. ได้

17 บริเวณที่เทียบ เรือของทาง ราชการ

18 ยางกันกระแทกได้ มาตรฐาน

19 ข้อควรระมัดระวัง การนำเรือเข้า เทียบบริเวณท่าฯเข้าได้ทางด้านทิศเหนือ และทิศใต้ ซึ่งเรือสินค้าจะต้องเข้า ทางด้านทิศเหนือเพราะร่องน้ำจะลึก ขณะที่ทางด้านใต้ร่องน้ำจะตื้นกว่า โดย ทางด้านใต้ จะมีความลึกน้ำ 4 - 6 เมตร และเรือชุด PGM สามารถเข้า – ออก ทางด้านทิศใต้ได้

20 ๔. การติดต่อ วิทยุ - Marine Band CH.13, CH.16 การท่าเรือฯ จะใช้ นามเรียกขาน “ แหลมฉบัง ” โทรศัพท์ - ประสานขอใช้ท่ากับ ผอ. กองบริการ ( ร. อ. สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ) โทร. ๐๓๘ – ๔๐๙๐๔๘, ๔๐๙๒๑๒ ไฟฟ้า - หน. แผนกบริการท่า โทร. ๐๓๘ – ๔๐๙๒๑๐ น้ำจืด - หน. แผนกบริการท่า โทร. ๐๓๘ – ๔๐๙๒๑๐

21 ๕. สิ่งอำนวยความสะดวก ท่อน้ำ - ต่อสายยางขนาดเล็ก จากสถานีตำรวจน้ำ ไฟฟ้า - ไฟฟ้า ๒๒๐ โวลท์ ( เฉพาะไฟฟ้าแสงสว่าง ) โทรศัพท์ - ไม่มี

22 บริเวณที่เทียบ เรือที่สามารถ รับ กบ. ได้