ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559

High Low Tide Table 2017 / ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2560

High Low Tide Table 2017 / ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2560
Support smartphone version

แบ่งต่ามพื้นที่ คลิกเลือกจุดที่ต้องการ ตารางน้ำรายชั่วโมงในแผนที่


ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2017 / 2560
  • บอกระดับน้ำระดับสูงสุด-ต่ำสุด ต่อวัน การใช้งานบางอย่างต้องการรู้ว่าน้ำขึ้นเมื่อใด ลงเมื่อใด ขึ้นสูงสุดเมื่อใด ต่ำสุดเมื่อใด
  • การบอกระดับน้ำละเอียดเป็น เมตรและเซนติเมตร
  • การรู้ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด เท่ากับการรู้ต่ำแหน่งดิถีดวงจันทร์ 
  • ตารางระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด จัดทำเพื่อเป็น Backup Site เหมาะสำหรับชาวเล ชาวประมงชายฝั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตารางน้ำชาวเล รายชั่วโมง 2017 / 2560
         

Yamaha Outboard Service Manual 2 stroke 50-90 hp

Yamaha Outboard Service Manual คู่มือซ่อมเครื่องยนต์ เรือยามาฮ่า 2 จังหวะ 50-90 hp



คู่มือซ่อมเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ขนาดเครื่องยนต์ 50 , 60 , 70 , 75 , 80 , 85 และ 90 hp เหมาะสำหรับบำรุงรักษาเครื่องยนต์และซ่อมบำรุงเครื่องยนต์รายชิ้น
  • ใช้สำหรับซ่อมบำรุงรายละเอียดการเปลี่ยนอุปกรณ์เป็นรายชิ้นๆ
  • พร้อมเครื่องมือที่ใช้ในการถอด/ใส่วัสดุ วิธีการใส่
  • ระบบการขันน๊อตโดยใช้ประแจทอร์ค แบบปอนด์ หรือนิวตัน
  • ไดอะแกรมการวายริ่งสายไฟในเครื่องยนต์
  • การปรับตั้งค่าการทำงานเครื่องยนต์
  • การวัดค่าและการตรวจเช็คด้วยเครื่องมือ
  • อื่นๆ




เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Tide Table Thailand 2017 / ตารางน้ำรายชั่วโมง 2560

ตารางน้ำรายชั่วโมง 2017 (2560)
Support smartphone version

แบ่งต่ามพื้นที่ คลิกเลือกจุดที่ต้องการ ตารางน้ำรายชั่วโมงในแผนที่

จุดประสงค์ การพัฒนาระบบข้อมูลตารางน้ำรายชั่วโมง (Water Tide Table)

   เพื่อพัฒนาเครื่องมือที่เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการเดินเรือ ให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเลกทรอนิกส์  เพื่อการศึกษาและวิจัย โดยการเข้าถึงข้อมูล ได้จากทุกที่ ทุก Platform ทุก OS โดยใช้งานผ่านระบบ Web Browser  และสามารถใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ตได้ทุกระบบ โดยปัจจุบันอาศัยข้อมูลฐานจาก Water Tide Table จากกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ประเทศไทย

  เนื่องจากในปัจจุบัน ฐานข้อมูลที่อยู่ในรูปตารางน้ำรายชั่วโมง ยังอยู่ในรูปแบบที่ใช้สำหรับ การจำหน่ายโดย กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ โดยปรกติตารางน้ำรายชั่วโมง หรือ มาตราน้ำ จะมีการเผยแพร่ทั่วไปบนอินเตอร์เน็ต หลังจากเริ่มจำหน่าย หลังเดือนมกราคม ไปแล้ว

  เพื่อมิให้ขัด และ มีผลต่อการจัดจำหน่าย ตารางน้ำรายชั่วโมง หรือ มาตราน้ำ จึงจำเป็นต้องมีการเข้ารหัสผ่าน โดยมีการจำกัดการเข้าถึง ในรูปแบบ Shareware โดยการแบ่งปันทดลองใช้ในวงที่จำกัด อาจมีข้อที่ไม่สะดวกบ้าง ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และไม่มีการบริการ ในรูปแบบการ Copy หรือ Download ข้อมูล จึงเรียนมาเพื่อทราบข้อจำกัดด้วย

ท่านอาจติดต่อขอ สั่งซื้อหรือช่วยสนับนุนกิจการ การจำหน่ายแผนที่ และบรรณสารทางการเดินเรือ <--คลิก

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตารางน้ำชาวเล รายชั่วโมง 2017/2560



วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Seaman Tide Table 2017 / ตารางน้ำชาวเลรายชั่วโมง 2560

ตารางน้ำชาวเล รายชั่วโมง 2017 (2560)
Support smartphone version

แบ่งต่ามพื้นที่ คลิกเลือกจุดที่ต้องการ ตารางน้ำรายชั่วโมงในแผนที่


จุดประสงค์ การพัฒนาตารางน้ำชาวเล รายชั่วโมง (Sea Man Tide Table)

   เพื่อพัฒนาเครื่องมือที่ใช้สำหรับการคาดการณ์ระดับน้ำด้วยตนเองได้ โดยการจับความสัมพันธ์ของ การขึ้นและตก ของพระจันทร์และพระอาทิตย์ กับการขึ้นลงของระดับน้ำ โดยสังเกตุปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สัมพันธ์กับการขึ้นตกของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ โดยเทียบกับ ตารางน้ำรายชั่วโมง หรือ มาตราน้ำ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ที่ใช้มาตราฐานระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทะเลปานกลาง เกาะหลัก 1915 เป็นมาตรฐานอ้างอิงระดับน้ำสูงสุดต่ำสุด ของทุกสถานีตรวจวัด

การแบ่งโซนเวลาของตารางน้ำนี้ จะแบ่งเวลาเป็น 4 ส่วนตามรูปแบบหน้าปัดนาฬิกาที่เป็นเข็ม ตามความสัมพันธ์ของเวลา ตามรูปแบบแสงที่ปรากฏ ตามองศาต่างๆของมุมพระอาทิตย์และพระจันทร์ โดยใช้รูปแบบการแบ่งเวลาตามแบบของชาวบาบิโลน โดยมีรูปแบบ


กลางวัน จะเป็น เช้า -> สาย -> บ่าย -> เย็น
กลางคืน จะเป็น หัวค่ำ -> ตอนดึก -> วันใหม่ -> ก่อนรุ่งเช้า

ซึ่งเป็นการแบ่งตามความสัมพันธ์ตามการขึ้นตกของดวงจันทร์และพระอาทิตย์ เพราะเวลาเกิดจากการอ้างอิงวงโคจรตำแหน่งของ  พระอาทิตย์ และพระจันทร์ <-คลิก ข้อมูลเพิ่มเติม


ตารางน้ำนี้อาจเหมาะกับ
  • ผู้ที่ทำการเลี้ยงสัตว์ทะเล
  • ผู้ที่มีอาชีพ หรือต้องดำรงชีพโดยอาศัยชายฝั่งทะเล
  • ประมงชายฝั่ง / นักตกปลา
  • นักวิจัยทางทะเล
  • ผู้ที่ต้องการใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ทางทะเล
  • ฯลฯ


ตัวอย่างตารางน้ำชาวเล



บทความที่เกี่ยวข้อง : D.I.Y. SUNMOON TIDE TABLE ตารางน้ำพระอาทิตย์พระจันทร์



วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สิบปีบอระเพ็ด Ten Boraphet years อเมซอน ประเทศไทย

สิบปีบอระเพ็ด Ten Boraphet years อเมซอน ประเทศไทย

บึงน้ำจืดที่กันไว้เป็น เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ และเขตคุ้มครองสัตว์ป่า เป็นทะเลสาบน้ำจืดธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ แห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่เหมือนใคร อเมซิ่งไทยแลนด์ ... สุดๆ






หลังจากปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) หลังจากปรากฏการ์ณน้ำท่วมใหญ่ ใด้ปรากฏว่ามีสัตว์โลกดึกดำบรรพ์ที่เป็นเพื่อนกับไดโนเสาร์ ซึ่งสูญพันธุ์ไปนานมาก ได้มาปรากฏขึ้นในธรรมชาติ

เป็นความบังเอิญ และลงตัวซึ่งหาใด้ยากมากๆ ในจุดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประเทศ และเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าด้วย

นับตั้งแต่น้้นจึงห้ามลงเล่นน้ำในบึง


 มาชมเรื่องราวความสวยงามของบึงบอระเพ็ด แบบเจาะเวลาหาอดีตกัน ...

การแล่นเรือในบึงบอระเพ็ด จะให้ความรู้สึกพิเศษกว่าการแล่นเรือที่อื่น โดยที่ไม่ต้องไปไกลถึงทวีปอเมริกาใต้ ... เพราะที่นี่ คือ อเมซอน ประเทศไทย



การแล่นเรือ ผ่านหัวจระเข้ไปมา ให้ความรู้สึกไม่เหมือนการแล่นเรือในที่อื่นจริงๆ เหนือคำบรรยาย ได้มีการคาดการณ์กันว่าจะมีประมาณ 100 กว่าตัว (จระเข้ ออกลูกเป็นไข่ครั้งละ 20-50 ฟอง)

บึงบอระเพ็ดจะเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาปีนึงประมาณ 3 เดือนช่วงน้ำหลาก ฉะนั้น ... แม่น้ำเจ้าพระยาก็มีจระเข้ แต่มีไม่มาก เพราะจระเข้ชอบบึงบอระเพ็ดมากกว่า


เรือชาวบ้าน เรือหางยาวกราบเรือต่ำๆเขาก็วิ่งกันนะครับ

เรือจับปลา/ตกปลาก็วิ่งกัน ช่วงหลังได้ข่าวมีคนแอบมาจับจระเข้ เพราะจับปลาทั้งวันได้ไม่กี่ร้อย จับจระเข้ได้ตัวเป็นหมื่น

เรือคายัคกราบต่ำของนักกีฬาทีมชาติ ก็มาฝึกในบึงบอระเพ็ด นี่อาจเป็นเหตุผลที่ได้ไปแข่งโอลิมปิกก็ได้

เรือใบกราบค่อนข้างสูงสบายๆ อ่าวไทยยังวิ่งข้ามได้ ไม่ใช้น้ำมันสักหยด

ส่วนเรือสปีดโบ๊ทวิ่งแข่งกับฉลามอ่าวไทยยังเฉยๆ วิ่งในบึงนี่ธรรมดาไปเลย



สร้างจากเรื่องจริง บอระเพ็ด พ.ศ.2559 ... กระบี่ใบไม้




สร้างจากเรื่องจริง บอระเพ็ด พ.ศ. 2557 ... Gone going




สร้างจากเรื่องจริง บอระเพ็ด พ.ศ. 2555 ... อุทยานนกน้ำ บึงบอระเพ็ด




สร้างจากเรื่องจริง บอระเพ็ด พ.ศ. 2552 ... วันมหัศจรรย์ของหนู




สร้างจากเรื่องจริง บอระเพ็ด พ.ศ. 2549 ... เพื่อนเล่นเรือ



จบแล้วครับ "10 ปีบึงบอระเพ็ด Ten Boraphet years"



วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เรื่องของการดำน้ำ Diving Story

เรื่องของการดำน้ำ Diving Story

การดำน้ำเป็นกิจกรรมหนึ่งของการเล่นเรือที่ให้ความรู้สึกเหมือนหลุดไปอยู่อีกโลกหนึ่ง นักเล่นเรือมักจะมีโอกาสดีๆ กว่าคนคนทั่วไปที่จะได้สัมผัสการเดินทางไปบนเกาะได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีเรือ

บนเกาะส่วนใหญ่ จะมีภูเขา ก้อนหิน หาดทราย ต้นไม้ ปะการัง หอย ปลาชนิดต่างๆ และน้ำทะเลที่ใสแบบกระจก

สิ่งที่ได้จากการดำน้ำคือ ความสงบ ความอิสระ สมาธิ และได้เห็นความสวยงามและความสงบของโลกใต้ทะเล

การดำน้ำจะแบ่งเป็น 3 ประเภท  คือ

1.การดำน้ำแบบ Snorkeling

การดำน้ำแบบสน๊อคเกลลิ่ง เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นหัดดำน้ำ โดยส่วนใหญ่เป็นการดำน้ำตื้น


การดำน้ำแบบนี้จะมีหน้ากาก 2 แบบ

หน้ากากแบบแรก
เป็นหน้ากากแบบแว่นตา แล้วคาบท่อหายใจ หน้ากากแบบนี้มีข้อดี คือ เป็นการเรียนรู้การหายใจโดยใช้ปากหายใจ ซึ่งต้องฝึกความคุ้นเคย และเป็นพื้นฐานการดำน้ำ ในระดับสูงต่อไป เช่น การดำน้ำลึกแบบสกูบ้า


การดำน้ำแบบนี้เป็น วิธีดำน้ำที่ง่ายที่สุด ใช้เพียงอุปกรณ์หลักเพียง หน้ากากกับท่อหายใจ สำหรับคนที่ว่ายน้ำไม่เป็นก็ใส่ชูชีพ ก็จะสนุกกับการดำน้ำแบบนี้ได้แล้ว เชื่อมั้ย! ยังมีคนจำนวนไม่น้อยใช้อุปกรณ์แบบนี้ไม่เป็น

การดำน้ำเกือบทุกประเภท เราจะไม่ใช้จมูกหายใจ แต่เราจะใช้ปากแทนในการหายใจ อย่างตอนเวลาเราเป็นหวัดหายใจทางจมูกไม่สะดวก เราก็ใช้ปากหายใจแทนมันก็หายใจได้เหมือนจมูก

การใช้ท่อหายใจแบบนี้บางทีอาจมีน้ำเข้าท่อหายใจ วิธีไล่น้ำจากท่อคือ เป่าแรงๆ หรือไม่ก็เอามือปิดท่อด้านบนแล้วเป่าแรงๆ ก็ได้ น้ำจะถูกไล่ออกจากท่อหมดเอง


หน้ากากแบบที่สอง 
หน้ากากแบบครอบทั้งหน้า (Full Face) การดำน้ำแบบนี้เหมาะสำหรับคนที่อยากเปิดโลกทัศน์ใต้น้ำ เหมาะกับการน้ำตื้นอย่างเดียว แต่จะมีข้อดี คือ หายใจทางจมูกแบบปรกติ  (Easy Breath) ทำให้ไม่ต้องเรียนรู้การหายใจมาก ทำให้เข้าถึงโลกใต้ทะเลได้ง่ายขึ้น หากภายหลังสนใจที่จะเรียนดำน้ำขั้นสูงค่อยมาเรียนรู้หายใจทางปากทีหลังได้ มีคนจำนวนมากได้เห็นแค่ความสวยงามของเกาะและหาดทรายเท่านั้น หน้ากากแบบนี้จึงเป็นหน้ากาก ที่ใช้เปิดโลกใต้ทะเลให้กับคนที่ไม่ได้สนใจ และไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับโลกใต้ทะเล


ข้อเสียของหน้ากากแบบเต็มหน้า
  • ไม่สามารถดำน้ำโดยใช้ท่าหัวปักน้ำได้ (Duck dive) เพราะระบบ Dry top จะไม่สามารถทำงานได้เพราะเมื่อปักศีรษะดำน้ำแล้วท่อจะอยู่แนวนอน
  • ปริมาณอากาศในหน้ากากมีมากกว่าหน้ากากธรรมดา และหน้ากากใหญ่คลุมหน้า เวลาดำน้ำลึกจะมีแรงกดมาทั้งใบหน้าทำให้รู้สึกอึดอัด
  • เวลาดำน้ำลึกจะมีความกดอากาศเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงต้องมีการปรับความดันที่หู พอหน้ากากคลุมหน้าเลยปรับความดันหูไม่ได้ เลยดำน้ำลึกๆ ไม่ได้


การดำน้ำแบบ Snockeling นี้เราอาจดำน้ำดำมุดลงไปใต้น้ำได้ โดยใช้ท่าดำน้ำแบบเป็ด Duck dive




วิธีการดำน้ำแบบเป็ด คือ งอตัวกมหัวลง แล้วเอาขาชี้ขึ้น ใช้มือแหวกน้ำดึงตัวเองลง แล้วใช้ขาตีน้ำ ถ้าใช้ตีนกบ (Fins) ก็จะดำน้ำลึกลงได้ง่ายขึ้น

 

ในคนส่วนใหญ่จะกลั้นหายใจได้ประมาณ 1-2 นาที แล้วก็ดำขึ้นมาหายใจ และการ Snockeling จะไม่ได้ดำลึกมาก จะดำมุดดำมุดๆ สนุกๆ ถ่ายรูป เล่นกับปลา การดำน้ำแบบนี้ถึอว่ามีความปลอดภัยมากที่สุด กว่าการดำน้ำประเภทอื่น

2. การดำน้ำแบบสกูบ้า (Scuba Diving) 
การดำน้ำลึกแบบนี้เป็นการดำน้ำลึกโดยมีอุปกรณ์ช่วยหลายอย่าง


  • หน้ากากดำน้ำพร้อมท่อหายใจแบบ Snockeling พร้อมตีนกบ (Fin)
  • เสื้อชุด BCD เสื้อตัวนี้ช่วยในการลอยตัวได้แบบชูชีพ โดยมีวาว์ลเติมอากาศ และวาว์ลปล่อยอากาศออก
  • ชุด Wetsuit ช่วยในการลอยตัว กับป้องกันการบาดจากสิ่งมีคมใต้น้ำ
  • ถังอากาศ (Tank)
  • Regulator จะมีวาล์วที่ช่วยการหายใจเข้าและออกทางปากอย่างธรรมชาติมาก พร้อมมาตรวัดความดันอากาศ เข็มทิศ อากาศที่เหลือในถังอากาศ พร้อมตัวหายใจสำรองชุดที่ 2
  • เข็มขัดตะกั่ว ใช้สำหรับเป็นน้ำหนักถ่วงให้จม ถ้าไม่มีตัวนี้ดำน้ำไม่ได้เลย



 การดำน้ำแบบสกูบ้า (Scuba diving) จำเป็นต้องมีการเรียนรู้ในหลายอย่างมาก เช่น
  • เรื่องความกดอากาศ
  • เรียนรู้การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการดำน้ำ
  • ทักษะต่างๆใต้น้ำ
  • อากาศที่เราหายใจ และผลของมัน
  • การบาดเจ็บ สาเหตุการบาดเจ็บ และการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ จากการดำน้ำ
  • การคำนวนเวลาพักน้ำ เพื่อขับไนโตรเจนออกจากร่างกาย
  • ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ต้องเข้ารับการฝึกอบรม แล้วมีการสอบ และทดสอบ เมื่อผ่านจะได้รับบัตรอนุญาติดำน้ำ ซึ่งใช้ได้ทั่วโลก หากสนใจคลิก -> การดำน้ำแบบสกูบ้า


3.การดำน้ำแบบ Freediving

การดำน้ำแบบนี้สามารถดำน้ำได้ลึกได้ใกล้เคียงการดำน้ำแบบสกูบ้า โดยใช้อุปกรณ์น้อยมากหรือไม่ใช้เลย แต่ใช้ขีดความสามารถ การเรียนรู้ การฝึกฝน ทักษะ เพื่อชนะขีดจำกัดของตัวเอง



พอไม่ใช้อุปกรณ์เยอะแยะแบบการดำน้ำแบบสกูบ้า จึงมีอิสระในการเคลื่อนที่และแหวกว่ายได้แบบปลา ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดทักษะของการดำน้ำในปัจจุบัน


การดำน้ำแบบนี้ต้องมีการเรียนรู้ในเหมือนดำน้ำสกูบ้า เพื่อความปลอดภัย แต่ถ้าคนที่เคยเรียนดำน้ำแบบสกูบ้ามาแล้ว จะเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยในน้ำ หากฝึกการควบคุมการหายใจและไม่หายใจได้ และไม่ดำน้ำนานเกินจาก 2-3 นาทียังถือว่าการดำน้ำแบบนี้ เป็นการดำน้ำในแบบปรกติ ที่ยังไม่เลยจุดวิกฤติเลยเส้นแบ่งความเป็นกับความตาย

โดยปรกติคนเราถ้าขาดอากาศหายใจเกิน 10 นาที (ย้ำนะครับ คนปรกติ) ก็จะเข้าสู่โหมดความตายโดยสมบูรณ์ คนส่วนใหญ่สามารถกลั้นหายใจ โดยไม่หายใจได้ประมาณ 1 นาที แต่ถ้าฝึกฝนนิดหน่อยจะได้ 2-3 นาทีแบบสบายๆ

สามารถศึกษาเรื่องการขาดอากาศหายใจได้จาก -> Life Saving ทักษะพื้นฐานของนักเล่นเรือ

ลองมาดู Freediving ของคนไทยเก่งๆบ้าง ทำไว้ดีมาก ผมได้ขออนุญาติคุณบี ( Bee Zoomsai ) ในการแชร์เกี่ยวกับเรื่อง Freediving

Bee : "การฟรีไดฟ์ เป็นสิ่งที่คนมี Free Soul จะหลงรักมาก"



ลองมา Freediving ประเทศเพื่อนบ้านเรา Sipadan Island ประเทศ Malaysia เกาะนี้ปลาใหญ่เยอะจริงๆ ถ้าดูปะการังเราสวยไม่แพ้กัน ส่วนใหญ่ปลาประเทศไทยจะเป็นปลาตัวเล็กๆ และจะเป็นปลาสวยงามมากกว่า ถ้าเป็นปลาใหญ่บอกตามตรงสู้เขาไม่ได้จริงๆ 

ได้อย่างก็ต้องยอมเสียอย่าง ทุกอย่างต้องสามารถเปลี่ยนเป็นเงิน ตามหลักทุนนิยม ... แต่ไม่ต้องกังวล ประเทศไทย เรากลายเป็น ประเทศที่จับปลาเก่งที่สุดในโลก เราจับปลาเก่งจนเรามี/เป็นบริษัททูน่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ยอดขายปีละ 9 หมื่นล้าน หรือทำรายได้ตกชั่วโมงละประมาณ 10.27 ล้านบาท มันจะต้องจับปลามากมายขนาดไหนถึงจะได้เงินขนาดนั้น จนต่างชาติกล่าวหาว่าเราทำการประมงอุตสาหกรรมแบบล้างผลาญ ไปนั่น ...

=> ป.ปลาหายไปไหน

อย่างน้อยยังมีจุดดำน้ำที่น่าสนใจ ไม่ไกลมาก มาเลเซียโดยสามารถเดินทางโดยเรือใบได้ ในแบบชาวเรือ ลองชมกันครับ



ที่ผมอยากจะบอกก็คือ การ Freediving มันให้อิสระมากมายกับการดำน้ำมากจริงๆ จนผมมองว่ามันเหมือนศิลปะอย่างหนึ่ง

ในประเทศอินโดนีเซีย ชาวประมงก็ใช้หลักวิธีของ Freediving ในการดำรงชีพ (จริงๆเขาไม่ได้เคยรู้จัก Freediving ด้วยซ้ำ)  เขาทำตัวให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ง่ายๆ ... เพียงสูดลมหายใจเพียงอึดเดียว ... แค่นั้นจริงๆ

มีสัตว์จำนวนมากที่หายใจใต้น้ำไม่ได้ แต่ก็อาศัยอยู่ในน้ำ ใช้วิธีขึ้นมาสูดลมหายใจบนผิวน้ำ แล้วดำไปใต้น้ำ เช่น
  • วาฬ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด 
  • โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด
  • พะยูน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด
  • แมวน้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด
  • จระเข้ เป็นสัตว์เลื้อยคลาน หายใจด้วยปอด
  • ฯลฯ



คงพอเข้าใจวิธีของ Freediving กันกันพอควร ความน่าสนใจของ Freediving ก็คือ มันเป็นวิธีดำน้ำที่ใช้อุปกร น้อยมากๆ แต่ใช้ความสามารถ และการฝึกฝนเยอะกว่าดำน้ำแบบอื่น

คุณบีฝากทริปหมู่เกาะสุรินทร์ มาให้อีกอัน สำหรับคนที่รักอิสระและรักการเดินทาง คงชอบกับ 5 เหตุผลว่าทำไมต้องไปหมู่เกาะสุรินทร์  Beaches , Freediving , Sharks , Turtles , Coral reefs



Bee : "มันคงจะโชคดีมาก ๆ ถ้าคุณได้มาอยู่บนเกาะที่มีโลกใต้น้ำที่สวยที่สุดแห่งนึงในประเทศไทย และในขณะเดียวกันก็มีเพื่อนคุณ ที่เป็นนักฟรีไดฟ์มือโปรอยู่ด้วย

เพื่อนบีผู้มีผมทรงเดรดล๊อคเป็นเอกลักษณ์ ผู้ร่วมผจญภัย ซึ่งเป็นครูสอนฟรีไดฟ์ของบี เชียร์ให้บีโดดลงน้ำไปเลย พร้อมหน้าการ snorkel, รองเท้าดำน้ำและฟินคู่ใจ  พี่ทอมมี่บอกว่าให้พยายามยืดตัวออกไป อย่างอขางอตัว แล้วก็…หายใจเข้าออกลึกลึกกกกกกก ช้าช้าาาาาาาาาา

พี่ทอมมี่บอกว่า เวลาฟรีไดฟ์ บีจะต้องทำตัวให้รู้สึกว่างเปล่า เหมือนได้ปลดปล่อยทุกอย่างไปแล้ว ให้สงบสติอารมณ์ ตั้งสติ ทำสมาธิจับลมหายใจ และให้รู้สึกว่าอากาศนั้นกำลังไหลไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย บีต้องไม่รีบร้อน ไม่ตื่นตกใจ ให้ผ่อนคลาย และ Enjoy ช่วงเวลานั้นเลย…  และจากนั้นไม่นาน มารู้ตัวอีกที บีก็ล่องลอยแหวกว่ายไปพร้อม ๆ กับพี่ทอมมี่และเพื่อนคู่ใจไปในทะเลสีครามแล้ว  ทั้งปลา ปะการังและดอกไม้ทะเลต่าง ๆ สวยงามมีชีวิตชีวากันอย่างมาก
"



แนวทางการ Freediving เบื้องต้นที่คุณบีสรุปไว้


The most important thing with Freediving (well, with pretty much everything else in life) is safety.

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการฟรีไดฟ์นั้นก็คือความปลอดภัย
ลองมาดู Tips ขั้นพื้นฐานในการฟรีไดฟ์กันนะคะ


Here are some standard tips for anyone who wants to give it a try:


1. Always calm yourself down before going down each time.  Do not dive down if you are nervous or panicking.

สงบสติอารมณ์ให้ได้ก่อนที่จะดำลงไป ถ้ายังตื่นยังลน อย่าเพิ่งลง


2. Take a couple of long and deep breaths *sloooooowly* before you go down to prepare your body.

หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ เต็ม ๆ ซัก 3-4 ครั้งก่อนที่จะดำลงไป เพื่อนเตรียมพร้อมร่างกาย


3. Take the snorkel out of your mouth after your last breath and right before you dive down.  If you are a beginner, sometimes your body’s natural reflect tells you to breathe through your mouth.  Therefore it is important to keep your mouth closed.

ดึงท่อหายใจออกจากปากหลังจากการหายใจเข้าครั้งสุดท้ายก่อนที่จะดำลงไป โดยเฉพาะถ้าคุณเพิ่งเริ่มดำ ร่างกายคุณจะยังไม่ชิน บางทีอาจมีรีเฟล็คที่ทำให้คุณหดูดอากาศเข้าทางปากในขณะที่อยู่ในน้ำ จึงสำคัญมากที่จะต้องปิดปากตอนที่ดำน้ำ


4. Do not forget to equalise your ears.  I do it as soon as my head goes under water, and also every 5 seconds or so I you go down.  The water pressure can hurt your ears faster than you think.  

อย่าลืมปรับความดันหู บีทำตั้งแต่วินาทีที่จุ่มหัวลงน้ำ และทำบ่อย ๆ เกือบทุก ๆ 5 วิในตอนที่ดำดิ่ง


5. Try to keep your body straight and perpendicular to the surface of the water when you first dive down.  It’s easier to dive down when doing so.  

พยายามทำตัวให้เป็นเส้นตรงและตั้งฉากกับผิวน้ำในช่วงแรกที่ดำดิ่งลงไป 


6. Do not rush.  There is no need to race.  Keep your legs rather straight and move them slowly like scissors rather than kicking. 

อย่ารีบ ไม่ต้องพยายามไปให้เร็ว พยายามทำขาให้ตรงและเคลื่อนขาช้า ๆ เหมือนกรรไกร ไม่ใช่พยายามเตะขาไปมาเหมือนตอนว่ายน้ำ


7. Don’t push yourself too much on your first day.  Once you feel more comfortable with freediving, start to push yourself little by little.  When you feel you need to come up to breathe, try staying for 5 seconds longer…or so.  You’ll be surprised how human body can adjust itself to new situations!  

อย่าหักโหมมากในวันแรก หลังจากสองสามวันเมื่อชินแล้ว ค่อยลองพยายามดำให้นานขึ้นทีละนิด ร่างกายเราสามารถปรับตัวได้อย่างน่ามหัศจรรย์ 


8. It is ok to release some air underwater if you feel you need to–through your mouth though.  However I am yet to discover if releasing air furiously through a different channel on my other end would make me go faster…I would have to point it in the accurate direction though…. 

ตอนอยู่ในน้ำ จะปล่อยลมออกมาบ้างก็ได้  นี่คือบีพูดถึงออกมาทางปากนะ  แต่เคยคิดเล่น ๆ เหมือนกันว่า ถ้าปล่อยออกอีกทางนึงมันจะช่วยให้เราไปเร็วขึ้นรึเปล่า แต่ถ้าจะลองคงต้องเล็กทิศทางให้ดี ๆ … หึ ๆๆ


9. Leave the sea animals alone, and do not touch any corals, sea fans or anemones.  Most of them are poisonous, but more importantly let’s not damage or steal our planet earth’s gorgeous creations.  

อย่าไปแกล้งให้สัตว์น้ำตกใจ และอย่าจับปะการังหรือดอกไม้ทะเลเป็นอันขาด เพราะบางอย่างมันมีพิษ!  แต่ที่สำคัญ เราควรร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์สภาพธรรมชาติของโลกเราให้สมบูรณ์ที่สุดนะคะ


10. Remember this: Never dive alone; always dive with a dive-buddy who knows how to freedive well.  

จำไว้เสมอว่า  อย่าดำน้ำคนเดียวเป็นอันขาด ให้ดำกับไดฟ์บัดดี้ที่ดำเป็นและช่วยดูช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้


บทความอ้างอิง


วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แร็มป์ ท่าเรือมะนาวหวาน

แร็มป์ ท่าเรือมะนาวหวาน

เครดิต น้าต้น (Ton9958)




แต่ก่อนเคยห้ามเรือที่มีเครื่องยนต์ทุกชนิดลง และเคยมีคดีความรุนแรงในเรื่องนี้

น้าต้นเคยไปขออนุญาติกับหัวหน้าประมง ให้คำแนะนำโดยมีข้อห้ามคือ สามารถนำเรือลงได้ แต่ห้ามจับสัตว์น้ำด้วยเรือติดเครื่องยนต์ทุกชนิด



ที่เขื่อนจะมีแนวเขตอนุรักษ์ โดยมีทุ่นห่างจากสันเขื่อนประมาณ 1.3 กม. มีกฏหมายเขียนไว้เป็นแนวเขตอนุรักษ์ชัดเจน ห้ามทำการประมงทุกชนิด

ข้อมูลจากน้าโม่ง



วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กางเต็นท์ริมทะเล เกาะช้าง (Tent Camping Ko Chang)

กางเต็นท์ริมทะเล เกาะช้าง (Tent Camping Ko Chang)

กางเต็นท์ หน่วยพิทักษ์ อช.เกาะช้าง-ธารมะยม





ท่าเรือมาบตาพุด (Maptaphut Port)

ท่าเรือมาบตาพุด (Maptaphut  Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย กองทัพเรือ



1. MTT SPR C RTB NFC TPT GLO WW TTT BLC P PTTLN G ท่าเรือนิคมอุสาหกรรมมาบตาพุด

2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ๑. วันที่สำรวจ๒๑ มิ. ย. ๕๔ ๒. ลักษณะน้ำ / ลม / มาตราน้ำ / ข้างขึ้น - แรม ขณะน้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัว ความสูงน้ำ 15 เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด ตรงกับ วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร

3. ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้อง - แผนที่เดินเรือไทย หมายเลข ๑๔๑, ๑๕๗, ๑๖๓ ( อศ.) ตำบลที่ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ต. มาบตาพุด อ. เมือง จ. ระยอง ทุ่นไฟปากร่องแลต ๑๒ องศา ๓๖. ๙๔ ลิปดา น. ลอง ๑๐๑ องศา ๐๙. ๗๐ ลิปดา อ.

4. C- 330 ทุ่นไฟปาก ร่อง C- 345 BLC P MTT PTTL NG SPR C RB T NF C TP T T GLO W W TT T

5. MTT SPR C RBT NFC TPT GLO WW TTT BLC P PTTLN G

6. การนำเรือเข้าเทียบ / ออกจากเทียบ เมื่อถึงบริเวณทุ่นไฟปากร่อง นำเรือเข้าท่าเรือ อุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมีเข็มหลักในการนำ เรือเข้าร่องน้ำ คือ เข็ม 435 ระยะทางประมาณ 2.4 ไมล์ แล้วเปลี่ยนไปถือเข็ม 330 ระยะทางประมาณ 1600 หลา เพื่อเข้าไป ท่าเทียบเรือ โดยให้ระมัดระวังมีเรือสินค้า ขนาดใหญ่ และเรือ TUG ที่สัญจรในร่องน้ำ สำหรับตำบลที่ในการเทียบเรือ เรือ ตกฝ. ควร เทียบเรือบริเวณท่าเทียบเรือ RBT ด้านในและ บริเวณท่าเทียบเรือ TPT3( ด้านข้าง )

7. บริเวณปากร่อง น้ำ กว้างประมาณ 900 เมตร

8. เบรกกัน คลื่น ท่า BLCP

9. ข้อมูลท่าเทียบเรือ RBT ความยาวท่าเทียบเรือประมาณ 1,024 ม. มียางกันกระแทกขนาดใหญ่ ห่างกันประมาณ 30 ม. สามารถให้การสนับสนุนน้ำจืดได้ ( ไม่ สามารถใช้สายสูบได้ ต้องใช้สายยางขนาด 2.5 นิ้ว ) มีตู้ไฟขนาด 220 v สามารถใช้ได้แค่ไฟแสง สว่างในเรือเท่านั้น ก่อนเข้าเทียบต้องติดต่อนายท่ามาบตาพุดให้ เรียบร้อยทาง VHF ช่อง 13

10. ท่า RBT ท่า NFC

11. จุดสังเกตุ มีเครน สีแดง 4 ตัว ที่จอดเรือ ขนาดเล็ก ท่า RBT

12. ข้อมูลท่าเทียบเรือ TPT ความยาวท่าเทียบเรือประมาณ 330 ม. มียางกันกระแทกขนาดใหญ่ ห่างกันประมาณ 5 ม.( ด้านข้าง ) และ 20 ม.( ด้านหน้า ) ก่อนเข้าเทียบต้องติดต่อนายท่ามาบตาพุดให้ เรียบร้อยทาง VHF ช่อง 13

13. ท่า TPT ด้านหน้ าท่า ยางกัน กระแทก จุดสังเกตุ มี เครน สีเหลือง 2 ตัว 20 ม.

14. ด้านข้าง ท่า ยางกัน กระแทก ท่า TPT 3  5ม. 5ม.

15. ข้อควรระมัดระวัง - เนื่องจากเป็นท่าเรือนิคมอุตสาหกรรมจึงมีการ สัญจรของเรือสินค้าขนาดใหญ่ เรือบรรทุกน้ำ และเรือ TUG อยู่ตลอดเวลา ควรใช้ความ ระมัดระวัง - ในการจอดเรือท่า RBT นั้นควรจอดด้านใน ซึ่งอยู่ส่วนของที่จอดเรือขนาดเล็ก เนื่องจาก บริเวณหน้าท่าเป็นพื้นที่รับลม ซึ่งจะทำให้เรือ กระแทกกับท่าจนอาจเกิดอันตรายกับเรือได้ อีก ทั้งยางกันกระแทกบริเวณหน้าท่ามีระยะห่าง ประมาณ 30 ม. ซึ่งเท่ากับความยาวของเรือ ตกฝ. จึงไม่เหมาะกับการเทียบเรือ

16. ข้อควรระมัดระวัง เรือ TUG

17. จุดสังเกตุ มีเครน สีแดง 4 ตัว ที่จอดเรือ ขนาดเล็ก ท่า RTB ข้อควรระมัดระวัง 30 M

18. ๔. การติดต่อ - วิทยุ VHF Marine Band CH.13,CH.14, CH.16 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง - โทรศัพท์ Maptaphut Port Control โทร รายชื่อ คุณ อนุสรณ์ พรรณศิลา บริษัท TPT ทาง โทร ต่อ 104 หรือ VHF.13 - เบอร์ติดต่อสำคัญในพื้นที่ สถานีตำรวจภูธรมาบตาพุด โทร หรือ โรงพยาบาลมาบตาพุด โทร

19. ๕. สิ่งอำนวยความสะดวก ท่อน้ำ ท่า RBT สามารถให้การสนับสนุนน้ำ จืดได้ ( ไม่สามารถใช้สายสูบได้ ต้องใช้สาย ยางขนาด ๒. ๕ นิ้ว ) ท่า TPT ไม่สามารถให้การ สนับสนุนน้ำจืดได้ แต่ติดต่อได้ที่เรือน้ำที่จอด บริเวณใกล้เคียงได้โดยตรง ไฟฟ้า ท่า RBT ไฟฟ้า ๒๒๐ โวลท์ ( เฉพาะ ไฟฟ้าแสงสว่าง ) ท่า TPT ไม่สามารถให้การสนับสนุน ได้ โทรศัพท์ไม่มี

20. ลักษณะของท่อส่งน้ำเป็นแบบปลดเร็ว ต้องใช้สายยางขนาด 2.5 นิ้ว ตู้ต่อไฟ 220 v RBT

ท่าเทียบเรือโอเชี่ยนมารีน่า (Ocean Marina Port)

ท่าเทียบเรือโอเชี่ยนมารีน่า (Ocean Marina Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย กองทัพเรือ



1. ท่าเรือ โอเชี่ยน มารีน่า

2. ลักษณะ ท่าเรือ ท่าเทียบเรือโอเซี่ยน มารีน่า Lat 12 º 49.4´ N Long 100 º ´ E

3 การสำรวจบริเวณท่าเทียบเรือ โอเซี่ยน มารน่า ๑. วันที่สำรวจ ๖ กรกฎาคม พ. ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๑๐๐๐ ๒. ลักษณะน้ำ / ลม / มาตราน้ำ / ข้างขึ้น - แรม ความสูงน้ำ 3 เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด ทิศลม 270 ความเร็ว 3 - 4 น็อต ตรงกับ วันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๘ ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้องแผนที่เดินเรือไทย หมายเลข ๐๔๕, ๑๔๑, ๑๑๖ ( อศ.) ตำบลที่ท่าเทียบเรือ โอเซี่ยน มารีน่า แลต ๑๒ องศา ๔๙. ๔ ลิปดา น. ลอง ๑๐๐ องศา ๕๔. ๒๕ ลิปดา อ. ทุ่นไฟปากร่องไม่มี พื้นท้องทะเลทรายปนโคลนบริเวณปากร่อง ใน ท่าเรือ เป็นทราย ที่หมายเวลากลางคืน ไม่มี

4. โรงแรม โอเซี่ยน มารีน่า คอนโดโอเซี่ยน มารีน่า

5. ไม่มีทุ่นไฟปากร่อง มีแต่ทุ่น เขียว - แดง

6. ท่าเทียบเรือ โอเซี่ยน มารีน่า ลักษณะท่าเรือ เป็นท่าลักษณะคล้ายโป๊ะลอย น้ำ โดยจะแบ่งเป็นช่องๆ ท่าเรือจะขึ้น - ลง ตามน้ำขึ้นน้ำลง น้ำลึก ๕ - ๖ เมตร ท่าเรือมี เบรกกันคลื่นรอบด้าน ไม่มีผลต่อคลื่น แต่มี ผลต่อลม เรือ ตกช. สามารถเข้าจอดได้ การติดต่อสื่อสาร VHF ช่อง ๑๒ นามเรียก ขาน โอเชี่ยน มารีน่า

7. ทางลงท่าเทียบเรือ

8. ให้เทียบเฉพาะท่า G เท่านั้น

9. ลักษณะจุดต่อไฟและลักษณะ พุก

10. มีน้ำและไฟฟ้า สนับสนุน น้ำหน่วยละ 50 บาท ไฟฟ้าหน่วยละ 5 บาท เบอร์โทร ๐๓๘ ๒๓๗๓๑๑ ๐๓๘ ๒๓๗๔๒๗

11. ข้อควรระวัง - ระหว่างเดินทางหลังออกจากช่องเกาะคราม ควร ระมัดระวังเรือประมงเข้าออกจากท่าบริเวณ อำเภอ บางเสร่ - ก่อนถึงบริเวณท่าเทียบเรือควรนำเรือด้วยความ ระมัดระวังเพราะมีการจราจรทางน้ำค่อนข้างหนาแน่น เนื่องจากจะมีเรือประมงทำการประมงในพื้นที่ - บริเวณหลังทุ่นกำกับสีแดงจะมีหินใต้น้ำ - ก่อนถึงเข้าเทียบท่าเทียบเรือโอเซี่ยน มารีน่า ประมาณ 1 วัน ให้โทรประสานกับท่าเรือโอเชี่ยน มารี น่า เพื่อประสานเรื่องการจองท่าเรือ ให้พร้อมเข้า เทียบ เนื่องจากเป็นท่าเรือเอกชนที่ใช้จอดเรือต่างๆ

12. ๔. การติดต่อ วิทยุ โอเชี่ยน มารีน่า โทรศัพท์ ๐๓๘ - ๒๓๗๓๑๑, ๐๓๘ - ๒๓๗๔๒๗ ๕. สิ่งอำนวยความสะดวก ท่อน้ำมีเป็นสายยาง คิดหน่วยละ 50 บาท ( 1 ตัน ) ไฟฟ้ามีเป็นปลั๊ก 3 ตา คิดหน่วยละ 5 บาท โทรศัพท์ ไม่มี

ท่าเทียบเรือแหลมฉบัง (Laem Chabang Port)

ท่าเทียบเรือแหลมฉบัง (Laem Chabang Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย กองทัพเรือ



1. ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง

2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ๑. วันที่สำรวจ ๑๕ ก. ค. ๔๘ ๒. ลักษณะน้ำ / ลม / มาตราน้ำ ขณะน้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัว ความสูง น้ำ ๔ - ๖ เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด ทะเลเรียบ ลมสงบ ใกล้เคียงกับตำบลที่เกาะสีชัง

3. ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้อง แผนที่เดินเรือไทย หมายเลข 156 ( อศ.) ตำบลที่ ท่าเรือแหลมฉบัง สถานที่ตั้ง อ. ศรีราชา จว. ชลบุรี ๒๐๒๓๐ ทุ่นไฟปากร่อง ด้านเหนือแลต 13 องศา 4 ลิปดา 40 ฟิลิปดา น. ลอง 100 องศา 51 ลิปดา 50 ฟิลิปดา อ. ด้านใต้ไม่มีเนื่องจากเป็นร่องน้ำขุดใหม่

4 ท่า A ท่า B ท่า C ที่จอดเรือรับ กบ. ที่จอดเรือ บก. ตำรวจ น้ำ

5 ลักษณะท่าเรือแหลมฉบัง ตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทยใน จังหวัดชลบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่รับอิทธิจากลม ตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทยใน จังหวัดชลบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่รับอิทธิจากลม ตะวันตกเฉียงใต้ เป็นท่าเทียบเรือเอกชน น้ำลึกประมาณ ๑๖ เมตร มีจำนวนทั้งหมด ๓ ท่าเทียบเรือ จาก ทิศเหนือไปใต้ตามลำดับคือ เป็นท่าเทียบเรือเอกชน น้ำลึกประมาณ ๑๖ เมตร มีจำนวนทั้งหมด ๓ ท่าเทียบเรือ จาก ทิศเหนือไปใต้ตามลำดับคือ ๑. ท่าเรือ A มีอู่ลอยสามารถใช้ในการซ่อม ทำและเป็นท่าเรือได้ดี ๑. ท่าเรือ A มีอู่ลอยสามารถใช้ในการซ่อม ทำและเป็นท่าเรือได้ดี ๒. ท่าเรือ B เป็นท่าเรือพาณิชย์มีเครนขนาด ใหญ่ใช้สำหรับขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ ส่วน ใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมอาทิเช่น ขนถ่าย น้ำตาล ๒. ท่าเรือ B เป็นท่าเรือพาณิชย์มีเครนขนาด ใหญ่ใช้สำหรับขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ ส่วน ใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมอาทิเช่น ขนถ่าย น้ำตาล ๓. ท่าเรือ C เป็นท่าเรือพาณิชย์สามารถใช้ จอดเรือของทางราชการได้ซึ่งจะมีที่ทำการ ของตำรวจน้ำอยู่ในบริเวณใกล้ ๓. ท่าเรือ C เป็นท่าเรือพาณิชย์สามารถใช้ จอดเรือของทางราชการได้ซึ่งจะมีที่ทำการ ของตำรวจน้ำอยู่ในบริเวณใกล้

6 ท่า A ท่า B ท่า C เขื่อนกัน คลื่น

7 ท่า A ท่า B ท่า C ที่จอดเรือรับ กบ. c ที่จอดเรือ ทุ่นไฟปาก ร่อง c - 342

8 ร่องน้ำด้านทิศเหนือ เข็ม เข้า 135

9 ถ้าเข้าร่องน้ำเหนือจะผ่าน ท่า A และ ท่า B ก่อน

10 ช่องทางเข้า ท่า C

11 ด้านกราบซ้ายขณะ เลี้ยวเข้าท่า C

12 ร่องน้ำด้านทิศใต้ เข็มเข้า 342 ทุ่นจตุรทิศตะวันออก

13 ขณะเลี้ยวเข้า ท่า C ทางร่องน้ำ ด้านใต้

14 ที่ทำการของตำรวจน้ำ

15 ท่าเรือ C สามารถจอดเรือได้สอง ลักษณะคือ จอดตามยาวของท่าเรือ เช่นเดียวกับการจอดของเรือตำรวจน้ำ และศุลกากร จะลดอาการโคลงของ คลื่นได้ดี แต่หากจอดเทียบเรือด้าน ในสามารถรับ กบ. ได้ แต่คลื่นจะ กระแทกตัวเรือเข้ากับท่าตลอดเวลาที่มี คลื่นลมแรง และต้องคอยระมัดระวัง การเข้าเทียบของเรือต่างๆอีกด้วย การนำเรือเข้าเทียบ / ออกจากเทียบ

16 บริเวณภายในท่า C บริเวณที่เทียบ เรือของทาง ราชการ บริเวณที่เทียบ เรือที่สามารถ รับ กบ. ได้

17 บริเวณที่เทียบ เรือของทาง ราชการ

18 ยางกันกระแทกได้ มาตรฐาน

19 ข้อควรระมัดระวัง การนำเรือเข้า เทียบบริเวณท่าฯเข้าได้ทางด้านทิศเหนือ และทิศใต้ ซึ่งเรือสินค้าจะต้องเข้า ทางด้านทิศเหนือเพราะร่องน้ำจะลึก ขณะที่ทางด้านใต้ร่องน้ำจะตื้นกว่า โดย ทางด้านใต้ จะมีความลึกน้ำ 4 - 6 เมตร และเรือชุด PGM สามารถเข้า – ออก ทางด้านทิศใต้ได้

20 ๔. การติดต่อ วิทยุ - Marine Band CH.13, CH.16 การท่าเรือฯ จะใช้ นามเรียกขาน “ แหลมฉบัง ” โทรศัพท์ - ประสานขอใช้ท่ากับ ผอ. กองบริการ ( ร. อ. สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ) โทร. ๐๓๘ – ๔๐๙๐๔๘, ๔๐๙๒๑๒ ไฟฟ้า - หน. แผนกบริการท่า โทร. ๐๓๘ – ๔๐๙๒๑๐ น้ำจืด - หน. แผนกบริการท่า โทร. ๐๓๘ – ๔๐๙๒๑๐

21 ๕. สิ่งอำนวยความสะดวก ท่อน้ำ - ต่อสายยางขนาดเล็ก จากสถานีตำรวจน้ำ ไฟฟ้า - ไฟฟ้า ๒๒๐ โวลท์ ( เฉพาะไฟฟ้าแสงสว่าง ) โทรศัพท์ - ไม่มี

22 บริเวณที่เทียบ เรือที่สามารถ รับ กบ. ได้

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ท่าเทียบเรือแหลมพันวา ภูเก็ต (Laem Phanwa Phuket Port)

ท่าเทียบเรือแหลมพันวา ภูเก็ต (Laem Phanwa Phuket Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย เรือ ต.221



1. หลักเทียบเรือ ทรภ. ๓ แหลม พันวา จ. ภูเก็ต เรือ ต. ๒๒๑ เข้าราชการ มรอ. เม. ย. ๕๔ – ก. ย. ๕๔

2. หลัก เทียบเรือ ก. ภูเก็ต ก. โล้น แหลม พันวา

3. บก. ทรภ. ๓ หลัก เทียบเรือ

4. กระโจมไฟ แนวหิน

5. หลักเทียบเรือด้านนอก หลักเทียบเรือ ด้านนอก ( เรือ PGM )

6. หลักเทียบเรือ ด้านใน ( เรือ PCF ) หลักเทียบเรือด้านใน

7. ภาพเรือ PCF เมื่อทำการเทียบเรียบร้อย แล้ว

8. ข้อระมัดระวัง ทางเข้าท่าเรือไม่มีที่หมายในการนำเรือที่ เด่นชัด มีแนวหินยืนออกมาจาก กระโจมไฟประมาณ 100 หลา ในแนว ตะวันตก - ตะวันออก การนำ เรือเข้าควรเผื่อระยะไว้ด้วย โดยเฉพาะเวลาน้ำ ลง

ท่าเทียบเรือร่องน้ำปากบารา (Estuary Pak Bara Port)

ท่าเทียบเรือร่องน้ำปากบารา (Estuary Pak Bara  Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย เรือ ต.220



1. ท่าเทียบเรือสถานี เรือละงู เรือ ต. 220 เข้าราชการทรภ. ๓ ต. ค. ๕๓

2. หลัก นำหน้า หลักนำ หลัง

3. ท่าเทียบเรือสถานีเรือละงู

4. ภาพ บก. สถานี เรือละงู

5. นป. สอ. รฝ. ๔๕๒ สถานีเรือ ละงู ฉก. กร. ๓๖๑ หน่วยงานใน บริเวณใกล้เคียง

6. ก่อนถึงบริเวณทุ่นไฟปากร่อง เข้าร่องน้ำ บุโบย จะมี ลอบดักปลา เป็นจำนวนมาก ในช่วงเวลาน้ำขึ้น จะอยู่ปริ่มน้ำ สังเกตได้ ยาก โดยเฉพาะ ด้านปลายของลอบที่หัน เข้าหาฝั่งนั้นจะวางไว้เป็นทางยาว ควรนำ เรือด้วยความระมัดระวัง และหาก จำเป็นต้องนำเรือผ่าน ควรนำเรือตัดผ่านแต่ เนิ่น ๆ ควรนำเรือให้อยู่กลางร่องน้ำ โดยใช้ หลักนำ เนื่องจาก บริเวณนอกร่องน้ำ ด้านขวาจะตื้นมาก และด้านซ้ายจะมีโขดหิน มีหลักแสดงเขตน้ำตื้นแจ้งไว้ ให้ระมัดระวัง เรือประมงขนาดเล็ก ( เรือ หางยาวและเรือหัวโทง ) สัญจร เนื่องจากมี ท่าเทียบเรือประมงบุโบยทางด้านกราบขวา และในบางครั้ง อาจมีการวางอวนถ่วงไว้ กลางร่อง ข้อควรระมัดระวัง

7. แนวร่องน้ำ ฝั่งซ้าย แนวร่องน้ำ ฝั่งขวา แนวร่องน้ำทั้ง ๒ ฝั่ง

8. ตย. ลอบดักปลา ที่วาง อยู่หน้าร่องน้ำ

ท่าเทียบเรือหาดหน้าทอน เกาะสมุย (Hat Nathon Ko Samui Port)

ท่าเทียบเรือหาดหน้าทอน เกาะสมุย (Hat Nathon Ko Samui Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย เรือ ต.16



1. การสำรวจบริเวณท่าเรือซีทราน เฟอร์รี่หาดหน้าทอน เกาะสมุย จ. สุ ราษฎร์ธานี

2. ๑. วันที่สำรวจ๕ มิ. ย. ๕๔ สำรวจโดย เรือ ต. ๑๖ ๒. ลักษณะน้ำ / ลม / มาตราน้ำ / ข้างขึ้น - แรม ขณะน้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัว ความสูงน้ำ 2.4 เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด ทะเลเรียบ ลมสงบ ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้อง แผนที่เดินเรือไทย หมายเลข 243 ( อศ.) แผนที่เดินเรือไทย หมายเลข 261 ( อศ.) แผนที่เดินเรือไทย หมายเลข 204 ( อศ.) ตำบลที่ท่าเรือซีทรานเฟอรี่หน้าทอน ก. สมุย จ. สุราษฎร์ธานี ทุ่นไฟปากร่องแลต 9 องศา 31.9 ลิปดา น. ลอง 99 องศา 55.61 ลิปดา อ.

3. รูปที่ ๑ ภาพถ่ายทางอากาศ บริเวณหาดหน้าทอน ก. สมุย จ. สุราษฎร์ธานี ทุ่นไฟปากร่อง

4. ลักษณะร่องน้ำ ร่องน้ำบริเวณทุ่นไฟปากร่องน้ำมีความลึก โดยเฉลี่ย 7 – 8 เมตร ที่ระดับน้ำขึ้น สูงสุด ( 2.7 เมตร ) บริเวณที่ไฟปากร่องน้ำจนถึงบริเวณจอดเรือ มีความลึกเฉลี่ย 3 – 4 เมตร บริเวณที่จอดเรือ เป็นท่าเรือคอนกรีตของท่าเรือซีทรานเฟอร์รี่มีลูก ตะเพลารับยาวตลอดท่าเรือ มีทุ่นไฟปากร่อง จำนวน 1 ทุ่น และ เสาวิทยุ และเข็มหลักในการ นำเรือเข้าร่องน้ำ เข็ม 090 ตามรูปที่ ๒ และ ๓

5. รูปที่ ๒ ภาพถ่ายทุ่นไฟปากร่อง

6. รูปที่ ๓ ภาพถ่ายเสาวิทยุ

7. ลักษณะท่าเรือ ท่าเรือซีทรานเฟอร์รี่มีความลึก ประมาณ 3 – 4 เมตร ท่าเรือเป็นคอนกรีต ขนาดโดยประมาณ กว้าง 600 เมตร ยาว 600 เมตร บริวณที่จอดเรือ มีความยาว ประมาณ 150 เมตร ภาพร่างบริเวณ ท่าเรือซีทรานเฟอรี่ แสดงใน รูปที่ ๔ และ ๕

8. รูปที่ ๔ ภาพถ่ายบริเวณท่าเรือ ซีทรานเฟอรี่

9. รูปที่ ๕ ภาพร่างบริเวณท่าเรือ ซีทรานเฟอร์รี่

10. พื้นท้องทะเลหิน การนำเรือเข้าเทียบ / ออกจากเทียบ เมื่อถึงบริเวณ ทุ่นไฟปากร่อง นำเรือเข้าให้นำเรือทางขวา ของ ท่าเรือ เพื่อให้มีมุมในการนำเรือเข้าที่จอดเรือ การ นำเรือออกให้ถอยหลังออกเนื่องจากร่องน้ำมี บริเวณ ไม่กว้างมาก และมีคลื่นพัดเข้าฝั่งอยู่ตลอด ให้ทำการถอยออกจนเลยท่าเรือ แล้วจึงกลับลำ ข้อควรระมัดระวัง การนำเรือเข้า - ออกจะมีเรือเฟอร์ รี่ของท่าเรือเข้า - ออก ต้องระมัดระวัง ในการนำเรือ และบริเวณท้ายเรือจะมีเรือเฟอร์รี่จอดอยู่ทำให้ใน การเข้าออกต้องระมัดระวัง การจอดเรือ จะมี เรือ เฟอร์รี่จอดบริเวณที่จอดปกติ แต่ถ้าไม่มีสามารถ จอดได้ ตามรูปที่ ๖

11. รูปที่ ๖ ภาพบริเวณที่จอดเรือ และข้อระมัดระวัง

12. ๔. การติดต่อ วิทยุไม่มี โทรศัพท์ไม่มี รายชื่อ ไม่มี เบอร์ติดต่อสำคัญในพื้นที่ ไม่มี

13. ๕. สิ่งอำนวยความสะดวก ท่อน้ำการประปา ( ) ไฟฟ้าไม่มี โทรศัพท์ไม่มี

ท่าเทียบเรือร่องน้ำบางนรา (Estuary Bang Nara Port)

ท่าเทียบเรือร่องน้ำบางนรา (Estuary Bang Nara Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย เรือ ต.16




1. การสำรวจร่องน้ำคลองบางนรา จ. นราธิวาส

2. ๑. วันที่สำรวจ ๓๐๑๔๐๐ พ. ค. ๕๔ สำรวจโดยเรือ ต. 16 ๒. ลักษณะน้ำ / ลม / มาตราน้ำ / ข้างขึ้น - แรม น้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัว ความสูงน้ำ ๔. ๒ เมตร ระดับน้ำลงต่ำสุดตรงกับ วันแรม 8 ค่ำ เดือน 9 ทะเล เรียบ ลมสงบ ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้อง แผนที่เดินเรือไทย หมายเลข 206 ( อศ.) ตำบลที่ ร่องน้ำบางนรา จ. นราธิวาส ทุ่นไฟปากร่อง แลต 06 องศา 27.9 ลิปดา น. ลอง 101 องศา 49. ลิปดา อ.

3. รูปที่ ๑ ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณ ร่องน้ำคลองบางนรา

4. ลักษณะร่องน้ำ ร่องน้ำบริเวณปากแม่น้ำคลองบางนราร่องน้ำมี ลักษณะเป็นเขื่อนกันคลื่นมีความกว้างประมาณ 300 หลา มีมีความลึกโดยเฉลี่ย 9 - 10 เมตร ตามรูปที่ ๒ ที่ระดับน้ำขึ้นสูงสุด ( 1.0 เมตร ) บริเวณปากร่องน้ำ จนถึงบริเวณท่าเรือโกแดง มีความลึกเฉลี่ย 6 - 7 เมตร ตามรูปที่ ๓ บริเวณท่าเรือ มีความลึกเฉลี่ย 2 – 2.5 เมตร บริเวณท่าเรือมีความยาวประมาณ 100 เมตรมี ทุ่นแดงเขียวสลับกันกำกับตลอดร่องน้ำ และเข็มหลัก ในการนำเรือเข้าร่องน้ำ เข็มประมาณ 170 ตามรูปที่ ๔

5. ที่หมายเวลากลางคืน มี ทุ่นไฟปากร่อง ๑ ทุ่น มีไฟกำกับร่องน้ำที่เขื่อน กันคลื่นทางซ้ายและขวาข้างละ ๑ ทุ่น ตามรูปที่ ๒

6. รูปที่ ๒ ภาพถ่ายปากร่องน้ำ คลองบางนรา

7. รูปที่ ๓ ภาพถ่ายในร่องน้ำคลอง บางนรา

8. รูปที่ ๔ ภาพถ่าย ทุ่นแดง ทุ่น เขียว

9. ลักษณะท่าเรือ ท่าเทียบเรือโกแดง คลองบางนรา จ. นราธิวาส มีความลึก ประมาณ 2 - 3 เมตร ท่าเรือ เป็นไม้ติดกับตึกอาคารห้องพักที่จอดรถของอาคาร รูปตัว I ขนาดโดยความประมาณ ยาว 100 เมตร แสดงใน รูปที่ ๕ และ ๖

10 รูปที่ ๕ ภาพถ่ายบริเวณท่าเทียบ เรือโกแดง

11 รูปที่ ๖ ภาพร่างบริเวณท่าเทียบ เรือโกแดง จ. นราธิวาส

12 พื้นท้องทะเลโคลนปนเลน การนำเรือเข้าเทียบ / ออกจากเทียบการนำเรือ เข้าร่องน้ำนราธิวาสจะมีทุ่นไฟปากร่องและทุ่นไฟ ปลายเขื่อนกันคลื่น เมื่อถึงบริเวณทุ่นไฟปากร่อง เข็มหลักในการนำเรือเข้าร่องน้ำ คือ เข็ม 170 ระยะทางประมาณ 1000 หลาจะผ่านทุ่นไฟสีแดง ทางกราบซ้ายระยะประมาณ 1000 หลา จะผ่าน ทุ่นไฟสีเขียว ทางกราบขวา ระยะทางประมาณ 3000 หลา ก็จะถึงท่าเรือโกแดงความกว้างร่อง น้ำประมาณ 200 – 300 เมตร ข้อควรระมัดระวังบริเวณที่จอดเรือพื้นที่จะ แคบจะมีเรือประมงขนาดเล็ก ( ทางขวา ) และโรง จอดเรือขนาดเล็ก ( ทางซ้าย ) ตามรูปที่ ๗ การ เทียบจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในการเทียบ

13 รูปที่ ๗ ภาพบริเวณท่า เทียบเรือ และข้อ ระมัดระวัง

14 รูปที่ ๘ ภาพบริเวณท่า เทียบเรือ และข้อ ระมัดระวัง

15 ๔. การติดต่อ วิทยุไม่มี โทรศัพท์๐๘๑ - ๘๙๘๔๖๘๒ รายชื่อ คุณ โกแดง เบอร์ติดต่อสำคัญในพื้นที่ ๐๘๑ - ๘๙๘๔๖๘๒

16 ๕. สิ่งอำนวยความสะดวก ท่อน้ำมี ไฟฟ้ามี (220 v) โทรศัพท์ไม่มี

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ท่าเทียบเรือ อ่าวทับละมุ (Estuary Ao Thap Lamu Port)

ท่าเทียบเรือ อ่าวทับละมุ (Estuary Ao Thap Lamu  Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย เรือ ต.96



1. ท่าเทียบเรือ ฐท. พังงา. ทรภ. ๓

2. ๑. วันที่สำรวจ๑๔๐๙๐๐ ก. ค. ๕๔ โดย เรือ ต. 96 ๒. ลักษณะน้ำ / ลม / มาตราน้ำ / ข้างขึ้น - แรม ขณะน้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัว ความสูง น้ำ ๒. ๘ เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด ตรง กับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ทะเลมีคลื่น เล็กน้อยถึงปานกลาง ความเร็วลม 7-8 น็อต ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

3. ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้อง แผนที่ 353 บ้านท้าย เหมือง ถึง ช่องปากเกาะ แผนที่ ล. 25 อ่าวทับละมุ ตำบลที่ ท่าเทียบเรือ ฐท. พังงา. ทรภ. ๓ ทุ่นไฟปากร่อง ( ทุ่นไฟ NO.2) แลต 8 องศา 35.7 ลิปดา เหนือ ลอง 98 องศา 13.9 ลิปดา ตะวันออก

4. หิน ขี้นก กระโจมไฟเขา หน้ายักษ์ หลักนำ แรก หลักนำที่ สอง NO.2 No. 4 No. 6 No. 3 ระยะห่างปลายแหลม ประมาณ 600 หลา C-090 C- 161 C-206

5. การนำเรือเข้าเทียบ / ออกจากเทียบ เมื่อนำเรือเข้ามาใกล้ปากอ่าวเขาหลักจะมองเห็นกระโจม ไฟหินขี้นกซึ่งตั้งอยู่บนหินขี้นกและทุ่นไฟกำกับร่อง ( ทุ่นแดง หมายเลข 2 ) ได้อย่างชัดเจน ให้นำเรือถือเข็มประมาณ 090 ผ่านปลายแหลมอ่าวขาม ( ปลายแหลมกระโจมไฟเขาหน้ายักษ์ ) ทางด้านทิศเหนือในระยะห่างประมาณ 600 หลา โดยใช้ทุ่นไฟ กำกับร่อง ( ทุ่นแดงหมายเลข 2 ) เป็น HEAD MARK เมื่อเห็น หลักนำคู่แรกให้เปลี่ยนเข็มเรือเข้าหาหลักนำคู่แรก เมื่อนำเรือ ผ่านทุ่นแดงหมายเลข 4 และทุ่นเขียวหมายเลข 3 ให้เปลี่ยน เข็มเรือเข้าหาหลักนำคู่ที่สอง และเมื่อนำเรือผ่านทุ่นแดง หมายเลข 6 สามารถเปลี่ยนเข็มเพื่อนำเรือเข้าจอดที่ท่าเทียบ เรือ ฐท. พง. ทรภ. 3 สำหรับเรือ ตกช. และ ตกฝ. ให้เทียบ บริเวณด้านในของท่าตามรูปโดยอ้อมทุ่นแดงปลายเขื่อน ใน การ เข้าเทียบขณะมีกระแสน้ำขึ้น - น้ำลง ควรสังเกตุกระแสน้ำและนำ เรือในลักษณะทวนกระแสน้ำ

6. หินขี้นก

7. กระโจม ไฟ เขาหน้า ยักษ์

8. ทุ่นไฟ ใหม่ ทุ่นไฟ เก่า

9. หลักนำคู่แรกเข็ม 161

10. หลักนำคู่ที่สองเข็ม 206

11. ข้อ ระมัดระวัง สิ่งปลูกสร้างบริเวณ ปลายเขื่อน

12. ข้อควรระมัดระวัง ๑. ไม่ควรนำเรือเข้าใกล้ปลายแหลมเขาหน้า ยักษ์เนื่องจากมีแนวหินใต้น้ำอยู่ สามารถเห็นได้ ชัดเจนในเวลาที่น้ำลงต่ำสุด ๒. ให้ระวังสิ่งปลูกสร้างท้ายทุ่นแดงปลายเขื่อน ทำให้ทางเข้าไปเทียบแคบ และให้ระวังเวลา เทียบในตอนที่น้ำลงเพราะอาจติดตื้นไม่ควรนำ เรือให้ออกห่างจากท่าเรือมากเกินไป ๓. กระแสน้ำในช่วงน้ำลงต่ำค่อนข้างแรง ควรใช้ เครื่องจักรถอยหลังในการนำเรือเข้าเทียบ

13. ๔. การติดต่อสื่อสาร ศูนย์สื่อสาร ฐท. พง. ทรภ. ๓ ธุรการ VHFCH. 67

ท่าเทียบเรือ ปากน้ำตาปี (Paknam Tapi Port)

ท่าเทียบเรือ ปากน้ำตาปี (Paknam Tapi Port)


ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย เรือ ต.993



1. ข้อมูลร่องน้ำบ้านดอน ปากน้ำตาปี จ. สุราษฎร์ธานี Knowledge Management: KM เรือ ต. 993

2. รายละเอียดทั่วไป ๑. วันที่สำรวจ ๑๗๑๖๐๐พ. ค. ๕๔ โดย เรือ ต. ๙๙๓ ๒. ลักษณะกระแสน้ำ / กระแสลม / ข้างขึ้น - ข้างแรม ขณะน้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัว ความลึกน้ำโดยเฉลี่ย บริเวณร่องน้ำ 3.5 เมตร หักลงหาระดับน้ำลงต่ำสุด ( ความสูงน้ำจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ) ส่วนบริเวณ พื้นที่อ่าวบ้านดอนความลึกน้ำเฉลี่ย 0.5-1.0 เมตร ช่วงเวลาน้ำขึ้น กระแสน้ำไหลไปในทิศ 225 ( จริง ) ความเร็ว 2 นอต ช่วงเวลาน้ำลง กระแสน้ำไหลไปในทิศ 045 ( จริง )

3. รายละเอียดทั่วไป ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง ๓. ๑ ระวางแผนที่ที่เกี่ยวข้อง แผนที่เดินเรือไทย ( กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ) หมายเลขระวาง 227 แผนที่ประกอบร่องน้ำบ้านดอน ศูนย์พัฒนาและ บำรุงรักษาทางน้ำที่ ๖ ( สุราษฎร์ธานี ) กรมเจ้าท่า หมายเลขระวาง ๔๒๐. ๑ ๓. ๒ ตำบลที่อ่าวบ้านดอน ต. บางกุ้ง อ. เมือง จ. สุ ราษฎร์ธานี ๓. ๓ ทุ่นไฟปากร่อง (Fl 3s 7M) ตำบลที่ แลต 9 องศา 22.68 ลิปดา น. ลอง 99 องศา 25.97 ลิปดา อ.

4. รายละเอียดทั่วไป ระวางแผนที่  แผนที่ไทย หมายเลข 227 แผนที่ร่องน้ำกรมเจ้าท่า หมายเลข 420.1 ( จัดหา เพิ่มเติมจาก ศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ ) ความลึกน้ำโดยเฉลี่ย 3.5 เมตร ระยะทางรวมประมาณ 13 ไมล์ ระบบทุ่นกำกับร่องน้ำ IALA Region A ( ขาเข้า : เขียวขวา แดงซ้าย ) การติดต่อสื่อสารระหว่างเรือที่สัญจรในร่องน้ำ หลัก MRT CH.13 รอง CH.16

5. ๓. ๕ ข้อมูลท่าเทียบเรือ ท่าเทียบเรือท่าทองประกอบด้วย 2 ท่าเทียบ ความยาวท่าเทียบเรือ 194 เมตร และ 94 เมตร ความลึกน้ำโดยเฉลี่ยบริเวณท่าเทียบเรือ 4.8 เมตร เป็นบริเวณที่จอดเรือของ บริษัทเอกชน สนับสนุนการปฏิบัติงานบนแท่น ขุดเจาะ เรือซ่อมทำและวางสายเคเบิ้ลใต้น้ำ (JUSMINE) บริเวณท่าเทียบเรือหมายเลข 1 ( 94 เมตร ) เป็นท่าเทียบเรือลากจูงขนาดใหญ่ สำหรับการขนถ่ายแร่ยิปซัม รายละเอียดทั่วไป

6. แผนที่เดินเรือไทย หมายเลข 227

7. แผนที่ร่องน้ำกรมเจ้าท่า หมายเลข 420.1

8. เข็มที่ 1 C-180 R- 5.1 นำเรือเกาะทุ่นเขียวกราบขวาห่าง ประมาณ 100 หลา ผ่านที่ตื้นบริเวณ ทุ่นเขียวหมายเลข 3 (2.0 เมตร ) เปลี่ยนเข็มเมื่อทุ่น 7 ได้บี มกราบขวา เปลี่ยนเข็มเมื่อทุ่น 7 ได้บี มกราบขวา เล็ง Stern Mark C-205 หัวเรือจี้ทุ่น 8 เล็ง Stern Mark C-205 หัวเรือจี้ทุ่น 8 เข็มใหม่ C-205 เข็มใหม่ C-205

9. เข็มที่ 2 C-210 R เริ่มมองเห็นหลัก นำหัวเรือ เมื่อผ่าน บีมทุ่นแดง หมายเลข 8 นำ เรือตามหลักนำหัว เรือ C-210

10. เข็มที่ 3 C-210 R เมื่อผ่านทุ่นเขียวหมายเลข 13 เปลี่ยนเข็มไป ทางซ้าย หัวเรือจี้หลักแสดงขอบร่องน้ำหมายเลข 18 - ระหว่างทุ่นเขียวหมายเลข ที่ตื้นอยู่ทาง กราบขวา บริเวณหลักนำ - นำเรือให้ตกใกล้กับทุ่นกำกับร่องน้ำสีแดง ( น้ำลึก )

11. ท่าเทียบเรือ - ท่าเทียบเรือท่าทอง - ความลึกน้ำโดยเฉลี่ยประมาณ 5 เมตร - รายละเอียดท่าเทียบเรือ ประสาน คุณอรุณ ตร. เรือมา โดร่า บ. จัสมิน ( นรจ. ๑๖ ) โทร

12. ข้อควรระมัดระวัง บริเวณร่องน้ำมีเรือประมงท้องถิ่นขนาดเล็กสัญจร และทำประมงชายฝั่งจำนวนมาก ตลอดจนมีการ วางเครื่องมือจับสัตว์น้ำในเขตร่องน้ำ ควรเพิ่ม ความระมัดระวังในการเดินเรือ ในช่วงเวลาน้ำลง จะมีเรือลากจูงขนาดใหญ่ติด ตื้นอยู่บริเวณกลางร่องน้ำอยู่เป็นประจำ เนื่องจากร่องน้ำบางช่วงตื้นมาก หากสามารถ ดำเนินการได้ ควรเลือกเวลานำเรือผ่านเข้า - ออก ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุด รายละเอียดทั่วไป

13. ๔. การติดต่อสื่อสารและนำร่อง การติดต่อระหว่าง เรือ - เรือ ในร่องน้ำ Marinetime Band ช่อง 13 และ 16 นามเรียกขานใช้ ชื่อเรือ การประสานท่าเทียบเรือท่าทอง คุณอรุณ โทร ๐๘๑ - ๔๗๗๖๒๒๙ เลขานุการมูลนิธิศาลเสด็จเตี่ย กรมหลวง ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ปากน้ำตาปี บังคับใช้นำร่องสำหรับเรือที่มีระวางขับน้ำเกินกว่า 1,000 ตันกรอส ๕. สิ่งอำนวยความสะดวก ท่อน้ำ ไม่มี ( ขอรับการสนับสนุนน้ำจืดจากรถส่งน้ำ ) ไฟฟ้าไม่มี โทรศัพท์ไม่มี รายละเอียดทั่วไป

ท่าเรือศุลกากร ระนอง (Ranong Customs Port)

ท่าเรือศุลกากร ระนอง (Ranong Customs Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย เรือ ต.214



1. ท่าเรือ ศุลกากร

2. ทุ่นไฟปากร่อง NO.2 หลักนำ NO.3 NO. 5 NO.4 NO.6 NO.7 NO.8 NO. 9 NO.1 0 NO.1 1 NO.12 NO.13 NO.14 ปากน้ำระนอง ก. โคม ก. ช้าง ก. ผี ก. สนพม่า ( ก. รู ) ก. สน ไทย ก. ตา ครุฑ ก. ปลิง ก. หม้อ

3. การนำเรือเข้าร่องน้ำ เข็มแรก 048. ๕ ผ่าน ก. โคม และ ก. ช้าง ใช้ หลักนำคู่แรก มีที่หมายอันตรายคือโขดหิน บริเวณปลายแหลม ก. ช้าง เข็มที่สอง 090 ผ่านด้านเหนือของ ก. ช้าง โดย หลักนำคู่ที่ 2 ( ไฟหลักนำหลักหลังดับ ) เข็มที่3 058 นำเรือให้ทิศหัวเรือตรงกับเนิน ด้านเหนือของ ก. เหลา ( เข็มนี้ไม่มีหลักนำ ) เข็มที่4 045 ผ่าน ก. สนไทย ก. ตราครุฑ ก. ปลิง ก. หม้อ และก. สอง ทางกราบซ้าย โดยนำ เรือให้ทิศหัวเรือตรงกับกระโจมไฟ ก. ผี เข็มที่5 030 ผ่านท่าเทียบเรือศุลกากร แพปลา ต่างๆ และท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ ทางกราบ ขวา

4. ทุ่นไฟปากร่องน้ำ ระนอง

5. ภาพแสดงทุ่นไฟสีแดง ภาพแสดงทุ่นไฟสีเขียว

6. หลักนำร่องน้ำระนอง

7. กระโจมไฟ ก. โคม

8. เกาะสะระนีห์ ( เกาะผี )

9. ท่าเรือศุลกากร ท่าเรือน้ำลึก อเนกประสงค์ เกาะ ผี

ท่าเทียบเรือเกาะพยาม(Ko Phayam Port)

ท่าเทียบเรือเกาะพยาม(Ko Phayam Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย เรือ ต.214



1. ท่าเทียบเรือ เกาะพยาม จ. ระนอง เรือ ต. 214 ปฏิบัติราชการ ทรภ. ๓ เดือน มิ. ย. ๕๔

2. ข้อมูลโดยทั่วไปของท่าเทียบเรือ  ขนาดท่าเทียบเรือโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริม เหล็กรูปตัว T ทางเข้า กว้าง 2 ม. ยาว 160 ม. บริเวณ หน้าท่า ยาว 7 ม. กว้าง 2 ม.  มีความลึกหน้าท่าเฉลี่ย 3 เมตร  ไม่มีพุกสำหรับคล้องเชือก ( ใช้เชือกคล้อง ) และไม่มียางกันกระแทก  บริเวณขอบเขื่อนแคบ มีตัวกันกระแทกไม่ มั่นคง ( ต้นมะพร้าว )  สิ่งอำนวยความสะดวก ท่อน้ำจืด ไม่มี ไฟฟ้า ไม่มี โทรศัพท์ ไม่มี ไฟแสงสว่าง มี

3. ท่าเรือเกาะพะยาม ทุ่นแดงหมายเลข 2 ทุ่นเขียว หมายเลข 1 ทุ่นแดง หมายเลข 4

4. ท่าเรือเกาะพะยาม ทุ่นแดงหมายเลข 2 ทุ่นเขียว หมายเลข 1 ทุ่นแดง หมายเลข 4 C-000/C- 180 สามารถนำเรือเข้าจอดที่ท่าเทียบเรือเกาะพะยาม ได้ทั้งทางด้านทิศเหนือ และทิศใต้ โดยใช้เข็ม 000 หรือ 180 ระยะห่างฝั่งประมาณ 2000 หลา โดยเมื่อแบริ่งท่าเทียบเรือได้ 090 และ 270 ให้เปลี่ยนเข็มเข้าหาท่าเทียบเรือ โดยสามารถจอดเทียบด้านขวาของท่าเทียบเรือ

5. ตำบลที่ เทียบเรือ

6. ภาพถ่ายแสดงการเทียบเรือท่าเทียบเรือ เกาะพยาม จ. ระนอง

7. สามารถจอดเทียบได้เฉพาะตกฝ., ตกช., สามารถจอดเทียบได้ทั้งเวลาน้ำขึ้นและน้ำลง น้ำลึก บริเวณท่าเรือประมาณ 2-4 เมตร แต่ เพื่อความ ปลอดภัยในการนำเรือควรเลือกเข้าเฉพาะเวลาน้ำขึ้น ควรจอดบริเวณขอบตัวของท่ารูป T ด้านขวา ( ด้าน เหนือท่า ) เมื่อหันหน้าเข้าท่าเทียบเรือ บริเวณขอบเขื่อนแคบ มีตัวกันกระแทกไม่มั่นคง ( ต้น มะพร้าว ) ต้องจอดเทียบด้วยความระมัดระวัง ไม่มีพุก สำหรับคล้องเชือก ปัจจุบันได้ดำเนินการทำห่วงเชือก สำหรับใช้แทนพุก ช่วงคลื่นลมแรงควรพิจารณาหลีกเลี่ยงในการจอดที่ท่า เทียบเรือนี้ ไม่สามารถรับน้ำได้ ไม่สามารถใช้ไฟบกได้ ไม่สามารถรับน้ำมันได้ มีสถานีอนามัยในกรณีฉุกเฉิน บริเวณท่าเรือมีแรงชาวพม่าพลุกพล่าน ในเวลา กลางคืนควรกวดขันเรื่องเวร - ยามเป็นกรณีพิเศษ ข้อควรระมัดระวัง

ท่าเรือประจวบคีรีขันธ์ (Prachuap Khiri Khan Port )

ท่าเรือประจวบคีรีขันธ์ (Prachuap Khiri Khan Port )

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย กองทัพเรือ



1. ท่าเรือประจวบคีรีขันธ์

2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ๑. วันที่สำรวจ ๑๙ พ. ค. ๕๔ ๒. ลักษณะน้ำ / ลม / มาตราน้ำ / ข้างขึ้น - แรม ขณะน้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัว ความสูงน้ำ 15 เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด ตรงกับ วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ทะเลมีคลื่นเล็กน้อย ลมและฝน

3. ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้อง แผนที่เดินเรือไทย หมายเลข 260 ตำบลที่ตั้งอยู่ภายในอ่าวเทียน อ. บางสะพาน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ทุ่นไฟปากร่องแลต 11 องศา 11.9 ลิปดา น. ลอง 99 องศา 33.5 ลิปดา อ.

4. ตำบลที่ ตั้งอยู่ภายในอ่าวเทียน อ. บางสะพาน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ท่าเทียบเรือ ประจวบคีรีขันธ์

5. C-310 ทุ่นไฟ ปากร่อง ท่า A ท่า C-D ท่า B หลัก นำ แผนที่ 260 กระโจมไฟแหลมแม่รำพึง แลต 11 องศา 11.9 ลิปดา น. ลอง 99 องศา 33.5 ลิปดา อ.

6. ๔. ข้อมูลท่าเรือ ลักษณะท่าเรือโดยรวมเป็นท่าเรือน้ำลึกสร้างเป็นรูปตัว U โดยมีเขื่อนกันคลื่น ที่เป็นคอนกรีตสำเร็จรูปคล้ายบูมเมอแรงวางตัวทอดยาวจากฝั่งมีความยาว ทั้งสิ้นประมาณ 1400 ม. สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 6.5 ม. ป้องกัน ท่าเรือจากสภาวะคลื่นลมต่างๆ ตัวท่าเรือแบ่งออกเป็น 3 ท่า ได้แก่ ท่าหลัก ( ท่า A 1-2 ) ทอดยาวในทิศเหนือ – ใต้ มีความยาว 450 ม. น้ำลึก 15 ม. สามารถจอดเรือขนาดไม่เกิน 100,000 DWT ยาว 200 ม. ได้พร้อม กัน จำนวน 2 ลำ ท่ารอง ( ท่า B 1-2) ทอดยาวในทิศตะวันออก – ตะวันตก มีความยาวยาว 245 ม. น้ำลึก 8-12 ม. สามารถจอดเรือขนาดไม่เกิน 20,000 DWT ยาว 100 ม. ได้พร้อมกันจำนวน 2 ลำ ท่าแห่งใหม่ (C-D) ทอดยาวในทิศเหนือ – ใต้ แบ่งเป็น 2 ท่า ได้แก่ ท่าด้าน นอก ( ท่า C 1-5 )

7. ท่า A ท่า B ท่า C ท่า D จอดเรือบริเวณ ท่า A

8. ๕. การติดต่อสื่อสาร (COMUNICATION ) สำนักงานที่ทำการท่าเรือประจวบ โทร๐๓๒ - ๖๙๓๑๔๑ และ ๐๘๕ - ๐๗๐๗๓๑๙ VHF ช่องที่ 67 และช่องที่ 16 โดยให้บริการตลอด 24 ช. ม. นามเรียกขานท่าเรือประจวบใช้ “ ท่าเรือประจวบ ” หรือ HSC 320 เรือที่จะเข้ารับการสนับสนุนท่าเรือใช้ “ ชื่อเรือ ” หรือ “ นามเรียกขานสากล ” และ การติดต่อสื่อสารกับ นำ ร่องทางวิทยุ VHF ช่องที่ 13 นามเรียกขานนำร่องใช้ “ นำร่อง ”

9. C-310 ทุ่นไฟ ปากร่อง ท่า A ท่า C-D ท่า B หลักนำ แผนที่ 260 แลต 11 องศา 11.9 ลิปดา น. ลอง 99 องศา 33.5 ลิปดา อ. กระโจมไฟ แหลมแม่รำพึง หลัก นำหน้า หลัก นำหลัง

10. กระโจมไฟแหลมแม่ลำพึง (Fl 6s 75m 10M)

11. หลักนำหน้าเป็นไฟวับเดี่ยวสีส้ม ทุก ๔ วินาที และหลักนำหลัง เป็นไฟวับเดี่ยวสีส้มทุก ๕ วินาที หลัก นำหน้า หลักนำ หลัง

12. ท่าเทียบเรือ A บริเวณที่จอดเทียบเรือ

13. ๖. สิ่งอำนวยความสะดวก (FACILITYS) ติดต่อ คุณ มานพ เจ้าหน้าที่ประจำท่าเรือประจวบ ที่ สำนักงานท่าเรือประจวบ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๕ – ๗๐๗๗๓๑๘ หรือทางวิทยุ VHF ช่องที่ 67 น้ำมันเชื้อเพลิง (FUEL) สามารถแจ้งขอรับการสนับสนุน น้ำมันเชื้อเพลิงได้จากท่าเรือประจวบโดยติดต่อผ่านนำร่อง การบริการน้ำมันเชื้อเพลิงจากบริษัทน้ำมัน และราคาตามที่ ตกลง ส่งโดยรถบรรทุกครั้งละ 15 ตัน น้ำจืด ( น้ำใช้ ) และน้ำดื่ม สามารถแจ้งขอรับการ สนับสนุนการบริการจากบริษัทเอกชนในพื้นที่ ไฟฟ้า (ELECTRICITY) ท่าเรือประจวบสามารถสนับสนุน ไฟฟ้าแสงสว่าง 220 v และไฟฟ้าส่องสว่าง (Sport light)

14. ๖. สิ่งอำนวยความสะดวก (FACILITYS) เสบียง สามารถจัดหาที่ตลาดบางสะพานอยู่ห่างจาก ท่าเรือประจวบ ประมาณ 10 กม. การขนส่ง ท่าเรือประจวบสามารถให้บริการรถยนต์ใช้สอย ซึ่งเป็นรถบรรทุกขนาดเล็กสำหรับจ่ายเสบียงหรือ สิ่งจำเป็นต่างๆถ้าต้องการรถยนต์นั่งขนาดใหญ่จะต้อง ประสานขอรับการสนับสนุนจากบริษัทท่าเรือประจวบซึ่ง จะเป็นรถรับ – ส่งพนักงานของท่าเรือ โรงพยาบาล (HOSPITAL) โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดจะ เป็นโรงพยาบาลบางสะพานซึ่งตั้งอยู่ในตัว อ. บางสะพาน ห่างจากท่าเรือประมาณ 10 กม.

15.  มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเข้าเทียบ

16. มียางกันกระแทก และ ล้อยางขนาดใหญ่ พุกและห่วงสำหรับ ร้อยเชือก

17. ๗. ระเบียบปฏิบัติและข้อบังคับของท่าเรือ (REGULATIONS OF PORT) ท่าเรือประจวบเป็นท่าเรือเอกชนขนาดใหญ่ซึ่งมี การเข้าออกของเรือสินค้าค่อนข้างมากทำให้มีการ ขนถ่าย สินค้าอยู่เกือบตลอดเวลา เมื่อทำการเทียบเรือเรียบร้อยแล้ว ให้ทางเรือทำหนังสือ ในการขออนุญาตเข้าใช้ท่าเทียบเรือ ท่าเรือมีบริการรถจ่ายเสบียง ท่าเรือประจวบมีข้อห้าม ได้แก่ ห้ามเล่นกีฬาทุกประเภทบริเวณท่าเรือ ห้ามทิ้งขยะ ห้ามบุคคลภายนอกผ่าน – เข้าออกโดยไม่ได้รับอนุญาต

18. ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ท่าเรือ มีความสัมพันธ์อันดีเนื่องจากมีการเล่นกีฬา เชื่อมสัมพันธ์กันบ่อยครั้ง เมื่อเรือเข้าจอด

ท่าเทียบเรือ ศรีบ้านเพ (Si Ban Phe Port)

ท่าเทียบเรือ ศรีบ้านเพ (Si Ban Phe Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย กองทัพเรือ



1. ท่าเทียบเรือศรี บ้านเพ

2. ๑. วันที่สำรวจ ๒. ลักษณะน้ำ / ลม / มาตราน้ำ / ข้างขึ้น - แรม ขณะน้ำขึ้น ความสูงน้ำ 2.0 เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด ตรงกับ วันแรม 8 ค่ำ เดือน 1 ทะเลเรียบ ลมสงบ ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้องแผนที่เดินเรือไทย หมายเลข 142, 116 ( อศ.) ข้อมูลท่าเรือท่าเรือเอกชน เจ้าของผู้ประกอบการ พ. ต. ท. หมื่นศรี ตำบลที่ท่าเทียบเรือศรีบ้านเพ จว. ระยอง แลต 12 องศา 37.1 ลิปดา น. ลอง 101 องศา 26.2 ลิปดา อ. พื้นท้องทะเลโคลน ที่หมายเวลากลางคืน ไม่มี

3. ท่าเทียบเรือศรี บ้านเพ Lat 12º 37.1´ N Long 101º 26.2´ E Lat 12º 36.65´ N Long 101º 26.2́ E บริเวณน้ำ ตื้น

4. ร่องน้ำบริเวณทุ่นนำร่องมีความลึกโดยเฉลี่ย 5-6 เมตรจาก ( เครื่องหยั่งน้ำ ) ที่ระดับน้ำขึ้น 2.31 เมตร ( น้ำขึ้นสูงสุด ) มีทุ่นไฟกำกับร่องน้ำ 2 คู่ ไม่มีหลักนำ ในการนำเรือเข้าร่องน้ำ ก่อนถึงท่าเรือให้ระมัดระวัง กระชังปลา บริเวณท่าเทียบจอดเรือมีความลึกเฉลี่ย 3 เมตร ( จากเครื่องหยั่งน้ำ ) ด้านทิศใต้ของท่าเรือมี ความลึกเฉลี่ย 2 เมตร ( จากเครื่องหยั่งน้ำ ) การกลับ ลำเข้าจอดที่ท่าเทียบเรือบริเวณด้านทิศใต้ควรที่จะเข้า ในช่วงน้ำขึ้นที่มากกว่า 1.6 เมตร ( ในสมุดมาตรน้ำ ) สามารถเดินเรือเพื่อเข้าไปเทียบท่าเรือได้ ถ้าน้อยกว่า นั้นควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากบริเวณนั้นเป็น ที่น้ำตื้น เพราะอาจติดตื้นได้ ลักษณะท้องทะเลเป็น โคลน ท่าเรือเหมาะสมในการจอดช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง กลางเดือน มีนาคม

5. ท่าเทียบเรือศรี บ้านเพ ทุ่นไฟสี แดง ทุ่นไฟสี เขียว เบรกกัน คลื่น ทุ่นไฟนำ ร่อง

6. ทุ่นไฟสี แดง ท่าเทียบเรือศรี บ้านเพ กระชัง ปลา

7. ด้านทิศใต้เป็นบริเวณ พื้นที่น้ำตื้น ท้องทะเลเป็นโคลน

8. ท่าเทียบเรือศรี บ้านเพ

9. ท่าเรือศรีบ้านเพ ท่าเรือเพ ท่าเรือนวลทิพย์ หินใต้ น้ำ

10. ลักษณะของท่าเรือเป็นรูปตัว T ทอดยาวจากฝั่งลงไปในทะเล ยาว ประมาณ 150 เมตร บริเวณเทียบเรือหัวตัว T มีความยาวประมาณ 40 เมตร ความลึกน้ำรอบบริเวณท่าเทียบเรือโดยเฉลี่ย 3 เมตร น้ำลึกจริง เฉลี่ย 5 เมตร ( น้ำขึ้นสูงสุด ) ท้องทะเลเป็นโคลน ท่าเทียบเรือไม่มี ยางกันกระแทกผู้นำเรือต้องใช้ความระมัดระวังในการนำเรือเข้าเทียบ ท่าเทียบเรือศรีบ้าน เพ เบรกกัน คลื่น

11. ขณะนำเรือเข้าเทียบ ท่าจอดเรือ เข้าแนวตั้งฉากกับ ท่าเรือ

12. ท่าเรือไม่มีลูกยางกันกระแทก และให้ ระมัดระวังเสาปูนบริเวณที่เทียบเรือ

13. ก่อนถึงบริเวณท่าเทียบเรือควรนำเรือด้วยความ ระมัดระวังเพราะมีการจราจรทางน้ำค่อนข้างหนาแน่น เนื่องจากจะมีเรือ รับ – ส่ง นักท่องเที่ยวจำนวนมาก เดินทาง เข้า – ออก เพื่อไปยังเกาะเสม็ดตลอดทั้งวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ ๐๘๐๐ – ๑๙๐๐ ของทุกวัน  - บริเวณใกล้กับท่าเทียบเรือจะมีกระชังปลา 1 คู่ บริเวณทิศตะวันออกของท่าเทียบเรือซึ่งเป็นอันตราย ต่อการนำเรือผู้นำเรือควรใช้ความระมัดระวังไม่ควรนำ เรือเข้าใกล้บริเวณกระชังปลาดังกล่าว  - ทางด้านทิศใต้ของท่าเทียบเรือเป็นพื้นที่น้ำตื่น ในช่วงของน้ำขึ้นที่มากกว่า 1.6 เมตร ( ในสมุดมาตร น้ำ ) สามารถเดินเรือเพื่อเข้าไปเทียบท่าเรือได้ ถ้า น้อยกว่านั้นควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ดังกล่าว  - ท่าเทียบเรือไม่มียางกันกระแทกผู้นำเรือต้องใช้ ความระมัดระวังในการนำเรือเข้าเทียบเป็นพิเศษและ ควรเตรียมลูกตะเภาไว้เพื่อป้องกันการเสียหายที่อาจ เกิดขึ้นจากการกระแทกกับท่าเรือในกรณีที่มีคลื่นลม แรง

14. ๔. การติดต่อ วิทยุ ไม่มี โทรศัพท์ พ. ต. ท. หมื่นศรี ( เจ้าของผู้ประกอบการ ) ๐๘๑ - ๙๑๕๑๙๖๒ ๕. สิ่งอำนวยความสะดวก น้ำ รถน้ำเอกชนขนาดเล็กราคาตันละ 100 บาท ๐๘๔ - ๘๒๙๗๘๕๕ ไฟฟ้า ไม่มี โทรศัพท์ ไม่มี

ท่าเทียบเรือ อ่าวสลัด เกาะกูด ( Ao Salat Port)

ท่าเทียบเรือ อ่าวสลัด เกาะกูด ( Ao Salat Port)

ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย เรือ ต.11



1. ท่าเทียบเรืออ่าว สลัด เกาะกูด

2. ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ๑. สำรวจโดย เรือ ต. ๑๑ วันที่ สำรวจ ๒๓ มิ. ย. ๕๔ ๒. ลักษณะน้ำ / ลม / มาตราน้ำ / ข้างขึ้น - แรม สำรวจ เวลา ๐๙๐๐ ขณะน้ำลง ความสูงน้ำ 1.1 เมตร จากระดับน้ำลง ต่ำสุด วัดความลึกน้ำจริงได้ 2.5 เมตร ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ทะเลเรียบ ลมพัดเข้าหาท่าทิศ 270 ความเร็ว 3 นอต

3. ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ๓. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้องแผนที่เดินเรือไทย หมายเลข 151, 102, 045 ( อศ.) ตำบลที่ท่าเทียบเรืออ่าวสลัด เกาะ กูด แลต 11 องศา 42.47 ลิปดา น. ลอง 102 องศา 34.24 ลิปดา อ.

4. ภาพแสดงตำแหน่งท่าเทียบเรือ อ่าวสลัด ก. กูด เกาะ ช้าง เกาะ กูด

5. ๑. เข็ม 180 ใช้แหลม อ่าวสลัดเป็น HEAD MARK ๒. เข็ม 235 ระยะ 1200 หลา หินใต้น้ำเป็นอันตรายต่อ การนำเรือ การนำเรือเข้าเทียบท่าเทียบเรืออ่าวสลัด

6. แหลมอ่าวสลัด จุดสังเกต องค์พระพุทธประทีปฯ ขณะนำเรือเข็มตั้งตัว 180 จากแหลมอ่าวสลัด เสาโทรศัพท์สูง การนำเรือเข้าเทียบท่าเทียบเรืออ่าวสลัด

7. เมื่อเฉียดแหลมอ่าวสลัดระยะประมาณ 400 หลา เปลี่ยนไปถือเข็ม 235 ระยะประมาณ 1200 หลา ศาลเสด็จเตี่ย จุดสังเกตองค์พระพุทธประทีปฯ จุดเลี้ยวเพื่อเข้าเทียบ การนำเรือเข้าเทียบท่าเทียบเรืออ่าวสลัด

8. ขณะนำเรือถึงจุดเลี้ยวก่อนนำเรือเข้าเทียบโดยใช้กราบซ้าย ท่าเทียบเรือ การนำเรือเข้าเทียบท่าเทียบเรืออ่าวสลัด

9. ท่าเทียบ เรือ การนำเรือเข้าเทียบท่าเทียบเรืออ่าวสลัด

10. ท่าเรือไม่มียางกันกระแทก และไม่มีพุก สำหรับคล้องเชือก เชือกสำหรับ คล้องเชือก การนำเรือเข้าเทียบท่าเทียบเรืออ่าวสลัด

11. ท่าเทียบเรืออ่าวสลัด

12. ๔. ข้อมูลท่าเรือ เป็นท่าเรือติดกับฝั่ง หน้าท่ายาวประมาณ 80 เมตร กว้างประมาณ 2 เมตร  มีความลึกหน้าท่าเฉลี่ย 2.5 เมตร  ไม่มีพุกสำหรับคล้องเชือก และไม่มียางกัน กระแทก ( ใช้เชือกคล้อง )

13. ๕. การติดต่อสื่อสาร  วิทยุไม่มี  โทรศัพท์ ผู้ใหญ่นวล๐๘๑ - ๘๖๑๕๒๔๙ อบต. แดง๐๘๙ - ๒๔๑๘๘๔๙

14. ๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ท่อน้ำจืด มี ไฟฟ้า ไม่มี โทรศัพท์ ไม่มี ไฟแสงสว่าง ไม่มี อื่นๆ บริเวณท่าเรือ มีร้านอาหาร, ร้านขาย ของชำ, ร้านขายผัก และเนื้อ, ร้านขายน้ำดื่ม ซึ่งสามารถจ่ายเสบียงเพิ่มเติมได้

15. ๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ท่อน้ำจืด

16. ๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ร้านขายของชำ ( สามารถจ่าย เสบียงได้ )

17. ๖. สิ่งอำนวยความสะดวก ร้านอาหาร

18. ข้อควรระมัดระวัง - ขณะนำเรือใช้เข็ม 180 โดยใช้แหลมอ่าวสลัด เป็น Head Mark ห้ามนำเรือตกขวา เนื่องจากทาง กราบขวามีหินใต้น้ำความลึก 0.7 ม. เป็นอันตรายต่อ การนำเรือ - ในบางครั้งท่าเทียบเรือจะมี เรือประมง หรือเรือ รับ – ส่ง นักท่องเที่ยว จอดอยู่ ให้ชักหวูดยาว 1 ครั้ง เพื่อให้สัญญาณให้เรือที่เทียบอยู่เลื่อนเรือให้เรือรบ เข้าเทียบ - ก่อนนำเรือออกจากเทียบ ให้ติดต่อกับเรือประมงที่ เทียบอยู่บริเวณท้ายเรือให้เลื่อนเรือเพื่อความ ปลอดภัยในการออกจากเทียบ - การนำเรือออกจากเทียบ ให้นำเรือถอยหลังให้ พ้นมุมท่าเรือ แล้วจึงกลับลำ ห้ามกลับลำในอ่าวสลัด เนื่องจากกลางอ่าว มีกลุ่มโพงพางและหินใต้น้ำ - ช่วงเดือน ต. ค. – ธ. ค. ของทุกปี จะเป็นช่วงฤดู มรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีลมพัดเข้าท่า ค่อนข้างแรง ผู้นำเรือควรใช้ความระมัดระวังในการนำ เรือเข้า และออกจากเทียบ

19. กลุ่มโพงพางและหินใต้น้ำบริเวณกลางอ่าวสลัด ข้อควรระมัดระวัง

20. ก่อนนำเรือออกจากเทียบ ให้ติดต่อกับ เรือประมงที่เทียบอยู่บริเวณท้ายเรือให้เลื่อน เรือเพื่อความปลอดภัยในการออกจากเทียบ