ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ระบบทุ่นเครื่องหมายทางเรือ Maritime Buoyage System

ระบบทุ่นเครื่องหมายทางเรือ Maritime Buoyage System


ระบบที่ทำให้การเดินเรือมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยจะบอกรายละเอียดหลายสิ่งหลายอย่างเช่น บอกร่องน้ำ ร่องน้ำสาขา แนวทางการเดินเรือ เขตอันตราย จุดปลอดภัย และอีกหลายอย่างมากมาย โดยเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก

การเดินเรือโดยใช้ระบบทุ่นเครื่องหมายทางเรือ กำหนดมาตรฐานโดย สมาคมประภาคารระหว่างประเทศ (International Association of Lighthouse Authority : IALA)

โดยแบ่งแยกตามภูมิภาคของโลก ออกเป็น 2 ภูมิภาค



  • แบบ ภูมิภาค A (Region A) ส่วนใหญ่ยุโรป ออสเตเรีย นิวซีแลนด์ แอฟริกา อ่าวเปอร์เซีย (ประเทศไทยใช้เครื่องหมายทางเรือแบบ ภูมิภาค Aใช้สีแดงกำกับด้านซ้ายของร่องน้ำ เทคนิคการจำ ใช้วิธีจำแบบ กฏสำหรับเลี่ยงเรือชนกัน <--คลิก (เข้าใจเรื่อง Port กับ Startboard ก่อน)
  • แบบภูมิภาค B (Region B) ส่วนใหญ่ทางแคนนาดา อเมริกา อเมริกาใต้ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ใช้สีแดงกำกับด้านขวาของร่องน้ำ (ไม่ต้องจำ!!!! จะได้ไม่สับสน วิธีการจำคือ ให้นึกถึงรถพวงมาลัยซ้าย กับรถพวงมาลัยขวา มันแค่กลับข้างกัน...จำแค่นี้)





การขับเรือผ่านทุ่น หรือเครื่องหมายทางเรือ


เวลาใช้งานก็ชะโงกดูไฟหัวเรือไม่ต้องจำ ไฟที่หัวเรือจะเป็น
  •  สีแดง (ฝั่ง Port) อยู่ทางซ้าย
  • สีเขียว (ฝั่ง Startboard) อยู่ฝั่งขวา
 เวลาขับเรือเข้าหาฝั่ง ให้ขับเดินเรือโดยให้ทุ่นแดงอยู่ข้างเดียวกับฝั่งไฟหัวเรือสีแดง

หลักการจำ ให้เดินเรืออยู่ในร่องน้ำที่สีของทุ่น ตรงกับสีไฟหัวเรือ ในทิศขับเข้าหาฝั่ง ตามรูป

การเดินเรือผ่านทุ่น แบบภูมิภาค A


ระบบเครื่องหมายทางเรือ (Maritime Buoyage System : MBS) แบ่งเป็น

1.ระบบเครื่องหมายทางข้าง (Lateral System) คือ เครื่องหมายที่ติดตั้งทางซ้ายและขวาของเส้นทาง โดยให้สอดคล้องกับทิศทางที่กำหนด

สีประจำตัวคือ สีแดง และ สีเขียว


  •  เครื่องหมายทางด้านกราบซ้าย คือ สีแดง กรณีมีไฟกระพริบ ไฟสีแดง
  • เครื่องหมายทางด้านกราบขวา คือ สีเขียว กรณีมีไฟกระพริบ ไฟสีเขียว


เดินเรือผ่านร่องน้ำ ทุ่นสีแดงอยู่ฝั่งซ้าย ทุ่นสีเขียวอยู่ฝั่งขวา

  • จุดที่ร่องน้ำแยกเป็นสาขา ด้านกราบซ้าย คือ สีเขียวคาด ทุ่นแดงแถบกว้าง แนวนอน 1 แถบ
  • จุดที่ร่องน้ำแยกเป็นสาขา ด้านกราบขวา คือ สีแดงคาด ทุ่นเขียวแถบกว้าง แนวนอน 1 แถบ
เดินเรือผ่านร่องน้ำที่แยกสาขา

ลักษณะเดินเรือ ทิศทางเข้าหาฝั่งทะเล (Away from Open Water) เป็นหลัก  ถ้าในกรณีขับออกไปทะเล (Open Water) สีทุ่นก็จะสลับข้างกัน

สัญลักษณ์และไฟวับ



2.ระบบเครื่องหมายจตุรทิศ (Cardinal Mark) คือ เครื่องหมายบอกทิศที่กำหนดพื้นที่อันตราย โดยใช้ทุ่นจำนวนหนึ่งลูกหรือมากกว่า หรือใช้กระโจมไฟ ติดตั้งในเสี้ยวทิศ เพื่อแจ้งที่หมายสิ่งอันตรายที่สัมพันธ์กับเครื่องหมายนั้น

สีประจำตัวคือ สีเหลือง กับ สีดำ

หลักการจำ สีเหลือง เป็นสีที่ตัดกับสีของน้ำทะเล เป็นสีที่ตรงข้ามกับสีน้ำทะเล จึงมาใช้บอกเป็นจุดที่ไม่ใช่ทะเล หรือจุดอันตราย ส่วนสีดำ คือ สีที่บอกถึงความลึกลับ มองไม่เห็น



เครื่องหมายจตุรทิศ จะมีเครื่องหมายยอด (Top Mark) ที่ติดตั้งบนทุ่น เป็นรูปกรวยคู่ หรือรูปลูกศร วิธีการจำก็ง่ายมากให้นึกถึงเข็มทิศ หรือดูเข็มทิศบนเรือ


ถ้าเข็มหรือ ลูกศรชึ้ขึ้น 2 อัน คือ ทิศเหนือ หมายถึง พื้นที่ทางทิศเหนืออันตราย
ถ้าเข็มหรือ ลูกศรชี้ลง 2 อัน คือ ทิศตะใต้ หมายถึง พื้นที่ทางทิศใต้อันตราย
ถ้าเข็มหรือ ลูกศรชี้ออก 2 อัน คือ ทิศตะวันออก หมายถึง พื้นที่ทางทิศตะวันออกอันตราย
ถ้าเข็มหรือ ลูกศรชี้เข้า 2 อัน คือ ทิศตะวันตก หมายถึง พื้นที่ทางทิศตะวันตกอันตราย

ดูรูปทุ่นพร้อมเครื่องหมายยอดประกอบ ก็เข้าใจ








การใช้แสงไฟบอกทิศของจตุรทิศ

ใช้แสงไฟสีขาวกระพริบในการบอกทิศ จริงๆ แล้วการบอกทิศคือการแบ่งมุมเป็น 360 ส่วนจากหน้าปัดเข็มทิศ แต่ถ้าเราดูที่หน้าปัดนาฬิกา นาฬิกาก็สามารถบอกทิศได้โดย

ถ้ามองแบบนาทีก็แบ่งได้ 60 ส่วน ถ้ามองแบบชั่วโมงก็แบ่งได้ 12 ส่วน หรือถ้ามองแบบทุกๆ 3 ชั่วโมงจะแบ่งได้ 4 ส่วน ซึ่งมันจะตรงกับทิศเหนือ ใต้ ออก ตก พอดี ตามรูป โดย 


  • ทิศเหนือ ตรงกับเลขเลข 12 หรือ 0 
  • ทิศตะวันออก ตรงกับเลข 3
  • ทิศใต้ ตรงกับเลข 6
  • ทิศตะวันตก ตรงกับเลข 9
จึงเอาตัวเลขที่ตรงกับทิศเหล่านี้มาแสดงเป็นรูปแบบไฟกระพริบ
  • จตุรทิศเหนือ (North Mark) ใช้แสงสีขาวไฟวับเร็วมาก หรือไววับเร็ว
  • จตุรทิศตะวันออก (East Mark) ใช้แสงสีขาวไฟวับเร็วมากเป็นหมู่ 3 วับ
  • จตุรทิศใต้ (South Mark) ใช้แสงสีขาวไฟวับเร็วมากเป็นหมู่ 6 วับ
  • จตุรทิศตะวันตก (West Mark) ใช้แสงสีขาวไฟวับเร็วมากเป็นหมู่ 9 วับ


    3.ระบบเครื่องหมายสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว (Isolated Danger Marks) ใช้ติดตั้งอยู่บน หรือบริเวณใกล้เคียงสิ่งที่เป็นอันตรายนั้น เครื่องหมายสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว ทาด้วยสีดำคาดด้วยแถบคาดสีแดง 1 แถบหรือมากกว่าแนวนอน เครื่องหมายยอดเป็นลูกทรงกลมสีดำ 2 ลูก ใช้ไฟวับหมู่สีขาว 2 วับ

    สีประจำตัวคือ สีดำและสีแดง 

    หลักการจำ คือ สีดำเป็นสีที่แสดงถึงความลึกลับ สิ่งที่มองไม่เห็น แถมมีเครื่องหมายยอด (Top Mark) ทรงกลมสีดำตั้ง 2 อัน มันก็จะเป็นดับเบิ้ลลึกลับ ดับเบิ้ลมองไม่เห็น ซึ่งก็คือ จุดนั้นมีสิ่งอันตรายมากอยู่ตรงนั้น


    สัญลักษณ์และไฟวับ



    4.ระบบเครื่องหมายแสดงที่ปลอดภัย (Safe Water Marks)บอกให้ทราบว่าเดินเรือผ่านบริเวณนั้นได้โดยรอบ เครื่องหมายยอดเป็นทรงกลมสีแดง ทาด้วยสีแดงคาดขาวแนวตั้ง ใช้ไฟวับยาว 1 วับ ตัวอย่างเช่น
    • เส้นทางเดินเรือปากร่องน้ำ  (Fairway)
    • เส้นทางเดินเรือกลางร่องน้ำ (Mid-Channel)
    • เส้นทางเดินเรือเข้าฝั่ง (Landfall)
    สีประจำตัวคือ สีแดง และ สีขาว

    หลักการจำ คือ สีขาว เป็นสีที่แสดงความสะอาด บริสุทธิ์ ปลอดภัย สิ่งที่มองเห็น จึงเป็นทุ่นที่แสดงจุดปลอดภัย

    แล้วทำไมต้องมีเครื่องหมายแสดงจุดปลอดภัยด้วย ... ก็เพราะเวลาเดินเรือบริเวณร่องน้ำอาจต้องวิ่งตามทุ่นที่แสดงเครื่องหมายแสดงที่ปลอดภัย


    สัญลักษณ์ และไฟวับ


    5.ระบบเครื่องหมายพิเศษ (Special Marks) เป็นเครื่องหมายพิเศษใช้แสดงพื้นที่พิเศษอื่นๆ เครื่องหมายพิเศษทาสีเหลือง เครื่องหมายยอดเป็นรูปกากบาท (X) รูปร่างทุ่นทรงกระบอก เช่น

    สีประจำตัว คือ สีเหลือง ถ้ามีไฟกระพริบจะสีเหลือง

    หลักการจำ สีเหลือง เป็นสีที่ตัดกับสีของน้ำทะเล เป็นสีที่ตรงข้ามกับสีน้ำทะเล จึงมาใช้บอกเป็นจุดที่ไม่ใช่ทะเล หรือจุดอันตราย
    • แสดงทุ่นสมุทรศาสตร์
    • เครื่องหมายแบ่งแนวการจราจร
    • เครื่องหมายแสดงเขตพื้นที่ฝึกทหาร
    • แสดงแนวสายเคเบิ้ลใต้น้ำ
    • แสดงเขตพื้นที่สันทนาการ
    • แสดงพื้นที่ทอดสมอ
    • แสดงที่ตั้งสิ่งก่อสร้างในทะเล
    • แสดงพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ




    สัญลักษณ์และไฟวับ



    6.ระบบเครื่องหมายแสดงสิ่งอันตรายใหม่ (New Dangers) คือ ที่ไม่ปลอดภัยซึ่งค้นพบใหม่ซึ่งยังไม่ปรากฏในบรรสารการเดินเรือ ยังหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น สันทราย กองหิน หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ซากเรืออับปราง ตัวทุ่นทาสีฟ้าสลับเหลืองตามแนวตั้งในจำนวนที่เท่ากัน เครื่องหมายยอดเป็นเครื่องหมายบวก "+" ทาสีเหลือง ใช้ไฟสีฟ้าสลับกับสีเหลือง แสดงให้เห็นโดยการ

    • วางเครื่องหมายแสดงสิ่งอันตรายใหม่ที่เหมาะสม เช่น เครื่องหมายทางข้าง เครื่องหมายจตุรทิศ และเครื่องหมายสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว
    • ใช้ทุ่นเรืออับปางฉุกเฉิน (Emergency Wreck Marking Buoy : EWMB)

    สีประจำตัว สีเหลือง กับสีฟ้า แนวตั้ง จังหวะไฟสีฟ้า สีเหลือง 1 วินาที คาบมืด 0.5 วินาที สีฟ้า 1 วินาที

    หลักการจำ สีฟ้า คือสีของน้ำทะเล พอตัดกับสีเหลือง ซึ่งเป็นสีบอกจุดอันตราย เลยหมายถึงจุดอันตรายใหม่นั่นเอง



    เครื่องหมายสิ่งอันตรายใหม่ หรืออาจใช้เป็นทุ่นเรือจมฉุกเฉิน Emergency Wreck Bouy สัญลักษณ์และไฟวับ


    7.เครื่องหมายทางเรืออื่นๆ

    • ไฟเสี้ยว (Sector Light) จะแสดงสี และ/หรือ จังหวะสัญญาณไฟต่างๆ ในเสี้ยวที่กำหนดไว้ โดยสีของไฟบอกข้อมูลทิศทางหรือบอกร่องน้ำ ให้กับชาวเรือ
    • แนวนำ (Leading Lines หรือ Range) ช่วยในการนำเรือไปตามเส้นทางตรงอย่างถูกต้องแม่นยำ โดยการใช้การวาง ตัวของแนวไฟ หรือแนวเครื่องหมาย บางกรณีอาจใช้ไฟบังคับทิศ (Directional Light) เพียงดวงเดียว


    ลักษณะไฟของเครื่องหมายทางเรือ

    ไฟนิ่ง คือ ไฟซึ่งนิ่งต่อเนื่องกันอย่างคงที่



    ไฟวาบ คือ ไฟซึ่งระยะเวลาสว่างในแต่ละคาบยาวกว่าระยะเวลามืดช่วงเวลามืดในแต่ละคาบจะเท่ากันไฟ




    วาบเดี่ยว หรือ ไฟคาบเท่า คือ ไฟวาบซึ่งมีช่วงสว่างและช่วงมืดเกิดสลับกันไฟ



    วาบหมู่ คือ คล้ายกับไฟวาบเดี่ยว แต่ใน 1 คาบ กลุ่มของช่วงมืดจะปรากฏซ้ำๆ กัน ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป



    ไฟวับ คือ ไฟซึ่งมีความยาวนานของไฟใน 1 คาบสั้นกว่าความยาวนานของช่วงมืด เวลาที่ใช้ในแต่ละวับเท่ากัน



    ไฟวับเดี่ยว คือ ไฟวับซึ่งเกิดซ้ำกันในอัตราไม่เกิน 50 วับ/นาทีไฟวับหมู่ - ไฟวับติดๆ กันเป็นกลุ่มสลับกับช่วงมืด มีความยาวคงที่ในการเกิดแต่ละคาบ

    ไฟวับหมู่  คือ ไฟวับติดๆ กันเป็นกลุ่มสลับกับช่วงมืด มีความยาวคงที่ในการเกิดแต่ละคาบ


    ไฟวับเร็ว คือไฟวับเหมือนไฟวับเดี่ยวแต่จะที่ติดดับซ้ำกันเร็วๆกว่า


    ไฟสลับ คือ ไฟที่ติดสลับกัน 2 สี อย่างเช่น ทุ่นสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว หรือทุ่นแสดงสิ่งอันตรายใหม่



    ไฟรหัสมอร์ส คือ ไฟที่ส่งข้อมูลรหัสมอร์ส หรือรหัสตัวอักษร



    เอกสารอ้างอิง : ระบบทุ่นเครื่่องหมายทางเรือ กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ ประเทศไทย
                          International Association of Lighthouse Authority : IALA