ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

High Low Tide Table 2016 / ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2559

High Low Tide Table 2016 / ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2559
Support smartphone version

แบ่งต่ามพื้นที่ คลิกเลือกจุดที่ต้องการ ตารางน้ำรายชั่วโมงในแผนที่


ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2016 / 2559
  • บอกระดับน้ำระดับสูงสุด-ต่ำสุด ต่อวัน การใช้งานบางอย่างต้องการรู้ว่าน้ำขึ้นเมื่อใด ลงเมื่อใด ขึ้นสูงสุดเมื่อใด ต่ำสุดเมื่อใด
  • การบอกระดับน้ำละเอียดเป็น เมตรและเซนติเมตร
  • การรู้ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด เท่ากับการรู้ต่ำแหน่งดิถีดวงจันทร์ 
  • ตารางระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด จัดทำเพื่อเป็น Backup Site เหมาะสำหรับชาวเล ชาวประมงชายฝั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตารางน้ำชาวเล รายชั่วโมง 2016 / 2559
                           : ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2015 / 2558
         

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

D.I.Y. เปลี่ยนลูกยางปั้มน้ำ Yamaha Outboard ง่ายด้วยตัวเอง

D.I.Y. เปลี่ยนลูกยางปั้มน้ำ Yamaha Outboard ง่ายด้วยตัวเอง



ระบบระบายความร้อนของเครื่องเรือ ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ลูกยางปั้มน้ำ ทำให้ที่ปั้มน้ำหล่อเลี้ยงระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ หากลูกยางปั้มน้ำตัวนี้เสีย ความร้อนจะขึ้น และหากความร้อนสูงมากๆ โดยที่เครื่องยนต์ไม่ตัดการทำงาน เครื่องยนต์จะเข้าสู่โหมดการพังโดยสมบูรณ์แบบ

เนื่องจากบล๊อคเครื่องขนาด 80-85-90 แรงม้าเป็นเครื่องที่นิยมใช้กันมากในเรือแบบส่วนบุคคล เนื่องจากขนาดเครื่องไซค์นี้ จะได้ทั้งความประหยัดแบบเครื่อง 60 HP และได้ความแรงแบบเครื่อง 115 HP ซึ่งลงตัวทั้งความประหยัดและความแรง (Yamaha Outboard)

การเปลี่ยนลูกยางปั้มน้ำ สามารถทำได้ด้วยคนเดียว (ผมเองก็เปลี่ยนคนเดียว) โดยใช้อุปกรณ์ดังนี้

  • ปะแจบล๊อค เบอร์ 10,12
  • ปะแจแหวน เบอร์ 12
  • น้ำยาหล่อลื่น WD-40
  • จารบี
  • กาวปะเก็นแบบแห้งช้า
  • ไขควงแบน
  • เกียงอันเล็ก
  • ค้อนเล็ก
  • แปรงสีฟันเก่า
ส่วนใหญ่เครื่องมือต่างๆ ก็จะมีในเรืออยู่แล้ว



ขั้นตอนการเปลี่ยนลูกยางปั้มน้ำ

ให้ถอดน๊อดยึดหาง มีน๊อต 4 ตัว ถอดน๊อตชุดนี้ก่อนซ้าย-ขวา




ถอดใบพัดเรือออก ไหนๆ ถอดใบแล้วให้เอาไปพ่นสีขาวเลย เวลาใส่จะได้ปิ้งๆ




งัดจุกพลาสติกออกจะมีมีน๊อตซ่อนอยู่ ตรงนี้ใช้ปะแจบล๊อคขันครับ




น๊อตตัวนี้ยึดหางเสืออันเล็กๆ ไว้สำหรับแก้แรงบิดของใบพัด เนื่องจากใบพัดหมุนทิศทางเดียวถ้าไม่แก้แรงบิดของใบพัด เวลาเรือวิ่งจะเลี้ยวหน่อยๆ เวลาปล่อยมือจากพวงมาลัยทำให้วิ่งไม่ตรง




ให้ใช้ปากกาเมจิกทำ Marker ไว้ จะได้ไม่ต้องมาลองวิ่ง แล้วมาปรับแก้กันใหม่




ตรงจุดไหนขันไม่ออก ให้เอา WD-40 ฉีดทิ้งไว้สักพัก แล้วค่อยมาขันใหม่ อย่าใช้กำลังอย่างเดียว ถ้าน๊อตหัวขาดงานเข้าๆ สังเกตุตรงจุดนี้มีน๊อตซ่อนบน ซ่อนล่างไว้




แล้วก็ค่อยๆ ดึงหางลงก็จะถอดออกมาได้แบบนี้




มาดูตรงเครื่องยนต์กันบ้าง จะเห็นกระเดื่องชุดนี้สำหรับกดเพื่อเลือกเกียร์เดินหน้า ถอยหลัง



ลูกยางปั้มน้ำอยู่ตรงนี้ ถอดน๊อต 4 ตัว




ใช้ไขควงแบนค่อยๆ งัด แล้วค่อยๆโยกๆ ดึงออกมา




ถอดลูกยางปั้มน้ำออก




เทียบสภาพลูกยางปั้มน้ำ อันใหม่ กับ อันเก่า อันนี้ใช้มา 7 ปีแล้วแต่สภาพยางยังไม่เปลื่อย แต่มันปั้มแล้วความดัน (Pressure) แรงน้ำไม่ได้ พอความดันไม่ได้ เทอร์โมสตัท ก็ทำงานไม่ถูกต้อง แล้วมันก็ฮีทในรอบสูงๆ




พวกปะเก็นต่างๆ ให้ใช้เกียงค่อยๆแซะ ก็จะได้ประเก็นที่สภาพสมบูรณ์




แล้วใช้ค้อนตอกบนไขควงแบน ตอกเอาสลักออก แล้วเอาไขควงงัดชุดนี้เพื่อถอดเอามาทำความสะอาด มันจะมีจุดสำหรับงัดออกตามลูกศรครับ




พอดึงออกจะเห็นมีแหวนโอริงยางอยู่กันซึมอีกตัว ก็ต้องเปลี่ยนตัวนี้ด้วย อันไม่เท่าไหร่ เปลี่ยนไปเลยเพราะอีก 5-7 ปีถึงและรื้อเปลี่ยนอีกที  ถ้าซีนโอริงกับประเก็นชุดล่างนี้รั่ว น้ำจะผสมกับน้ำมันเกียร์ มันจะเป็นฟอง หรือจะเห็นน้ำผสมกับน้ำมันเกียร์ แต่ของผมไม่มีน้ำ แสดงว่าซีนโอริงกับประเก็นชุดนี้ยังดี แต่ไงเราก็เปลี่ยนใหม่อยู่ดี เพราะพวกโอริงกับปะเก็นราคาถูก จะได้มั่นใจว่าจะอยู่ได้อีกนาน




ส่วนชุดเกียร์ จะเห็นตลับลูกปืน เดี๋ยวพอประกอบเสร็จ ค่อยเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ใหม่




เอาแปรงสีฟันเก่า ขัดล้างให้สะอาด ขี้เกลือเพียบเลย การใส่ปะเก็นใหม่ให้ใช้กาวปะเก็นแบบแห้งช้า ด้วยเพื่อให้มันสนิทไม่รั่วไม่ซึมจริงๆ




รายการอุปกรณ์ที่ทำการเปลี่ยน

อะไหล่รายการนี้สำหรับปีรุ่นเครื่องยนต์ที่ใหม่กว่าปี 1997 ถ้าปีรุ่นเก่ากว่าอะไหล่จะไม่เหมือนแค่บางตัว

1. ลูกยางปั้มน้ำจะใส่ในลูกถ้วยโลหะนี้ สังเกตุของเดิม โลหะสึกเป็นร่องเลย



2. ปะเก็นตัวล่างสุด



3. ปะเก็นตัวกลาง



4. แผ่น Plate สแตนเลสสำหรับจัดช่องทางน้ำ ใส่ประกบกับปะเก็นตัวกลาง สังเกตุตัวเก่าสึกจนเป็นร่องเหมือนกัน



5. ปะเก็นตัวบน



6.ลูกยางปั้มน้ำ



7.แหวนโอริงกันซึม



8.สลักลูกยางปั้มน้ำ



แล้วก็ประกอบใส่กลับเหมือนเดิม จุดที่ยากที่สุดก็ตอนประกบหางเข้ากับเครื่อง มันฟิตหน่อย แบบสาวพรหมจรรย์ แต่ก็ไม่เท่าไหร่ ...ใบพัดพ่นสีใหม่เท่ห์มาก



ทดสอบเดินน้ำดู รอบเดินเบา พุ่งปริ๊ดดดด .... มันยอดมาก
ของเดิมเหมือนเปิดพัดลมเบอร์ 1 ของใหม่เหมือนเปิดพัดลมเบอร์ 5



การเปลี่ยนยางพัดน้ำ ไม่ยากใครๆก็ทำได้ หรือเผื่อยางปั้มน้ำไปขาดบนเกาะ ปล่อยเรือเกยตื้นถอดหางเลย แค่นี้เรือที่รัก ก็จะอยู่กับเราไปอีกนาน

ข้อสังเกตุจากการใช้งาน

เรือที่ใช้ในบ้านเราส่วนใหญ่ ช่างมักแนะนำให้ถอดวาล์วน้ำ (Thermostat) แต่เรือผมไม่ได้ถอดออก เพราะต้องการอยากรู้ว่่า ถ้าไม่ถอด Thermostat จะดีอย่างไร

หน้าที่ของวาล์วน้ำ (Thermostat) คือ คอยรักษาอุณหภูมิเครื่องยนต์ให้คงที่ มีอุณภูมิค่าหนึ่งที่คอยรักษาให้คงที่ตลอดเวลา โดยวาล์วน้ำจะเปิด/ปิด อัตโนมัติตามอุณหภูมิ ส่วนใหญ่ตอนสตาร์ทครั้งแรก วาล์วน้ำยังไม่เปิด พออุณหภูมิถึงจุดหนึ่งจะเปิด ถ้าน้ำเย็นเกินหรืออุณหภูมิไม่ได้ก็ไม่เปิดวาล์ว


การถอดวาล์วน้ำ

ข้อดี คือ
  • เหมือนถอดประตูน้ำออก ทำให้น้ำไหลสะดวกกว่าไม่มี Thermostat น้ำจะไหลพุ่งแรงขึ้น เครื่องจึงมีโอกาส Heat น้อยกว่า เวลาใช้รอบสูงเวลานานๆ จึง Heat น้อยกว่าเครื่องที่ไม่ได้ถอด Thermostat
  • Thermostat มีอายุการใช้งาน ณ เวลาหนึ่งต้องเปลี่ยน จะประหยัดค่า Thermostat ไปได้หลายร้อยบาท


ข้อเสีย คือ
  • เครื่องจะเย็นเกินกว่าปกติในรอบต่ำ เพราะระบบระบายความร้อนทำงานดีเกิน หรืออย่างวิ่งเรือกลางคืนหรือตอนหน้าหนาว น้ำจะเย็นมากเกิน ระบบระบายความร้อนของเรือเป็นระบบเปิด ซึ่งต่างจากรถยนต์ซึ่งเป็นระบบปิด รถยนต์จะใช้น้ำหมุนวนในหม้อน้ำ ซึ่งถึงแม้จะถอดวาล์วน้ำอุณหภูมิจะไม่ต่ำมาก เพราะน้ำผ่านหม้อน้ำแล้ววนกลับมาในระบบ และหมุนเวียนในระบบ อุณหภูมิจึงไม่ต่ำเกิน แต่ระบบระบายความร้อนของเรือเป็นระบบเปิด ดูดน้ำใหม่มาระบายความร้อนตลอดเวลา น้ำจึงเย็นตลอดเวลา ฉะนั้นถ้าไม่มี Thermostat ในรอบเครื่องต่ำๆ เครื่องยนต์จะเย็นเกิน เครื่องยนต์ที่เย็นเวลาทำงานจะสึกหรอเร็วกว่าปกติ ถ้าใช้ในเวลาที่เท่ากันกับเครื่องที่มีวาล์วน้ำ เครื่องที่ไม่มีวาล์วน้ำเครื่องจะหลวมไวกว่า อายุงานสั้นกว่า
  • วาล์วน้ำจะทำงานสัมพันธ์กับ ลูกยางปั้มน้ำ และจะทำงานตามอุณหภูมิ (Temperature) และความดัน (Pressure) อันนี้จากการสังเกตุนะครับ มันจึงมีย่าน (Range) บางอย่างที่จะบอกบางสิ่งว่า ลูกยางปั้มน้ำคุณสภาพเริ่มแย่แล้วนะ โดยจะแสดงอาการมาก่อนที่ลูกยางปั้มน้ำคุณจะเสียจริงหรือใช้ไม่ได้จริง ในรูปแบบความดัน (Pressure) ที่ลดลง แต่เครื่องยนต์ก็ยังทำงานในโหมดกลับบ้านได้ ทำให้เรารู้ว่าจะต้องซ่อมบำรุงก่อนที่จะเสียหายจริง หากไม่มีวาล์วน้ำเราจะไม่มีสิ่งบอกเหตุ ซึ่งหากเสียหายจริงๆ ตอนนั้น ... โหมดกลับบ้านไม่ได้

Thank you friend ... Brandon Abril