ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Tide Table Thailand 2019 / ตารางน้ำรายชั่วโมง 2562

ตารางน้ำรายชั่วโมง 2019 (2562)
Support smartphone version

แบ่งต่ามพื้นที่ คลิกเลือกจุดที่ต้องการ ตารางน้ำรายชั่วโมงในแผนที่

จุดประสงค์ การพัฒนาระบบข้อมูลตารางน้ำรายชั่วโมง (Water Tide Table)

   เพื่อพัฒนาเครื่องมือที่เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการเดินเรือ ให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเลกทรอนิกส์  เพื่อการศึกษาและวิจัย โดยการเข้าถึงข้อมูล ได้จากทุกที่ ทุก Platform ทุก OS โดยใช้งานผ่านระบบ Web Browser  และสามารถใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ตได้ทุกระบบ โดยปัจจุบันอาศัยข้อมูลฐานจาก Water Tide Table จากกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ประเทศไทย

  เนื่องจากในปัจจุบัน ฐานข้อมูลที่อยู่ในรูปตารางน้ำรายชั่วโมง ยังอยู่ในรูปแบบที่ใช้สำหรับ การจำหน่ายโดย กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ

  เพื่อมิให้ขัด และ มีผลต่อการจัดจำหน่าย ตารางน้ำรายชั่วโมง หรือ มาตราน้ำ จึงจำเป็นต้องมีการเข้ารหัสผ่าน โดยมีการจำกัดการเข้าถึง ในรูปแบบ Shareware โดยการแบ่งปันทดลองใช้ในวงที่จำกัด อาจมีข้อที่ไม่สะดวกบ้าง ต้องขออภัยมา ณ ที่นี

บทความที่เกี่ยวข้อง :



หมายเหตุ กรณีใช้ Smartphone ที่จอเล็กๆ ให้คลิกเลือกปุ่มด้านบน แล้วทำการซูมเยอะๆ ก็จะคลิกสถานีน้ำได้

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เกาะจังหวัดภูเก็ต (Islands in Phuket)

เกาะจังหวัดภูเก็ต (Islands in Phuket)


ภูเก็ต คือ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภาคใต้ ทั้งฝั่งอันดามันตอนบน และฝั่งอันดามันตอนใต้ เป็นจังหวัดที่มีลักษณะเป็นเกาะ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยมีขนาดพื้นที่ของจังหวัดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศ เป็นเกาะที่ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และมีจำนวนมารีน่า มากที่สุดในประเทศ

 




เกาะในจังหวัดภูเก็ต มี 37 เกาะ
  • เกาะแวว
  • เกาะกะลา (ต.เชิงทะเล)
  • เกาะยามู
  • เกาะเฮ (ต.ป่าคลอก)
  • เกาะทะนาน (ต.ป่าคลอก)
  • เกาะแพ
  • เกาะปายู
  • เกาะงำ
  • เกาะนาคาน้อย
  • เกาะแรด
  • เกาะนาคาใหญ่
  • เกาะละวะน้อย
  • เกาะนก
  • เกาะกะลา (ต.ไม้ขาว)
  • เกาะปู
  • เกาะมะพร้าวน้อย
  • เกาะรังน้อย
  • เกาะรังใหญ่
  • เกาะมะพร้าว
  • เกาะมาลี
  • เกาะสิเหร่
  • เกาะทะนาน (ต.ราไวย์)
  • เกาะมัน
  • เกาะแก้วน้อย
  • เกาะแก้วใหญ่
  • เกาะบอน
  • เกาะแอว
  • เกาะราชาน้อย
  • เกาะเฮ (ต.ราไวย์)
  • เกาะราชาน้อย
  • เกาะโหลน
  • เกาะราชาใหญ่
  • เกาะกุย
  • เกาะตะเภาน้อย
  • เกาะไม้ท่อน
  • เกาะภูเก็ต






แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดภูเก็ต ในแผนที่ GPS




จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต (ถลาง)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต




ข้อมูลอ้างอิง
  • วิกิพิเดีย
  • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เกาะในจังหวัดสตูล (Islands in Satun)

เกาะในจังหวัดสตูล (Islands in Satun)


จากนรกตะรุเตาคุกสุดโหด มาเป็นสวรรค์ของคนรักทะเลและธรรมชาติ

คำว่า "ตะรุเตา" เป็นภาษามลายู เพี้ยนมาจากคำว่า ตือโละตาวาร์ (Teluk Tawar) แปลว่า "อ่าวจืด" หรือ "อ่าวน้ำจืด" เพราะบนเกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่เดียวที่มีธารน้ำจืดอยู่ด้วย 




Video from Getting Stamped ในแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบธรรมชาติ แบบสุดๆ หรือตามเกาะห่างไกลต้องยอมรับกันว่า ต่างชาติจะรู้มากจริงๆ เพราะเวลาเขามาเที่ยวเมืองไทย หลายๆคนมาแบบนักเดินทาง บางคนมาอยู่นานหลายเดือน จะหาคนไทยยากมากที่จะมาท่องเที่ยวแล้วฝังตัวเองในแหล่งท่องเที่ยวได้ 2-3 เดือนแบบต่างชาติ ถ้าทำแบบนั้นได้จะรู้หมดทุกตรอกซอกซอย ทรายกี่เม็ดหินกี่ก้อน หรือมาเที่ยวกันเป็นฤดูแบบ Long weekend อยู่แบบบ้าน จัดยาวเข้ากับคนท้องถิ่นเนียนเลย



เกาะในจังหวัดสตูล มี 106 เกาะ
  • เกาะปอย
  • เกาะสะปัน
  • เกาะบูบู
  • เกาะอุเสน
  • เกาะบงกัง
  • เกาะปละปลัง
  • เกาะหินใบ
  • เกาะหินรู
  • เกาะลอกอ
  • เกาะจะบัง
  • เกาะลันจา
  • เกาะเล็ก
  • เกาะบัน
  • เกาะตูนัน
  • เกาะบุทราด
  • เกาะตุกุนโต๊ะโพ
  • เกาะกา
  • เกาะราบา
  • เกาะกละ
  • เกาะซารัง
  • เกาะปะลัย
  • เกาะตะรัง
  • เกาะซามวง
  • เกาะซาไก
  • เกาะลอกวย
  • เกาะใหญ่
  • เกาะแดงน้อย
  • เกาะมดแดง
  • เกาะบุโร
  • เกาะหอขาว
  • เกาะแดง
  • เกาะบุโร (2)
  • เกาะสิงหะ
  • เกาะตารัง
  • เกาะสาหนา
  • เกาะกลัวเลาะ
  • เกาะแลน
  • เกาะเหล็ก
  • เกาะกลาง
  • เกาะลูกบีบี
  • เกาะละ
  • เกาะเปลากอ
  • เกาะโต๊ะเส้น
  • เกาะแรดน้อย
  • เกาะเปลายัน
  • เกาะกาตา
  • เกาะแลตอง
  • เกาะปาหนัน
  • เกาะบิสสี
  • เกาะหาดทรายขาว
  • เกาะคำเป้
  • เกาะชูกู
  • เกาะแรด
  • เกาะระยะโตดนุ้ย
  • เกาะแดง (2)
  • เกาะเปลาออ
  • เกาะตะงาห์
  • เกาะหลีเป๊ะ
  • เกาะระยะโตดใหญ่
  • เกาะบาตวง
  • เกาะตังหยงอุมา
  • เกาะอาดัง
  • เกาะราวี
  • เกาะตะรุเตา
  • เกาะนกเล็ก
  • เกาะนก
  • เกาะยาบัง
  • เกาะนก (2)
  • เกาะฮันตู
  • เกาะกวาง
  • เกาะตีกาเล็ก
  • เกาะพี
  • เกาะตีกากลาง
  • เกาะตีกาใหญ่
  • เกาะเกวเล็ก
  • เกาะมดแดง (2)
  • เกาะหัวมัน
  • เกาะเกวใหญ่
  • เกาะตำมะลัง
  • เกาะการ๊าฟ
  • เกาะขมิ้น
  • เกาะปรัสมานา
  • เกาะยาว
  • เกาะตุกุนแพ
  • เกาะลาละ
  • เกาะนุโล
  • เกาะไก
  • เกาะบงกัง
  • เกาะลินัน
  • เกาะจุปะ
  • เกาะตุงกู
  • เกาะหน้าบ้าน
  • เกาะละมะ
  • เกาะลูกหิน
  • เกาะบุโหลนไม้ไผ่
  • เกาะบุโหลนขี้นก
  • เกาะเขาตะโล๊ะแบนแต 
  • เกาะลินต๊ะ
  • เกาะบุโหลนใหญ่
  • เกาะเขาใหญ่
  • เกาะตามะ
  • เกาะลิดีเล็ก
  • เกาะลิดีใหญ่
  • เกาะกล้วย
  • เกาะกะเบ็ง
  • เกาะโต๊ะนายมน





แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดสตูล ในแผนที่ GPS



ปี พศ.2480 กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย ได้ทำการสำรวจ"เกาะตะรุเตา"เพื่อจัดเป็นทัณฑสถาน และประกาศ พรก.เป็นเขตหวงห้าม ใช้เฉพาะกิจการของกรมราชทัณฑ์ โดยใช้เป็นสถานกักกันและนิคมฝึกอาชีพ ให้กับนักโทษ ด้วยเห็นว่า"เกาะตะรุเตา"มีทะเลกว้างใหญ่เป็นกำแพงธรรมชาติ ยากต่อการหลบหนีของนักโทษ


บรรดาเหล่านักโทษที่ถูกส่งตัวมากักกันไว้ ณ เกาะตะรุเตาแห่งนี่ มีอยู่ 2 พวก คือนักโทษทั่วไปในคดีอุกฉกรรจ์ และนักโทษการเมือง(กบฏ) ที่มีความคิดเห็นตรงกันข้ามกับรัฐบาล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นนักโทษที่ส่งมาจาก"คุกบางขวาง"

"นักโทษทั่วไป" ถูกกักกันในบริเวณอ่าวตะโละวาว ทสงตอนเหนือ
"นักโทษการเมือง"จะถูกักกันไว้ทางตอนใต้ของเกาะ บริเวณอ่าวตะโละอุตัง

พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ส่งนักโทษการเมืองจากคดีกบฏบวรเดช (พ.ศ. 2476) และกบฏนายสิบ (พ.ศ. 2478) จำนวน 70 นาย มายังเกาะตะรุเตาซึ่งถูกกักบริเวณไว้ที่อ่าวตะโละอุดัง โดยจำนวนนักโทษทั้งหมดมีราว 4,000 คน

 ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ. 2484-2488) เกาะตะรุเตาถูกตัดขาดออกจากแผ่นดินใหญ่ เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ยา และเครื่องใช้ต่าง ๆ ต้นปี พ.ศ. 2487 ผู้คุมนักโทษได้ทำตัวเป็นโจรสลัดเข้าปล้นสะดมเรือบรรทุกสินค้าชาวไทยและต่างประเทศที่แล่นแผ่นไปมา เป็นที่หวาดหวั่นของนักเดินเรือเป็นอย่างยิ่ง จนแทบจะไม่มีเรือสินค้ากล้าล่องผ่านย่านนี้

ความเหิมเกริมของโจรสลัดแห่งตะรุเตามีมากขึ้น จนกระทั่งไปปล้นเอาเรือที่กำลังเดินทางไปติดต่อกับอังกฤษที่แหลมมลายูเข้า ร้อนถึงอังกฤษที่ปกครองมลายู จึงต้องทำหนังสือถึงทางการไทย ขออนุญาตส่งกองกำลังยกพลขึ้นบกที่เกาะตะรุเตา ปราบปรามโจรสลัดตะรุเตา จนราบคาบหมดสิ้นในวันที่ 21 มีนาคม ปี 2489 ในที่สุดทางการก็ประกาศยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา นรกตะรุเตาจึงปิดฉากลงในปี 2491



ข้อมูลอ้างอิง
  • Getting Stamped
  • วิกิพิเดีย
  • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

บทความที่เกี่ยวข้อง



วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

High Low Tide Table 2019 / 2562

High Low Tide Table 2019 / ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2562
ตารางระดับน้ำสูงสุดต่ำสุด กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ 2019 / 2562
Support smartphone version

แบ่งต่ามพื้นที่ คลิกเลือกจุดที่ต้องการ ตารางน้ำสุงสุดต่ำสุดในแผนที่


ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2019 / 2562
  • บอกระดับน้ำระดับสูงสุด-ต่ำสุด ต่อวัน การใช้งานบางอย่างต้องการรู้ว่าน้ำขึ้นเมื่อใด ลงเมื่อใด ขึ้นสูงสุดเมื่อใด ต่ำสุดเมื่อใด
  • การบอกระดับน้ำละเอียดเป็น เมตรและเซนติเมตร
  • การรู้ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด เท่ากับการรู้ต่ำแหน่งดิถีดวงจันทร์ 
  • ตารางระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด จัดทำเพื่อเป็น Backup Site เหมาะสำหรับชาวเล ชาวประมงชายฝั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เกาะในจังหวังตรัง (Islands in Trang)

เกาะในจังหวังตรัง (Islands in Trang)

กินอร่อย ตามรอยมังกร ทะเลตรังแสนงาม เมืองต้องห้ามพลาดที่มีวัฒนธรรมการกินอาหาร และอาหารเลื่องชือ แชมป์ยุทธจักรความอร่อย



เกาะในจังหวัตตรังมี 56 เกาะ
  • เกาะตูเกีย
  • เกาะนก (ต.ตะเสะ)
  • เกาะโต๊ะลาน้อย
  • เกาะโต๊ะลา
  • เกาะแลน (เล็ก)
  • เกาะกา (ต.กันตังใต้)
  • เกาะลูกไม้
  • เกาะเหลาตำ
  • เกาะค้อ
  • เกาะเคี่ยม
  • เกาะแลน (ใหญ่)
  • เกาะเจ้าไหม
  • เกาะกวาง
  • เกาะเชือก
  • เกาะบะราหน
  • เกาะแหวน
  • เกาะกระดาน
  • เกาะมุกด์ หรือ เกาะมุก
  • เกาะลิบง หรือ เกาะตะลิบง
  • เกาะนก (ต.นาเกลือ)
  • เกาะลูกไม้
  • เกาะจากน้อย
  • เกาะปากลัด
  • เกาะจาก
  • เกาะตลับหล่น
  • เกาะกลาง
  • เกาะหลัก
  • เกาะตุลุ้ยน้อย
  • เกาะตุลุ้ยใหญ่
  • เกาะแดง
  • เกาะจังกาบ
  • เกาะตุกุลแพ
  • เกาะจับปี่เล็ก
  • เกาะตาใบ
  • เกาะเบ็ง
  • เกาะจับปี่ใหญ่
  • เกาะเหลาเหลียง หรือ เกาะเลี้ยงเหนือ
  • เกาะเลี้ยงใต้
  • เกาะเภตรา
  • เกาะสุกร
  • เกาะค้างคาว
  • เกาะเหลาตรง
  • เกาะกา (ต.บ้านนา)
  • เกาะฮ้อไล้
  • เกาะท่าสัก
  • เกาะกลาง (ต.บ้านนา)
  • เกาะกลาง (ต.ทุ่งกระบือ)
  • เกาะเตาบุโระ
  • เกาะสากกะเบือ
  • เกาะผี
  • เกาะลอลอ
  • เกาะปลิง
  • เกาะแมง หรือเกาะเมง
  • เกาะไหง (โอนมาจาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เมื่อ 20/12/2556)
  • เกาะม้า (โอนมาจาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เมื่อ 20/12/2556)






แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดตรัง ในแผนที่ GPS

    จังหวัดตรังในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรังเป็นจังหวัดแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) นำพันธุ์ยางพารามาจากมาเลเซีย

    
จังหวัดตรังมีเนื้อที่ประมาณ 4,941 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเล็กเนินน้อยสลับกับที่ราบ ทำให้สันนิษฐานกันว่าชื่อตรัง มาจากคำว่า “ตรังคะ”  ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่าลูกคลื่น ตามสภาพพื้นที่ของจังหวัดตรัง ขณะที่อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งบอกว่า ตรังมาจาก “ตรังเค” ภาษามลายู แปลว่า “รุ่งอรุณ” หรือ “สว่างแล้ว” เพราะสมัยก่อน เรือสินค้าจากมลายูจะแล่นมาถึงตรังตอนสว่างพอดีความเป็นมาของเมืองตรังนั้นเริ่มต้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยพบหลักฐานคือจารึกวัดเสมาเมือง จังหวัดนคร
ศรีธรรมราช ซึ่งบอกไว้ว่า ตรังเป็นหัวเมืองที่ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช และหลักฐานอื่นๆ ที่พบในเวลาต่อมา

สามารถแบ่งยุคสมัยของวิวัฒนาการเมืองตรังได้เป็น 3 ช่วงคือ

1. สมัยตั้งเมืองที่ตำบลควนธานี (พ.ศ. 2354-2436) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พบหลักฐานจากทำเนียบกรมการเมืองตรังว่า พระอุไภยธานี ผู้ว่าราชการเมืองตรังคนแรก ได้สร้างหลักเมืองไว้ที่ควนธานี (อยู่ในอำเภอกันตังในปัจจุบัน ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ 8 กิโลเมตร)

2. สมัยตั้งเมืองที่กันตัง (พ.ศ. 2436-2458) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคนี้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง ท่านเห็นว่าที่ตั้งเมืองเดิมคือควน ธานีนั้นอยู่ห่างจากฝั่งทะเลมาก จึงกราบบังคมทูลขอย้ายที่ตั้งเมืองมาอยู่ที่ตำบลกันตัง เพราะที่นี่เป็นชุมชนใหญ่ มีชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเป็นเจ้าเมืองนี้เองที่ตรังได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก เช่น มีการนำต้นยางพาราจากมลายูมาปลูกเป็นครั้งแรก มีการตัดถนนจากตรังไปพัทลุง สร้างท่าเรือเพื่อรองรับการค้าขายกับต่างชาติ ฯลฯ นับเป็นยุครุ่งเรืองอย่างยิ่งเลยทีเดียว

3. สมัยตั้งเมืองที่ทับเที่ยง (พ.ศ. 2458 จนถึงปัจจุบัน) ล่วงมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงมีพระราชดำริว่า เมืองกันตังมีพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยจากอริราชศัตรู อีกทั้งมีการระบาดของไข้อหิวาตกโรค จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ตำบลทับเที่ยง

 
สำหรับคนที่ยังไม่ได้แต่งงาน ในเดือนกุมพาพันธ์ของทุกปี จะมีการจัดงานวิวาห์ใต้สมุทรในทุกๆปี ซึ่งโด่งดังไปถึงต่างประเทศ แต่งเสร็จแล้วก็ฮันนีมูลต่อเลย จัดเต็ม


เมืองตรังจะมีวัฒนธรรมการกิน ที่มีของอร่อยมีชื่อเสียงหลายอย่างมาก

มื้อเช้าจัดเต็มกับติ่มซำ
กลางวันตามด้วย หมี่หนำเหลียว อาหารถิ่นประจำจังหวัด
มื้อเย็น หมูย่างตรัง แล้วตบท้ายตามด้วยเบียร์ 555

ข้อมูลอ้างอิง
  • MGR ONLINE
  • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

บทความที่เกี่ยวข้อง



วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เกาะในจังหวัดชลบุรี (Islands in Chon Buri)

เกาะในจังหวัดชลบุรี (Islands in Chon Buri)


















แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดชลบุรี ในแผนที่ GPS

เกาะในจังหวัดชลบุรี มี 47 เกาะ

  • เกาะปรง
  • เกาะร้านดอกไม้
  • เกาะขามน้อย
  • เกาะยายท้าว
  • เกาะท้ายตาหมื่น
  • เกาะค้างคาว
  • เกาะขามใหญ่
  • เกาะสีชัง
  • เกาะหินต้นไม้ หรือ เกาะหินกะยักโดง
  • เกาะหูช้าง
  • เกาะหินขาว หรือ เกาะหินล้อมฟาง
  • เกาะเหลือมน้อย
  • เกาะจุ่น
  • เกาะครก
  • เกาะกลึงบาดาล
  • เกาะสาก
  • เกาะมารวิชัย
  • เกาะริ้น
  • เกาะเหลือม
  • เกาะไผ่
  • เกาะล้าน
  • เกาะลอย
  • เกาะนก
  • เกาะรางเกวียน
  • เกาะเกล็ดแก้ว
  • เกาะแมว
  • เกาะไก่เตี้ย
  • เกาะพระน้อย
  • เกาะครามน้อย
  • เกาะอีเลา
  • เกาะยอ
  • เกาะหมู
  • เกาะอีร้า
  • เกาะพระ
  • เกาะเตาหม้อ
  • เกาะคราม
  • เกาะโรงหนัง
  • เกาะปลาหมึก
  • เกาะโรงโขน
  • เกาะนางรำ
  • เกาะฉางเกลือ
  • เกาะจระเข้
  • เกาะขาม
  • เกาะจาน
  • เกาะแรด
  • เกาะจวง
  • เกาะแสมสาร




เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง


ข้อมูลอ้างอิง
  • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ระบบควบคุมมอเตอร์อัตโนมัติ ตึกเรือ (อควอเรี่ยม) บึงบอระเพ็ด auto motor control

ระบบควบคุมมอเตอร์อัตโนมัติ ตึกเรือ (อควอเรี่ยม) บึงบอระเพ็ด auto motor control
 



 จากของเล่นสู่ของจริง ระบบควบคุมปั้มน้ำอัตโนมัติตึกเรือ อบจ.บึงบอระเพ็ด ใช้ไม่ได้และก็หาคนมาซ่อมหลายเจ้าก็ยังทำไม่ได้ ใช้ได้แต่ระบบ Manual มาหลายปี พอผมได้ข่าวผมก็บอกผมพอช่วยได้ครับ พวกระบบอัตโนมัติ มันของเล่นของผม 555



เนื่องจากระบบควบคุมอัตโนมัติเดิมจะใช้ PLC หรือเรียกอีกอย่างว่า โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable logic Control : PLC) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่างๆ โดยภายในมี Microprocessor เป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุตและเอาต์พุตที่สามารถต่อออกไปใช้งาน

  • ระบบมีอินพุทในการอ่านค่าความดันน้ำในระบบจากถังความดัน , ระดับน้ำจากเกจถังพัก , ทามเมอร์คุมเวลาเปิด
  • เอาท์พุทแมคเนติกส์ , ทามเมอร์คุมเวลาปิด
  • วงจรจะมี 2 ระบบ Automatic กับ Manaul
  • PLC จะทำหน้าที่ สลับการทำงานของ Motor ปั้มน้ำ เพื่อลดการศึกหรอในอุปกรณ์ สามารถตั้งว่าจะให้ Auto Motor 1, 2, 3 หรือ จะสลับเปิดปิดอย่างไรก็ได้ กี่ตัวก็ได้
เนื่องจากการทำงานอัตโนมัติ จะทำได้หัวใจสำคัญจะต้องมีระบบสมองกล Microprocessorซึ่งผมเลือก Board สมองกลมาใช้ควบคุม (ระบบบอร์ดคอมพิวเตอร์จิ๋วตัวนี้ผมเคยใช้ทำระบบขับเรืออัตโนมัติ) โดยใช้วิธีเขียนโปรแกรมควบคุมสั่งงานให้ได้อย่างที่ต้องการ พร้อมระบบปิดตัวเองอัตโนมัติ


 
ในระบบ PLC มันจะทำงานในแบบตารางเวลา มีอินพุท เอาท์พุท ฉะนั้นการควบคุมซับซ้อนจะต้องมีอุปกรณ์อื่นๆอีกช่วย เช่น ทามเมอร์ใช้เป็นดีเลย์เพื่อหน่วงสัญญาณ จำนวนมากมาทำเพื่อให้มันทำงานอัตโนมัติตามเวลาตามสเต็ป พอเปลี่ยนมาใช้สมองกลรุ่นใหม่ ซึ่งเขียนโปรแกรมได้ซับซ้อนกว่า จึงลดอุปกรณ์ไปได้มาก ประหยัดเงินค่าอุปกรณ์ได้เยอะมาก โดยใช้วิธีแก้ปัญหาความซับซ้อนของเงื่อนไขการทำงานต่างๆของระบบ ด้วยการเขียนโปรแกรม



ตอนออกแบบต้องต่อระบบให้ทำงานได้ก่อน อัปโหลดโปรแกรมลงบอร์ด ทดสอบการทำงาน แล้วค่อยทำลงกล่อง เพื่อไปติดตั้ง



แล้วก็ไปตัดต่อใช้สมองกลของเรา ไปคุมตู้คอนโทรลอีกครั้ง



 จาก Hardware เป็นตับ เหลือแค่นี้ ที่เหลือใช้ Software ล้วนๆ เนื่องจากต้องควบคุมโดยมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงต้องสร้างฐานเวลาหน่วยวินาทีขึ้นมาก่อน พอได้วินาที ก็ได้นาที ได้ชั่วโมง ก็ได้วัน จึงไม่ต้องใช้ Hardware Timer งานที่เหลือก็อ่านอินพุท เขียนเอาท์พุท และผลด้วยจอ LCD พร้อมแสดงสถานะมอเตอร์แต่ละตัว เวลาการทำงานและขั้นตอนสถานะการทำงานปัจจุบัน พร้อมกับไฟแสดงผล Emergency ไปที่ห้องผู้ดูแล ในกรณีมอเตอร์ทำงานผิดปรกติ


 สรุป ในระบบอัตโนมัติจะเป็นจริง ต้องมีคอมพิวเตอร์จิ่วที่เป็นสมองกลช่วย ระบบนี้สามารถต่อยอดเป็นระบบควบคุมอะไรก็ได้

ไว้ว่างจะลองทำระบบ  Automatic Boat Manage สำหรับให้ระบบอัตโนมัติทำงานแทนเจ้าของเรือ เวลาที่ไม่อยู่เรือ หรือ ทำงานอัตโนมัติตอนจอดเรือ ระบบนี้จะเหมาะกับเรือใหญ่ ที่จอดในทะเล 555 ต้องรอมีเรือ 40 ฟุตก่อน
  • วัดอัตราการชาร์ทแบ็ตเตอร์รี่จากเครื่องยนต์ เจนเนอร์เรเตอร์ โซล่าเซลล์ วินด์เจนเนอร์เรเตอร์
  • วัดอัตราการใช้ไฟในเรือ ตู้เย็น แอร์ เครื่องทำน้ำแข็ง อินเวอร์เตอร์ เพื่อเวลาไฟไม่พอ ให้ทำการสตาร์ทเจนเนอร์เรเตอร์อัตโนมัติ
  • เปิดไฟจอดเรืออัตโนมัติตอนกลางคืน
  • ใช้เกจวัดระดับน้ำแทน การใช้สวิทซ์ลูกลอย ทำให้ทราบระดับน้ำแท้จริงท้องเรือ เพื่อสั่งงานมอเตอร์ปั้มน้ำอัตโนมัติ พร้อมระบบ Emergency ตอนเรือจะจม ปั้มน้ำทุกตัวในเรือต้องทำงานได้อัตโนมัติได้แม้เจ้าของเรือไม่อยู่
  • ใช้แจ้งตำแหน่งที่เรือ หรือหาเรือกรณีจอดเรือไว้ กรณีเรือเกิดย้ายที่ สมอเกา หรือเชื่อกสมอขาด หาเรือไม่เจอ หรือแจ้งเหตุอัคคีภัย
  • สั่งงานระยะไกลจากมือถือ หรือแทปเล็ต มาเช็คค่าต่างๆของระบบอัตโนมัติ และควบคุมอย่างที่ต้องการ สั่งเปิดไฟ ปิดไฟ เปิดปั้ม เปิดเจนเนอร์เรเตอร์ เปิดแอร์ หรือถอนสมอ ย้ายจุดจอดเรือ และทิ้งสมอ จากระยะไกลผ่านระบบ Mobile
  • มากมายก่ายกอง

ข้อมูลอ้างอิง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ บึงบอระเพ็ด

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เกาะในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (Islands in Prachuap Khiri Khan)

เกาะในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (Islands in Prachuap Khiri Khan)


เมืองประจวบคีรีขันธ์ หรือเรียกอีกอย่างว่า เมือง 3 อ่าว เพราะจะมีอ่าว 3 อ่าวติดกันเป็นวงๆ

  • อ่าวมะนาว
  • อ่าวเกาะหลัก
  • อ่าวน้อย

 ลักษณะเด่นของที่นี่คือ เป็นเมืองที่เงียบสงบ วิวสวย ค่าครองชีพถูก ที่พัก อาหารการกินราคามิตรภาพ เหมาะเป็น Long Stay พักระยะยาว ... ทริปหลักร้อยวิวหลักล้าน






เกาะในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี 23 เกาะ

  •  เกาะระวาง
  • เกาะระวิง
  • เกาะนมสาว
  • เกาะขี้นก (ต.สามร้อยยอด)
  • เกาะกูรำ
  • เกาะท้ายทรีย์
  • เกาะจาน หรือ เกาะท้ายจาน
  • เกาะร่ำร่า
  • เกาะหัวหิน
  • เกาะสิงห์
  • เกาะสังข์
  • เกาะทะลุ
  • เกาะพิง
  • เกาะหลำ
  • เกาะร่ม
  • เกาะหลัก
  • เกาะพัง
  • เกาะอีแอ่น
  • เกาะแรด
  • เกาะเหลือม
  • เกาะขี้นก (ต.หนองแก)
  • เกาะสะเดา
  • เกาะทราย





แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในแผนที่ GPS


สงครามแปซิฟิก (อังกฤษ: Pacific War) หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (อังกฤษ: Greater East Asia War)

เมื่อญี่ปุ่นบุกไทยใน สงครามมหาเอเชียบูรพา

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นในทวีปยุโรป เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2482 ในระยะแรกฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำการรบแก่เยอรมนี ทำให้เยอรมนีสามารถครอบครองดินแดนทวีปยุโรปตะวันตก ซึ่งประกอบด้วย เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศสไว้ได้เกือบทั้งหมด รวมทั้งเข้ายึดครองนอร์เวย์ และเดนมาร์คทางด้านเหนือได้อีกด้วย

ขณะเดียวกันญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ก็มีความปรารถนาที่จะแผ่อิทธิพลลงมาในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของ สหรัฐอเมริกา จีน อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ จึงได้ฉวยโอกาสที่อังกฤษ ฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำ ในการทำสงครามส่งกำลังเข้าไปในอินโดจีนภาคเหนือ

สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นพันธมิตรของอังกฤษและฝรั่งเศสเล็งเห็นว่า หากปล่อยให้ญี่ปุ่นแผ่อิทธิพลลงมาในเอเชียอาคเนย์จะเป็นภัย และกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของสหรัฐ ฯ ใน มหาสมุทรแปซิฟิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เกาะฟิลิปปินส์และหมู่เกาะฮาวาย ทั้งจะกระทบกระเทือน ต่อระบบการป้องกัน และเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ อีกด้วย ดังนั้น จึงยื่นคำขาดให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกจากจีน มิฉะนั้นสหรัฐ ฯ จะยกเลิกสัญญาการเดินเรือ และการพาณิชย์กับญี่ปุ่นรวมทั้งจะยึดทรัพย์สินของญี่ปุ่นในสหรัฐ ฯ และระงับการส่งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากสหรัฐ ฯ เข้าไปในญี่ปุ่นอีกด้วย

และ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 (ตามเวลาของญี่ปุ่น)ญี่ปุ่นได้ส่งกองบิน ไปทิ้งระเบิดเพิร์ลฮาร์เบอร์ (Pearl Harbor) เพื่อทำลายฐานทัพเรือและกำลังทางอากาศของสหรัฐฯ โดยญี่ปุ่นเลือกโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐที่แข็งแกร่งที่สุด


วิดีโอจำลองเหตุการณ์การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ (จากภาพยนต์ Pearl Harbor)



การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์เริ่มเมื่อ 7.48 น. ตามเวลาฮาวาย ฐานทัพสหรัฐถูกเครื่องบินขับไล่ เครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินตอร์ปิโดญี่ปุ่น 353 ลำโจมตี แบ่งเป็นสองระลอก บินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน 6 ลำ เรือรบแห่งกองทัพเรือสหรัฐทั้ง 8 ลำเสียหาย โดย 4 ลำจม ฝ่ายญี่ปุ่นยังจมหรือสร้างความเสียหายแก่เรือลาดตระเวน 3 ลำ เรือพิฆาต 3 ลำ เรือฝึกต่อสู้อากาศยาน 1 ลำและเรือวางทุ่นระเบิด 1 ลำ อากาศยานสหรัฐ 188 ลำถูกทำลาย ฝ่ายอเมริกันเสียชีวิต 2,403 นาย บาดเจ็บ 1,178 นาย สถานที่ตั้งฐานทัพสำคัญอย่างโรงไฟฟ้า อู่เรือ โรงซ่อมบำรุง โรงเชื้อเพลิงและโรงเก็บตอร์ปิโด ตลอดจนสะพานเทียบเรือดำน้ำและอาคารกองบัญชาการ (ซึ่งเป็นที่ตั้งของฝ่ายข่าวกรอง) ไม่ถูกโจมตี

ฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสียเล็กน้อย คือ อากาศยาน 29 ลำและเรือดำน้ำขนาดเล็กมาก 5 ลำ และทหารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 65 นาย



ในวันที่โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นวันที่กองทัพญี่ปุ่นได้บุกจู่โจมประเทศไทย เวลาเช้าตรู่ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 (ค.ศ. 1941) วันเดียวกัน (ตอนเช้าที่อเมริกา เวลาก่อนตอนเช้าประเทศไทย ประมาณ 9 ชั่วโมง)


โดยยกพลขึ้นบกพร้อมกัน 7 จุด มีจังหวัดสมุทรปราการ(บางปู)เท่านั้นที่ไม่มีการปะทะ นอกนั้นปะทะกับคนไทยทุกจุดคือจังหวัดประจวบ  จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี  ส่วนกองกำลังทางบกที่ข้าศึกรุกผ่านเข้ามาทางจังหวัดพระตะบอง และจังหวัดพิบูลสงครามไร้การต่อต้าน



  • ประเทศไทย ซึ่งเป็นดินแดนถูกเลือกเป็นสถานที่สำหรับการเริ่มต้นในสงครามมหาเอเชียบูรพา ยอมจำนนภายใน 24 ชั่วโมงหลังถูกญี่ปุ่นรุกราน (น่าจะเห็นศักยภาพของญี่ปุ่น ในการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ที่สหรัฐอเมริกา) คิดว่าอย่างไรคงสู้ญี่ปุ่นไม่ได้ รัฐบาลไทยลงนามเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 
  • ฮ่องกง คราวน์โคโลนีของอังกฤษ ถูกโจมตีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม และพ่ายแพ้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยที่กองทัพแคนาดาและอาสาสมัครฮ่องกงมีส่วนสำคัญในการป้องกันดังกล่าว ฐานทัพสหรัฐบนเกาะกวมและเกาะเวกเสียแก่ข้าศึกในเวลาไล่เลี่ยกัน
  • นเดือนมกราคม ญี่ปุ่นรุกรานพม่า อินเดียตะวันออกของดัตช์ นิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน และยึดกรุงมะนิลา กัวลาลัมเปอร์และราบูล หลังจากกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรถูกขับไล่ออกจากมาลายา
  • ในสิงคโปร์เองก็พยายามที่จะต้านทานการรุกของญี่ปุ่นแต่ต้องยอมจำนนเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 และทหารอินเดีย อังกฤษ ออสเตรเลียและดัตช์ตกเป็นเชลยศึกถึงกว่า 130,000 คน อัตราการพิชิตดินแดนของญี่ปุ่นเป็นไปอย่างรวดเร็ว
  • ฝ่ายอังกฤษ ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก สู้รบล่าถอยจากย่างกุ้งไปยังชายแดนอินเดีย-พม่า
  • กองทัพฟิลิปปินส์และสหรัฐอเมริกายังคงทำการรบต้านทานอยู่ในฟิลิปปินส์จนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 เมื่อทหารมากกว่า 80,000 นายได้รับคำสั่งให้ยอมจำนน 


    อนุสาวรีย์รายนามผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก

    อ่าวมะนาวนี้เคยเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ โดยเมื่อครั้งเหตุการณ์สงครามมหาเอเชียบูรพาในปี 2484 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในบริเวณอ่าวมะนาวแห่งนี้เพื่อใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังประเทศพม่า ทหารไทยได้ต่อสู้อย่างเข้มแข็งแม้จะมีกำลังพลเพียง 120 คน ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นซึ่งมีกำลังพลถึง 3,000 คน ซึ่งสุดท้ายแล้วฝ่ายไทยเสียชีวิต 42 ราย ซึ่งประกอบด้วยทหารอากาศ 38 นาย ตำรวจ 1 นาย ยุวชนทหาร 1 คน และครอบครัวทหาร 2 คน
    ดังนั้น ทางกองบิน 5 จึงได้จัดทำพื้นที่ประวัติศาสตร์ซึ่งเคยเป็นสนามรบนี้ให้เป็น “พิพิธภัณฑ์อุทยานประวัติศาสตร์กองบิน 5” โดยมีสิ่งที่น่าสนใจให้ชมหลายอย่าง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงประวัติศาสตร์สมัยญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่อ่าวมะนาว





    เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง


    ข้อมูลอ้างอิง
    • เรือนไทย วิชาการ.คอม
    • วิกิพิเดีย Wikipidia
    • อนุสรณ์สถานแห่งชาติ The National Memorial
    • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
    • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

    บทความที่เกี่ยวข้อง

    วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561

    เกาะในจังหวัดจันทบุรี (Islands in Chanthaburi)


    เกาะในจังหวัดจันทบุรี (Islands in Chanthaburi)


    เมืองจันทบุรี เป็นเมืองโดยลักษณะทางกายภายเป็นเมืองที่มีคลองมากมาย และมีพื้นทีส่วนติดทะเล มีแม่น้ำทั้งหมด 4 สาย
    • แม่น้ำพังราด ความยาว 30 กิโลเมตร
    • แม่น้ำวังโตนด ความยาว 6 กิโลเมตร
    • แม่น้ำเวฬุ ความยาว 88 กิโลเมตร
    • แม่น้ำจันทบุรี ความยาว 123 กิโลเมตร



      เกาะในจังหวัดจันทบุรี มีทั้งหมด 19 เกาะ

    • เกาะสันไร่
    • เกาะใหญ่
    • เกาะจิกกลาง
    • เกาะจิกนอก
    • เกาะนก
    • เกาะล่อน
    • เกาะลูกสะบ้า
    • เกาะสะบ้า
    • เกาะนกใหญ่
    • เกาะนกเล็ก
    • เกาะเปริด
    • เกาะกวาง
    • เกาะจุฬา
    • เกาะนมสาว
    • เกาะตาสังข์
    • เกาะหนู
    • เกาะนางรำ
    • เกาะเสม็ดงาม
    • เกาะโขดพลู





    แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดจันทบุรี ในแผนที่ GPS


    เมืองจันทบุรี มีถนนที่สวยที่สุดในประเทศไทย เหมาะขับจักรยาน ขับรถบิ๊คไบค์ หรือรถเปิดประทุน ชมวิวมาก



     ในอดีตจังหวัดจันทบุรี เป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทยอยู่ถึง 3 ครั้ง

    • ครั้งที่ 1 การสู้รบไทยกับพม่า และการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และการกอบกู้เอกราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือพระเจ้าตากสินมหาราช ใช้จังหวัดจันทบุรีในการรวบรวมไพร่พลและเสบียงอาหาร
    • ครั้งที่ 2 การสู้รบไทยกับญวน (เวียดนาม) หรือสงครามอานัมสยามยุทธ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • ครั้งที่ 3 การสู้รบไทยกับฝรั่งเศษ หรือ วิกฤษการณ์ ร.ศ. 112 ฝรั่งเศสได้ปิดปากน้ำ บีบให้ไทยเสียดินแดนและยึดเมืองจันทบุรีเป็นเมืองประกันหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ปากน้ำในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    การไปเมืองจันทบูร หากไม่ศึกษาประวัติศาสตร์ จะถือว่าพลาดอย่างแรง เพราะจะเจอและจะไม่เข้าใจสิ่งต่างๆอีกมาก เพราะเมืองนี้มีรายละเอียดเยอะและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างมาก



    การสู้รบไทยกับพม่า และการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และการกอบกู้เอกราช

    ชาวจีนแต้จิ๋วคนหนึ่งนามว่า หยง แซ่แต้ (鄭鏞) เป็นผู้อพยพมาจากเมืองเฉิงไห่ ซัวเถา ครั้นเมื่อถึงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 มีบุตรชายคนหนึ่ง ได้ชื่อว่า สิน (信) เกิดแต่นาง นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวไทย

    จากหลักฐานที่อาลักษณ์ของจีนจดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารวงเช็ง แผ่นดินจักรพรรดิเฉียนหลง กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ไว้ว่า "บิดาเจิ้งเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ไปทำมาค้าขายอยู่ที่เสียมล่อก๊ก [暹羅國; ประเทศไทย] และเกิดเจิ้งเจา [鄭昭; สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี; สำเนียงปักกิ่ง] ที่นั่น เมื่อเจิ้งเจาเติบใหญ่ เป็นผู้มีความสามารถ ได้เข้ารับราชการอยู่ในเสียมล่อก๊ก เมื่อเจิ้งเจารบชนะพม่าแล้ว ราษฎรทั่วประเทศยกขึ้นเป็นเจ้าครองประเทศ...

    เนื่องจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว จึงได้รับความเคารพบูชาอย่างยิ่งโดยเฉพาะจากคนไทยเชื้อสายจีน มีการเรียกพระนามตามภาษาจีนแต้จิ๋วว่า แต่อ่วงกง (鄭王公) หมายถึง กษัตริย์ชาวแต้จิ๋วที่ได้รับการเคารพบูชา

    สำหรับการรับราชการเป็นเจ้าเมืองตากนั้น พระราชพงศาวดารฉบับหนึ่งกล่าวทำนองว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองตากโดยติดต่อผ่านทางมหาดเล็กถึงพระยาจักรี สมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงทราบว่าเจ้าเมืองตากคนก่อนป่วยเสียชีวิต จึงให้พระยาจักรีหาผู้มีสติปัญญาพอจะรับตำแหน่งแทน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้เป็นเจ้าเมืองตาก

    ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่านั้น หัวเมืองฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ และตะวันตกล้วนถูกควบคุมอย่างเข้มงวด การทำมาหากิน การทำไร่ทำนา ทรัพย์สิน วัวควายถูกยึดไว้หมด  ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกประมาณ 3 เดือน กองทัพพม่ายิงถล่มกรุงศรีอยุธยาอย่างหนัก เกิดเพลิงลุกไหม้ทั่วพระนคร บ้านเรือน วัด และวัง ได้รับความเสียหายโดยเฉพาะบ้านเรือนของราษฎรเกิดเพลิงไหม้กว่า 10,000 หลัง



    กลางวันของวันที่ 3 มกราคมนั้นพระยาตากรวบรวมไพร่พลจำนวน 1,000 นาย เดินทางออกจากกรุงศรีอยุธยามาก่อน กองกำลังพระยาตากเริ่มออกเดินทางจากวัดพิชัยมาถึงบ้านหารตราเมื่อเวลาค่ำ โดยมีกองทัพพม่าไล่ติดตามมาแล้วต่อรบกันจนพม่าพ่ายกลับไป ก่อนเดินทางมาถึงบ้านข่าวเม่า บ้านสัมบัณฑิต ตอนเวลาเที่ยงคืน ต่อมา

    เช้าวันที่ 4 มกราคม กองกำลังพระยาตากเดินทางมุ่งหน้าไปทางบ้านโพธิ์สังหาร (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) พม่าส่งกองทัพไล่ติดตามมาอีกจึงได้สู้รบกันจนพม่าพ่ายกลับไป มาถึงบ้านพรานนกช่วงเวลาเย็น คราวนี้พม่าส่งไพร่พลมาแก้มือถึง 2,000 นาย ฝ่ายพระยาตากจึงทรงม้ากับทหารอีก 4 ม้าออกรับศึก สามารถตีพม่าแตกพ่ายกลับไปอีกครั้ง เหล่าทหารม้าจึงถือเอาวันที่ 4 มกราคมเป็นวันทหารม้าของไทย

    วันที่สาม การเดินทัพ กองกำลังพระยาตากเดินทัพมาสุดเขตพระนครศรีอยุธยาก่อนที่จะเข้าเมืองนครนายก ขุนชำนาญไพรสนฑ์กับนายกองช้างเข้ามาขอสวามิภักดิ์ต่อพระยาตาก ทั้งยังถวายช้างพลาย 5 ช้าง ช้างพัง 1 ช้าง แล้วอาสานำทางต่อไปยังบ้านกง (หรือบ้านดง) เมืองนครนายก เมื่อถึงบ้านกง ข้าราชการ ขุนหมื่นพันทนายท้องถิ่นไม่ยอมสวามิภักดิ์ แม้จะได้เจรจาเกลี้ยกล่อม 3 ครั้งก็ไม่สำเร็จ รุ่งขึ้นกองกำลังพระยาตากจึงปะทะกับไพร่พลชาวบ้านกงซึ่งมีกำลังมากกว่า 1,000 นาย แต่กองกำลังพระยาตากเป็นฝ่ายชนะและสามารถยึดช้างได้เพิ่มอีก 7 ช้าง เงินทอง และเสบียงอาหารอีกมาก

    วันที่หก เดินทัพมาถึงตำบลหนองไม้ชุ้มแล้วหยุดพัก 2 วันก่อนเดินทัพต่อไปถึงบ้านนาเริ่ง แขวงเมืองนครนายกแล้วหยุดพักอีก 1 คืน ต่อมาพระยาตากนำไพร่พลข้ามแม่น้ำที่ด่านกบแจะ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี) แล้วหยุดพักรี้พล ก่อนเดินทัพต่อไปยังทุ่งศรีมหาโพธิ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี) และต้องหยุดรอนายทหาร 3 นาย คือ พระเชียงเงิน ขุนพิพิธวาที และสมเด็จพระรามราชาที่ตามกองกำลังพระยาตากมาไม่ทัน ระหว่างที่ทรงรอกลุ่มพระเชียงเงินอยู่นั้นเกิดปะทะกับทัพบกและทัพเรือของพม่าซึ่งตั้งอยู่ที่ปากแม้น้ำโจ้โล้ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา) ประชุมพงศวดารบันทึกไว้ว่า "พม่าไล่แทงฟันคนซึ่งเหนื่อยล้าอยู่นั้นวิ่งหนีมาตามทาง ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็น จึงให้นายบุญมีขึ้นม้าใช้สวนทางลงไปประมาณ 200 เส้น พบกองทัพพม่ายกขึ้นมาแต่ปากน้ำโจ้โล้ทั้งทัพบกทัพเรือ" พระยาตากจึงสั่งให้ตั้งแนวรับ ขุดหลุมเพลาะ วางปืนตับ และเรียงหน้ากระดาน จนพม่าเข้ามาใกล้ราว 240 เมตรจึงเริ่มเปิดฉากยิงขึ้น ทหารพม่าทั้ง 4 แนวแตกพ่ายไป "จึงขับพลทหารโห่ร้องตีฆ้องสำทับไล่ติดตามฆ่าพม่าเสียเป็นอันมาก แล้วก็เดินทัพมาทางบ้านหัวทองหลางสะพานทอง" จากแนวปะทะและการติดตามฆ่าพม่ามาทางปากน้ำโจ้โล้นี้เอง ทำให้เปลี่ยนเส้นทางการเดินทัพตามชายป่าดงมาเป็นชายทะเลเข้าเขตเมืองชลบุรี "จึงให้ยกพลมาประทับตามลำดับ บ้านทองหลาง ตะพานทอง บางปลาสร้อย ถึงบ้านนาเกลือ"

    ที่บ้านนาเกลือ มีนายกลม (หรือนายกล่ำ) นายชุมนุมที่บ้านนาเกลือได้รวบรวมไพร่พลคิดสกัดต่อรบกับกองกำลังพระยาตาก แต่เพียงแสดงแสนยานุภาพ "เสด็จทรงช้างพระที่นั่งสรรพด้วยเครื่องสรรพาวุธทรงพระแสงปืนต้นรางแดงกับหมู่พลโยธาหาญ" นายกลมก็ถึงกับวางอาวุธ ยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี แล้วอาสานำไปพัทยา นาจอมเทียน ทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบ ชายทะเล บ้านหินโขง และบ้านน้ำเก่า แขวงเมืองระยอง โดยพักทัพคืนละแห่งตามลำดับ ระหว่างเส้นทางที่ผ่านไปนั้นได้ปะทะกับกองกำลังของพม่าหลายครั้ง แต่ก็สามารถตีฝ่าไปได้ทุกครั้ง และสามารถรวบรวมไพร่พลตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ได้มากขึ้น หลังจากพระยาตากยึดเมืองระยองได้ ขณะพักอยู่บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ข่าวแพร่กระจายออกไป พระยาตากจึงได้ประกาศพระองค์ขึ้นเป็น "เจ้า" ภายหลังจากเดินทัพออกจากวัดพิชัยได้ 23 วัน พระองค์มีพระราชปณิธานโดยพระราชพงศวดารฉบับพระราชหัตเลขาบันทึกว่า

    พระยากำแพงเพชรจึงปรึกษากับนายทหารและรี้พลทั้งปวงว่า กรุงเทพมหานครคงจะเสียแก่พม่าเป็นแท้ ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงเมืองหัวเมืองตะวันออกทั้งปวงให้ได้มากแล้ว จะยกกลับเข้าไปกู้กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจักทำนุบำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎรซึ่งอนาถาหาที่พำนักบ่มิได้ ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุข และจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนาการไพบูลย์ขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้น ให้คนทั้งหลายนับถือยำเกรงจงมาก การซึ่งจะก่อกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย

    พระเจ้าตากมุ่งยึดเมืองจันทบุรีซึ่งก่อนเข้าตีเมืองได้มีรับสั่งให้ทหารทุกคนทำลายหม้อข้าวให้หมด โดยมีเป้าหมายให้ไปกินข้าวในเมืองจันทบุรี แต่ถ้าตีเมืองไม่สำเร็จก็ให้อดตายกันทั้งหมดที่นี่

    กองทัพพระเจ้าตากสามารถตีได้เมืองจันทบุรีได้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 หลังจากนั้นจึงยกกองทัพลงไปยังเมืองตราด ทรงใช้เวลาในการเดินทัพ 7 วัน 7 คืนก็มีผู้คนสมัครใจเข้ามาร่วมด้วยกับพระองค์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเมืองจันทบุรีและเมืองตราดยังไม่ถูกทหารพม่ายึดครอง และขณะนั้นมีเรือสำเภาจีนจอดอยู่ที่ปากน้ำเมืองตราดหลายลำ พระเจ้าตากมีรับสั่งให้นายเรือพวกนั้นมาเฝ้า แต่กลับขัดขืนและระดมยิงปืนใส่ พระเจ้าตากทรงทราบก็ให้นำเรือที่คุมเรือรบไปล้อมเรือสำเภาจืนไว้ แล้วบังคับให้พวกคนจีนสมัครเข้ามาเป็นพรรคพวก แต่พวกคนจีนไม่ฟังกลับระดมยิงปืนใส่กองทัพพระเจ้าตาก รบกันอยู่ครึ่งวันกองทัพพระเจ้าตากสามารถยึดเรือสำเภาจีนได้ทั้งหมด ได้ทรัพย์สินจำนวนมาก เมื่อพระเจ้าตากสามารถจัดการเมืองตราดเสร็จแล้วจึงยกทัพกลับเมืองจันทบุรี

    พระเจ้าตากทรงรวบรวมกำลังพลจนมีจำนวน 5,000 นายแล้วยกกองทัพเรือออกจากเมืองจันทบุรี ล่องมาตามฝั่งทะเลในอ่าวไทย จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อสู้จนยึดเมืองธนบุรีคืนจากพม่าได้ และจับนายทองอิน เจ้าเมืองธนบุรีซึ่งพม่าแต่งตั้งให้นั้นประหารชีวิต ต่อจากนั้นได้ยกกองทัพเรือต่อไปถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้นจนสามารถขับไล่ทหารพม่าออกจากอาณาจักรได้และสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากการยึดครองได้เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 13.00 น. โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือนหลังจากเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยา



    การสู้รบไทยกับญวณ หรือ สงครามอานัมสยามยุทธ



    ในช่วงยุคล่าอาณานิคม พม่าต้องตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ประกอบกับไทยเลือกที่จะไม่ปะทะกับอังกฤษด้วยการขยายอิทธิพลลงไปในแหลมมลายู ทำให้ในรัชกาลที่ 3 สามารถเผชิญหน้ากับญวนทางตะวันออกได้อย่างเต็มที่ โดยทำสงครามกับญวนที่เรียกว่า สงครามอานัมสยามยุทธ หรือสงครามไทย-ญวน ระหว่าง พ.ศ. 2376–2390 ซึ่งเป็นสงคราม 14 ปี ระหว่างสองชนชาติใหญ่ที่เหลืออยู่ในขณะนั้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สงครามครั้งนั้นเกิดขึ้นเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในเขมร อันเป็นดินแดนกั้นกลางระหว่างไทยกับญวน สงครามที่เนิ่นนานเช่นนี้ได้ก่อความเสียหายให้ทั้ง 2 ฝ่ายอย่างมาก

    ใน พ.ศ. 2376 เมืองไซง่อนก่อการจลาจลโดยฝ่ายกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพบกยกกองทัพไปตีเขมรและหัวเมืองญวนลงไปถึงเมืองไซง่อนเพื่อช่วยฝ่ายกบฏ และให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่ทัพเรือไปตีหัวเมืองเขมรและญวนตามชายฝั่งทะเล โดยไปสมทบกับกองทัพบกที่เมืองไซง่อน ในส่วนของกองทัพเรือต้องยกกำลังไปหลายครั้งเช่นเดียวกับการรบทางบก

    ในสงครามกับญวนครั้งนี้ เจ้าพระยาบดินทรฯ ได้สั่งให้ตัดศีรษะนายขำ บุตรคนที่ 18 ของท่านในข้อหาขลาดกลัวต่ออริราชศัตรู อันเป็นการลงโทษอย่างรุนแรง เป็นมาตรการที่ให้ไพร่พลเกิดความยำเกรงต่อกฎข้อบังคับและคำสั่ง จนเป็นกำลังไปสู่ชัยชนะได้


    กองทัพที่ 1 กองทัพบกของเจ้าพระยาบดินทรเดชา(อดีตคือพระยาราชสุภาวดี) แม่ทัพใหญ่ของสยามยกพลไปตามคลองสำโรง ล่องน้ำบางปะกงไปเมืองปราจีน จากนั้นเดินทัพบกเข้าเขมรที่พระตะบอง พนมเปญ นัดพบกับทัพเรือเข้าตีเมืองโจดก(เมืองที่อยู่ปากแม่น้ำโขง ท้ายโตนเลสาบ) เกณฑ์คนจากสยาม 50,000 คน(ส่วนมากเป็นคนลาวที่ถูกกวาดต้อนมารวมกับทหารมอญ) เกณฑ์คนจากโคราชและหัวเมืองลาวอีก 20,000 คน เกณฑ์หัวเมืองเขมรอีก 20,000 คน รวมเป็นพลประมาณ 90,000 คน

    กองทัพที่ 2 กองทัพเรือของเจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ บุนนาค) ยกพลเรียบอ่าวไปตีเมืองฮาเตียนหรือพุทไธมาศ เกณฑ์ทหารจากกรุงเทพฯและหัวเมืองริมน้ำ 15,000 คน เกณฑ์ทหารจากเมืองจันทบุรี ตราด และเขมรอีก 5,000 คน รวมเป็นพลประมาณ 20,000 คน

    อย่างไรก็ดีการรบทางเรือครั้งนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากทหารไทยไม่ชำนาญภูมิประเทศ และเรือไทยมีสมรรถนะที่ด้อยกว่า เรือญวน ทั้งในเรื่องของขนาดและประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องต่อเรือรบใหม่เป็นเรือป้อมอย่างญวน สามารถติดตั้งปืนใหญ่ได้หลายกระบอก ทั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังเป็น แม่กอง อำนวยการต่อเรือป้อมแบบญวนไว้ใช้ในราชการ 80 ลำ

    กองทัพที่ 3 กองทัพบกของพระมหาเทพ ยกพลไปเมืองนครพนม เข้าตีเมืองเหง่อานของเวียดนาม โดยไปเกณฑ์หัวเมืองลาวตะวันออกคือแถบสะหวันนะเขต จำปาสัก 10,000 คน และกองตำรวจจากกรุงเทพฯอีก 4,000 คน รวมเป็นพลประมาณ 14,000 คน

    กองทัพที่ 4 กองทัพบกฝ่ายเหนือของเจ้าพระยาธรรมา(สมบุญ) ให้ยกขึ้นไปทางเมืองพิชัย ปากลาย หลวงพระบาง ให้ยกกำลังไปเกลี้ยกล่อม หรือตีหัวเมืองเล็กๆในลาวเหนือใกล้กับหลวงพระบางเอามาไว้ในเขตไทยให้หมด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงมีพระราชดำริ เห็นเป็นโอกาสที่จะเอาเขมรคืนจากอำนาจญวน ให้ญวนหายกำเริบเสียบ้าง จึงโปรดฯให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นแม่ทัพบก โปรดให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) เป็นแม่ทัพเรือ ยกไปตีหัวเมืองเขมรและญวนตามชายทะเล แล้วจึงไปสมทบกับกองทัพบกเข้าตีไซ่ง่อนด้วยกัน กองทัพบกนั้น พอเข้าแดนเขมร สมเด็จพระอุทัยราชา (นักองจัน) ก็หนีไปไซ่ง่อน พวกเขมรจึงเข้าอ่อนน้อมโดยดี เจ้าพระยาบดินทร์ จึงตีหัวเมืองชายแดนญวน เข้าไปสมทบกับกองทัพเรือ ซึ่งรอจะเข้าตีค่ายใหญ่ของญวนอันเป็นด่านปากคลองขุด แต่กองทัพเรือรบพุ่งอ่อนแอ พวกเขมรหัวเมืองข้างใต้คือที่ติดกับอาณาเขตญวน เห็นกองทัพไทยทำการไม่สำเร็จ ก็พากันกบฏขึ้นด้วย ทั้งกองทัพไทยยังขัดสนเสบียงอาหาร ต้องเลิกทัพกลับ

    ญวนได้ทีจึงตั้งข้าหลวง และทหารนำสมเด็จพระอุทัยราชา (นักองจัน) กลับมาอยู่พนมเปญ เขมรจึงตกอยู่ในอำนาจญวนยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทร์ ตั้งทัพขัดตาทัพอยู่ที่เมืองพระตะบอง ซึ่งเป็นของไทยพร้อมกับเมืองเสียมราฐ มาแต่รัชกาลที่ ๑ โดยสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี (นักองเอง) ถวายให้เป็นสิทธิขาดแก่ไทย (ที่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ต้นสกุล อภัยวงศ์ เป็นผู้ว่าราชการสืบต่อๆกันมา) ปีต่อสมเด็จพระอุทัยราชา (นักองจัน) ถึงพิราลัย ไม่มีลูกชาย ญวนจึงยกลูกหญิงขึ้นครองเมือง แล้วกวาดเอาพวกราชวงศ์เขมรกับขุนนางผู้ใหญ่ไปไว้เมืองญวน เข้าปกครองเมืองเขมรอย่างหัวเมืองของญวน เปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมให้เป็นอย่างญวน ให้รื้อวัด สึกพระภิกษุสามเณรเสียเป็นอันมาก พวกเขมรถูกบังคับรีดนาทาเร้น เดือดร้อน ก็พากันกบฏ เมืองเขมรก็วุ่นวายอยู่ตลอดเวลาจนถึง พ.ศ.๒๓๘๐ พวกขุนนางพากันบอกมายังเจ้าพระยาบดินทร์ ที่ตั้งขัดตาทัพอยู่เมืองพระตะบอง ขอกลับมาอยู่กับไทย ขอกำลังช่วยปราบญวน และขอพระราชทาน นักองด้วง น้องชายของสมเด็จพระอุทัยราชา ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ออกไปครองเขมร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงโปรดฯให้เจ้าพระยาบดินทร์ยกกองทัพเข้าไปเขมร และโปรดฯให้พระองค์ด้วงออกไปเข้ากองทัพเจ้าพระยาบดินทร์ด้วย มีพระบรมราชโองการว่า หากเขมรสงบเรียบร้อยเมื่อใดให้อภิเษกนักองด้วงขึ้นครองเขมร
    เจ้าพระยาบดินทรเดชา ต้องอยู่ในเขมร สู้รบกับญวนนานถึง 16 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2376 ถึง พ.ศ.2390 ศึกจึงสงบลงได้ นักองด้วง ขึ้นครองราชย์ เป็นสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี ณ กรุงอุดงมีชัย  ในที่สุดการรบระหว่างญวนกับไทยที่ยืดเยื้อมาถึง 14 ปี ก็ต้องยุติลงโดยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ยกเลิกการศึกครั้งนี้และมีการเจรจาสงบศึกใน พ.ศ.2390 เพราะทรงพิจารณาเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองทรัพยากรและกำลังคน เปรียบเหมือนว่ายน้ำท่ามกลางมหาสมุทรไม่เห็นเกาะเห็นฝั่ง 



    การสู้รบไทยกับฝรั่งเศษ หรือ วิกฤษการณ์ ร.ศ. 112




    วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (เอกสารภาษาอังกฤษเรียกว่า Franco-Siamese War หรือ สงครามฝรั่งเศส - สยาม เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรสยามกับฝรั่งเศสในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2436 จากการอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศลาวในปัจจุบัน)

    ผู้มีบทบาทสำคัญในวิกฤตการณ์ครั้งนี้คือนายโอกุสต์ ปาวี รองกงสุลฝรั่งเศสประจำนครหลวงพระบาง ซึ่งเป็นหัวหอกสำคัญในการแสวงหาผลประโยชน์ของฝ่ายฝรั่งเศสในดินแดนลาว โดยใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของสยามที่ไม่สามารถดูแลหัวเมืองชายแดนได้ทั่วถึง การก่อกบฏในเวียดนามที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ การปราบฮ่อซึ่งแตกพ่ายจากเหตุการณ์กบฏไท่ผิงในจีน และการทวีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลฝรั่งเศสที่กรุงปารีส



    การขยายอิทธิพลของประเทศฝรั่งเศส (พ.ศ. 2410 - พ.ศ. 2449)

    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 2231 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตอนปลาย ได้มีเหตุที่ทำให้การติดต่อระหว่างไทยกับฝรั่งเศสหยุดชะงักลง จนกระทั่งไทยเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสได้รับการฟื้นฟูขึ้นในปี พ.ศ. 2399 ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 4 ของไทย และจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส มีความต้องการที่จะขยายอิทธิพลของจักรวรรดินิยมในแถบอินโดจีนซึ่งรวมทั้งไทยด้วย โดยมีอังกฤษ เป็นคู่แข่งสำคัญ เมื่อฝรั่งเศสทราบว่าไทยตกลงทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2398 ทำให้ฝรั่งเศสให้ความสนใจไทยมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยก็ต้องการฟื้นฟูสัมพันธภาพกับฝรั่งเศสด้วยเช่นกัน เนื่องจากต้องการให้ฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอังกฤษ จากการที่อังกฤษสามารถครอบครองพม่าได้เกือบทั้งหมดในปี พ.ศ. 2396 ทำให้ไทยเกรงกลัวอิทธิพลของอังกฤษที่ขยายเข้ามาใกล้ไทยทุกขณะ จึงได้เสนอที่จะทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ตั่งแต่ปี พ.ศ. 2397 แต่ไม่ได้รับการตอบรับ จนเมื่อไทยตกลงทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษแล้ว ทางรัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้ส่ง ชาร์ล เดอ มองติญี (Charle De Montege) กงสุลฝรั่งเศสประจำเซี่ยงไฮ้เป็นผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม มาเจรจาทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี และการค้ากับไทยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2398 และสัญญามีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2399



    ความขัดแย้งก่อนเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

    ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ เกิดจากการขาดข้อตกลงเรื่องเขตแดนที่แน่นอนเกือบทั้งสิ้น

    กรณีบางเบียน (Affaire de Bang-Bien)
    กรณีบางเบียนเป็นชนวนแห่งความขัดแย้งที่นำไปสู่การใช้อาวุธในที่สุด กล่าวคือเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2434 คูร์นิโยง (Cournillon) สมาชิกคณะผู้จัดทำแผนที่ปักปันเขตแดนได้แต่งตั้งให้บางเบียน ผู้อพยพชาวลาวเป็นเจ้าหน้าที่ปกครองฝรั่งเศสที่ทุ่งเชียงคำ (Thoung Xieng Kham ทุ่งไหหินในประเทศลาวปัจจุบัน) ทำให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ (Prince Dewavongs) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ทรงโต้ตอบทันทีด้วยการส่งจดหมายถึงโลร์โซง (Lorgeon) ซึ่งรักษาการแทนกงสุลใหญ่ฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ

    อเล็กซองเดรอะ ริโบต์ (Alexendre Ribot) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสในขณะนั้น จึงให้เรียกตัวบางเบียนกลับจากทุ่งเชียงคำ เช่นเดียวกับผู้แทนฝรั่งเศสที่แหลมเสม็ด (Pointe Samit) ภายใต้เงื่อนไขว่าไทยจะไม่ส่งผู้แทนเข้าไปปกครองดินแดนดังกล่าวด้วย ทั้งนี้เพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีของทั้งสองประเทศเอาไว้ แต่ผู้แทนฝรั่งเศสไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงทำให้เกิดการปะทะกันขึ้นที่ทุ่งเชียงคำ เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2434 ฝ่ายไทยสามารถควบคุมตัวบางเบียนไว้ได้ และตั้งข้อหาว่าบางเบียนเป็นกบฏต่อประเทศ โลร์โซงพยายามที่จะเข้าแทรกแซงเช่นกันแต่ไม่เป็นผล เพราะรัฐบาลไทยยืนกรานว่าบางเบียนเป็นคนไทยคนหนึ่ง (เกิดในดินแดนที่ไทยถือว่าอยู่ในพระราชอาณาเขต) ที่ต้องอพยพไปอยู่เวียดนามภายหลังจากที่ได้กระทำผิดราชการ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2435 นายโอกุสต์ ปาวี เดินทางถึงราชอาณาจักรไทยเพื่อรับตำแหน่งราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ทันทีที่เดินทางถึงราชอาณาจักรไทยเขาเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวบางเบียน แต่ฝ่ายไทยยังคงยืนยันในหลักการและเหตุผลของตนเอง

    กรณีเมืองท่าอุเทน (Affaire d’Outhene)
    กรณีเมืองท่าอุเทน เป็นความขัดแย้งที่ทำให้ฝรั่งเศสต้องพิจารณาทบทวนสนธิสัญญาต่างๆ และข้อเรียกร้องใหม่ กล่าวคือ ช็องเปอนัวส์ (Champenois) และเอสกิลาต์ (Esquilat) ซึ่งไม่เพียงแต่จะได้รับ การสนับสนุนจากสหภาพแรงงานฝรั่งเศสในลาวตอนบนและเวียดนามตอนเหนือ เพื่อทำการค้ากับไทยเท่านั้นความพยายามผลักดันให้ลาวเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสของเขายังได้รับการสนับสนุนจากเดอแวล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ และนายโอกุสต์ ปาวี ราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ (Ministre de France a Bangkok) อีกด้วย ทำให้มีการฝ่าฝืนข้อตกลงไทย - ฝรั่งเศสโดยเจตนา 2 ครั้ง
    ครั้งที่ 1 บุคคลทั้งสองต้องการจะข้ามแม่น้ำโขงจากท่าอุเทนไปยังคำมวน (Cammon) โดยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อตกลงระหว่างไทย - ฝรั่งเศสด้วยการเดินทางโดยใช้หนังสือเดินทางของผู้อื่นและไม่สนใจต่อพระดำรัสของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (Prince Prachak) ที่ทรงขอให้เขาไปรับใบอนุญาต อย่างไรก็ตามไทยก็ได้ออกใบอนุญาตให้ทั้งสองคนในเวลาต่อมา
    ครั้งที่ 2 ช็องเปอนัวส์และเอสกิลาต์ทำผิดต่อสนธิสัญญาไทย - ฝรั่งเศส ปี พ.ศ. 2410 มาตรา 6 และ 15 และกระทำผิดต่อสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2399 มาตรา 18 อีกครั้ง ด้วยการค้าของเถื่อนและเดินทางในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่ไทยตักเตือนแล้วก็ไม่ยอมจ่ายค่าภาษีนำเข้า อีกทั้งยังคงเดินทางต่อไปโดยไม่มีตราประทับบนหนังสือเดินทาง
    รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องจับกุมและเนรเทศบุคคลทั้งสองออกนอกราชอาณาเขตและยึดสินค้าดังกล่าวไว้ด้วย นายโอกุสต์ ปาวีได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยจ่ายค่าเสียหายทั้งหมด แต่ฝ่ายไทยปฏิเสธเพราะถือว่าบุคคลทั้งสองกระทำผิดสนธิสัญญาไทย - ฝรั่งเศสจริง จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เมืองท่าอุเทนนี้เกิดจากการที่พ่อค้าชาวฝรั่งเศสปฏิเสธอธิปไตยของไทยเหนือดินแดนลาว เมื่อปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไขทันที สหภาพแรงงานฝรั่งเศสในลาวตอนบนและเวียดนามตอนเหนือจึงเพิ่มความกดดันต่อรัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อให้รัฐบาลเรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนลาว และเพื่อความสะดวกต่อการขยายตลาดการค้าของตน

    การตายของมาสสี่ (Affaire de massie)
    มาสสี่ เจ้าหน้าที่ของสถานกงสุลฝรั่งเศสในเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเคยเป็นสมาชิกของคณะสำรวจ (Mission Pavie) ได้ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว เพราะได้รับการข่มเหง (a subir les pires insultes) จาก คนไทย และที่สำคัญคือ มาสสี่ไม่เคยได้รับความเห็นใจและการสนับสนุนจากรัฐบาลที่กรุงฮานอยและกรุงปารีสเลย ดังนั้นเขาจึงได้ฆ่าตัวตาย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 บริเวณหน้าเมืองจำปาศักดิ์ (Bassac)

    การตายของมาสสี่ทำให้ลาเนสช็อง (Lanessan) ผู้ว่าราชการเวียดนามตอนใต้และผู้นำจักรวรรดินิยมคนสำคัญของฝรั่งเศสต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผลการสอบสวนปรากฏ อย่างชัดเจนว่าเป็นการฆ่าตัวตาย ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ฝรั่งเศสจึงเริ่มปฏิบัติการด้วยวิธีรุกทั้งทางด้านการทหารและด้านการทูตต่อไทย แต่หนังสือพิมพ์ในไซง่อนและตังเกี๋ยกลับรายงานว่ามาสสี่ป่วยตาย จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า ข้าราชการชาวอาณานิคมต้องการใช้การตายของมาสสี่ให้เกิดประโยชน์โดยผลักดันให้รัฐบาลฝรั่งเศสใช้มาตรการที่เด็ดขาดกับไทย จะเห็นได้ว่าในระดับภูมิภาคนั้น ผลประโยชน์ทางภูมิยุทธศาสตร์และการค้าทำให้ฝรั่งเศสขัดแย้งกับอังกฤษ ทั้งสองประเทศมหาอำนาจจักรวรรดินิยมต้องการแผ่ขยายเขตอิทธิพลของตนให้ไกลกว่าดินแดนหลัก (อินเดียของอังกฤษและเวียดนามของฝรั่งเศส) ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้แก่ดินแดนยึดครองหลักของตนให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม สำหรับในระดับท้องถิ่นก็มีอิสรภาพของไทยเป็นเดิมพันที่สำคัญ

    ดังนั้น เพื่อต่อสู้กับจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสซึ่งแฝงอยู่ในรูปของการเรียกร้องดินแดนที่เป็นของเวียดนามตอนกลางและของกัมพูชา ไทยจึงผลักดันสนามปฏิบัติการทางทหารให้ไกลสุดบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ








     ไทยยอมทำสัญญาสงบศึกในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2436 รับว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดทั้งเกาะต่างๆ ในลำน้ำโขงเป็นของฝรั่งเศส และให้ไทยถอนทหารชายแดนทั้งหมด รวมทั้งเสียค่าปรับ ค่าทำขวัญแก่ฝรั่งเศส โดยรัฐบาลฝรั่งเศสจะยึดครองจันทบุรีไว้จนกว่าไทยจะปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วน



     รัฐบาลฝรั่งเศสได้ยึดครองเมืองจันทบุรีเป็นเวลา 10 ปี จึงยอมคืนให้ไทย แต่ขอยึดเมืองตราดไว้แทน วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446 รัฐบาลไทยจึงได้ทำสัญญากับรัฐบาลฝรั่งเศส ยอมยกเมืองตราดและเกาะทั้งหลายภายใต้แหลมลิงลงไปถึงเกาะกูด ตลอดจนถึงเมืองประจันตคีรีเขตต์ (เกาะกง) ให้แก่ฝรั่งเศส ฝ่ายฝรั่งเศสจึงยอมถอนทหารออกจาก จ.จันทบุรีในปี พ.ศ.2447 ต่อจากนั้นรัฐบาลไทยได้มอบ จ.ตราดและเกาะกงให้แก่ฝรั่งเศสเข้าปกครองตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2447

    แล้วในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2449 ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศสยกพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองตราด

    วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2450 ฝรั่งเศสจึงทำพิธีมอบเมืองตราดอย่างเป็นทางการให้แก่ประเทศไทยตามเดิม รวมเวลาที่ จ.ตราด ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน 7 วัน



    เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง



    ข้อมูลอ้างอิง
    • รูปจากสมาชิก pantip shojung , Thailandscanme
    • วิกิพิเดีย Wikipidia
    • สถาบันพระปกเกล้า วิกฤษการณ์ ร.ศ.112
    • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
    • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

    บทความที่เกี่ยวข้อง

    วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561

    เกาะจังหวัดพัทลุง (Islands in Phatthalung)

    เกาะจังหวัดพัทลุง (Islands in Phatthalung)



    จังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดเดียวของประเทศที่ไม่ติดทะเล แต่มีเกาะมากถึง 18 เกาะ

    ทะเลสาบพัทลุง หรือ ทะเลสาบลำปำ (ชื่อที่เรียกในเขตจังหวัดพัทลุง) หรือ ทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ติดกันถึง 3 จังหวัด มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร ได้แก่
    • จังหวัดพัทลุง ในเขตอำเภอเมืองพัทลุง อำเภอปากพะยูน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสนและอำเภอควนขนุน
    • จังหวัดสงขลา ในเขตอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอเมืองสงขลา อำเภอควนเนียง อำเภอหาดใหญ่
    • จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอชะอวด


    เป็นทะเลสาบที่มีทั้ง น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม ติดกันตามแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย

    บริเวณแห่งนี้ มีชื่อหนึ่งที่ฝรั่งเขียนในแผนที่ว่า หมู่เกาะแทนทาลัม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นการบันทึกการเดินเรือของชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาค้าขายในสยาม บอกว่า ทะเลสาบที่เราเห็นกันตอนนี้นั้น หลายร้อยปีก่อน เป็นเพียงร่องน้ำของทะเล ระหว่างแผ่นดินใหญ่กับแนวสันทราย



    ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งอาณาจักรอยุธยา จากหลักฐานแผนที่ราชอาณาจักรสยามของชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2229 บันทึกไว้ว่า บริเวณแหลมสทิงพระแห่งนี้ มีเกาะอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 เกาะ เกาะที่มีขนาดใหญ่สุด อยู่ทางตอนเหนือ ส่วนทางตอนใต้มีเกาะเล็ก ๆ อีก 4 เกาะ กระจัดกระจายกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2383 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานการเดินทางเป็นบันทึกปูมเรือของชาวอังกฤษ ขณะเดินทางผ่านน่านน้ำแถบนี้ ระบุไว้ว่า

    "แล่นผ่านช่องแคบนครศรีธรรมราชและหมู่เกาะแทนทาลัม การเดินเรือค่อนข้างน่ากลัวเพราะเต็มไปด้วยโขดหิน แต่คนเดินเรือของเราเคยเดินทางผ่านมาแล้วด้วยเรือเล็ก เขาก็อาสานำเรือ ทิวทัศน์ทั้ง 2 ฟากแถบดูใหญ่โตมาก ทางฝั่งเมืองนครศรีธรรมราชเก่า ทิวเขาก็แสดงความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน คือ ทางยอดเขานั้นรู้สึกโล่งเตียน ไม่เหมือนทางต่ำกว่าที่อุดมสมบูรณ์ของแทนทาลัม นอกจากนี้ยังมีอ่าวเล็ก ๆ ของเมืองตาลุง ราว 4 โมงเย็น เราก็มาถึงนอกเมืองสงขลา" 

    ต่อมาภายหลัง เกิดการทับถมของตะกอนและทรายจากการกระทำของคลื่นลมตอนบน ทำให้เกาะดังกล่าวขยายใหญ่ขึ้น ๆ แผ่นดินของเกาะยื่นไปเชื่อมกับแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ทางตอนบน จนกลายเป็นทะเลปิด ทำให้ทางเดินเรือออกจากทะเลสาบสู่อ่าวไทยทางเหนือ ปิดลงอย่างสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และมีสภาพดังปัจจุบัน 


    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหมู่เกาะในทะเลสาบสงขลา โดยเรือกลไฟทอนิครอฟต์ลากจูงเรือพระที่นั่ง เรือกลไฟเซนต์ยอชลากเรือเจ้านายและเรือผ้านุ่งห่ม เรือกลไฟยาโรจูงเรือเครื่อง ระหว่างวันที่ ๒๒ –๒๕ กรกฎาคม ๒๔๓๒ และทรงประทับแรม ณ พลับพลาที่ประทับเกาะมวย (เกาะสี่เกาะห้า) และในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานจารึกพระปรมาภิไธยย่อ จปร ๑๐๘ ไว้


    เกาะในจังหวัดพัทลุง มี 18 เกาะ
    • เกาะนก
    • เกาะนก
    • เกาะเข็ม
    • เกาะป้อย
    • เกาะร้านไก่
    • เกาะเสือ
    • เกาะมันแดง
    • เกาะกระ
    • เกาะท้ายถ้ำคำ
    • เกาะตาโส
    • เกาะยายโส
    • เกาะสี่เกาะห้า หรือเกาะเทวดา หรือเกาะมวย
    • เกาะโคบ
    • เกาะหมาก 
    • เกาะเพ
    • เกาะแกง
    • เกาะนางคำ
    • เกาะราบ





    แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดพัทลุง ในแผนที่ GPS




    เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง



    ข้อมูลอ้างอิง
    • รูปจากสมาชิก pantip หมายเลข 2876380
    • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
    • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

    บทความที่เกี่ยวข้อง