ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรื่องของทุ่น Buoy

ว่ากันเรื่องของทุ่น Buoy มีไว้แสดงสัญลักษณะหลายอย่างเช่น ทุ่นใช้แสดงร่องน้ำ ช่วยในการเดินเรือ ทุ่นเรือจม หรือแสดงวัตถุใต้น้ำ ทุ่นแสดงปากร่องน้ำ ทุ่นผูกเรือ ลองมาดูกันในแต่ละแบบ

ทุ่นที่ใช้ในการเดินเรือ

1.ทุ่นแสดงร่องน้ำ ( Navigation mark Buoy)

  เป็นทุ่นแสดงขอบของร่องน้ำ ใช้บอกแนวทางเดินเรือ ทุ่นสีเขียวอยู่กาบขวาของเรือ คือเวลาวิ่งให้ทุ่นเขียวอยู่ทางขวา ทุ่นสีแดงอยู่ทางกาบซ้ายของเรือ เวลาวิ่งก็อยู่ทางซ้าย เช่นกัน
 
วิธีจำแบบง่ายๆ คือ เรือทุกลำจะมีไฟหัวเรือซึ่งเป็นไฟ เขียวกับแดง โดยเขียวจะอยู่ทางขวา แดงจะอยู่ทางซ้าย ซึ่งมันจะตรงกับสีเขียวแดง ของเรือก็ใช้วิธีชะโงกดูหัวเรือ ก็จะอ๋อเอง

   โดยจะมีทิศทางเรือแล่นมาจากทะเล เพื่อเข้าเทียบท่าเรือ แม่น้ำ ปากแม่น้ำ

   อาจมีหมายเลขกำกับโดยทุ่นเขียวเป็นเลขคี่ ทุ่นแดงเป็นเลขคู่ เรียงสลับกันไป โดยเรียงลำดับจากทะเลเข้าหาฝั่ง ทุ่นชนิดนี้จะเกาะตัวเป็นแนวเส้นตรงหรือโค้งตามร่องน้ำ

2.ทุ่นไฟปากร่อง ( Fairway Buoy หรือ Entrance Buoy)

ทุ่นนี้แสดงถึงปากร่องน้ำ ซึ่งมีความลึกเพียงพอที่จะเดินเรือได้อิสระ ไม่ต้องเดินเรือเกาะตามทุ่นร่องน้ำ (เขียว-แดง) อีกแล้ว หรืออีกความหมายคือ นี่คือทางเข้าร่องน้ำแล้ว ให้เตรียมตัวเดินเรือเกาะตามทุ่นร่องน้ำ หรือเล็งหลักนำให้ดี

3.ทุ่นเรือจม หรือ ทุ่นเตือนวัตถุใต้น้ำ  (Wreck buoy)
   จะมีลักษณะเฉพาะมีสีตามในภาพนี้
เป็นทุ่นเตือนให้นักเดินเรือทราบว่ามีวัตถุใต้น้ำ ตามกฏเดินเรือสากลกำหนดให้ห่างจากทุ่นนี้ 500 หลา หรือประมาณ 450 เมตร สำหรับเรือใหญ่ ส่วนเรือเร็วอย่างที่เราใช้กัน กินน้ำลึกน้อยมากประมาณ 20-30 cm. ก็ให้ขับด้วยความระมัดระวัง อาจใช้ Sounder ช่วยเช็คได้เพื่อความปลอดภัย

4.ทุ่นผูกเรือ (Mooring Buoy)
   ใช้ผูกเรือกับทุ่นแทนการทิ้งสมอ เนื่องจากตรงบริเวรนั้นอาจมีปะการัง หรือแหล่งท่องเที่ยว ทำให้ไม่สามารถทิ้งสมอบริเวณนั้นได้



ตัวอย่าง
ท่านจะเห็นภาพของปากน้ำ และเส้นแนวสีน้ำตาลคือ "ร่องน้ำ"  พร้อมด้วยทุ่นเขียว แดง และทุ่นไฟปากร่อง ทุ่นไฟปากร่อง (Entrance Buoy) คือ ทุ่นไฟแสดงตำแหน่งทางเข้าร่องน้ำ เรือทุกลำจะต้องวิ่งเข้าทางนี้จึงจะสามารถหาเส้นทางที่จะไปต่อได้ โดยอาศัยหลักนำ และ ทุ่นเขียว แดง 

วิธีการเดินเรือจะอาศัยหลักนำ
  หลักนำ คือ สิ่งก่อสร้างถาวรเป็นลักษณะแท่งปูนฝังลงในพื้นทะเล และมีแผ่นโลหะขนาดใหญ่แสดงสีแดง เขียว เห็นได้ชัดเจน หลักนำคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการนำเรือเข้าร่องน้ำและเป็นที่หมายสำหรับเล็งว่าเรืออยู่กลางร่องหรือไม่
   จากภาพนี้ แสดงตำแหน่งของหลักนำ AB CD EF และ GH ในการเข้าร่องน้ำเจ้าพระยา ในภาพนี้จะเห็นเส้นสีดำที่อายขีดพาดผ่านหลักนำทั้งหมด เส้นดำนี่แหละที่เป็นการอธิบายว่า เราจะเล็งหลักนำ "คู่ใหน"
ในการผ่านร่องน้ำทั้งหมด จะเห็นว่าเมื่อเรือเข้าทางทุ่นไฟปากร่อง เราก็จะเห็นหลักนำคู่ AB ก่อนเลย เราก็ต้องเล็งคู่ AB ไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดเลี้ยวที่ทุ่นแดง No.2 พอเลี้ยวซ้ายไปแล้ว เราก็ต้องมองหาหลักนำคู่ต่อไป คือ CD ก็ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนสุดท้าย เมื่อเรือถึงโค้งบางปู เราก็ไปใช้หลักนำคู่สุดท้าย คือ GH  จากนั้นก็เข้าร่องน้ำในเมือง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น