ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

D.I.Y การสัญจรและพิกัดทางเรือ ของกัปตันแจ็ค สแปร์โรว์ ภาค 4

D.I.Y การสัญจรและพิกัดทางเรือ ของกัปตันแจ็ค  สแปร์โรว์ ภาค 4 MARINE TRACKING SYSTEM

  
 ระบบนี้จะใช้สำหรับออกทริป หรือใช้ทำ Online Tracking  ติดตามเรือในทะเล

  • จะทำให้เห็นพิกัดของเรือเราเองที่ีวิ่งอยู่ในทะเล และจะเห็นพิกัดเรือของเพื่อนที่วิ่งอยู่หลายๆ ลำพร้อมกันทุกคน
  • ใช้กับ Tablet หรือ Smartphone
  • ช่วยให้การหาที่ตำบลเรือในทะเลหลายลำเป็นเรื่องที่ง่าย
  • ในกรณีออกทริปหลาย 10 ลำ ทำให้ดูแลช่วยเหลือกันง่ายขึ้น




สิ่งที่ต้องการ

  • Tablet  iPad ,Android หรือ Smartphone iPhone,Sumsung ,Andriod
  • สัญญาณอินเตอร์เน็ต Online

ความง่ายของระบบนี้คือ

  • การใช้งานผ่านระบบ Web Browser
  • ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ
  • ใช้งานข้าม Platform ได้ จะระบบ Apple ,Andriod , Mobile หรือ Tablet
  • ไม่ต้องมีขั้นตอนลงทะเบียนยุ่งยาก
  • ไม่ต้องจ่ายค่าบริการรายเดือน (ปรกติระบบ Tracking ต้องเสียเงินครับ)


เราสามารถใช้อุปกรณ์สื่อสารเหล่านี้ไปได้ไกลแค่ไหนในทะเล

   อุปกรณ์โทรศัพท์จะใช้คลื่นความถี่ 850 / 900 / 1800 / 1900 MHz ในการทำงาน ทั้งเสียงและข้อมูลอินเตอร์เน็ต คลื่นความถี่สูงเหล่านี้จะเดินทางเป็นเส้นตรง เราจะสามารถติดต่อกับเครือข่ายได้ในลักษณะ LOS (Line of sight)

Line of sight คือเส้นทางการติดต่อสือสารที่เป็นเส้นตรง
Line of sight คือเส้นทางการติดต่อสือสารที่เป็นเส้นตรง การติดต่อที่ถ้าไม่มีอะไรมาบดบังเส้นทางการติดต่อ จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ตราบใดที่ยังมีความแรงสัญญาณเพียงพอ ก็จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้


การติดต่อสือสารในทะเล จึงมีข้อได้เปรียบกว่าการติดต่อสือสารกันบนพื้นดิน เพราะจะไม่มีอุปสรรค์กีดขวาง เช่น ตึก ต้นไม้ ที่ราบสูง ภูเขา ฯลฯ แต่เนื่องจากโลกใบนี้มันกลม จึงทำให้เราสามารถติดต่อกันได้ไกลจนถึงจุดหนึ่ง จนกว่าจะมีส่วนโค้งของโลกบดบัง



   สายตาคนสามารถมองเห็นเป็นอนันต์ คือ เห็นได้ไกลไม่จำกัด ตัวอย่างเช่น เราเห็นพระอาทิตย์ เห็นพระจันทร์ เห็นดวงดาวต่างๆ ที่อยู่ไกลนับล้านปีแสงได้
   แต่เมื่อเรายืนอยู่ริมชายหาด แล้วมองออกไปในทะเล เราจะเห็นไกลสุดแค่เส้นขอบฟ้า เส้นขอบฟ้า คือ เส้นที่ตัดกันแตะกัน ระหว่าง ท้องฟ้า กับน้ำทะเล นั้นคือจุดที่่สามารถมองเห็นได้ไกลที่สุด จริงๆ เราเห็นได้ไกลกว่านี้แต่ที่เห็นทะเลได้ไกลสุดแค่เส้นขอบฟ้า เพราะส่วนโค้งของโลกบังทำให้มองไม่เห็นไปไกลกว่านั้น

เส้นขอบฟ้า คือ เส้นที่แผ่นฟ้า กับแผ่นน้ำ มาแตะกัน

เส้นขอบฟ้า จะมีผลต่อ Line of sight เพราะจะทำให้เรารู้ว่า คลื่นโทรศัพท์ไปได้ไกลแค่ไหนในทะเล

สูตรคำนวนเส้นขอบฟ้า
d คือ ระยะทาง หน่วยเป็นกิโลเมตร
h คือ ความสูงเป็นเมตร

สมมุติ ชายคนหนึ่งสูง 1.7 เมตร จะมองออกไปที่ทะเลจะเห็นเส้นขอบฟ้าจะมีระยะทางเท่าใด
  • เท่ากับ 13 x 1.7 แล้วสแควรูท (กดเครื่องคิดเลขตามก็ได้) ก็จะได้เท่ากับ 4.701 กิโลเมตร 
  • เสาอากาศส่งสัญญาณโทรศัพท์สูง 30 เมตร LOS เท่ากับ 19.748 กิโลเมตร
  • เสาอากาศส่งสัญญาณโทรศัพท์อยู่บนยอดตึก 60 ชั้น(ชั้นละ 3 เมตร) หรือบนเนินเขา LOS เท่ากับ 48.373 กิโลเมตร




ถ้าดูตามกฏ Line of sight ถ้าเสาส่งสัญญาณอยู่สูง สัญญาญโทรศัพท์จะมีโอกาศเดินทางไปได้ไกลในทะเลอาจได้ถึง 50 กิโลเมตร แต่จากการใช้งานจริง เรือห่างฝั่ง 15-20 Km.จากเสาส่งสัญญาณก็ยังพอใช้งานได้ โดยไม่ได้ใช้เสาอากาศภายนอก การที่ไม่สามารถใช้ได้ไกลกว่านี้มาก น่าจะเป็นข้อจำกัดจากกำลังส่งในเครื่องโทรศัพท์เอง หรือเสาอากาศในเครื่องโทรศัพท์ไม่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะใช้ในงาน Outdoor ระยะไกล (กำลังส่งจากเสาส่งสัญญาณแรงกว่ากำลังส่งจากเครื่องโทรศัพท์ ทำให้โทรศัพท์เองต่างหากที่ส่งสัญญาณไม่ถึงเสาส่งสัญญาณ) ยกเว้นบนเรือจะมีระบบ Repeater เพิ่มกำลังส่งกับเสาอากาศภายนอกแบบ Outdoor น่าจะใช้ได้ไกลอีกเป็นเท่าตัว (อยู่ระหว่างทดสอบ D.I.Y น่าจะได้สัก 40-50 Km.เพราะใช้เสาอากาศพวก yaki)

   เกาะในประเทศไทยทั้งหมด เกาะที่อยู่ไกลห่างฝั่งมากที่สุด อยู่ที่ประมาณ 65 กิโลเมตร เกาะไกลๆ เหล่านี้มีเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ด้วย เช่น หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะอ่างทอง เกาะเต่า/เกาะนางยวน เกาะอาดัง-ราวี (เกาะกูดไม่ถือว่าเป็นเกาะที่ไกลจากฝั่งเพราะห่างจากอำเภอคลองใหญ่ จ.ตราด ประมาณ 30 กิโลเมตร) นั่นหมายถึงว่าหากเรือเรามีระบบรับส่งสัญญาณที่มีประสิทธภาพสูง เราสามารถวิ่งออกจากฝั่งไปไกลได้อีกเป็นร้อยกิโลเมตรจากฝั่ง โดยใช้สัญญาณจากเกาะที่มีเสาสัญญาณโทรศัพท์ ที่มีทั้งสัญญาณโทรศัพท์และสัญญาณอินเตอร์เน็ต

   ถ้าดูจาก Coverrage ของผู้ให้บริการโทรศัพท์ เคลมไว้ประมาณ 5-15 Km จากฝั่ง ส่วนในเกาะสำคัญจะใช้ได้เกือบทุกเกาะ เช่น เกาะสิมิลัน เกาะสุรินทร์ เกาะเต่า เกาะสมุย เกาะพีพี เกาะยาว เกาะพงัน เกาะล้าน เกาะสีชัง เกาะเสม็ด เกาะช้าง เกาะกูด เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง ฯลฯ


พื้นที่ให้บริการ DTAC





พื้นที่ให้บริการ AIS




พื้นที่ให้บริการ Truemove



ก็คงพอรู้ข้อจำกัดกันแล้วนะครับ ปรกติระบบ Tracking จะต้องเสียค่าบริการรายเดือน รายปี แต่นี่เป็น Free Marine Online Tracking System มันคงต้องมีข้อจำกัดกันบ้าง


ก่อนเข้าใช้งานอ่านวิธีใช้ให้จบก่อนนะครับ

ระบบนี้จะสามารถทำงานได้จากหน้าเวปเลย เข้าใช้งาน ระบบการสัญจรและพิกัดของเรือ

การใช้งานให้กระทำผ่าน Tablet หรือ Smartphone สำหรับ iPad ให้ทำการติดตั้ง Google Chrome ก่อนนะครับเพราะเรายังคงใช้ engine แผนที่เจ้าโลกของ Google Map




เลือกเข้าใช้งาน ระบบ จริงๆ จากหน้านี้ก็ใช้ได้แล้วครับ ที่ต้องเลือกกดที่ปุ่ม ระบบสัญจรทางเรือ เพราะจะได้ตัดเมนูอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป



เลื่อนลงด้านล่าง แล้วกดปุ่ม ระบบการสัญจรและพิกัดของเรือ AIS


ก็จะเข้าหน้าพร้อมใช้แล้วครับ เครื่องจะถามว่า ต้องการใช้พิกัดของเครื่อง ตอบ ตกลง

ให้กรอก username กับ password

การตั้ง username ให้ตั้งให้ตรงกับชื่อที่เราใช้ประจำ เพื่อเพื่อนๆ จะได้จำได้นะครับ พอกรอกแล้วระบบจะจำชื่อนี้ตลอด ชื่อนี้ก็จะสมัครซ้ำใหม่ไม่ได้ครับ และก็จะผูกติดกับเครื่องที่สมัครด้วยครับ เครื่องจะจำ Username นี้ไว้ ถ้าเราจะใช้ประจำกับเครื่องไหนก็ใช้เครื่องนั้นสมัครครับ

ส่วน password ควรจะเป็นรหัสผ่านที่เราใช้ประจำ หรือรหัสที่จำง่ายๆ และเราไม่ลืม เพราะมันไม่มีระบบ recover password ครับ

username กับ password ต้องจำให้ได้นะครับ จำไม่ได้ต้องตั้ง username ใหม่ ชื่อเดิมจะไม่สามารถใช้ซ้ำได้ครับ

พอกรอกครบถ้วน กดปุ่ม Sign up จบการสมัครก็ใช้ได้เลย
ครั้งต่อไปเวลาใช้ ก็ใส่ username กับ password แล้วกดปุ่ม Sign in ก็พร้อมใช้แล้วครับ



รอสักพักก็จะมีแผนที่ขึ้นพร้อมพิกัดตัวเอง

ทดสอบจาก iPad

ระบบ มือถือ Andriod
ทดสอบจาก Samsung mobile
ตอนนี้แต่ละคนก็จะเห็นพิกัดตัวเองบนแผนที่
ให้ลองเชิญเพื่อนเข้ามาใช้แผนที่เดียวกัน



เพื่อนที่ถูกเชิญต้องกดยอมรับ ด้วยครับปุ่มจะอยู่ด้านล่างสุด พอกดปุ่มยอมรับ Accept แล้ว ก็จะปรากฏพิกัดของทั้งคู่ครับ


ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนก็จะเห็นกันตลอด จะมีเรือกี่ลำในทริปก็จะเห็นว่าเรือแต่และลำอยู่ตรงไหน


จะเห็นว่าการหาที่ ในทะเลไม่ยาก และก็หาเพื่อนหลายๆ สิบลำในทะเลก็ไม่ยาก คงพอจะใช้งานกันได้แล้วนะครับ



วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การสือสารด้วยมือ ภาษากาย สำหรับการเล่นเรือ

การสื่อสารด้วยมือ ภาษากาย สำหรับการเล่นเรือ

    สำหรับการเดินทางทางเรือ แบบเป็นกลุ่ม ขณะเรือวิ่ง จากการเคยทำทริปหลายๆ ครั้ง การสือสารหลายอย่าง จะใช้ไม่ได้ผล เช่น โทรศัพท์ วิทยุสือสาร การพูด เนื่องจากจะต้องมีอะไรต้องทำหลายอย่าง และสภาพแวดล้อมจะไม่ค่อยเอื้ออำนวย

ขนาดเรือที่เหมาะใช้ในทะเล คือ เรือตั้งแต่ 16 ฟุตขึ้นไป
   ส่วนใหญ่ขนาดเรือที่เหมาะใช้ในทะเล สำหรับใช้ในกิจกรรม Weekend คือ ขนาด 16 ฟุต ถึง 21 ฟุต ขนาดเรือช่วงนี้จะเป็นขนาดที่ วิ่งในทะเลใด้ดี และค่าใช้จ่ายสำหรับการออกทริปไม่สูงเกินไป ส่วนใหญ่ถังน้ำมันใต้ท้องเรือจะมีขนาด 60-150 ลิตร ตามขนาดเรือ และต้องมีถังน้ำมันสำรองกรณีฉุกเฉินอีก เรือยิ่งใหญ่ น้ำหนักมาก จะกินน้ำมันเยอะ คนที่เล่นเรือตกปลาส่วนใหญ่จะไม่ใช้เรือลำใหญ่มาก เพราะจะไม่ค่อยคุ้มค่าใช้จ่ายในการออกทริป

ถ้าดูจากตำแหน่งจุดที่กัปตันขับเรือในเรือดังรูปข้างบน จะสังเกตุว่าจุดขับเรือเป็นระบบเปิด เหมือนขับรถเปิดประทุน เปิดหลังคา เปิดกระจก เราจะได้สัมผัสลม สัมผัสคลื่น และเสียงเครื่องยนต์อย่างเต็มที ผมว่านี่แหละเป็นเสน่ห์ของการเล่นเรือ ได้รู้สัมผัสแรง G อย่างเต็มๆ เวลาเรือวิ่งเสียงที่ดังที่สุด คือ เสียงลม รองลงมาก็เสียงเครื่องยนต์ (เนื่องจากเรือทรงแบบนี้จะไม่มีห้องเคบินเป็นระบบปิดเก็บเสียงได้แบบรถยนต์)

เวลาเรือวิ่งโทรศัพท์กับวิทยุสื่อสาร ฟังไม่ค่อยรู้เรื่องจริงๆ ยกเว้นเดินเบา หรือจอด (สมมุติ เวลาขี่มอเตอร์ไซค์ วิ่ง 50km/h คุยโทรศัพท์ไม่รู้เรื่องแล้ว มีแต่เสียงลม)

จากการทำทริปเรือ มีวิธีการสือสาร ที่ได้ผล คือ

  • ภาษากาย ภาษามือ
  • ใช้ส่งฝากข้อความ Message หรือ Emotion
  • ใช้เทคโนโลยี่ Tracking ระบบ AIS Marine System

ลองมาดูวิธีการสือสารด้วยมือ และภาษากายกัน

กรณีออกเรือกันเป็นกลุ่ม

  • ควรใช้ความเร็วไกล้เคียงกัน
  • ให้ขับเรือโดยให้เห็นกันได้ในสายตา
  • กรณีต้องการจอดทำธุระส่วนตัว ให้ส่งสัญญาณบอกให้เพื่อนไปก่อน
  • เวลาวิ่งเป็นกลุ่มอย่าจอดเรือ เพราะหากมีลำใดจอด แสดงว่าลำนั้นอาจมีปัญหา เพื่อนๆ จะหยุดรอ หรือเข้าไปหาเพื่อช่วยเหลือ



เหวี่ยงมือไปข้างหน้า

  • เชิญขึ้นหน้าไปก่อน
  • แซงนำไปเลย
  • นำเลยครับ





ยกมือขึ้นค้างไว้แบมือ

  • หยุดก่อน ช้าก่อน

ยกมือโบกไปข้างหน้าช้าๆ
  • ขับแบบช้าๆ โปรดระวัง

ยกมือโบกซ้ายขวา

  • ทักทาย สบายดีนะ



ชี้นิ้วไปในทิศที่ต้องการ

  • ไปทางนี้ครับ
  • ไปทางขวา ไปทางซ้าย ไปข้างหน้า





 ชี้ลงน้ำตรงจุดใต้น้ำแล้วหมุนมือ

  • มีหินใต้น้ำ
  • มีตอใต้น้ำ
  • มีบางอย่างใต้น้ำ
  • ระวังบางสิ่งใต้น้ำ


แขนกางออกแล้วแล้วโบกลงแนวดิ่ง

  • ลดความเร็วลงหน่อย
  • ขับช้าลงหน่อย







แขนกางออกแล้วโบกขึ้นแนวดิ่ง


  • เพิ่มความเร็วหน่อย
  • ขับเร็วขึ้นอีกหน่อย






ชี้นิ้วที่เครื่องยนต์แล้วหมุนวน
  • เครื่องยนต์มีปัญหา

ชี้นิ้วที่กลางท้องเรือแล้วหมุนวน
  • น้ำมันหมด





กำมือชูขึ้น

  • หยุดกรณีฉุกเฉิน






ขอความช่วยเหลือ


  • กำมือชูขึ้นแล้วหมุน หรือถ้าต้องการให้เด่นชัดยิ่งขึ้นให้ใช้ผ้าจับหมุนแกว่ง อาจส่งเสียง หรือให้สัญญาญอื่นๆ ประกอบเพื่อให้รู้ว่าฉุกเฉินจริงๆ








"คุณยังโอเค อยู่มั้ย"








สัญญาณมือสำหรับการเล่นสกี


สัญญาณมือ สำหรับการดำน้ำ


ในบางสถานะการณ์ การพูดจะไม่สามารถสือสารได้อย่างได้ผล แต่สามารถใช้ประสาท และการสือสารในรูปแบบอื่นๆได้ หลายอย่างบนโลกมันไม่ได้เป็นเหมือนอย่างที่เราคิด เช่น

  • มนุษย์จะจดจำเส้นทางด้วยการมองเห็น 
  • สุนัขมีตาเหมือนมนุษย์ กลับใช้วิธีจดจำด้วยการดมกลิ่น สายตาใช้มองในที่แสงน้อยๆ กับใช้ล่าเหยือ 
  • นกพิราบ สมัยก่อนใช้สำหรับส่งข่าวสารยามสงคราม จดจำกระแสลม จำทิศดวงอาทิตย์ ระบบจดจำพิเศษที่สามารถกลับบ้านได้ แม้ว่าจะไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหน
  • ปลาจดจำเส้นทางด้วยกลิ่น กระแสน้ำไหล กระแสคลื่น


วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เรื่องของเมฆ ...สวรรค์บนชั้นฟ้า กับการพยากรณ์ด้วยตาเปล่า

เรื่องของเมฆ กับการพยากรณ์ด้วยตาเปล่า

การดูเมฆ ทำให้เรารู้ว่า
  • มีไอน้ำในอากาศมากน้อยแค่ไหน
  • รู้ทิศทางลม กับความเร็วลม โดยดูจากการเคลื่อนที่ของเมฆ
  • รู้กว่าอีกสักพัก ไม่นานจะมีฝนตก หรือกำลังจะมีพายุ หรือถ้าฝนตกจะตกนานมั้ย
  • รู้ว่าวันนี้อากาศจะดีมั้ยหนอ


ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจเมฆก่อน เมฆซึ่งเกิดขึ้นในธรรมชาติมี 2 รูปร่างลักษณะคือ เมฆก้อน และเมฆแผ่น


เมฆก้อน หรือ Cumulus Clouds
เมฆแผ่น หรือ Stratus Clouds

เราเรียกเมฆก้อนว่า “เมฆคิวมูลัส” (Cumulus) และเรียกเมฆแผ่นว่า “เมฆสเตรตัส” (Stratus)
หากเมฆก้อนลอยชิดติดกัน เรานำชื่อทั้งสองมารวมกัน และเรียกว่า “เมฆสเตรโตคิวมูลัส” (Stratocumulus) 


ในกรณีที่เป็นเมฆฝน เราจะเพิ่มคำว่า “นิมโบ” หรือ “นิมบัส”  (Nimbus) ซึ่งแปลว่า “ฝน” เข้าไป
เช่น เราเรียกเมฆก้อนที่มีฝนตกว่า “เมฆคิวมูโลนิมบัส” (Cumulonimbus)
และเรียกเมฆแผ่นที่มีฝนตกว่า “เมฆนิมโบสเตรตัส” (Nimbostratus)


คิวมูลัส/คิวมูโล  (Cumulus/Cumulo) = ก้อน หรือทับถมกันเป็นกอง
สเตรตัส/สเตรโต (Stratus/Strato) = แผ่น หรือ ลักษณะเป็นชั้นๆ

อัลโต (Alto) = กลาง
เซอโร/เชอรัส (Cirro) = สูง

นิมโบ/นิมบัส (Nimbo/Nimbus) = ฝน

พอรู้รากศัพท์แล้ว ก็น่าจะนำไปใช้ได้ไม่ยากเพราะจะเอาคำต่างๆมาผสมกันเป็นชื่อเมฆแบบต่างๆ ถ้าจะไม่ให้งงกับชื่อเมฆ ให้จำรากศัพท์ด้านบนเป็นเกณฑ์นะครับ...



เมฆคิวมูโลนิมบัส Cumulonimbus clouds
เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ก็คือ คิวมูโล (ก้อน) + นิมบัส (ฝน) แสดงว่าเป็นเมฆฝนที่เป็นก้อน ซึ่งจะทำให้เกิดฝนตกหนัก

เมฆนิมโบสเตรตัส Nimbostratus clouds
นิมโบสเตรตัส (Nimbostratus) ก็คือ นิมโบ (ฝน) + สเตรตัส (แผ่น) แสดงว่าเป็นเมฆฝนที่เป็นแผ่นๆ ซึ่งหากมีฝนตกก็คงไม่แรงเท่าไร เพราะเป็นแบบแผ่นๆ ไม่ใช่แบบเป็นก้อน


เมฆเซอโรสเตรตัส Cirrostratus clouds
เมฆเซอโรสเตรตัส (Cirrostratus) ก็คือ เซอโร (สูง) + สเตรตัส(แผ่น) แสดงว่าเป็นแผ่นเมฆที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งเมฆที่อยู่สูงๆ

เพื่อให้จำง่ายในมาในรูปแบบบทกลอน

เมฆเป็นก้อน เขาเรียก คิวมูลัส               สเตรตัส เป็นแผ่น ชั้นไสๆ
เมฆเซอรัส คล้ายขนสัตว์ ริ้วพิมพ์ใจ      ทรงกลดไซร์ เมฆเซอโร สเตรตัส
ฝนตกหนัก พายุ ฟ้าคะนอง                    ขอบอกน้อง คิวมูโล นิมบัส
ฝนพรำๆ ฉ่ำทั่ว แต่ไม่หนัก                     เมฆนิมโบ สเตรตัส ชัดเจนเอย...


แบ่งเมฆตามระดับความสูง

             เมฆยังอาจแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามระดับความสูงของเมฆ โดยระดับความสูงของเมฆนี้จะวัดจากฐานของก้อนเมฆ ไม่ได้วัดจากยอด โดย Luke Howard เป็นผู้นำเสนอวิธีการแบ่งกลุ่มแบบนี้ แก่ Askesian Society ในปี ค.ศ. 1802


             ซึ่ง การแบ่งตามระดับความสูงจะใช้ในการตรวจและแบ่งชนิดของเมฆทางอุตุนิยมวิทยา สำหรับเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อผลทางการวิเคราะห์สภาพลมฟ้าอากาศในการ พยากรณ์ โดยใช้ความสูงของฐานเมฆเป็นหลักในการแบ่งชนิด ซึ่งลักษณะของเมฆแต่ละชนิดนั้นสามารถที่จะบอกให้ทราบถึงแนวโน้มลักษณะของ สภาวะอากาศที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ เช่น ถ้าในท้องฟ้ามีเมฆก่อตัวในทางแนวตั้งแสดงว่าอากาศกำลังลอยตัวขึ้น หมายถึง สภาวะของอากาศก่อนที่จะเกิดลมพายุ

             หรือถ้าเมฆในท้องฟ้าแผ่ตามแนวนอนเป็นชั้นๆ หมายถึง สภาวะอากาศที่สงบและจะมีกระแสลมทางแนวตั้งเล็กน้อย หรือถ้าเมฆในท้องฟ้าก่อตัวทางแนวตั้งสูงใหญ่ จะหมายถึงลักษณะของเมฆพายุฟ้าคะนอง ที่เรียกว่า เมฆคิวมูโลนิมบัส ฝนจะตกหนักและมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง บางครั้งอาจมีฟ้าผ่าลงมายังพื้นดินด้วย ซึ่งเมฆพายุฟ้าคะนองนี้เป็นอันตรายเพราะจะมีลมกรรโชกแรง คลื่นแปรปรวน





1. เมฆชั้นต่ำ (Low Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับต่ำกว่า 2 กิโลเมตร 

เมฆสเตรตัส (Stratus) 
เมฆสเตรตัส (Status Clouds)
เมฆแผ่นบาง ลอยสูงเหนือพื้นไม่มากนัก มีลักษณะเป็นแผ่นหนาๆ สม่ำเสมอในชั้นต่ำของบรรยากาศ ใกล้ผิวโลกเหมือนหมอก มีสีเทา มองไม่เห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ไม่ทำให้เกิดวงแสง (Halo) เว้นแต่เมื่อมีอุณหภูมิต่ำมากก็อาจเกิดได้ ลอยปกคลุมยอดเขามักเกิดขึ้นตอนเช้า หรือหลังฝนตก บางครั้งลอยต่ำปกคลุมพื้นดิน เราเรียกว่า “หมอก” 


เมฆสเตรโตคิวมูลัส (Stratocumulus หรือมาจาก Strato + Cumulus) 
เมฆสเตรโตรคิวมูลัส (Stratocumulus)
เมฆก้อน ลอยติดกันเป็นแพ ลักษณะอ่อนนุ่ม ไม่มีรูปทรงที่ชัดเจน เป็นก้อนกลมเรียงติดๆ กัน ทั้งทางแนวตั้งและทางแนวนอนมีช่องว่างระหว่างก้อนเพียงเล็กน้อย ทำให้มองเห็นเป็นลอนเชื่อมติดต่อกันไป  มักเกิดขึ้นเวลาที่อากาศไม่ดี และมีสีเทา เนื่องจากลอยอยู่ในเงาของเมฆชั้นบน


เมฆนิมโบสเตรตัส (Nimbostratus หรือมาจาก Nimbo + Stratus) 
เมฆนิมโบสเตรตัส (Nimbostratus)
มีลักษณะเป็นแผ่นหนาสีเทาดำ เป็นแนวยาวติดต่อกันแผ่กว้างออกไป เกิดขึ้นเวลาที่อากาศมีเสถียรภาพ ทำให้เกิดฝนพรำๆ หรือฝนตกแดดออก ไม่มีพายุฝนฟ้าคะนอง  เมฆชนิดนี้จะไม่มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่ามักปรากฏให้เห็นสายฝนตกลงมาจากฐานเมฆ เป็นเมฆที่ทำให้เกิดฝนตก จึงเรียกกันว่า เมฆฝน เกิดเฉพาะในเขตอบอุ่นเท่านั้น



2. เมฆชั้นกลาง (Middle Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับสูง 2 - 6 กิโลเมตร 

เมฆอัลโตคิวมูลัส (Altocumulus หรือมาจาก Alto + Cumulus) 
เมฆอัลโตคิวมูลัส (Altocumulus)
มีลักษณะอยู่เป็นกลุ่มๆ คล้ายฝูงแกะ มีสีขาว บางครั้งสีเทา มีการจัดตัวเป็นแถวๆ หรือเป็นคลื่น เป็นชั้นๆ มีเงาเมฆ มีลักษณะเป็นเกล็ดเป็นก้อนม้วนตัว (roll) อาจมี 2 ชั้น หรือมากกว่านั้น อาจมีแสงทรงกลด (Corona)


เมฆอัลโตสเตรตัส (Altostratus หรือมาจาก Alto + Status) 
เมฆอัลโตสเตรตัส (Altostratus Clouds)
มีลักษณะเป็นแผ่นหนา บางสม่ำเสมอในชั้นกลางของบรรยากาศ มองดูเรียบเป็นปุยหรือฝอยละเอียดแผ่ออกเป็นพืด ปกคลุมเต็มท้องฟ้า มีสีเทาหรือน้ำเงินอ่อน และอาจมีบางส่วนที่บางจนแสงอาทิตย์จะส่องผ่านลงมายังพื้นดินได้บ้าง อาจมีแสงทรงกลด (Corona) เกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้างมาก หรือปกคลุมท้องฟ้าทั้งหมด 


3. เมฆชั้นสูง (High Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับสูงมากกว่า 6 กิโลเมตร 

เมฆเซอโรคิวมูลัส (Cirrocumulus หรือมาจาก Cirro + Cumulus) 
เมฆเซอโรคูมูลัส (Cirrocumulus)
เมฆสีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง มีลักษณะเป็นริ้วคลื่นเล็กๆ เป็นเกล็ดบางๆ สีขาว บางตอนอาจแยกจากกันแต่จะอยู่เรียงรายกันอย่างมีระเบียบ โปร่งแสง อาจมองเห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ได้ มักเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าบริเวณกว้าง 


เมฆเซอโรสเตรตัส (Cirrostratus หรือมาจาก Cirro + Stratus) 
เมฆเซอโรสเตรตัส (Cirrostratus)
เมฆแผ่นบาง สีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง ปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง โปร่งแสง 
บางครั้งหักเหแสง ทำให้เกิดดวงอาทิตย์ทรงกลด และดวงจันทร์ทรงกลด เป็นรูปวงกลม สีคล้ายรุ้ง 


เมฆเซอรัส (Cirrus Clouds)
เมฆเซอรัส

เมฆริ้ว สีขาว รูปร่างคล้ายขนนก เป็นผลึกน้ำแข็ง มักเกิดขึ้นในวันที่มีอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม 


4. เมฆก่อตัวในแนวตั้ง (Clouds of Vertical Development) 

เมฆคิวมูลัส (Cumulus)
เมฆคิวมูลัส (Cumulus Clouds)
เมฆก้อนปุกปุย สีขาวเป็นรูปกะหล่ำ ก่อตัวในแนวตั้ง เกิดขึ้นจากอากาศไม่มีเสถียรภาพ
ฐานเมฆเป็นสีเทาเนื่องจากมีความหนามากพอที่จะบดบังแสง จนทำให้เกิดเงา
มักปรากฏให้เห็นเวลาอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม


เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)
เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)
เมฆก่อตัวในแนวตั้ง พัฒนามาจากเมฆคิวมูลัส มีขนาดใหญ่มากปกคลุมพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด
ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง หากกระแสลมชั้นบนพัดแรง ก็จะทำให้ยอดเมฆรูปกะหล่ำ กลายเป็นรูปทั่งตีเหล็ก ต่อยอดออกมาเป็น เมฆเซอโรสเตรตัส หรือเมฆเซอรัส




ข้อสังเกตุ

  • ช่วงกลางคืนสามารถสังเกตเมฆก่อตัวในแนวตั้งได้ด้วยการดูฟ้าแลบในกลุ่มก้อนเมฆ ถ้าฟ้าแลบในแนวตั้งมากกว่าแนวนอนแสดงว่า กลุ่มเมฆฝนกำลังเคลื่อนตัวเข้ามาหาเรา แต่ถ้าฟ้าแลบ ในแนวนอน มากกว่าแนวตั้งแสดงถึงกลุ่มเมฆฝนเหล่านั้นกำลังเคลื่อนตัวไปจากพื้นที่ซึ่งเรายืนอยู่
  • การก่อตัวของเมฆในแนวตั้งจะใช้เวลาไม่เกิน 2-3 ชั่วโมง หากเราเห็นการก่อตัวของเมฆเหล่านี้ควรเตรียมตัวเก็บข้าวของที่อยู่บนเรือ หรือหากไม่ออกเรือไปไหนควรเตรียมหาที่จอดเรือที่ดี หรือมีที่กำบัง เพราะเมื่อเกิดฝนจะมีฟ้าผ่า และมีลมกรรโชก
  • ถ้าเกิดฟ้าผ่าควรอยู่ในที่กำบัง เช่น อาคาร ไม่ควรอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ซึ่งจะเป็นจุดเสี่ยงที่ฟ้าจะผ่า และควรถอดเครื่องประดับที่เป็นสื่อนำ เช่น แหวน สร้อย ทองแดง ออกจากร่างกาย  และปิดมือถืองดการใช้วิทยุสื่อสาร
  • หากเมฆสูงเป็นริ้วเหมือนหางม้าแสดงว่า อากาศวันนั้นดี แต่ถ้าท้องฟ้าเหลือง- แดง ลมสงบให้เตรียมตัวเพราะไม่นานจะมีพายุฝนเกิดขึ้น

ปัจจัยทำให้เกิดฝนที่ไม่สามารถสังเกตด้วยตาเปล่า
  1. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นำความร้อนจากคาบสมุทรอินเดียมาไทย ส่วนใหญ่ตกในภาคใต้และภาคตะวันออก จะตกในช่วงบ่ายและค่ำ มีโอกาสที่จะก่อตัว เป็นเมฆในแนวตั้ง 
  2. ร่องมรสุม เกิดจากกระแสลม  ฝั่งเหนือและใต้พัดเข้าหากัน จนมีการยกตัวของอากาศ   ทำให้ฝนตกทั้งวันทั้งคืน แต่ ไม่มีลมแรง ถ้าเป็นมรสุมแรงจะเกิดฟ้าผ่าได้
  3. พายุหมุนเขตร้อน เกิดจากพายุไต้ฝุ่น-ดีเปรสชัน-ไซโคลน ทำให้ฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้างหลายจังหวัด ซึ่งถ้ามีการประสานของสองพายุจะทำให้มีความแรงขึ้น
 สีของเมฆ
   สีของเมฆนั้นบ่งบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเมฆ ซึ่งเมฆเกิดจากไอน้ำลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง เย็นตัวลง และควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก ละอองน้ำเหล่านี้มีความหนาแน่นสูง แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องทะลุผ่านไปได้ไกลภายในกลุ่มละอองน้ำนี้ จึงเกิดการสะท้อนของแสงทำให้เราเห็นเป็นก้อนเมฆสีขาว ในขณะที่ก้อนเมฆกลั่นตัวหนาแน่นขึ้น และเมื่อละอองน้ำเกิดการรวมตัวขนาดใหญ่ขึ้นจนในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ในระหว่างกระบวนการนี้ละอองน้ำในก้อนเมฆซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีช่องว่าง ระหว่างหยดน้ำมากขึ้น ทำให้แสงสามารถส่องทะลุผ่านไปได้มากขึ้น ซึ่งถ้าก้อนเมฆนั้นมีขนาดใหญ่พอ และช่องว่างระหว่างหยดน้ำนั้นมากพอ แสงที่ผ่านเข้าไปก็จะถูกซึมซับไปในก้อนเมฆและสะท้อนกลับออกมาน้อยมาก ซึ่งการซึมซับและการสะท้อนของแสงนี้ส่งผลให้เราเห็นเมฆตั้งแต่ สีขาว สีเทา ไปจนถึง สีดำ

โดยสีของเมฆนั้นสามารถใช้ในการบอกสภาพอากาศได้

  • เมฆสีเขียวจางๆ นั้น เกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์เมื่อตกกระทบน้ำแข็ง เมฆคิวมูโลนิมบัส ที่มีสีเขียวนั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของ พายุฝน พายุลูกเห็บ ลมที่รุนแรง หรือ พายุทอร์นาโด
  • เมฆสีเหลือง ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดไฟป่าได้ง่าย โดยสีเหลืองนั้นเกิดจากฝุ่นควันในอากาศ
  • เมฆสีแดง สีส้ม หรือ สีชมพู นั้นโดยปกติเกิดในช่วง พระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก โดยเกิดจากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ ไม่ได้เกิดจากเมฆโดยตรง เมฆเพียงเป็นตัวสะท้อนแสงนี้เท่านั้น แต่ในกรณีที่มีพายุฝนขนาดใหญ่ในช่วงเดียวกันจะทำให้เห็นเมฆเป็นสีแดงเข้ม เหมือนสีเลือด


การดูเมฆเป็นการพยากรณ์อย่างง่าย ๆ ซึ่งนักเล่นเรือควรสนใจ เพราะใช้เพียงการสังเกตและดูปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบๆตัวเราอย่างเข้าใจ การเดินทางทางน้ำ โดยเฉพาะทางทะเล มีข้อให้คำนึงมากกว่าการเดินทางด้วยวิธีอื่น สิ่งสำคัญคือ ธรรมชาติมีการบอกเตือนเราล่วงหน้าก่อนเสมอ  ด้วยวิธีการแบบธรรมชาติ เพียงแต่เราจะมีความรู้สึก รับสัมผัส สังเกตุเห็น และเรียนรู้มากพอที่จะเข้าใจธรรมชาติหรือเปล่า ...