กินอร่อย ตามรอยมังกร ทะเลตรังแสนงาม เมืองต้องห้ามพลาดที่มีวัฒนธรรมการกินอาหาร และอาหารเลื่องชือ แชมป์ยุทธจักรความอร่อย
เกาะในจังหวัตตรังมี 56 เกาะ
- เกาะตูเกีย
- เกาะนก (ต.ตะเสะ)
- เกาะโต๊ะลาน้อย
- เกาะโต๊ะลา
- เกาะแลน (เล็ก)
- เกาะกา (ต.กันตังใต้)
- เกาะลูกไม้
- เกาะเหลาตำ
- เกาะค้อ
- เกาะเคี่ยม
- เกาะแลน (ใหญ่)
- เกาะเจ้าไหม
- เกาะกวาง
- เกาะเชือก
- เกาะบะราหน
- เกาะแหวน
- เกาะกระดาน
- เกาะมุกด์ หรือ เกาะมุก
- เกาะลิบง หรือ เกาะตะลิบง
- เกาะนก (ต.นาเกลือ)
- เกาะลูกไม้
- เกาะจากน้อย
- เกาะปากลัด
- เกาะจาก
- เกาะตลับหล่น
- เกาะกลาง
- เกาะหลัก
- เกาะตุลุ้ยน้อย
- เกาะตุลุ้ยใหญ่
- เกาะแดง
- เกาะจังกาบ
- เกาะตุกุลแพ
- เกาะจับปี่เล็ก
- เกาะตาใบ
- เกาะเบ็ง
- เกาะจับปี่ใหญ่
- เกาะเหลาเหลียง หรือ เกาะเลี้ยงเหนือ
- เกาะเลี้ยงใต้
- เกาะเภตรา
- เกาะสุกร
- เกาะค้างคาว
- เกาะเหลาตรง
- เกาะกา (ต.บ้านนา)
- เกาะฮ้อไล้
- เกาะท่าสัก
- เกาะกลาง (ต.บ้านนา)
- เกาะกลาง (ต.ทุ่งกระบือ)
- เกาะเตาบุโระ
- เกาะสากกะเบือ
- เกาะผี
- เกาะลอลอ
- เกาะปลิง
- เกาะแมง หรือเกาะเมง
- เกาะไหง (โอนมาจาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เมื่อ 20/12/2556)
- เกาะม้า (โอนมาจาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เมื่อ 20/12/2556)
แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดตรัง ในแผนที่ GPS
จังหวัดตรังในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรังเป็นจังหวัดแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) นำพันธุ์ยางพารามาจากมาเลเซีย
จังหวัดตรังมีเนื้อที่ประมาณ 4,941 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเล็กเนินน้อยสลับกับที่ราบ ทำให้สันนิษฐานกันว่าชื่อตรัง มาจากคำว่า “ตรังคะ” ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่าลูกคลื่น ตามสภาพพื้นที่ของจังหวัดตรัง ขณะที่อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งบอกว่า ตรังมาจาก “ตรังเค” ภาษามลายู แปลว่า “รุ่งอรุณ” หรือ “สว่างแล้ว” เพราะสมัยก่อน เรือสินค้าจากมลายูจะแล่นมาถึงตรังตอนสว่างพอดีความเป็นมาของเมืองตรังนั้นเริ่มต้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยพบหลักฐานคือจารึกวัดเสมาเมือง จังหวัดนคร
ศรีธรรมราช ซึ่งบอกไว้ว่า ตรังเป็นหัวเมืองที่ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช และหลักฐานอื่นๆ ที่พบในเวลาต่อมา
สามารถแบ่งยุคสมัยของวิวัฒนาการเมืองตรังได้เป็น 3 ช่วงคือ
1. สมัยตั้งเมืองที่ตำบลควนธานี (พ.ศ. 2354-2436) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พบหลักฐานจากทำเนียบกรมการเมืองตรังว่า พระอุไภยธานี ผู้ว่าราชการเมืองตรังคนแรก ได้สร้างหลักเมืองไว้ที่ควนธานี (อยู่ในอำเภอกันตังในปัจจุบัน ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ 8 กิโลเมตร)
2. สมัยตั้งเมืองที่กันตัง (พ.ศ. 2436-2458) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคนี้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง ท่านเห็นว่าที่ตั้งเมืองเดิมคือควน ธานีนั้นอยู่ห่างจากฝั่งทะเลมาก จึงกราบบังคมทูลขอย้ายที่ตั้งเมืองมาอยู่ที่ตำบลกันตัง เพราะที่นี่เป็นชุมชนใหญ่ มีชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเป็นเจ้าเมืองนี้เองที่ตรังได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก เช่น มีการนำต้นยางพาราจากมลายูมาปลูกเป็นครั้งแรก มีการตัดถนนจากตรังไปพัทลุง สร้างท่าเรือเพื่อรองรับการค้าขายกับต่างชาติ ฯลฯ นับเป็นยุครุ่งเรืองอย่างยิ่งเลยทีเดียว
3. สมัยตั้งเมืองที่ทับเที่ยง (พ.ศ. 2458 จนถึงปัจจุบัน) ล่วงมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงมีพระราชดำริว่า เมืองกันตังมีพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยจากอริราชศัตรู อีกทั้งมีการระบาดของไข้อหิวาตกโรค จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ตำบลทับเที่ยง
สำหรับคนที่ยังไม่ได้แต่งงาน ในเดือนกุมพาพันธ์ของทุกปี จะมีการจัดงานวิวาห์ใต้สมุทรในทุกๆปี ซึ่งโด่งดังไปถึงต่างประเทศ แต่งเสร็จแล้วก็ฮันนีมูลต่อเลย จัดเต็ม
เมืองตรังจะมีวัฒนธรรมการกิน ที่มีของอร่อยมีชื่อเสียงหลายอย่างมาก
มื้อเช้าจัดเต็มกับติ่มซำ |
กลางวันตามด้วย หมี่หนำเหลียว อาหารถิ่นประจำจังหวัด |
มื้อเย็น หมูย่างตรัง แล้วตบท้ายตามด้วยเบียร์ 555 |
ข้อมูลอ้างอิง
- MGR ONLINE
- กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น