ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กระโจมไฟ เกาะสะระนีย์

กระโจมไฟ เกาะสะระนีย์
เครดิต ขุนสรณ์สุราพ่าย





คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing (Morse Char A)
ความสูงจากฐาน : n/a
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 3 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 9nm (16.66 km)

ประวัติ
กระโจมไฟนี้ตั้งอยู่ที่  เกาะสะระนีย์ มีชื่อเดิมว่า “เกาะผี” เมื่อคราวที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เสด็จประพาสจังหวัดระนอง โดยเรือรบหลวงจันทร วันที่ 10 มีนาคม 2510 และได้พระราชทานชื่อเกาะนี้ใหม่ว่า “เกาะสะระนีย์” ซึ่งหมายถึง เกาะที่เป็นแหล่งพึ่งพิง เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ซึ่งได้เคยเสด็จประทับแรมและทรงเยี่ยมเยียนประชาชนชาวจังหวัดระนอง

รูปองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นสัญลักษณ์แห่งความเมตตา ความดีงามของสตรีที่เพียบพร้อมในทุกด้านและมีผู้คนเคารพนับถือ กราบไหว้บูชาทั่วโลก เช่นเดียวกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือสมเด็จย่าของปวงชนชาวไทย ซึ่งเป็นสตรีที่ประเสริฐ มีพระราชโอรสทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยถึง 2 พระองค์ มีความเมตตาปราณีแก่ประชาชนผู้อยู่ห่างไกลทุรกันดารและห่วงใยในความทุกข์สุข ของประชาชน

การก่อสร้างได้คำนึงถึงฮวงจุ้ย ที่มีลักษณะดีเหมาะสม ทำให้ผู้คนที่มากราบไหว้มีความสงบร่มเย็นเป็นสุข คุ้มครองประชาชน และบุคคลทั่วไปที่บูชาให้มีความเจริญรุ่งเรือง มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์โดยทั่วกัน เปรียบเสมือนกับตำนานฮวงจุ้ยที่เป็นลูกแก้วอยู่ตรงปากของมังกร พื้นที่เป็นเกาะตั้งอยู่ระหว่างปากแม่น้ำกระบุรี ซึ่งไหลลงสู่ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย

เจ้าแม่กวนอิม เกาะสะระนีย์
วิวเกาะสอง พม่า

กระโจมไฟ เกาะโคม

กระโจมไฟ เกาะโคม
เครดิต ขุนสรณ์สุราพ่าย




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Flashing
ความสูงจากฐาน : 54m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 3 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 9nm (16.66 km)

ประวัติ
กระโจมไฟนี้ิอยู่ด้านทิศเหนือของเกาะช้าง ระนอง มีลักษณะหาดหิน




กระโจมไฟ หินขี้ช้าง

กระโจมไฟ หินขี้ช้าง
เครดิต ขุนสรณ์สุราพ่าย




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Fixed and Isophase
ความสูงจากฐาน : 7m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 5 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 6nm (11.11 km)

ประวัติ
กระโจมไฟนี้อยู่ใกล้เกาะช้าง ระนอง เป็นหินปริมน้ำ เป็นกองหินที่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ

กระโจมไฟ เฉลิมพระเกียรติบ้านแหลม

กระโจมไฟ เฉลิมพระเกียรติบ้านแหลม (เพชรบุรี)




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Flashing
ความสูงจากฐาน : 11m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 9 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว (124.2-329.3 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 9nm (16.66 km)
สีของแสงไฟ : สีแดง (329.3-342.8 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 5nm (9.26 km)

ประวัติ
เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติปีกาญจนาภิเษก กองทัพเรือร่วมกับหน่วยราชการ และประชาชน จังหวัดเพชรบุรี ได้ดำเนินการจัดโครงการก่อสร้างกระโจมไฟ และปะการังเทียม บริเวณอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี กระโจมไฟแห่งนี้ใช้เป็นแนวบอกเขตพื้นที่ในการอนุรักษ์พันธุ์หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยเสียบ และอนุรักษ์สภาพแวดล้อมชายฝั่ง รวมทั้งการจัดสร้างปะการังเทียม ในบริเวณอำเภอบ้านแหลม และได้รับพระราชทานนามว่า “กระโจมไฟเฉลิมพระเกียรติบ้านแหลม”

กระโจมไฟมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปสี่เหลี่ยม สูง 12 เมตร ตั้งอยู่ในตำบลที่ ละติจูด 13 องศา 12.0 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 100 องศา  02.5 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 3 กิโลเมตร ติดตั้งตะเกียงระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นไฟเสี้ยว ๒ สี คือ สีแดง และสีขาว โดยวางให้ สีแดงอยู่ในมุม 123 องศา ถึง 329 องศา ซึ่งจะ
คลุมพื้นที่จากตำบลอ่าวบ้านแหลม ถึงตำบลบ้านบางแก้ว ไฟสีขาวอยู่ด้านนอก ในมุม 329 องศาถึง 123 องศา ซึ่งเป็นไฟที่ใช้ช่วยในการเดินเรือลักษณะไฟเป็นไฟวับ สีขาว และแดง ทุก ๆ 9 วินาที ได้เปิดกระโจมไฟเฉลิมพระเกียรติบ้านแหลม
เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2540

กระโจมไฟ เกาะโลซิน

กระโจมไฟ เกาะโลซิน




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 13m
ระยะเวลากระพริบ : 2 วับ ทุก 5 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 16nm (29.63 km)

ประวัติ
สงขลามีเกาะในทะเลนอกอยู่ 4 เกาะ คือ เกาะหนู เกาะแมว เกาะขาม และเกาะโลซิน ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายระหว่างประเทศ ให้เป็นเกาะ จริงๆ และเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในประเทศ ตามกฎหมายระว่างประเทศ ส่วนเรื่องว่า เกาะนี้เป็นของจังหวัดไหน เอกสารไม่ค่อยจะตรงกันครับ ของกองทัพเรื่อบอกว่าของสงขลา แต่ของปตทบอกปัตตานี แต่ตัวเกาะดันใกล้นราธิวาส

เกาะเล็ก ๆ ที่อาจพูดได้ว่าเป็นแค่กองหินกลางทะเลเวิ้งว้างในอ่าวไทย โผล่พ้นน้ำขึ้นมาไม่เกิน 100 ตารางเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นหินล้วน ๆ ไม่มีต้นไม้ใบหญ้า ห่างจาก ชายฝั่งอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 106 กิโลเมตร

หากแล่นเรือออกไป เกาะโลซินมองเผิน ๆ เหมือนกับสิ่งแปลกปลอมที่ผุดเหนือน้ำอันเวิ้งว้าง ไม่มีมนุษย์อาศัย และมีเพียงประภาคารคอยส่องไฟนำทางสีขาว สำหรับชาวประมงและเรือทะเลยามค่ำคืนเท่านั้น
เกาะโลซินแห่งนี้อาจไม่ เคยเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ยกเว้นชาวเรือ ชาวประมงที่อาศัยโลซินเป็นแหล่งหาปลาหรือเป็นหมายสำหรับการเดินทาง ต่อมาโลซินเป็นที่รู้จักของผู้คนมากขึ้น และได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักดำน้ำ ที่รักหลงใหลในโลกใต้ทะเลเป็นจำนวนมาก

แต่ทว่าหินระเกะระกะที่รวม ตัวกันผุดเป็นเกาะขึ้นมาแห่งนี้ เบื้องหลังกลับเป็นตำนานของโครงการมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้าน หรืออาจเรียกได้ว่า เกาะโลซินเป็นเกาะที่มีมูลค่าเท่ากับโคตรเพชรเลยก็ได้

เพราะ หากไม่มีเกาะโลซิน วันนี้เราก็คงไม่มีสิทธิ์บนพื้นที่สัมปทานก๊าซกลางอ่าวไทย พื้นที่ครอบคลุมมากกว่า 7,000 ตารางกิโลเมตร และมีแหล่งสำรองก๊าซให้ประเทศถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไทยทั้งหมด

ครั้งนั้นได้มีการใช้หลักการแบ่งสันพื้นที่กลางทะเล ด้วยวิธีลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของแผ่นดินแต่ละฝ่ายขึ้นไป หรือเรียกว่าเขตไหล่ทวีป และปรากฏว่าเส้นตั้งฉากของมาเลเซียทับซ้อนพื้นที่สัมปทานทั้งหม ดของแหล่งก๊าซธรรมชาติมูลค่ากว่าแสนล้านบาทนี้

ดูเหมือนกับว่าไทย จะไม่สามารถใช้สิทธิโต้แย้งได้มากนัก เพราะลักษณะแผ่นดินของมาเลเซียงุ้มเข้ามาในอ่าวไทย ขณะที่แผ่นดินของไทยกลับเทลาดออกไป แหล่งสัมปทานแห่งนี้ ห่างจากจังหวัดสงขลา 260 กิโลเมตร ขณะที่ห่างจากเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ของมาเลเซียประมาณ 150 กิโลเมตร คณะเจรจาครั้งนั้นไปพบเกาะหินกลางทะเลสุดเวิ้งว้าง..นั่นคือเกาะโลซิน จึงได้ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1958 หรือราว ๆ พ.ศ. 2501 ที่ให้ความหมายคำว่าเกาะคือ แผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ เมื่อเกาะโลซินคือแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบของไทย จึงสามารถประกาศสิทธิเขตเศรษฐกิจจำเพาะจากแนวน้ำลดบริเวณชายฝั่งออกไปได้ 200 ไมล์ทะเล และพื้นที่ซึ่งประกาศออกไปนี้ก็ครอบคลุมแหล่งก๊าซมหาศาลนี้ด้วย

ผล ของการค้นพบเกาะโลซินจึงทำให้ทั้งไทยและมาเลเซียหันมานั่งโต๊ะเจรจากัน และสุดท้ายก็ตกลงจะนำพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว มาร่วมกันพัฒนา ภายใต้โครงการพื้นที่ พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือเรียกชื่อย่อว่า เจดีเอ โดยรัฐบาลสมัยนั้นนำโดย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ไปลงนามร่วมกันบริหารจัดการพื้นที่อย่างเท่าเทียม โดยแบ่งผลประโยชน์กันคนละครึ่ง และจนกระทั่งมาถึงการพัฒนา กลายเป็นโครงการสำรวจสัมปทานกลางทะเล โครงการสร้างท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซในปัจจุบัน

ทุกคนคงเคยได้ยิน ชื่อเกาะสิปาดัน สถานที่นักดำน้ำใฝ่ฝันถึง และทำรายได้การท่องเท่ยวให้ประเทศมาเลเซียปีละมากมายแต่เกาะแห่งนี้ก็เป็นกรณีพิพาท ระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซียมาก่อน
อินโดนีเซียได้แต่ประท้วง ขณะที่มาเลเซียค้นหาหลักฐานปี 2545 มาเลซียชนะคดี เพราะว่าอ้างอิงเอกสารเก่าฉบับหนึ่งที่กล่าวถึงการเก็บภาษีไข่เต่าบนเกาะแห่งนี้ และการสร้างกระโจมไฟบนเกาะสิปาดันในปี 1962 และเกาะลิกิตันในปี 1963

การประท้วงไม่ช่วยอะไร หลักฐานต่างหากที่สำคัญกว่าในขณะที่พรมแดนไทยกับประเทศข้างเคียงนั้นมีปัญหา มีเพียงเพื่อนบ้านทางใต้เท่านั้น ที่เราปักปันเขตแดนได้อย่างสมบูรณ์แต่ใครจะรู้ว่า กว่าจะมาถึงวันนี้ มันก็เคยมีปัญหาเช่นกัน ปัญหาที่เรียกว่า Losin's Effect



มองเผินๆ "โลซิน"คือกองหินร้าง ไม่มีคนอาศัย เป็นกองหินโสโครกที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ แต่เพราะความเป็นห่วงใยของทหารเรือไทยในเรื่องดังกล่าว จึงได้สร้างกระโจมไฟคอยส่องไฟนำทางสำหรับชาวเรือยามค่ำคืน นั่นจึงเป็นที่มาของเรื่องราวในครั้งนี้

ไทยและมาเลเซียได้เจรจาเรื่องเส้นเขตแดนในทะเลอาณาเขต ในปี 2515 สามารถทำความตกลงกันได้ ตั้งแต่กึ่งกลาง ปากแม่น้ำโกลกออกไปในทะเล36 ไมล์ทะเลเท่านั้น เพราะเพราะหากยึดตามข้อตกลงสากลแบ่งพื้นที่กลางทะเล
ด้วยวิธีลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของแผ่นดินแต่ละฝ่ายขึ้นไปที่ลักษณะแผ่นดินของมาเลเซียที่งุ้มเข้ามาในอ่าวไทย ขณะที่แผ่นดินของไทยกลับเทลาดออกไป หากลากเส้นตามหลักดังกล่าว เส้นนั้นจะทำมุมออกไปในอ่าวไทยแนวตะวันออกเฉียงเหนือ
ทำให้ไทยเสียเปรียบในการเจรจาอย่างมาก การเจรจาจึงหยุดไปหลายปี

มีการเจรจากันต่ออีกครั้งเมื่อปี 2521 เพื่อจะต่อเส้นเขตแดนในเขตไหล่ทวีปออกไปให้บรรจบกับเส้น claim ของเวียดนามที่กลางอ่าวไทยตอนล่างการเจรจาครั้งนี้บรรยากาศไม่ราบรื่นเหมือนการเจรจาครั้งแรก เพราะประเทศไทยได้นึกถึง โลซิน หินโสโครกร้างกลางทะเลกระโจมไฟกลายเป็นหลักฐานที่สำคัญ ในการอ้างสิทธิ์ของไทย ต่อกองหินร้างนี้
แต่กองหินนั้นไม่ใช่ เกาะ ประเทศไทยจึงไม่อาจอ้างสิทธิ์พื้นที่ทางทะเลได้

แต่โชคเป็นของฝ่ายไทยอีกครั้ง ที่เรายังคงใช้กฎหมายทะเลดั้งเดิม 4 ฉบับ ตามอนุสัญญากรุงเจนีวา ค.ศ.1958 ซึ่งประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ซึ่งกำหนดไว้เพียงว่า แม้เป็นหินกองหินที่โผล่พ้นน้ำ ก็สามารถนิยามว่าเป็นเกาะได้ เมื่อได้ชื่อว่าเป็นเกาะ ก็ย่อมมีไหล่ทวีปเป็นของตัวเอง มีผลไปถึงเขตเศรษฐกิจจำเพาะการกำหนดอาณาเขต ผลประโยชน์และอำนาจอธิปไตยทางทะเล

มาเลเซียไม่ต้องการเจรจาโดยใช้เส้นเขตแนวนี้ ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ เพราะการอ้างอธิปไตยเหนือเกาะโลซิน ทำให้เส้นเขตแนว เกิดเป็นสองแนว แนวที่ลากเป็นเส้นตั้งฉากจากฝั่งออกไปในทะเล ประเทศไทย เสียเปรียบแนวที่ลากโดยยึดถือ เส้นแนวเกาะโลซิน ประเทศมาเลเซีย เสียเปรียบเกิดเป็นพื้นทีทับซ้อนทางทะเล เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีอาณาเขตถึง 7250 ตารางกิโลเมตร

การเจรจาระดับเจ้าหน้าที่ดูเหมือนจะมาถึงทางตัน บรรยากาศทางการเมืองก็ตึงเครียดขึ้นจากปัญหาเรือประมงไทยเข้าไปจับปลาในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนนี้แล้วถูกเจ้าหน้าที่มาเลเซียจับไปดำเนินคดี ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีของไทยคือ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย คือ ดาโต๊ะ ฮูสเซน ออน ทั้งสองท่านมีความสนิทสนมกันเป็นส่วนตัว จึงได้ตกลงใจที่จะคลี่คลายปัญหานี้ โดยกำหนดให้มีการ เจรจา ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2522

ผลของการเจรจา คือ ความตกลงจัดตั้งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว ความตกลงนี้เรียกกัน ว่า MOU เชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันเราเรียกว่า JDA ซึ่งต้องแบ่งปันผลประโยชน์คนละครึ่งหนึ่งกับมาเลเซีย นั่นเองภายหลังมีการลงนามบันทึกข้อตกลงมีการสำรวจ พบว่ามีแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล ในพื้นที่ ถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไทยทั้งหมด โดย 75 เปอร์เซ็นต์อยู่ในพื้นที่ด้านล่างสามเหลี่ยม ในซีกพื้นที่ของมาเลเซีย

หากไม่มี "โลซิน" ไทยย่อมไม่อาจอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อน ขนาด 7250 ตารางกิโลเมตร

หากไม่มี "โลซิน" ไทยก็จะไม่มีสิทธิ์ในแหล่งก๊าซมูลค่ามหาศาลกลางอ่าวไทย

หากไม่มี "โลซิน" เราก็คงไม่มีเส้นเขตแดนที่มีอธิปไตยทางทะเลด้านใต้อ่าวไทยลงไปถึงตรงจุดนี้

และหากไม่มี "โลซิน" เราก็คงไม่มีแหล่งดำน้ำที่สวยงามกลางอ่าวไทย เช่นวันนี้..

ที่มา : chuk07

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ALL IS LOST โดดเดี่ยวกลางทะเล

ALL IS LOST โดดเดี่ยวกลางทะเล




 
หนังผจญภัยกลางทะเล โดดเดี่ยวคนเดียว กับปู่ทะเล (Robert Redford) กับเรือลำเก่ง สำหรับคนที่ไม่ได้เล่นเรือ อาจดูไม่รู้เรื่องก็ได้ เพราะไม่เข้าใจว่าทำแบบนั้นไป เพื่อหรือเพราะอะไร หนังเรื่องนี้อาจไห้ประสบการณ์ในการแก้ปัญหา และวิธีเอาตัวรอดกลางทะเล และความพร้อมในตัวเองที่จะพร้อมจะผจญในทุกสถานการณ์



โหลดเสร็จให้เปลี่ยนชื่อไฟล์ เช่น part01.rar, part02.rar, part03.rar เป็นต้น แล้วแตกไฟล์ ทั้งหมดพร้อมกันอีกที

Download
Part1
Part2
Part3
Part4
Part5


แร็มป์ คุ้งวิมาน

แร็มป์ คุ้งวิมาน
เครดิต น้าปานทิพย์


แร็มป์ ศูนย์อนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์

แร็มป์ ศูนย์อนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์
เครดิต น้าบอล





เครดิต ที่พัก คุณหนิง pantip
เบอร์ติดต่อ Tel.076-453280,Fax.076-453234

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บุรุษแห่งการเดินทางค้นหาและออกผจญภัย โลกใหม่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

บุรุษแห่งการเดินทางค้นหาและออกผจญภัย โลกใหม่ "คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus)"


ชีวิต คือ การเดินทาง

   ในยุคก่อน มนุษย์ เชื่อว่า โลกแบน และยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ จึงทำให้นักเดินเรือไม่กล้าแล่นไบจนสุดขอบฟ้า เพราะกลัวตกขอบโลก ยังไม่นับความเชื่อที่ว่าใต้ท้องทะเลมีอสุรกายแห่งท้องทะเลอาศัยอยู่ และรอเวลาโผล่มาโจมตีกองเรือ แต่... โคลัมบัส เชื่อว่า โลกกลม และไม่น่าเชื่อที่ ความเชื่อของโคลัมบัส จะมีลูกบ้า ในระดับที่ไร้ขีดจำกัดคำอธิบาย...  โคลัมบัส เสนอทฤษฏีใหม่ของการเดินทางไปยังจีนและอินเดีย ด้วยการเดินเรือไปในทิศตะวันตก โดยการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic ocean)
   โคลัมบัส ตั้งชื่อเรือลำที่ใช้เดินทางว่า ซานต้า มาเรีย (Santa maria) ซึ่งเป็นเรือขนาด 117 ฟุต 233 ตัน เรือส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วย "ลม" ลมเป็นสิ่งสำคัญของนักเดินเรือทำให้เรือแล่นได้
   เรือ ซานต้า มาเรีย ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยลมอย่างเดียว แต่ยังขับเคลื่อนด้วยความเชื่อ และความหวัง ซึ่งหากปราศจาก 2 สิ่งนี้แล้วเรือคงหันหัวเรือกลับ คงจะไม่มีการค้นพบและการเดินทางที่ยิ่งใหญ่


เรือ Santa maria จำลอง ที่ West Edmontion Mall


ประวัติ
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นนักเดินเรือชาวเจนัว ที่เป็นหนึ่งในนักสำรวจเพื่อหาโลกใหม่ในอดีตสันนิษฐานกันว่าเขาเกิดเมื่อราว ค.ศ. 1451 เกิดและเติบโตที่เมืองเจนัว ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญทางการค้าของประเทศอิตาลีในเวลานั้น บิดาของเขามีชื่อว่าโดเมนิโก โคลัมโบ เป็นชนชั้นกลางทำอาชีพทอขนสัตว์ที่เดินทางไปมาระหว่างเมืองเจนัวและซาโวนา ส่วนมารดามีชื่อว่าซูซานน่า ฟอนตานารอซโซ และโคลัมบัสยังมีพี่ชายที่ชื่อบาร์โธโลมิวอีกคนหนึ่งที่มีอาชีพเป็นนักทำแผนที่โลกอยู่ที่เมืองลิสบอนซึ่งเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่และเป็นเมืองหลวงของประเทศโปรตุเกส

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นทั้งนักเดินเรือและนักสำรวจทางทะเล เขาออกทะเลตั้งแต่อายุ 14 ปี พอมีอายุได้ 30 ปี เขาก็เป็นนักเดินเรือและผู้นำร่องที่เชี่ยวชาญมากคนหนึ่ง ด้วยวัยเพียง 13 ปีเขาก็คิดได้แล้วว่า การเดินทางไปเอเชียได้โดยมุ่งหน้าไปทางตะวันตกมีความเป็นไปได้ เขาได้รับแรงบันดาลใจจากเพื่อนของบรูเนลเลสกีที่ชื่อ เปาโล ทอสคาเนลลี อายุรแพทย์และนักบันทึกลักษณะต่างๆ ของจักรวาล ซึ่งความรู้ของทอสคาเนลลี อาจไม่ได้ยังประโยชน์อันใดต่อโคลัมบัส หากเขาไม่ได้ทำการค้นคว้าอย่างละเอียดถ้วนทั่วโดยตัวเองทั้งในเรื่องของ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ จดหมายเหตุ ปรัชญา และศิลปะอื่นๆ

นอกจากนี้เขายังศึกษาบันทึกการเดินทางของมาร์โค โปโลและเซอร์ จอห์น ที่เคยเดินทางไปประเทศจีน แต่เส้นทางบกสู่เมืองจีนที่อธิบายไว้โดยโปโลนั้น ทำให้การค้าช้าและแพงขึ้น เขาจึงได้ตัดสินใจที่จะหาทางเลือกทางทะเลที่ทำให้ประหยัดเวลาขึ้นและราคาถูกลง จะว่าไปแล้วในยุคนั้นชาวยุโรปต้องการเดินทางไปยังอินเดียและคาเธย์หรือจีนในปัจจุบัน เพราะดินแดนเหล่านี้เต็มไปด้วยสินค้าที่มีมูลค่าสูงอย่างเช่น เครื่องเทศ ผ้า ไม้ และอัญมณี แต่การเดินทางในตอนนั้นเป็นการเดินทางทางบกจึงมีอุปสรรคมากมายประกอบกับต้องใช้ระยะเวลายาวนานทำให้มีนักสำรวจคิดที่จะเดินทางโดยเรือซึ่งต้องเดินเรืออ้อมผ่านทวีปแอฟริกาไป ด้วยเหตุนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชาวโปรตุเกสซึ่งกำลังรุ่งเรืองด้านแสนยานุภาพทางทะเล จึงได้พยายามค้นหาเส้นทางเดินเรืออ้อมทวีปแอฟริกาไปยัง อินเดีย โดยมุ่งไปทางทิศตะวันออก แต่ครั้งแล้วครั้งเล่าก็ยังไม่มีใครทำสำเร็จในการเดินทางอ้อม “แหลมแห่งพายุ” ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “แหลมกู๊ดโฮป” ที่เต็มไปด้วยพายุปั่นป่วนที่อยู่ทางด้านใต้ของทวีปแอฟริกา

โคลัมบัสมีความเชื่อตรงกันข้าม เขาเชื่อว่าโลกนั้นมีรูปร่างเป็นทรงกลม และสามารถเดินทางไป อินเดีย ได้โดยการเดินเรือไปทางทิศตะวันตก ซึ่งความเชื่อนี้เป็นที่ขัดแย้งกับแนวความเชื่อในยุคนั้นว่าโลกนั้นมีรูปทรงแบน เขาวางแผนการเดินทางใหม่ขึ้นมาซึ่งต่างจากนักสำรวจคนอื่นโดยสิ้นเชิง เขาศึกษาการเดินเรือจากแหล่งความรู้ต่างๆ เท่าที่พอจะหาได้ เช่น จากคัมภีร์ไบเบิล วรรณกรรมโบราณ และหนังสือวิทยาศาสตร์ซึ่งมีอยู่น้อยเล่ม หรือแม้กระทั่งบันทึกการเดินทางของมาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเวนิสผู้เดินทางไปถึงทวีปเอเชียได้สำเร็จและเล่าถึงเส้นทางสายไหม และพูดคุยกับกะลาสีเรือ ท้ายที่สุดเขาตัดสินใจว่าเขาสามารถค้นพบเอเชียได้เร็วกว่าโดยการแล่นเรือไปทางทิศตะวันตกโดยการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไป

หลังจากที่เขามั่นใจในแผนการเดินเรือครั้งนี้แล้ว ก็ได้เข้าพบกษัตริย์แห่งโปรตุเกสเพื่อขอให้เป็นองค์อุปถัมภ์ ในเวลานั้นกษัตริย์แห่งโปรตุเกสคือพระเจ้าจอห์นที่ 2 ซึ่งใส่พระทัยรับฟังข้อเสนอแนะจากเหล่านักเดินเรือที่เข้ามาเสนอแผนการเดินเรือเป็นจำนวนมาก และทรงมีพระประสงค์ที่จะเผยแพร่ศาสนาคริสต์ไปยังดินแดนที่ค้นพบใหม่ แต่หลังจากที่พระองค์และคณะราชสภาได้อ่านแผนการเดินเรือของโคลัมบัสแล้ว ก็ไม่มีใครเชื่อว่าแผนการเดินเรือเช่นนั้นของเขาจะเป็นไปได้ ในตอนนั้นโคลัมบัสรู้สึกเสียใจมาก ซ้ำร้ายภรรยาของเขาก็เสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน โคลัมบัสจึงได้นำดีเอโกบุตรชายวัย 5 ขวบของเขาเดินทางออกจากประเทศโปรตุเกสเพื่อไปพำนักกับญาติที่เมืองอัวล์บา เมืองท่าแห่งหนึ่งของประเทศสเปน และที่เมืองแห่งนี้โคลัมบัสได้เสาะหาความรู้เพิ่มเติมใหม่ๆ ด้วยการศึกษางานด้านจักรวาลวิทยา เปรียบเทียบแผนที่ทางภูมิศาสตร์ฉบับต่างๆ และหาช่องทางการสนับสนุนแผนเดินทางของเขา เขาจึงเดินทางไปขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าเฟอร์ดินานด์แห่งอรากอน และพระนางอิสซาเบลลาแห่งกัสตีญา ซึ่งปกครองประเทศสเปนร่วมกัน แต่ในตอนแรกก็ได้รับการปฏิเสธด้วยเหตุผลเช่นเดียวกับพระเจ้าจอห์นที่ 2 แต่โคลัมบัสก็หาได้ละความพยายามไม่ เขาเพียรพยายามติดตามราชสำนักเพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบแผนการเดินทางของเขา และรอคอยคำตอบจากราชสำนัก ในเวลานั้นเขาก็ได้แต่งงานกับสตรีผู้มีนามว่าเบียทริซ เดอรานา และให้กำเนิดบุตรคนที่สองแก่เขา และตั้งชื่อบุตรคนนี้ว่าเฟอร์นานโด

โคลัมบัสไม่ลดละความพยายามที่จะขอให้พระเจ้าเฟอร์ดินานด์แห่งอรากอน และพระนางอิสซาเบลลาแห่งกัสตีญาให้การสนับสนุนเขา จนในที่สุดแล้วก็ได้รับความช่วยเหลือพระเจ้าเฟอร์ดินันด์และพระนางอิสซาเบลลา ในวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1492 โคลัมบัสบุตรชายช่างทอผ้าแห่งเมืองเจนัวก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางแห่งเมืองกัสตีญา และได้รับตำแหน่งนายพลเรือ ทั้งสองพระองค์ได้พระราชทานเรือ 3 ลำและลูกเรือพร้อม เรือลำที่มีดาดฟ้ามีชื่อว่า “มารีกาลองค์” โคลัมบัสได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “ซานตามาเรีย” เป็นเรือขนาด 233 ตัน มีลำเรือยาว 39 เมตร ส่วนเรือเล็กอีกสองลำชื่อว่า นิญา และปินตา ซึ่งมีระวางขับน้ำประมาณ 50 และ 60 ตันตามลำดับ

ลูกเรือในคณะของโคลัมบัสมีจำนวนไม่มาก เรือซานตามาเรียมีลูกเรือ 40 คน เรือปินตามี 26 คน เรือนิญามี 24 คน บางคนเป็นเพื่อนของโคลัมบัส แต่ส่วนใหญ่เป็นชาวชนบทจากแคว้นอันดาลูเซีย บ้างก็เป็นนักโทษประหารที่ได้รับการอภัยโทษแลกกับการเดินทางเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายในครั้งนี้ โคลัมบัสเป็นกัปตันเรือซานตามาเรีย กัปตันเรือปินตาคือมาร์ติน อะลองโซ ปินซอน ซึ่งมีน้องชายอยู่ 2 คน คือ ฟรานซิสโก เป็นต้นหนเรือปินตา และวีเซนเต เป็นกัปตันเรือนิญา

เรือทั้งสามลำออกจากท่าเล็กๆ ในเขตปาโลส เด ลา ฟรอนเตรา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศสเปน เมื่อตอนพลบค่ำของวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1492 ซึ่งตรงกับช่วงสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่2 ในกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เรือทั้งสามลำพร้อมลูกเรือนับ 90 คน ประกอบไปด้วยลูกเรือและคนใกล้ชิดของโคลัมบัส รวมทั้งบุคคลในราชสำนัก อาทิตัวแทนของสมเด็จพระราชินี ผู้ควบคุมการเดินทาง นายสันติบาลเรือซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ติดอาวุธทำหน้าที่เหมือนตำรวจ คนทำหน้าที่เขียนบันทึกการเดินทาง ล่ามประจำเรือ ฯลฯ นอกจากนี้ ขบวนเรือของโคลัมบัสยังขนชาวยิวไปด้วยอีกราว 30 คน ซึ่งเป็นชาวยิวที่ฉวยโอกาสขึ้นเรือมาด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกไต่สวนทางศาสนา เพราะในช่วงนั้นกษัตริย์สเปนบังคับให้ชาวยิวเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ การเดินทางในครั้งนั้นเขาและลูกเรือจะต้องประสบกับความน่ากลัว เพราะคนในสมัยในยังเชื่อว่าใต้ท้องทะเลอันมืดมิดมีสัตว์ร้ายอาศัยอยู่ และพอโคลัมบัสออกเดินเรือเขาเริ่มเขียนบันทึกการเดินทางเล่าว่าแม้จะเฝ้ารอคอยปานใดก็ไม่มีอสุรกายแห่งท้องทะเลโผล่มาให้เห็น โคลัมบัสมีเครื่องไม้เครื่องมือที่ช่วยในการเดินเรือมากมาย แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือเข็มทิศและเครื่องวัดตำแหน่งท้องฟ้า นอกจากนี้เขายังรู้จักวิธีคำนวณระยะทางโดยดูจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์และดวงดาวต่างๆ อีกด้วย เขาเดินเรือตามเส้นทางที่คำนวณไว้ได้ค่อนข้างตรงทาง โดยอาศัยเครื่องวัดความสูงของท้องฟ้าและเข็มทิศ ส่วนการวัดความเร็วใช้วิธีโยนเศษไม้ลงน้ำตรงใกล้หัวเรือแล้วจับเวลาโดยใช้นาฬิกาทรายแล้วนำมาคำนวณ เวลาผ่านไป 3 อาทิตย์ ทุกคนอ่อนล้า สถานการณ์จึงตึงเครียด มีเค้าว่าลูกเรือจะลุกฮือขึ้นหลายครั้ง แต่ในที่สุดประกายของความหวังก็มีให้เห็นเมื่อย่างเข้าสัปดาห์ที่ 4 เพราะลูกเรือเริ่มสังเกตุเห็นนกที่กำลังโฉบเหยื่อในทะเล และเห็นเศษไม้กิ่งไม้ลอยอยู่ตามกระแส

พอตกกลางคืนเมื่อเวลาตี 2 ของวันที่ 12 ตุลาคม ยามบนหอคอยเรือปินตาก็เห็นฝั่งทะเลอยู่ห่าง 10 กิโลเมตร เป็นเงาตะคุ่มอยู่ในแสงจันทร์ ลูกเรือโห่ร้องแสดงความยินดี ดินแดนแห่งนี้คือบาฮามาส และมีชาวพื้นเมืองที่มีผิวสีแดงอาศัยอยู่ เขาจึงเอาเรือเทียบฝั่งและขึ้นสำรวจประกาศเอาเป็นดินแดนเมืองขึ้นของสเปนเสีย โคลัมบัสขนานนามดินแดนแห่งนี้ว่า “ซานซัลวาดอร์” หลังจากนั้นเขาออกเดินเรืออีกครั้ง และใช้เวลาทั้งสิ้น 36 วันจึงได้พบแผ่นดินใหม่ และโคลัมบัสเชื่ออย่างสนิทใจว่าที่นี่คือหมู่เกาะที่มาร์โคโปโลเขียนถึงนั่นเอง

การพบเกาะครั้งนี้ ทำให้โคลัมบัสเชื่อว่าเขามาใกล้ประเทศจีนมากแล้ว เขาจึงออกเดินทางสำรวจจากเกาะหนึ่งไปยังอีกเกาะหนึ่งสืบต่อไปเพื่อหาทางไปสู่ประเทศจีนให้ได้ โดยโคลัมบัสคิดว่าตนเองพบเกาะที่อยู่ใกล้ญี่ปุ่น จากนั้นเขาเดินเรือต่อไปจนถึงคิวบา จนได้พบผู้คนผิวคล้ำซึ่งเขาเรียกว่า “ชาวอินเดีย” เพราะคิดว่าตนเองได้แล่นเรือมาถึงมหาสมุทรอินเดียแล้ว และเขาได้พบเห็นชาวพื้นเมืองนำใบไม้มามวนแล้วจุดไฟสูบ ซึ่งนั่นก็คือใบยาสูบนั่นเอง พอดีกับเสบียงอาหารจวนหมด เขาจึงยกกองเรือกลับสเปนเสียก่อน

สามเดือนภายหลังจากที่ค้นพบโลกใหม่เขากลับไปที่สเปนและนำเอาตัวอย่างทองคำและทรัพย์สมบัติอื่นๆและคนอินเดียพื้นเมือง 7 คน กลับไป โคลัมบัสได้รับการต้อนรับอย่างมีเกียรติ พระราชินีอิซาเบลลาประกาศถึงความสำเร็จนี้ว่า "มีความสำคัญ ยิ่งใหญ่เหลือคณา" และเชิญให้โคลัมบัสอยู่ในแถวหน้าสุดของคณะผู้ติดตามราชวงศ์ในงานราชพิธี และหลังจากนั้นเขาได้เดินทางกลับไปยังดินแดนใหม่ที่เขาพบอีกสามครั้ง โดยที่ไม่มีครั้งใดเลยที่เขาจะฉุกใจคิดว่า ดินแดนนี้คืออเมริกาในปัจจุบัน เพราะเขาเชื่อโดยสมัครใจว่าดินแดนที่เขาพบคือเอเชีย

โคลัมบัสเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ได้เห็นและสัมผัสเมล็ดโกโก้ เขาสังเกตุว่าชนพื้นเมืองเก็บเมล็ดโกโก้ทุกเม็ดที่หล่นตามพื้นจนทำให้เขาคิดว่ามันมีค่ามาก แต่เมื่อเขานำมันกลับสเปนกลับไม่มีใครเห็นค่า จนกระทั่งอีก 2 ทศวรรษต่อมา นายพลคอร์เทสเป็นผู้นำเมล็ดโกโก้ กลับไปถวายพระเจ้าชาร์ลสที่ 5 ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งสเปนในสมัยนั้น ก่อนที่โกโก้จะแพร่หลายไปในประเทศอื่น ๆ เช่น ทรินิแดด ไฮติ เกาะต่าง ๆ ทางแอฟริกาตะวันตกและหมู่เกาะเวสต์อินดีส รวมไปถึงประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและศรีลังกาในเวลาต่อมา

การเดินทางครั้งสุดท้ายของโคลัมบัสสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1504 เมื่อเขาเดินทางกลับมาถึงเมืองซานลูกา เด บาร์ราเมดา ด้วยร่างกายที่อ่อนล้าและนัยน์ตาใกล้บอด เขาเสียชีวิตในวันที่ 20 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1506 ที่เมืองบาญาโดลิด และถูกฝังที่อารามใกล้เซวิลล์ โดยทิ้งให้ดีเอโก บุตรชายคนโตสืบบรรดาศักดิ์ต่อจากเขา หลังการสิ้นชีวิตของเขา พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ได้ทรงสร้างรูปอนุสรณ์เพื่อเป็นการรำลึกถึงเขา โดยจารึกคำอุทิศว่า

“โคลัมบัส ผู้คนพบโลกใหม่ให้กับราชวงศ์กัสตีญาและเลออง”




"ความหวัง (ความฝัน) ทำให้ ... เรามีชีวิต
การลงมือทำ ... ทำให้ชีวิตมีความหมาย"



Download : 1942 : Conquest of Paradise ทศวรรษตัดขอบโลก

หลังจากโคลัมบัสเดินเรือค้นพบแผ่นดินใหม่แล้ว เขากลับมาพร้อมการต้อนรับเยี่ยงวีรบุรุษ แต่มีขุนนางกลุ่มหนึ่ง ค่อนขอดโคลัมบัสว่า แค่เดินเรือออกไป แล้วบังเอิญพบแผ่นดินใหม่ที่มีอยู่แล้วจะยิ่งใหญ่ได้อย่างไร ใครๆ ก็ทำได้ นั่นคือข้อกล่าวหาที่โคลัมบัสเจอมาตลอด วันนึงในงานเลี้ยงเฉลิมฉลองของโคลัมบัส ขุนนางที่หมั่นไส้โคลัมบัสมานาน ก็กระแหนะกระแหน โคลัมบัสด้วยเหตุผลเดิมๆ
  
"แค่เดินเรือออกไป แล้วบังเอิญพบแผ่นดินใหม่ใครๆ ก็ทำได้" โคลัมบัสไม่ตอบโต้อะไร แต่หยิบไข่มา 1 ฟอง

"ท่านตั้งไข่ใบนี้ให้ได้ซิ"
ขุนนางรับไข่มาและพยายามตั้งไข่ให้ได้ แต่ทุกครั้งที่ปล่อยมือไข่ก็ล้มลง

"ไม่มีใครตั้งไข่ได้หรอก"
ขุนนางยืนยันและท้าทาย "หรือท่านตั้งได้" โคลัมบัสรับไข่ใบนั้นมา เคาะเบาๆ ให้ไข่บุบลงเล็กน้อย จากนั้นก็ตั้งไข่ลงบนโต๊ะ ไข่ใบนั้นไม่ล้ม ขุนนางโวยวายทันที "แบบนี้ใครๆก็ทำได้"โคลัมบัสยิ้มแล้วตอบสั้นๆ ก่อนเดินจากไป

"แล้วทำไมท่านไม่ทำ"


"เวลาที่เห็นใครทำอะไรสักอย่างนั้นดูเหมือนจะง่าย แต่ การที่เริ่มต้นทำอะไรสักอย่างด้วยตัวเองนั้น มันยาก"
(The simplest thing in the world, anybody can do it after he has been shown how.)

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กระโจมไฟ สมุทรวชิรนัย

กระโจมไฟ สมุทรวชิรนัย (เกาะนก ปากน้ำกระบี่)




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Flashing
ความสูงจากฐาน : 19m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 3 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 7nm (12.96 km)

ประวัติ
กระโจมไฟนี้ ตั้งอยู่ที่เกาะนก ปากน้ำกระบี่ เป็นกระโจมไฟเหล็กโปร่ง สี่ขาทาสีขาว สร้างเมื่อ พ.ศ.2470 เปลี่ยนตะเกียงก๊าซ เป็นตะเกียงระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2538 ลักษณะไฟเป็นไฟสีขาว วับ 1 ครั้ง ทุก ๆ 3 วินาที สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 20 เมตร เห็นได้ไกล 7 ไมล์

กระโจมไฟ อาโลกวชิรยุตต์

กระโจมไฟ อาโลกวชิรยุตต์ (ตันหยงสตาร์)




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 16m
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 3 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 8nm (14.81 km)

ประวัติ
กระโจมไฟนี้ ตั้งอยู่ที่ตันหยงสตาร์ อยู่บนเนินเขาปลายแหลม เป็นกระโจมไฟเหล็กโปร่ง สามขาทาสีขาว สร้างเมื่อ พ.ศ.2470 เปลี่ยนจากตะเกียงก๊าซเป็นตะเกียงระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2538 ลักษณะไฟเป็นไฟสีขาว วับ 1 ครั้ง ทุก ๆ 3 วินาที สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 51 เมตร เห็นได้ไกล 8 ไมล์



หยงสตาร์ หรือชื่อเต็มว่า ตันหยงสตาร์ หมายความว่า แหลมที่ยื่นไปในทะเล (ตันหยงแปลว่าแหลม) มีที่มาจาก ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีแหลมยื่นไปในทะเล โอบรอบหมู่บ้านไว้ เพราะพื้นที่ของตันหยงสตาร์ มีลักษณะเป็นแหลมยื่นลงสู่ทะเลอันดามันโดยมีแหลมหยงสตาร์อยู่ตรงปลายสุด ถ้ามองจากภาพถ่ายดาวเทียมจะเห็นชุมชนตันหยงสตาร์คล้ายหัวเผือก คือ คอดกิ่วด้านบนแล้วค่อย ๆ ป่องออกตรงกลางพอไปด้านล่างจะค่อย ๆ เรียวเล็กลงตรงจุดปลายแหลม

ท่าเรือหยงสตาร์ ไปตะรุเตา

กระโจมไฟ ชัชวาลวชิรโอฆ

กระโจมไฟ ชัชวาลวชิรโอฆ (ใกล้เกาะนมสาวน้อย)




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Flashing
ความสูงจากฐาน : 24m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 3 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 7nm (12.96 km)

ประวัติ
กระโจมไฟนี้ ตั้งอยู่บนยอดใกล้เกาะนมสาวน้อย ปากน้ำพังงา อยู่ทางด้านทิศใต้ของเกาะปันหยี ห่างประมาณ 2 ไมล์ สร้างด้วยเฟอโรคอนกรีต เมื่อ พ.ศ.2470 เปลี่ยนตะเกียงก๊าซเป็นตะเกียงระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2533 ลักษณะไฟเป็นไฟสีขาว วับ 1 ครั้ง ทุก ๆ 3 วินาที สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 25 เมตร เห็นได้ไกล 7 ไมล์

กระโจมไฟ ประภาสวชิรกานต์

กระโจมไฟ ประภาสวชิรกานต์ (เกาะรา)




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 36m
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 8 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 13nm (24.07 km)

ประวัติ
กระโจมไฟนี้ ตั้งอยู่ปลายแหลมเกาะรา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา สร้างด้วยเฟอโรคอนกรีต เมื่อ พ.ศ.2470 เนื่องจากบริเวณก่อสร้างตัวกระโจมเป็นป่าไม้ขึ้นปกคลุมมาก ทำให้บดบังแสงไฟ จึงดำเนินการต่อยอดกระโจมขึ้นไปด้วยโครงเหล็กสี่ขา และได้เปลี่ยนจากตะเกียงก๊าซเป็นตะเกียงระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2536 ซึ่ง ลักษณะไฟ เป็นไฟสีขาว วับ 3 ครั้ง ทุก ๆ 8 วินาที สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 37 เมตร เห็นได้ไกล 13 ไมล์

กระโจมไฟ นิสาวชิรกาส

กระโจมไฟ นิสาวชิรกาส (เกาะเละละ)




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Flashing
ความสูงจากฐาน : 65m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 5 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 7nm (12.96 km)

ประวัติ
จากสตูล ขึ้นไปทางเหนือถึงเกาะเละละ บนยอดเกาะนี้เป็นที่ตั้งกระโจมไฟนิสาวชิรกาสเป็นกระโจมเหล็กโปร่งสี่ขา ทาสีขาว สร้างเมื่อ พ.ศ.2470 เปลี่ยนจากตะเกียงก๊าซ เป็นตะเกียงระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2533 ลักษณะไฟเป็นไฟสีขาว วับ 1 ครั้ง ทุกๆ 5 วินาที สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 66 เมตร เห็นได้ไกล 7 ไมล์

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กระโจมไฟ วชิรรุ่งโรจน์

กระโจมไฟ วชิรรุ่งโรจน์ (เกาะแรด)




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Flashing
ความสูงจากฐาน : 133m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 3 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 17nm (31.48 km)

ประวัติ
กระโจมไฟวชิรรุ่งโรจน์ ตั้งอยู่บนเกาะแรดหน้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นกระโจมไฟซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ให้สร้างขึ้นคราวเดียวกับการสร้างกระโจมไฟสยามเทวีและโสมรังษี พระราชทานนามว่า“วชิรรุ่งโรจน์” อันเนื่องมาจากพระบรมนามาภิไธย “วชิราวุธ” นั่นเอง กระโจมไฟนี้สร้างด้วยเฟอโรคอนกรีต เป็นไฟสีขาว มีลักษณะเป็นไฟวับ 1 ครั้ง ในทุก ๆ 3 วินาที สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 134 เมตร เห็นได้ไกล 17 ไมล์ สร้างเมื่อ พ.ศ.2468 เนื่องจากทรงตระหนักแน่ชัดในพระราชหฤทัยว่า กระโจมไฟเป็นคุณประโยชน์ไม่เฉพาะแต่ชาวเรือ ย่อมนับเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติอีกส่วนหนึ่งด้วย ในท้องทะเลถ้ามีกระโจมไฟไว้มากแห่ง ภยันตรายแห่งชีวิตและทรัพย์สมบัติก็ย่อมน้อยลง เหล่านี้ก็นับว่าเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ จึงได้สละพระราชทรัพย์ให้สร้างขึ้นโดยทรงเห็นประโยชน์ดังกล่าวแล้ว กระโจมไฟดวงนี้นำมาซึ่งความสะดวกใจให้กับชาวเรือทั้งหลายเป็นอเนกอนันต์สมดังพระราชประสงค์ทุกประการอันนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้า ฯ เป็นพระราชกุศล อันควรนิยมเป็นเยี่ยงอย่าง

เมื่อ พ.ศ.2470 พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเงินของราชนาวีสมาคมที่เหลือจากซื้อเรือพระร่วงแล้วจำนวนหนึ่ง ให้กับกรมอุทกศาสตร์ โดยเงินจำนวนนี้ กรมอุทกศาสตร์ได้จัดสร้างกระโจมไฟขึ้นในมณฑลภูเก็ตอีก 6 แห่ง กับซ่อมแซมและเปลี่ยนแปลงกระโจมไฟเก่า จากการใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าดเป็นตะเกียงใช้ก๊าซอเซทีลีน กระโจมไฟที่สร้างใหม่เหล่านี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามเพื่อเป็อนุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากทรงมีวินิจฉัยว่า เงินที่ได้มานี้เป็นเงินของราชนาวีสมาคม อันอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์แห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ซึ่งเป็นผู้ก่อกำเนิดให้เกิดสมาคมและเงินรายนี้ขึ้น จึงได้พระราชทานนามอันสอดคล้องมาจากกระโจมไฟวชิรรุ่งโรจน์ และกระโจมไฟทุก ๆ แห่งจะมีพระบรมนามาภิไธย “วชิราวุธ” อยู่ด้วย คือ

“วชิรรุ่งโรจน์”

ปัชโชติวชิราภา นิสาวชิรกาส
ประภาสวชิรกานต์ ชัชวาลวชิรโอฆ
อาโลฏวชิรยุตต์ สมุทรวชิรนัย

กระโจมไฟ สยามเทวี

กระโจมไฟ สยามเทวี (หินขึ้เสือ)
เครดิตภาพ น้าวิจาร์ณ




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Flashing
ความสูงจากฐาน : 11m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 5 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 6nm (11.11 km)

ประวัติ
จากแหลมพัทยา ลงไปทางทิศใต้ มีเกาะแก่งอีกหลายแห่งจนถึงบริเวณเกาะคราม ในช่องระหว่างเกาะครามกับฝั่งนี้มีหินโสโครกหลายกอง กองหนึ่งเรียกว่า หินขี้เสือ บนกองหินนี้เป็นที่ตั้งกระโจมไฟ “สยามเทวี” กระโจมไฟแห่งนี้เกิดขึ้นได้ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้างขึ้น กระโจมไฟนี้สร้างความสะดวกให้แก่ชาวเรือที่เดินทางผ่านบริเวณนี้ ยังความปลอดภัยแห่งชีวิตและทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก เป็นการบำเพ็ญพระกุศลอันควรเชิดชู นับว่าเป็นพระกรุณาธิคุณอันใหญ่ยิ่ง เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระราชทานนามกระโจมไฟนี้ว่า “สยามเทวี” หากเดินเรือผ่านกระโจมไฟนี้ในเวลากลางวันจะเห็นพระราชทินนามนี้ได้ชัดเจน กระโจมไฟ “สยามเทวี” เป็นไฟสีแดงมีลักษณะเป็นไฟวับทุก ๆ 5 วินาที สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 7 เมตร เห็นได้ไกล 6 ไมล์ สร้างด้วยเฟอโรคอนกรีต เมื่อ พ.ศ.2468

กระโจมไฟโสมรังษี เกาะจุ่น

กระโจมไฟโสมรังษี เกาะจุ่น




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 10m
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 10 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว (23.7-44.2 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 10nm (18.52 km)
สีของแสงไฟ : สีแดง (44.2-94.3 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 8nm (14.81 km)
สีของแสงไฟ : สีขาว (94.3-334.9 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 10nm (18.52 km)
สีของแสงไฟ : สีแดง (334.9-23.7 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 8nm (14.81 km)

ประวัติ
เกาะจุ่นอยู่ทางด้านเหนือของแหลมพัทยาเป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ใกล้ฝั่ง เป็นที่ตั้งกระโจมไฟ “โสมรังษี”สร้างขึ้นโดยพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชษฐ์ (พระองค์เจ้าหญิงโสมวดี) ประทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้างขึ้นนับว่าเป็นการบำเพ็ญพระกุศลอันยิ่งใหญ่ต่อชาวเรือ เมื่อได้สร้างขึ้นแล้วพระองค์ท่านได้ประทานนามว่า “โสมรังษี” อันเนื่องมาจากพระนามเดิม ถึงแม้ว่าพระองค์ท่านจะเสด็จสู่สวรรคาลัยไปแล้ว แต่พระนามและพระรัศมีคือ “โสมรังษี” ยังส่องแสงรุ่งโรจน์อยู่ตลอดกาล กระโจมไฟนี้เป็นไฟสีขาว มีลักษณะ วับหมู่ 3 ครั้ง ทุก ๆ 10 วินาที กับมีเสี้ยวแสงสว่างสีแดงฉายไปยังบริเวณ กองหินใต้น้ำอันอยู่ใกล้ทางเรือเดิน ซึ่งเป็นอันตรายแก่การเดินเรือ ไฟอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 11 เมตร ไฟสีขาวเห็นได้ไกล 10 ไมล์ สีแดงเห็นได้ 8 ไมล์ สร้างด้วยเฟอโรคอนกรีตเมื่อ พ.ศ.2468

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประภาคาร เกาะนก

ประภาคาร เกาะนก (ปากน้ำตรัง)




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 8m
ระยะเวลากระพริบ : 6 วับ ทุก 10 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 8nm (14.81 km)

ประวัติ
ตั้งอยู่ที่จังหวัดตรัง สร้างเมื่อ พ.ศ.2504 เป็นกระโจมเหล็กโปร่ง ทาสีขาว ลักษณะไฟเป็นไฟวับสีขาว  เดิมทีใช้ก๊าซ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2539 ได้เปลี่ยนเป็นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เกาะนกอยู่ตรงปากน้ำตรัง กับปากแม่น้ำปะเหลียนมาบรรจบกัน


ประภาคาร เกาะมัตโพน

ประภาคาร เกาะมัตโพน




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Long Flashing
ความสูงจากฐาน : อยู่บนเขา
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 7 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 16nm (29.63 km)
สีของแสงไฟ : สีแดง
ครอบคลุมระยะ : 8nm (14.81 km)

ประวัติ
เกาะมัตโพน เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ห่างจากชายฝั่งตรงปากน้ำชุมพร ประมาณ 500 เมตร ตัวเกาะวางตัวในแนวทิศเหนือ -ทิศใต้ ขนาดกว้างประมาณ 100 เมตร ยาวประมาณ 350 เมตร มีแนวสันทรายเป็นทางยาวจากบริเวณชายฝั่งไปถึงตัวเกาะ ทำให้ ้สามารถเดินไปยังตัวเกาะได้เมื่อเวลาน้ำลง บนเกาะมียอดเล็ก ๆ สูงประมาณ 10 - 15 เมตร มีเจดีย์เล็ก ๆ อยู่บนยอดเขา 1 องค์ ไม่ทราบประวัติความเป็นมา แต่สังเกตุุจากรูปแบบสถาบัตยกรรม เป็นเจดีย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปแบบศิลปกรรมมาลิกเจดีย์ เกาะมัตโพน เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมขนาด 3.70 x 3.85 เมตร ฐานชั้นล่างเป็นฐานบัวท้องไม้สูงเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมด้านละ 2 ช่อง คงใช้เป็นที่บรรจุอัฐิ ฐานชั้นบนเป็นฐานสิงห์กลางท้องไม้คาดด้วยลูกแก้วอกไก่ตกแต่งลายปูนปั้นที่แข้งสิงห์เป็นรูปลายกนก แข้งสิงห์บางอันทำเป็นรูปหน้ากาฬ ฐานสิงห์นี้ย่อมุมไม้สิบสอง รับกับองค์ระฆังสี่เหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสองเช่นกัน ที่ท้องไม้ของฐานสิงห์ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นรูปดอกไม้และใบไม้ บัวหงายปูนปั้นเป็นรูปลายกระจัง เส้นลวดเหนือบัวหงายเป็นรูปดอกไม้และใบไม้ ที่ท้องสิงห์ทำเป็นลายกนกรูปใบเทศ องค์ระฆังย่อมุมไม้สิบสอง ประดับลวดลายปูนปั้น เป็นรูปลายกระจังที่บัวคอเสื้อเหนือขึ้นไปเป็นบัวถลารูปแปดเหลี่ยม และบัวหงายแปดเหลี่ยมรองรับบัวกลุ่มเถา 3 ชั้นกับปลียอด กึ่งกลางปลียอดคาดด้วยลูกแก้ว 2 ชั้น บนสุดทำเป็นเม็ดน้ำค้าง ความสูงของเจดีย์ราว 9.60 เมตร มาลิกเจดีย์ เกาะมัตโพน ซึ่งเป็นโบราณสถาน เดิมน่าจะสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ อยู่ในเขตพื้นที่ใช้ประโยชน์ ของกองทัพเรือ (บนยอดเขามีประภาคาร) รูปแบบสถาปัตยกรรม น่าจะมีอายุอยู่ในราวรัชกาลที่ 3–4 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน ในประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอน 83ง. วันที่ 21 กันยายน 2511 ความสำคัญและสภาพปัจจุบันสภาพปัจจุบันของมาลิกเจดีย์ เกาะมัตโพน ประชาชนที่จะขึ้นไปยังเกาะมัตโพน ต้องเดินทางโดยทางเรือ หรือต้องดูระดับน้ำ หากระดับน้ำลดลงสามารถเดินไปยังเกาะได้ แต่ถ้าหากระดับน้ำขึ้นสูงไปแล้วอาจจะติดเกาะได้ ซึ่งระยะทางที่จะไปยังมาลิกเจดีย์ เกาะมัตโพน ต้องเดินลงไปจากถนนประมาณ 1 กิโลเมตร จึงจะถึงขั้นบันไดซึ่งมีความสูงนับได้ 94 ขั้น ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือเฝ้าอยู่ในบริเวณที่พักข้างล่าง เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 จะมีการจัดงานประเพณี เพื่อเป็นการทำบุญสักการะ มาลิกเจดีย์ เป็นประจำทุกปี

ประภาคาร หลังสวน

ประภาคาร หลังสวน




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Occulting
ความสูงจากฐาน : 19m
ระยะเวลากระพริบ : 2 วับ ทุก 5 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว (192.7-222.8 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 15nm (27.78 km)
สีของแสงไฟ : สีแดง (222.8-308.3 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 12nm (22.22 km)
สีของแสงไฟ : สีขาว (308.3-5.7 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 15nm (27.78 km)

ประวัติ
เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล กราบบังคมทูลว่า “ ได้สร้างประภาคารที่หลังสวน จะเปิดใช้ในวันที่ 21 กันยายน ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ดวงไฟสีขาวแดงมืด 5 วินาที สว่าง 10 วินาที เห็นได้ไกล 8 ไมล์ หรือ 34 เส้น บอกทางเดินเรือ ทิศเหนือ ถึงทิศเหนือ 42 ดีกรี ตะวันออก แสงไฟสีขาว บอกทางเดิน เรือเข้าทางทิศเหนือ แลทิศเหนือ 42 ดีกรี ตะวันออกถึงทิศใต้ 53 ดีกรีตะวันออก แสงไฟ ตะวันออกสีแดงบอกว่ายังมี เศษศิลาใต้น้ำ ทิศใต้ 51 ดีกรี ตะวันออก ถึงทิศใต้ แสงไฟสีขาว บอกทางเดินเรือทางทิศใต้ ดวงไฟขึ้นเหนือ ระดับน้ำขึ้นเต็มที่ 41 ฟิต (ข้อมูลปี ร.ศ.129) ขอพระราช ทานชื่อประภาคารนี้
      ราชเลขานุการให้มีหนังสือที่ 51 ลงวันที่ 20 กันยายน ร.ศ.129 ตอบว่า “ มีพระบรมราชโองการว่า ดีแล้วพระราชทานพระบรมราชนุญาตให้เปิด แต่ชื่อมิทรง ทราบว่า จะตั้งอย่างไร น่ากลัวจะเรียกชื่อซ้ำ เช่น ปากน้ำรีเยนท์ไลท์ ก็ไม่เห็นค่อยเรียกกัน เจ้าคุณเห็น ควรให้ประทานชื่อประการใดก็ให้นำความมากราบบังคมทูลเมื่อวันที่พระกรุณา       เจ้าพระยายมราช ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลเมื่อวันที่ 26 กันยายน ว่า “ จะ ตั้ง อย่างอื่นไม่เหมาะสมกับตำบลที่ และหน้าที่ ถ้าจะให้ชื่อว่า ประภาคารหลังสวน ก็เห็นจะเหมาะดี ” พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ทรงมีพระราชหัตถเลขาที่ ๔๕/๑๐๖๙ ตอบว่า “ ได้ทราบแล้ว เช่นนี้เรียกตำบลของประภาคาร ไม่ใช่ตั้งชื่อ เป็นธรรมดาต้องเรียกกันอยู่เช่นนั้นเอง หมายว่าจะขอเป็นชื่อพิเศษอย่างอื่น จึงไม่รู้ว่าจะให้อย่างไร ”

ประภาคาร เกาะปราบ

ประภาคาร เกาะปราบ




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Flashing
ความสูงจากฐาน : 73m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 6 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 21nm (38.89 km)

กระโจมไฟ
รูปแบบไฟ : Group Occulting
ความสูงจากฐาน : 22m
ระยะเวลากระพริบ : 2 วับ ทุก 7 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 15nm (27.78 km)

ประวัติ
ปากแม่น้ำตาปี ยังมีเกาะเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญ ต่อการนำเรือเข้าสู่แม่น้ำตาปี เกาะนั้น คือ เกาะปราบ กองทัพเรือได้จัดสร้าง ประภาคาร ใช้งานตั้งแต่ พ.ศ.2450 เป็นที่หมายสำหรับเรือขนาดใหญ่ และเรือประมงทั่วไป ใช้สัญจรเข้า - ออก ปากแม่น้ำตาปี เป็นประภาคารโครงสร้างเหล็ก มีอาคารที่ทำการและที่พัก ของข้าราชการและพนักงานดูแลเปิดปิดตะเกียงประภาคาร ต่อมาได้มีการปรับปรุงก่อสร้าง เป็นกระโจมคอนกรีต เสริมเหล็ก เมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2536 สามารถ ส่องแสงสว่างให้เห็นได้ไกล  เกาะปราบนอกจากจะมีกระโจมไฟแล้วยังมีชื่อเสียง เกี่ยวกับหอยนางรมมาช้านาน หอยนางรมที่มีขนาดใหญ่และรสชาติอร่อยมาก นำชื่อเสียงมาสู่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนถึงทุกวันนี้ และเนื่องจากเกาะปราบอยู่ไม่ห่างไกลจาก แม่น้ำตาปี มาก นัก ผู้คนในตัวเมืองมักนิยมมาเที่ยวชมอยู่เสมอ


วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประภาคาร ระนอง (ประภาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา)

ประภาคาร ระนอง (ประภาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา)




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Flashing
ความสูงจากฐาน : 46m
ระยะเวลากระพริบ : 4 วับ ทุก 4 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 10nm (18.52 km)

ประวัติ
วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นศูนย์จอดเรือ และส่งกำลังบำรุงเรือตรวจการณ์ ของกรมศุลกากรทางด้านทะเลอันดามัน รวมทั้งเป็นเป็นท่าเทียบเรือ เพื่อการท่องเที่ยว และการค้าชายแดนจังหวัดระนอง กรมศุลกากรจึงได้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างท่าเทียบเรือ และอาคารประภาคาร จำนวน 85 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2545 ในส่วนของท่าเทียบเรือ มีความยาวของสะพาน 344 เมตร กว้าง 10 เมตร
     
       ส่วนปลายท่าได้ก่อสร้างประภาคารมีความสูง 48.5 เมตร หรือ 9 ชั้น ถือว่า เป็นประภาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยด้วย เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550
     
       ทั้งนี้ ได้รับพระราชทานชื่อว่า ประภาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ส่วนที่มีการออกแบบเป็นอาคาร 8 เหลี่ยมนั้น เป็นตัวเลขที่สื่อความหมายถึงปีมหามงคลนั้นเอง ซึ่งบนชั้น 9 ที่ใช้สำหรับชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของปากน้ำระนองทั้งในฝั่งของไทย และฝั่งประเทศพม่า จุคนได้ประมาณ 50 คน สามารถเดินวนได้รอบ 360 องศา มีลิฟต์ไว้ให้บริการหนึ่งตัว
     
       ส่วนคนที่กลัวความสูง สามารถขึ้นไปชมวิวที่ชั้น 2 ซึ่งสามารถชมทิวทัศน์ที่สวยงามของทะเลอันดามัน ทั้งในฝั่งของไทย และฝั่งประเทศพม่า เป็นปลายสุดของแม่น้ำกระบุรีที่กั้นเขตแดนระหว่างไทย กับพม่า ก่อนไหลออกสู่ทะเลอันดามัน ส่วนที่อยู่บนสุดของอาคารเป็นที่ตั้งของสัญญาณไฟประภาคาร ใช้ประโยชน์สำหรับการเดินเรือในเวลากลางคืน


กระโจมไฟ ตากใบ

กระโจมไฟ ตากใบ (อดีด ประภาคาร ตากใบ)



คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Occulting
ความสูงจากฐาน : 27m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 5 วินาที
สีของแสงไฟ : สีเขียว (125.8-196.6 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 11nm (20.37 km)
สีของแสงไฟ : สีขาว (196.6-199.5 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 15nm (27.78 km)
สีของแสงไฟ : สีแดง (199.5-276.1 องศา)
ครอบคลุมระยะ : 11nm (20.37 km)


ประวัติ
เป็นประภาคารที่สร้างขึ้น โดยความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เพื่อช่วยในการเดินเรือ และแสดงแนวเขตทางทะเลของทั้งสองประเทศ ตั้งอยู่บริเวณปากน้ำแม่น้ำโก-ลก ตำบลตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ตัวประภาคารออกแบบเป็นสถาปัตยกรรมประยุกต์ไทย-มาเลเซีย ตัวประภาคารส่วนล่าง สร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทาสีขาว สูง 18 เมตร ส่วนบนเป็นพลาสติกเสริมใยแก้ว (Global Positioning System - GRP) สูง 9 เมตร รวมความสูงทั้งหมด จากฐานถึงยอดกระโจม สูง 27 เมตร ส่วนตัวตะเกียงเป็นตะเกียงระบบพลังงานแสงอาทิตย์ 2 ดวงวางซ้อนกันในแนวดิ่ง ตะเกียงดวงบนเป็นตะเกียงไฟเสี้ยวมี 3 สี คือ แสงไฟสีเขียว ขาว และแดง ส่วนตะเกียงดวงล่างเป็นตะเกียงที่ให้แสงสว่างรอบตัว ลักษณะไฟเป็นไฟวาบสีเขียว ขาว และแดง ทุก ๆ 5 วินาที ไฟสีเขียว และแดง เห็นได้ไกล 11 ไมล์ และไฟสีขาว เห็นได้ไกล 15 ไมล์ เปิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2531

ประภาคาร เกาะตะเภาน้อย

ประภาคาร เกาะตะเภาน้อย




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 54m
ระยะเวลากระพริบ : 6 วับ ทุก 15 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 20nm (37.04 km)

ประวัติ
เกาะตะเภาน้อย เป็นเกาะที่อยู่ในความดูแล ของกองทัพเรือ โดยกรมอุทกศาสตร์ เป็นที่ตั้งของประภาคารเกาะตะเภาน้อย โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง โดยประภาคารเกาะตะเภาน้อย เป็นประภาคารซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2442 เดิมเป็นประภาคารแบบใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าด ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นตะเกียงแบบใช้ก๊าซ เมื่อปี พ.ศ.2470 และเปลี่ยนเป็นใช้พลังงานแสงอาทิตย์เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2540 มีลักษณะเป็นกระโจมอิฐหอคอย ทาสีขาว สูง 11 เมตร ตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 55 เมตร มองเห็นได้ไกล 20 ไมล์ทะเล สัญลักษณ์เป็นไฟวับ หมู่สีขาว  ซึ่งเกาะตะเภาน้อยนี้ได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายช่วยการเดินเรือและช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการเดินเรือในบริเวณอ่าวมะขาม จังหวัดภูเก็ต มีความปลอดภัยมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ เกาะตะเภาน้อย ยังเป็นสถานีวัดระดับการขึ้นลงของน้ำทะเล เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลประกอบการทำนายระดับน้ำขึ้นลงอีกด้วย





เกาะตะเภาน้อย ตั้งอยู่ที่ ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ห่างจากชายฝั่งอ่าวมะขาม ประมาณ 1 ไมล์ทะเล บริเวณโดยรอบเกาะเป็นหาดทรายและหาดหิน และยังคงมีแนวปะการังน้ำตื้นอยู่โดยรอบเกาะ เป็นเกาะขนาดเล็กที่อยู่ใกล้ความศิวิไลย์ของตัวเมืองภูเก็ต ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดิบ และสัตว์ป่านานาพันธุ์ โดยมีตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าได้แก่ ฝูงนกแก๊ก  อาศัยอยู่ในเกาะตะเภาใหญ่และเกาะตะเภาน้อยแห่งนี้ ซึ่งนกแก๊ก (Oriental Pied Hornbill : Anthracoceros albirostris) เป็นนกเงือกพันธุ์หนึ่งในจำนวน13 สายพันธุ์ ที่มีแหล่งอาศัยในประเทศไทย นกแก๊กที่อาศัยในเกาะตะเภาน้อยและเกาะตะเภาใหญ่ ทำรังในโพรงไม้บนต้นไม้ในป่าอันอุดมสมบูรณ์ กินลูกไม้และผลไม้หรือแมลงขนาดเล็กในป่าเป็นอาหาร นอกจากหาอาหารตามธรรมชาติแล้ว นกแก๊กบนเกาะตะเภาน้อย ยังกินมะม่วง ขนุน น้อยหน่า ชมพู่ กล้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่กองทัพเรือปลูกไว้ด้วย และในบางครั้ง นกแก๊กบางตัวที่ไม่กลัวคน ยังลงมากินข้าวสุก หรือผลไม้ ซึ่งเจ้าหน้าที่นำไปวางไว้ ทำให้นักท่องเที่ยวที่ได้มาเยี่ยมเยือน ได้มีโอกาสชมนกแก๊กอย่างใกล้ชิดด้วยนอกเหนือจากผืนป่าและธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์บนเกาะตะเภาน้อย รวมทั้งการเป็นที่ตั้งของประภาคารเกาะตะเภาน้อย เครื่องหมายช่วยการเดินเรือที่สำคัญยิ่งในทะเลอันดามันแล้ว บริเวณยอดเขาด้านข้างของประภาคาร ยังเป็นที่ตั้งของอาคารเรือนไม้สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีสเก่าแก่ อายุกว่าร้อยปี ซึ่งเดิมเป็นที่ทำการของประภาคาร สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อรวบรวมเรื่องราวและอุปกรณ์เครื่องใช้เกี่ยวกับการรายงานอุทกศาสตร์ เครื่องหมายเดินเรือ สถานีวัดระดับน้ำ สถานีวัดอากาศมาจัดแสดงไว้ นอกจากนี้บนเกาะ ยังมีป้อมปืนโบราณ สร้างสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทหารญี่ปุ่น ได้ควบคุมเชลยศึกมาสร้างไว้ปัจจุบัน เกาะตะเภาน้อย เป็นสถานที่ราชการซึ่งอยู่ในความดูแลของกองทัพเรือและยังคงมีธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ อนุญาตเฉพาะนักท่องเที่ยวที่รักธรรมชาติอย่างแท้จริงให้เข้ามาเยี่ยมเยือนได้ในจำนวนจำกัดภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่กองทัพเรือเท่านั้น เพื่อไม่ให้ธรรมชาติและสัตว์ป่าบนเกาะถูกรบกวน โดยเมื่อนักท่องเที่ยวเดินขึ้นจนถึงบนยอดเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของประภาคาร จะสามารถมองเห็นฝั่งอ่าวมะขามได้อย่างชัดเจน รวมทั้งยังเห็นการจราจรทางน้ำที่คับคั่งบริเวณท่าเรือภูเก็ตอีกด้วย