ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

คำศัพท์ในการแล่นใบ (Sail glossary)

คำศัพท์ในการแล่นใบ (Sail glossary)

รวบรวบคำศัพท์เกี่ยวกับการแล่นใบต่างๆ เรียงตามหมวดตัวอักษร A ถึง Z




A
Abeam (อะบีม) : แนวข้างทั้งสองด้านของเรือ , ตำแหน่งที่อยู่บนเส้นตั้งฉากของเส้นที่ลากจากหัวเรือไปยังท้ายเรือ
Aft : ตรงด้านท้ายของเรือ , ท้ายเรือ
Ahead (อะเฮด) : ทางด้านหน้า
Airfoil : ใบเรือที่เป็นอุ้งเมื่อรับลม
Amidships (อะมิดชิพส์) : ส่วนกึ่งกลางของเรือ ระหว่าง หัวเรือ กับ ท้ายเรือ และ ยังหมายถึง แนวกึ่งกลาง
ระหว่าง กราบขวา (Port) และ กราบซ้าย (Starboatd)
Anchorage : ที่กำบัง หรือ พื้นที่ ที่เรือจะทอดสมอได้
Apparent wind : ลมที่พัดตกลงมาที่เรือกำลังแล่นอยู่
Astern : ทางท้ายเรือ ด้านหลัง

B
Backing wind shift : ลมที่พัดย้อนกลับแล้วยกตัวลอยขึ้น
Backwind : การดึง ใบใหญ่ หรือ ใบยิบ ออกจากการรับลม เป็นเหตุให้ ลมพัด เข้าด้านหลังของใบเรือ
Bail : การวิดน้ำออกจากเรือด้วยมือ
Bailer : ที่ระบายน้ำออกขณะที่เรือวิ่งด้วยความเร็ว
Barging : การเคลื่อนไปอย่างเชื่องช้า , การหยุด / การขัดจังหวะ
Battens : ชิ้นไม้ยาว บาง แคบ ที่ใส่ไว้ในช่องที่ปลายใบ (leech of a sail) เพื่อทำให้ปลายใบแผ่ออก
Beam : ส่วนที่กว้างที่สุดของเรือ , คานเรือ
Beam reach : การแล่นใบที่ตั้งฉากกับลม , ลมพัดเข้ากราบเรือ
Bearing away : การเปลี่ยนทิศทางเรือให้ออกไปจากลม เรือตกจากทิศทาง ออกนอกเส้นทางที่กำหนด
(การแบ)
Bearing off/away : การเปลี่ยนหัวเรือให้ออกจากจากทิศทางของลมจนกระทั่งกลับใบตามลม
Beat : การแล่นใบไปในทิศทางลมเข้ามาในรูปแบบของการ Tack ในขณะที่แล่นใบแบบ close-hauled
Beating : การแล่นใบทวนลม close-hauled.
Before the wind : การแล่นใบโดยให้ลมพัดเข้ามาทางท้ายเรือ, ในทิศทางเดียวกับลมที่พัดมา ,
แล่นตามลม (running)
Bight : ส่วนของเชือกยกเว้นส่วนปลาย มักจะหมายถึงม้วนเชือก
Block : รอกที่มีเชือกร้อยอยู่
Blowing stink : เป็นคำที่ใช้โดยผู้ฝึกสอนชื่อ Hoofer ซึ่งหมายถึง ลมแรง มีข้อแนะนำว่า
เมื่อเห็นสัญญาณแรกของ Big Stink จะต้องดึงใบและแล่นไป
Bolt rope : เชือกที่ร้อยใบ และตีนใบ เพื่อให้ติดกับ เสา และ บูม
Boom vang : ลวด หรือ เชือก ที่ร้อยจาก บูม ไปยัง โคนเสา เพื่อยึดบูมลง
Boom : เพลาดามัน, เครื่องเสา ที่ติดอยู่กับเสา และมีตีนใบ หรือ ส่วนล่างของใบ ติดอยู่
Bow plate : แผ่นโลหะที่ติดอยู่กับส่วนหัวของเรือที่ใช้ติดกับสายรั้งเสาด้านหน้า
Bow : ส่วนหน้าของตัวเรือ หัวเรือ , คนตีกระเชียงทางหัวเรือ
Broach : เปลี่ยนทางเรือ
Broaching : ลม และ คลื่น ที่กระทำกับด้านข้างของเรือในขณะกำลังแล่นอยู่
Broad reach : การแล่นใบ ด้วยลมที่พัดเข้ามากระทำกับเรือบริเวณกลางลำเรือ
Burgee : ธงดูทิศทางลม หรือ ศรลม
By the lee : การแล่นเรือตามลม (Running) ด้วยการดึงบูมให้อยู่ด้านเดียวกับลมที่พัดเข้ามา

C
Capsize : ลักษณะที่เรือเอียงทั้งลำ โดยเสาขนานกับพื้นน้ำ , อับปาง , เรือล่ม
Cast off : การยอมให้ไป
Center of effort : พื้นที่กึ่งกลางของใบเรือซึ่งแรงลมมากกระทำ อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดกึ่งกลาง
Center of lateral resistance : จุดกึ่งกลางของตัวเรือที่อยู่ใต้แนวน้ำทั้งหมด
อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดกึ่งของตัวเรือ
Centerboard line : เชือก หรือ ลวด ที่ผูกกับส่วนบนของ centerboard ซึ่งใช้ใน การยกขึ้น
หรือ หย่อนลง
Centerboard truck : ช่องกันน้ำสำหรับใส่ centerboard
Centerboard : ไฟเบอร์กลาส หรือ โลหะแผ่น ที่สอด ยื่นผ่าน ท้องเรือ ในตำแหน่ง กึ่งกลางเรือ
ใช้ในการ ป้องกัน เรือเซ ออกนอก เส้นทาง
Chain plate : แผ่นโลหะ ที่ติดไว้ ด้านข้างของเรือ เพื่อใช้รั้ง Shroud
Chart bathymetric : แผนที่แสดงชั้นความลึกของน้ำ โดยใช้เส้นชั้นความลึก
Chart datum : เสันเกณฑ์แผนที่ ระนาบที่การหยั่งน้ำ และมาตรน้ำในแผนที่เดินเรือใช้อ้างอิง ผู้ที่นำร่องในเบตน้ำตื้นต้องตรวจสอบกับแผนที่เสมอ เส้นเกณฑ์มักถูกระบุเฉพาะไว้ในแผนที่ท่าเรือ
Chart correction card : รายการแก้ไขแผนที่ บันทึกจากประกาศชาวเรือ (Notice to Mariners) ที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของแผนที่บางฉบับ
Charthouse/chartroom : ห้องแผนที่ คือ ห้องบนสะพานเดินเรือ หรือใกล้สะพานเดินเรือ ปกติใช้เก็บเครื่องมือเดินเรือ แผนที่เดินเรือ และอุปกรณ์อื่นๆ
Clear ahead : เรือไม่ทาบกัน เป็นเรือแล่นตาม , เรือพ้นหน้า , เรือเราเป็นเรือพ้นหน้า ก็ต่อเมื่อ
ตัวเรือ และ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในตำแหน่งปกติ ของเรืออื่น อยู่ใต้แนวกึ่งกลางลำ (line beam)
จากท้ายของเรือเรา เรืออื่นเป็นเรือพ้นหลัง
Clear astern : เรือไม่ทาบกัน เป็นเรือแล่นนำ ,เรือพ้นหลัง , เรือเราเป็นเรือพ้นหลัง ก็ต่อเมื่อ
ตัวเรือ และ อุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่อยู่ในตำแหน่งปกติ ของเรือเรา อยู่ใต้แนวกึ่งกลางลำ (line beam)
จากท้ายของเรืออื่น เรืออีกลำเป็นเรือพ้นหน้า
Cleat : พุก ไม้ หรือ โลหะ ซึ่งใช้ผูกเชือกของเรือ
Clew : มุมปลายสุดด้านล่างของใบ
Close hauled : การแล่นใบทวนลม โดยใบทำมุมใกล้กับทิศทางที่ลมพัดมามากที่สุด ,
ลมที่พัดค่อนไปทางหัวเรือ
Close reach : การแล่นใบทวนลม โดยคลายใบ ให้อยู่ ระหว่าง Close hauled กับ Reach
(แล่นขวางลม) ปล่อยใบ ออก ประมาณ 1 ใน 4
Cockpit : ห้องบนเรือ
Coming about : การเปลี่ยนการ Tack ด้วยการหันหัวเรือขึ้นทวนลม แล้วให้หัวเรือ ผ่านไป
Tack อีกด้าน (Tacking), come about การหมุนเรือเปลี่ยนทิศทางเพื่อให้ลมปะทะอีกด้านหนึ่งของใบ
Come home : 1. สมองไม่กินดิน : สมอลากครูดไปตามพื้นท้องน้ำเข้าหาเรือ หรือเรียกว่า สมอเกาขณะหะเบสสมอ 2. เข้าสู่ที่เก็บ : หมายถึงสิ่งใด ๆ ที่เคลื่อนที่เข้าไปยังที่เก็บตามปกติ
Come up : ผ่าน หรือ แซง กล่าวเมื่อเรือผ่านที่หมายบนฝั่ง หรือเมื่อเรือได้แซงเรืออื่นแล้ว
Compass : เข็มทิศ

Continental shelf : ไหล่ทวีป
Continental slope : ลาดทวีป คือ พื้นท้องทะเลที่มีความลาดชันจากเส้น 200 เมตรไปยังที่ความลึกมาก มีความผันแปรระหว่าง 3.5 - 6 เปอร์เซ็นต์
Contour line : เส้นชั้นความลึก / ความสูง คือ เส้นในแผนที่เดินเรือ หรือเดินอากาศ ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างจุดต่าง ๆ ที่มีความลึก/ความสูงเท่ากัน
Cordage : สายเชือก เป็นศัพท์ใช้ทั่วไปสำหรับเชือก (ropes) และเส้น (lines) ทุกชนิด
Coriolis force : แรงผลักเฉ / แรงคอริโอลิส คือ ผลกระทบจากการหมุนรอบตัวเองของโลกต่อมวลสารที่เคลื่อนที่ทั้งหมด รวมทั้งมวลอากาศ และมวลน้ำ ลมสินค้าเบี่ยงเบนจากทิศเหนือและใต้โดยแรงนี้
Corsair : โจรสลัด / เรือโจรสลัด เป็นชื่อที่ใช้เรียกโจรสลัด และเรือโจรสลัดในยุโรปและโดยเฉพาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
Counter : ท้ายเรือยื่น หมายถึง ท้ายเรือที่มีดาดฟ้ายื่นออกมา โดยทั่วๆ ไปแล้วท้ายเรือยื่นเป็นเพียงเครื่องตกแต่งให้สวยงาม ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง บางคนถึงกับกล่าวไกลไปกว่านั้นว่า ยังทำให้การลอยตัว (Buoyancy) ของเรือเสียไปด้วยซ้ำ
Counter current : กระแสน้ำวน / กระแสน้ำเวียนกลับ กระแสน้ำรองหรือกระแสน้ำเวียนกลับในมหาสมุทรที่เกิดจากกระแสน้ำข้างเคียง ไหลในทิศทางตรงกันข้ามกับกระแสน้ำหลัก ดังเช่น กระแสน้ำเวียนกลับที่เกิดขึ้นจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม
Course : เส้นทาง , วิถี , แนวทาง , ใบเรือที่ต่ำสุดของเสา
เข็มเรือ หมายถึง เส้นทางที่เรือแล่นกระทำเป็นมุมกับเมริเดียน ระหว่างตำบลที่เรือออกเดินทางกับตำบลที่ปลายทาง หรือกล่าวเป็นภาษาธรรมดาคือทิศทางที่เรือเดินทาง ทิศทางอาจเป็นเข็มจริง (true) เข็มแม่เหล็ก (Magnetic) หรือเข็มไยโร (Gyro) ก็ได้ คำในี้ใช้ย่อว่า CRS
Course recorder : เครื่องบันทึกเข็มเรือ เป็นอุปกรณ์บันทึกเส้นทางเดินเรือเป็นรูปภาพ
Courses : ใบเรือล่างสุด คือ ใบเรือชิ้นล่างสุดบนเสากระโดงของเรือใบที่ขึงใบตามขวาง (a square rigged) ยกเว้นเสาที่สามของเรือที่มีสามเสาหรือมากกว่า เรือใบประเภท bard จึงไม่มีใบเรือล่างสุด

Cove : อ่าวเล็ก ๆ คือ อ่าวเล็ก ๆ ที่ล้อมด้วยแผ่นดิน ใช้เป็นที่หลบคลื่นลมได้ cove ม่ความหมายเดียวกับ small bay, creek หรือ inlet
Cow's tail : หางเชือกหลุดลุ่ย คือ ปลายที่หลุดลุ่ยของเชือก คำแสลงหมายถึง ก้นบุหรี่
Coxcombing : การถักเชือกประดับ คือ การถักปมเชือกสวยงามพันรอบที่จัดด้ามหางเสือ หลักขึงราว เป็นต้น
Cruise : การแล่นเรือ / เที่ยวเรือ การเดินทางเรือสู่เมืองท่าต่าง ๆ ปกติออกสู่เมืองท่าต่างประเทศซึ่งใช้เวลาหลายเดือน
Current direction : ทิศทางกระแสน้ำ คือ ทิศทางที่กระแสน้ำไหลไป เช่น กระแสน้ำทางตะวันออก หมายถึงน้ำไปลไปในทิศทางตะวันออกตรงข้ามกับการเรียกกระแสลม เช่น ลมตะวันออก หมายถึงลมที่พัดมาจากทิศตะวันออก
Current ocean : กระแสน้ำมหาสมุทร คือ การเคลื่อนที่ของทะเลอย่างต่อเนื่อง บางครั้งมีสาเหตุมาจากกระแสลมที่พัดแรง รวมทั้งแรงคงที่ขนาดใหญ่ เช่น การหมุนรอบตัวเองของโลก หรือ การหมุนรอบตัวเองที่ปรากฏอยู่ของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เช่น กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม กระแสน้ำอุ่นครอมเวลล์ กระแสน้ำอุ่นกุริชิโร
Current table : มาตรากระแสน้ำ หมายถึง บรรณสารของ National Ocean Survey ของสหรัฐฯ ซึ่งให้ข้อมูลในเรื่องกระแสน้ำขึ้นลงในตำบลที่ท้องถิ่นต่าง ๆ ของโลก
Cunningham : เชือกที่ใช้ร้อยตาไก่ ที่ Luff ของใบ ใช้สำหรับ ดึง Luff ใบให้ตึง , มักจะเรียกว่า Downhaul ใช้ปรับคามตึงของ luff ใบ
Cusp : สันทราย / เนินทราย หมายถึง ทรายที่ถูกคลื่นซัดเข้ามารวมกันเป็นหย่อม หรือเป็นแนว ซึ่งยื่นออกไปในทะเลตามแนวหาด


D
Dagger board : กระดูกงูกลาง / centerboard ใช้ เลื่อนขึ้น / เลื่อนลง ในช่องกลางเรือ
Deck : ดาดฟ้าเรือ ตัวเรือแนวนอนด้านบน
Dinghy : เรือพายขนาดเล็กที่ยกไปมาได้ บางครั้งแล่นได้ด้วยใบ
Displacement : ระวางขับน้ำ น้ำหนักของน้ำที่ถูกแทนที่ด้วยเรือ
Dock : อู่ต่อเรือ , อู่ซ่อมเรือ , ท่าเทียบเรือ , เข้าอู่ , เข้าเทียบท่า
Downhaul : เชือกที่ผูกกับด้านล่างของบูม สำหรับทำให้ใบตึง ด้วยการดึงบูมลง
จะทำให้ Luff ใบกระชับด้วย
Downwind : ทิศทางที่ลมพัด หรือ การแล่นตามลม (Running)
Draft : ความลึกของน้ำกับกระดูงูเรือ กินน้ำลึก , ตัวเรือ

E
Ease sheet : ปล่อยใบ
Ebb Tide : น้ำลง
Eye of the wind : เข้าตาลม คือ มุมพื้นที่ที่อยู่ระหว่าง Close Hauled ทั้งสองด้าน
เป็นพื้นที่ที่เรือไม่สามารถแล่นได้

F
Fathom : มาตราวัดความลึก เท่ากับ 6 ฟุต (72 นิ้ว)
Flap : กระพือ
Flood Tide : น้ำขึ้น
Foot : ตีนใบ ขอบด้านล่างของใบเรือ ตั้งแต่ Tack จนถึง Clew
Footstrip : เชือกสำหรับเท้าเกี่ยว เพื่อเอียงตัวปรับแต่ง beam เรือ
Footing : การแล่นใบต่ำกว่า Close Hauled
Fore and aft : แนวกระดูกงู
Forestay : สายที่ขึงท่อนบนของเสาลงไปยังหัวเรือ , ลวดดึงเสาด้านหน้า
Freeboard : ระยะพ้นน้ำ , เหนือแนวน้ำ

G
Gaff : เสาก๊าฟ เสาที่แยกออกทางด้านบนจากเสาใหญ่
Gooseneck : คอห่าน โลหะที่หมุนไปมาได้ติดอยู่กับเสา ใช้สำหรับเสียบบูมเข้ากับเสา
Grommet : ตาไก่ ห่วงที่เจาะบนใบ สำหรับร้อยเชือก
Gungeon : เดือยหางเสือ เป็นห่วงที่มีลูกตนเพื่อผูกเชือก สำหรับทำให้หางเสือหมุนไปมาได้
Gunwales : กราบเรือ ขอบบนของข้างเรือ
Gust wind : ลมกระโชก

H
Halyard : เชือกสำหรับชักใบขึ้นลง
Haul : ดึง , ฉุด , ชัก , ลาก , ลากจูง
Head to wind : หันหัวเรือตรงไปยังลม
Head : มุมส่วนบนสุดของใบ หรือ ส้วม
Heading up : การแต่งใบเรือให้แล่นใกล้กับทิศทางลม , ทวนลม
Headway : แล่นตรงไป
Heave in : To haul in.
Heel : การเอียงไปกราบใดกราบหนึ่ง ด้วยการกระทำของลมต่อใบ หรือ ลูกเรือ
Helm : พังงาด้ามต่อ
Helmsman : ผู้ถือท้ายเรือ
Hiking stick : ดู Tiller extension.
Hiking straps : เชือกรั้งเท้าในเรือ
Hull : ตัวเรือ หรือ ผนังเรือ

I
In irons : เรือ Tack ไม่สำเร็จ เรือเกิดการ Stall (ติดตาลม) พร้อมกับหัวเรือหันเข้าหาลม
In phase : การแล่นใบด้วยมุมที่ดีที่สุดเพื่อไปยังเป้าหมายข้างหน้า , การ tack เพื่อเอาชนะ
และ แล่นใบ เพื่อให้ เรือแล่น สูงขึ้น
Inshore : ตรงไปยังฝั่ง
Irons : เรือที่แล่นตรงไปยังลม ใบจะสะบัดไปมา และ อาจทำให้แล่นถอยหลัง
ISAF : International Sailing Federation (สหพันธ์การแล่นใบนานาชาติ)
Jib : ใบยิบ
Jib halyard : เชือสำหรับชักใบยิบขึ้นลง
Jib sheet : เชือกสำหรับดึงใบยิบ
Jib stay : เชือก หรือ สายสำหรับร้อย Luff ของใบยึด
Jibe : การกลับใบจากด้านหนึ่ง ไปยัง อีกด้านหนึ่ง ขณะเรือกำลังแล่นตามลม
โดยมีลมเข้ามาทางด้านท้าย (gybe)
Jibing : การหมุนเรือ โดยท้ายเรือผ่านตาลม

K

Keel : กระดูกงูเรือ
Keel boat : เรือใบ ที่มีกระดูกงูเรือ ยื่นลงไปในน้ำ และมีน้ำหนักถ่วงไว้ไม่ให้เรือล่ม
Kicker : บางครั้งจะเรียกว่า Vang เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยไม่ให้ boom ยกขึ้น
Knock : ลมพัดขึ้น บังคับให้เรือแล่นได้ต่ำกว่าที่หมาย

L
Lay line : เส้นทางที่เรือแล่น , การแล่นใบ close-hauled ทางกราบขวา เพียงเพื่อจะหาทิศทางลม
ซึ่งจะกลับไปแล่น กราบซ้าย เป็น starboard - tack lay line สำหรับตำแหน่งนั้น
ส่วนทิศทางลมอื่น ๆ ซึ่งเราจะหมายตำแหน่งในการแล่น กราบซ้าย คือ port - tack lay line
Leach : ทางลมพัดออก
Leech : แนวขอบท้ายของใบเรือ
Leeward side : ด้านของเรือที่อยู่ตรงข้ามกับลม
Leeward : ทิศทางที่ลมพัดออกจากเรือ ด้านอยู่ตรงข้ามกับลมพัดเข้าเรือ
Lift : ลมที่พัดขึ้น ทำให้ เรือแล่น ได้สูงกว่า ที่หมาย
Line : เชือก
Luff up : การถือท้ายเรือออกนอกแนวลม วิธีนี้ ทำให้เรือใบ ต้อง Flap หรือ Luff
Luffing : การเปลี่ยน เส้นทาง เดินเรือเข้า ไปหาลม, หันหัวเรือขึ้น , การทำ Luff หรือ Bearing away
เพื่อหา เส้นทาง เดินเรือ ที่ถูกต้อง
Luffing : การนำเรือแล่นเข้าหาลม , ใบเรือสะบัด
Luff : ขอบใบด้านหน้าของใบเรือ ด้านติดกับเสา , ใบลู่ลม , ใบไม่กินลม
Lull : ลมสงบ

M
Main halyard : เชือกสำหรับชักใบเรือขึ้น
Mainsail : ใบเรือ ที่ติดตั้ง อยู่บน เสาใหญ่ , ใบใหญ่
Mainsheet : เชือกที่ใช้ควบคุมมุมของใบเรือ ให้สัมพันธ์กับลม
Mark : วัตถุ หรือ สิ่งต่าง ๆ ที่ลอยอยู่ในน้ำ (bouy) , วัตถุที่ saiing instruction กำหนด ให้เรือ
ต้องผ่าน ในกราบที่กำหนด
Mast slot/groove : ช่องเปิดออกด้านหลังของเสา ที่ซึ่ง เชือกผูก Luff ของใบใหญ่ ร้อยผ่าน
กว้าน ซึ่งเสา บางต้น อาจจะมี รางใบ อยู่ด้านนอก
Mast step : ติดอยู่ที่ ท้องเรือ ซึ่งมีโคนเสา ตั้งอยู่ (Step มักจะออกแบบให้ อยู่บน
ดาดฟ้าของเรือ)
Mast tangs : ติดอยู่ กับเสา เป็นที่ยึดเชือกรั้งเสา หน้า (Forestay) และ ข้าง (Shroud)
Mast : เสา ที่ใช้ติดตั้ง boom และ ใบเรือ , เสาที่ปกติจะตั้งขึ้นไปจากดาดฟ้าเรือ
(สามารถปรับ ความสูงได้ ตามน้ำหนักผู้เล่น)
Masthead : ยอดสุดของเสา
Mooring : เชือกสมอ และโซ่ ซึ่งใช้ในการจอดเรือ , สถานที่จอดเรือ

O

Obstruction : วัตถุ ซึ่ง เรือไม่สามารถผ่านไปได้ โดยไม่เปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางอื่น
แทนเพื่อหลีก เช่น ที่หมาย , เรือช่วยชีวิต , ชายฝั่ง , วัตถุใต้น้ำ หรือ น้ำตื้น, การกีดกัน
On a tack : เรือมักจะ กลับใบทวนลม (Tack) แบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งโดยปกติ เรือใบมักจะ
แล่นกลับไปมาตลอดเวลา
Outhaul : เชือกที่ใช้ ดึง (Haul) มุมใบเรือด้านล่างให้ติดกับปลายบุม
Overlap : การทาบกัน โดยลากเส้นผ่านจากท้ายเรือตัดกับกึ่งกลางของเรืออีกลำหนึ่ง
Overtaking : การแซง การไล่ตามทันกัน

P
Painter : เชือกนิรภัย ที่อยู่หัวเรือของ เรือเล็ก ๆ มักใช้ผูก ยึดเรือ หรือ ทำเป็นห่วงคล้อง
PDF : Personal Floatable Device อุปกรณ์ชูชีพส่วนบุคคล เช่น เสื้อชูชีพ
Pinch : การแล่นใบ เข้าใกล้ลมมาก จนทำให้ ใบเริ่มที่จะ Luff
Pintels : เดือย ซึ่งใช้ร่วมกับ สลัก ประกอบกันเป็น หางเสือ เพื่อให้หมุนไปมาได้
Plane : เมื่อเรือใบ ปักหัวลง ระหว่าง คลื่น และ แล่นขวางลม (Reach) ทำความเร็ว
ได้ตามความกว้างของคลื่น
Port tack : เรือแล่นโดยมีลมพัดเข้ามาทางด้านกราบซ้าย
Port : กราบซ้ายของเรือ เมื่อเราหันหน้าไปทางหัวเรือ
Privileged vessel : เรือลำที่มีสิทธิในทาง
Propel : ขับเคลื่อน
Propeller : ใบจักรเรือ , ใบพัดเครื่องบิน
Proper course : การแล่นเรือให้ตรงกับจุดหมายที่จะไป
Puff : ลมที่พัดกระโชกแรงกว่าธรรมดา
Pulpit : แผ่นโลหะสำหรับป้องกันหัวเรือ


R
Rake : มุมของเสาเรือจากแนวดิ่ง
Reaching : การแล่นใบข้ามลม หรือ เส้นทางแล่นเรือ ระหว่าง Close-hauled กับ
Running (Close, Beam, Broad) , การแล่นเรือแบบง่าย
Ready about : การแสดงออกมาเพื่อแสดงว่า เรือลำนั้นกำลังกลับใบทวนลม (Tack)
Reefing : การลาดขนาดพื้นที่ใบลง
Reward : ใต้ลม
Rig : การเตรียมอุปกรณ์เรือ เชือก เสา เพลา ใบ
Rigging : คำกว้าง ๆ ที่หมายถึง บรรดา เชือกต่าง ๆ สายรั้งเสาต่าง ๆ ที่จำเป็น สำหรับ
เสา และ ใบเรือ
Ripple : ใบสั่นเป็นริ้ว ๆ (luff)
Rudder : แผ่นตัดน้ำแนวทั้งที่หันไปมาได้ ที่อยู่ท้ายเรือ ใช้ในการถือท้ายเรือ ควบคุมด้วย
พังงา หรือ พังงาด้ามต่อ
Running rigging : บรรดาเครื่องใบของเรือ ที่เคลื่อนที่ไปมาได้ และ ร้อยผ่านรอก
เช่น เชือกสำหรับดึงใบ (Halyard) ใบเรือ
Running : การแล่นใบด้วยลมที่พัดกระทำทางด้านท้ายเรือ พร้อมกับการปล่อยใบออกรับลม

S
Sail : ใบเรือ
Sail trim : ตำแหน่งของใบเรือ ที่สัมพันธ์กับลม และทิศทางที่ต้องการ , ใบเรือที่ไม่แต่ง trim
จะทำให้ใบไม่มีประสิทธิภาพ ในการทำงานเท่าที่ควร , สัญญาณที่มองเห็นได้ของ trim คือ
การสะบัดของใบ , การเอียงที่มากเกินไป และ การพัดของอากาศ ผ่าน telltale รวมถึง รูปร่างของใบ
Sailing : การใช้แต่เพียง ลม และ น้ำ เพื่อเพิ่มความเร็ว , รักษาความเร็ว หรือ ลดความเร็ว
Sailing by the lee : การแล่นใบ ในขา Run ด้วยลมที่พัดเข้ามาทางท้ายเรือ ด้านเดียวกับ Boom
(การกลับใบตามลมจะอันตรายมาก)
Sand bar : บริเวณน้ำตื้น ซึ่ง คลื่น หรือ กระแส น้ำ ได้พัดพาทราย หรือ ตะกอน ทับถม
เป็นภูเขาทราย เล็ก ๆ ยาว เนื่องจาก เกิดขึ้นจาก การพัดพาของน้ำ จึงเคลื่อนที่ได้
และไม่ปรากฎอยู่ในแผนที่เดินเรือ
Secure : การทำความเร็ว และปลอดภัย
Sextant : เครื่องมือเดินเรือ ที่ใช้ในการวัดมุมแนวตั้งของวัตถุ เช่น พระอาทิตย์ พระจันทร์
หรือ ดาว ใช้ในดาราศาสตร์เดินเรือ (Celestial navigation)
Shackle : ชิ้น โลหะ หรือ เหล็ก รูปตัว U ที่มีรูอยู่ที่ด้านปลาย , สเกล
Sheet : เชือกที่ใช้ควบคุมใบให้สัมพันธ์กับลม
Sheet line : เชือกใบ
Shove off : ผลักออก , การดันเรือให้ออกจากท่าเรือ หรือ ข้างเรือ
Shrouds : ลวดรั้งด้านข้างของเสาที่โยงจากเสาด้านบนไปยังกราบเรือทั้ง กราบขวา และ
กราบซ้าย ของเรือ , ทั้ง Shroud และ Forestay จะเป็นรูปสามเหลี่ยม เพื่อให้เสาตั้งอยู่ได้
Side slipping : การเซทางข้าง , เกิดขึ้นเมื่อเรือแล่นไปทางด้านข้างกับพริ้วน้ำ
Sidestay : เชือกรั้งเสาด้านข้าง หรือ สายด้านข้างที่ติดอยู่กับเสาลงมายังขอบกราบเรือ
Slack : หลวม ๆ ไม่แน่น , คลาย เพื่อปลดออก
Slap : ตี หรือ ผลักแรง ๆ
Slot : ช่องว่างระหว่าง ใบยิบ และ ใบใหญ่ ซึ่งลมไหลผ่านไปได้
Spinnaker : ใบเรือขนาดใหญ่มาก แต่มีน้ำหนักเบา ใช้ในการแล่นเรือตามลม (running)
หรือ แล่นขวางลม (broad reach)
Spinnaker pole : บางครั้งจะเรียกว่า spinnaker boom เป็น เสาที่ใช้ขยายตีนใบ spinnamker
ให้พ้นขอบของเรือ และช่วยให้ ขอบมุมของเรือมั่นคงขึ้น
Sport Manship : การแข่งขันกีฬาด้วยความซื่อสัตย์ และปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด
Spreaders : แกนที่ใช้ยันสาย shroud ออกไปนอกเรือ
Spring tide : น้ำเกิด , การขึ้นลงของน้ำ ซึ่งมีระดับน้ำแตกต่างกันมาก จะเกิดขึ้นระหว่าง
พระจันทร์ข้างขึ้น จนกระทั่ง พระจันทร์ เต็มดวง เป็นเวลาที่ น้ำขึ้นขึ้นสูงสุด และน้ำลงลงต่ำสุด
ตรงกันข้ามกับ น้ำตาย (neap tide)
Squall : ลมกระโชกที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง และทันทีทันใด มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับฝน
Stall : เรือแล่นได้ช้าลง
Stalling : ปฏิกิริยาของอากาศที่วุ่นวาย สับสน ที่บริเวณด้านท้ายใบ เมื่อปรับใบมากเกินไป
Standing part : เชือกด้านที่ผูกติกอยู่ เป็นเชือกด้านยาว ใช้สำหรับผูก
Standing rigging : บรรดาส่วนประกอบของเครื่องเสาของเรือ ที่ติดตั้งมั่นคง ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
เช่น สายรั้งเสาต่าง ๆ
Starboard tack : เรือกำลังแล่นอยู่ โดยลมเข้ามาทางกราบขวา
Starboard : กราบขวา , ด้านขวาของตัวเรือ โดยหันหน้าไปทางหัวเรือ จากทางท้ายเรือ
Staying clear : การหลีกเลี่ยงการชนกันเนื่องจากการเปลี่ยนเส้นทาง ขณะที่เรือไม่มีสิทธิในเส้นทาง
Stays : เชือกที่ใช้รั้งเสา (shroud)
Steering : พังงาเรือ
Stern : ท้ายเรือ ส่วนด้านหลังของเรือ
Stow : เก็บหรือใส่ให้ถูกต้อง ให้เป็นที่เป็นทาง
Swamp : เรือที่จมเนื่องจากมีน้ำเข้าเรือ
Swell : การขึ้นลง ของ พื้นผิวทะเล หรือ คลื่นลูกใหญ่

T
Tack : มุมใบด้านล่างของส่วนหน้าใบ (ด้านติดกับเสา) , การเย็บไว้ชั่วคราว , ทิศของเรือใบ
ตามที่กำหนดโดยตำแหน่งใบเรือ และทิศทางลม , การแล่นใบแบบสลับฟันปลา , การแล่นตามทิศทางลม
Tacking : Coming about , การกลับใบทวนลม (หัวเรือผ่าน eye of the wind)
Taut : ตึง เกร็ง , กวดขันวินัย
Telltales : แถบผ้า หรือ ด้าย ที่ติดกับ เครื่องเสา หรือ ใบ เพื่อแสดงอาการ หรือ ทิศทาง
ของลม
Thwart : ที่นั่งคนกรรเชียงเรือ , ที่สำหรับยึด centerboard และ ตัวเรือ ยาวตลอดความกว้างเรือ
ที่ตำแหน่งกึ่งกลางเรือ
Tide Table : มาตราน้ำ , ตารางน้ำ
Tiller extension : ส่วนต่อออกมาที่หมุนไปมาได้ ของ พังงา (Tiller) ซึ่งยอมให้ skipper
ควบคุม พังงา ในขณะที่ ห้อยตัว หรือ นั่งค่อนไปทางด้านหน้า
Tiller : พังงาด้าม , แท่งไม้ ใช้สำหรับควบคุม หางเสือ (rudder)
Topside : บนดาดฟ้าของเรือ
Transom : ส่วนของท้ายเรือ (stern) ที่มีหางเสือติดอยู่ , ช่อง
Traveler : สายหรือราง ที่ขวางด้านท้ายเรือ โดยมีเชือกของใบเรือวิ่งไปมาได้
Trim : การเฉลี่ยน้ำหนักในเรือ , การปรับใบเรือให้เข้ากับลม , To sheet in.
Turbulent flow : น้ำท้ายเรือที่พุ่งออกมากพลุ่งพล่าน
Turnbuckle : ส่วนประกอบที่เป็นโลหะที่สามารถ ปรับไข หรือ หมุนได้ ในการ ติดตั้ง หรือ
ปลดออก ของ ส่วนประกอบเครื่องเสา เพลา ใบ ที่ติดตั้งถาวร
Turtle : อาการที่เรือใบพลิกกลับ ท้องเรือคว่ำ เสาชี้ลงใต้น้ำ

U
Underway : ใช้กล่าวถึง เรือแล่นไป และ อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ถือท้าย ในทางเทคนิค
หมายถึง เรือจะ underway ต่อเมื่อ ไม่ได้อยู่บนฝั่ง หรือ ทอดสมอ
Upwind : ทิศทางที่ลมพัดเข้ามา เรือใบแล่น upwind หมายถึง เรือใบแล่นตรงไปยังลม แล่นทวนลม

V

Veer : ลมยกขึ้นที่พัดสวนกลับมา , (ลม) เปลี่ยนทิศทาง , หัน

W
Waterline : แนวน้ำ
Way out : แปลก , พิกล , วิตถาร , ผิดปกติ
Weather helm : เมื่อถือพังงา (tiller) ออกนอกแนวกึ่งกลาง ตามสภาพอากาศ หรือ ลม
เพื่อรักษาเส้นทาง (course)
Weather side : กราบเรือที่ลมเข้ามา (windward side)
Wheel : พังงามือหมุน
Wind shadow : บริเวณที่เกิดอากาศสับสน วุ่นวาย หลังจากการแล่นผ่านของเรือใบ , ขี้ลม
Windward side : กราบเรือซึ่งลมเข้ามา (weather side)
Windward : ทิศทางซึ่งลมพัดเข้ามา , ทวนลม, เหนือลม

Y

Yip : ใบยิบ

ที่มา : rtnsailingclub

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น