ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเดินทางของลม (Journey of Wind Story)

การเดินทางของลม (Journey of Wind Story)

ลมเป็นรูปแบบการถ่ายเทพลังงานอย่างหนึ่ง สาเหตุหลักของการเกิดลม คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเมื่อมีการแผ่รังสีความร้อนของดวงอาทิตย์มายังโลก แต่ละตำแหน่งบนพื้นโลกได้รับปริมาณความร้อนไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิและความกดอากาศในแต่ละตำแหน่ง บริเวณใดที่มีอุณหภูมิสูงหรือความกดอากาศต่ำอากาศในบริเวณนั้นก็จะลอยตัวขึ้นสูง อากาศจากบริเวณที่เย็นกว่าหรือมีความกดอากาศสูงกว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ การเคลื่อนที่ของมวลอากาศนี้คือการทำให้เกิดลมนั่นเอง ซึ่งลมทำให้เกิดสิ่งต่างๆ หลายอย่าง และเราสามารถใช้ประโยชน์ได้ อย่างเช่น



-ทำให้เกิดฤดูกาล เช่น  ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดฤดูฝน ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทำให้เกิดฤดูหนาว

-ทำให้เกิดคลื่นในทะเล เช่น ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดคลื่นทะเลแรงในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอันดามัน ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดคลื่นทะเลแรงในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย

-ใช้ในการเดินทางของเรือใบ เรือสินค้า (Sky Sail) และเรือประมง เพื่อลดการใช้น้ำมัน


-ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า




ลม Wind คือ มวลของอากาศที่มีการเคลื่อนที่ไปตามแนวต่างๆ ลมสามารถที่จะเกิดขึ้นได้จากปัจจัย ดังต่อไปนี้

1. อุณหภูมิ  เมื่ออากาศที่ร้อนจะมีการขยายตัวเกิดขึ้นจึงทำให้บริเวณที่มีอุณหภูมิที่ ต่ำกว่าจะเข้ามาแทนที่บริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า  ซึ่งก็จำทำให้ลมพัดเข้าไปในที่อากาศร้อน

2. ความกดอากาศ  ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอากาศ  โดยบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง จะมีความหนาแน่นที่ต่ำเพราะว่าอากาศจะขยายตัว  ลอยไปข้างบน  ส่วนบริเวณที่มีความหนาแน่นต่ำและมีความกดอากาศสูงลมจึงพัดเข้าหาบริเวณที่ มีความกดอากาศต่ำ  อย่างเช่นโลกของเรามีอากาศที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากลม  บริเวณไหนที่มีกดอากาศต่ำจะทำให้มีเมฆมาก  อุณหภูมิที่สูงอาจจะทำให้เกิดพายุชนิดต่างๆ  และด้วยประเทศเรานั้นอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรถึงมีพายุที่เกิดขึ้นได้บ่อย  โดยใช้เส้น ไอโซบาร์ (Isobar) เป็นแนวกำกับ H และ L เป็นตัวเลขที่บอกถึงความกดหย่อมความกดอากาศที่ทางกรมอุตุนิยมวิทยา  ใช้ในการพยากรอากาศ  หย่อมความกดอากาศสูงเป็น H หย่อมความกดอากาศต่ำใช้ L ตัวอย่างจากรูป  จากเว็บกรมอุตุนิยมวิทยา เส้นสีน้ำเงินคือเส้น  ไอโซบาร์



ชนิดของลม

สำหรับลมนั้นสามารถที่จะแบ่งได้ตามชนิดของการเกิดลมและช่วงเวลาการเกิดลมด้วย  ซึ่งมีดังต่อไปนี้

1. ลมประจำเวลา  เป็นลมที่มักจะเกิดตามเวลาคือ  กลางวันและกลางคืนเนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างสองสถานที่อยู่ ใกล้กัน  อย่างเช่น ลมบก-ลมทะเล  ลมหุบเขา-ลมภูเขา  เป็นต้น


  • ลมบก และลมทะเล เกิดจากความร้อนซึ่งแตกต่างกันระหว่างบริเวณทะเล และพื้นดินตามชายฝั่งในตอนเช้าและตอนบ่าย เวลากลางวัน ผืนแผ่นดินตามชายฝั่งได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ ทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณทะเล ดังนั้นอากาศในบริเวณแผ่นดิน จึงมีความแน่นน้อยกว่า และความกดก็ลดลงด้วยจึงลอยตัวขึ้น ดังนั้น อากาศเย็นตามบริเวณทะเลจะพัดเข้ามาแทนที่ ลมซึ่งพัดจากทะเลนี้เรียกว่า "ลมทะเล" (sea breeze) ซึ่งเกิดขึ้นในตอนบ่ายและเย็น



ลมบก (land breeze) นั้น เกิดขึ้นในทิศตรงกันข้ามกับลมทะเล และมีกำลังแรงน้อยกว่า กล่าวคือ ในตอนกลางคืน พื้นน้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าผืนแผ่นดิน ดังนั้น อากาศในบริเวณทะเลซึ่งมีความแน่นน้อยกว่าจะลอยตัวขึ้น อากาศเย็นในบริเวณแผ่นดินจะพัดออกไปแทนที่





  • ลมภูเขาและลมหุบเขา  เป็นลมที่เกิดขึ้นตามเวลากลางวันและกลางคืนเช่นกัน  เนื่องจากความแตกต่างอุณหภูมิภูเขาและหุบเขา


ลมภูเขา เป็นลมที่เกิดเวลากลางคืนเพราะว่าลมจะพัดภูเขาลาดลงไปในหุมเขา  เนื่องจากอุณหภูมิที่สะสมในตอนกลางวันนั้นหุบเขาจะดูดเก็บไว้  ทำให้ลมพัดไปที่หุบเขา

ลมภูเขา เกิดเวลากลางคืน


ลมหุบเขา  เกิดช่วงเวลากลางวัน  เพราะว่าลมจะพัดขึ้นจากหุบเข้าไปยังยอดภูเขาเนื่องจากอุณหภูมิที่ภูเขาจะ ร้อนกว่าเพราะว่าโดยแสงแดดเวลากลางวันหุบเข้าจึงมีความเย็นกว่า

ลมหุบเขา เกิดตอนกลางวัน


2. ประจำถิ่น  เป็นลมที่เกิดขึ้นประจำถิ่นตามภูมิประเทศและ จะเรียกตามสถานที่เกิดบริเวณนั้น  เกิดจากความเปลี่ยนแปลงความกดอากาศที่เกิดขึ้นที่เยื้ออำนวยต่อการเกิดลม นั้นเอง  รวมไปถึงลมที่มักเกิดขึ้นถิ่นนั้นเป็นประจำด้วย  ตัวอย่างลมตะเภา เป็นลมที่พัดจากอ่าวไทยขึ้นไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาในฤดูร้อน  ลมบ้าหมู  เป็นลมที่มีขนาดเล็กเกิดในช่วงร้อนจัด  จะเป็นลมหมุนขนาดเล็กๆ  หมุนขึ้นไปข้างบนการเกิดไม่เป็นที่แน่นอนและจะเป็นที่โล่งๆ


  • ลมข้าวเบา เป็นลมที่พัดมาจากทางทิศเหนือลงมายังลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปทางทิศใต้ เป็นลมหนาวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต้นฤดูหนาวราวเดือนกันยายน ถึงพฤศจิกายน เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนนิยมเล่นว่าว จึงเรียกว่าลมว่าว ส่วนสาเหตุที่เรียกว่าลมข้าวเบา เนื่องมาจากลมพัดผ่านมาในช่วงเวลาที่มีการเก็บเกี่ยวข้าวชนิดหนึ่งในเดือนพฤศจิกายนนั่นเอง
  • ลมตะเภา เป็นลมที่พัดจากอ่าวไทยไปยังที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา หรือเป็นลมที่พัดจากทิศใต้ขึ้นไปยังทิศเหนือ ในช่วงกลางฤดูร้อน โดยเฉพาะในเดือนเมษายนของทุกปี ลมตะเภาจะพัดแรงในเวลากลางวัน เนื่องจากได้รับอิทธิพบจากลมทะเลพัดเข้ามาช่วยเสริม ส่วนเวลากลางคืนจะอ่อนกำลังลงเล็กน้อย เนื่องจากมีลมบกพัดต้านไว้ เป็นลมที่สมัยก่อนใช้ประโยชน์ในการเดินเรือสำเภา ขึ้น-ล่อง ค้าขายกัน จึงมีชื่อเรียกว่า "ลมตะเภา" เพราะเป็นลมที่นำพาเรือสำเภามานั่นเอง ลมชนิดนี้แหละที่คนไทยใช้ เล่นว่าวกัน
  • ลมสลาตัน / ลมเพชรหึง เป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มักเกิดในช่วงต้นของการเปลี่ยนฤดูกาล ช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเกิดพายุฝน หรือลมแรง ในบางครั้งเรียกว่าลมเพชรหึง ซึ่งเป็นลมพายุใหญ่ มีชื่อเรียกต่างๆ กันไปในแต่ละท้องถิ่น ลมงวง / นาคเล่นน้ำ เป็นลักษณะของลมพายุหมุนที่เกิดจากการหมุนเวียนของอากาศภายในเมฆฝน ในบางครั้งเราอาจเห็นเมฆซึ่งมีลักษณะคล้ายงวงยาวลงมาจากฐานเมฆฝน สำหรับประเทศไทยพบลมชนิดนี้เกิดขึ้นในทะเลจึงมักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "นาคเล่นน้ำ" ลมบ้าหมู เป็นลมที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ มีทิศทางพัดหมุนวนเข็มนาฬิกา มักเกิดบริเวณอากาศร้อนจัด ทำให้อากาศลอยตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเกิดการไหลเข้ามาแทนที่ของอากาศ เกิดมากในฤดูร้อน อากาศร้อนจัด
  • ลมพัทธยา เป็นลมซึ่งพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในต้นฤดูฝน (เป็นที่มาของชื่อเมืองพัทยา หรือ เมืองพัทยา อาจเพี้ยนมาจากคำว่า "ทัพพระยา" สมัยพระเจ้าตากสินก็ได้) คำว่า "พัทธยา" พ้องกับคำในภาษามลายูว่า "barat daya" หมายถึงลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้
  • ลมตะโก หรือ ลมพัดหลวง เป็นลมที่เกิดปลายฤดูฝน พัดจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อ "ลมพัดหลวง" อาจมาจากเป็นลมที่มีกำลังแรง เพราะว่า "หลวง" คือ "ใหญ่" หรืออาจมาจากภาษามลายูว่า Barat laut แปลว่าลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้


3. ลมประจำปี  คือลมที่เกิดขึ้นในตลอดทั้งปี  แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางความกดอากาศ  เนื่องจากบริเวณของโลกนั้น  ขั้วโลกจะมีอากาศที่เย็นและเส้นศูนย์สูตรนั้นมีความร้อนมากจึงทำให้เกิดลม ทั้งปี  และแกนโลกมีลักษณะที่เอียงจึงเกิดลมที่ทั้งสองซีกโลกพัดเป็นแนวเฉียง  พัดเข้าหาเส้นศูนย์สูตร  ซึ่งสมัยก่อนใช้ในการเดินเรือเป็นสำคัญ ลมประจำปี มี 3 อย่าง

ลมค้า ลูกศรสีเหลืองกับน้ำตาล และ ลมตะวันตก ลูกศรสีฟ้า

  • ลมค้า (Trade Wind) เป็นลมที่พัดออกจากบริเวณความกดอากาศสูงกึ่งโซนร้อนไปยังบริเวณความกดอากาศต่ำที่เส้นศูนย์สูตร ในซีกโลกเหนือจะพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้จะพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็วประมาณ 16-24 กิโลเมตร/ชั่วโมง เนื่องจากลมค้านี้พัดสม่ำเสมอ มีกำลังแรงปานกลาง และมีทิศทางที่แน่นอน จึงมีประโยชน์ต่อการเดินเรือเป็นอย่างมาก ลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ช่วยพัดพากระแสน้ำอุ่นจากฝั่งแปซิฟิกตะวันออกไปยังฝั่งแปซิฟิกตะวันตก ทำให้บริเวณฝั่งตะวันตก (อินโดนีเซีย, ออสเตรเลีย) มีความชุ่มชื้นและฝนตกชุก ในขณะที่ฝั่งตะวันออก (เปรู, ชิลี) ทำให้มีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์
  • ลมตะวันตก (Westerlies Wind) คือ ลมที่พัดจากหย่อมความกดอากาศสูงกึ่งศูนย์สูตร ทางซีกโลกเหนือเข้าหาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวรเส้นศูนย์สูตร 
  • ลมขั้วโลก (Polar Wind) พัดจากกดอากาศสูงขั้วโลก ไป กดอากาศต่ำกึ่งขั้วโลก ลมขั้วโลกทำให้เกิด  Polar Vortex (โพลาร์ วอร์เทกซ์) คือ พายุที่เกิดจากลมหมุนวนในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา ด้วยความเร็วสูงบริเวณขั้วโลกเหนือ เป็นผลทำให้เกิดอากาศที่หนาวเย็นปกคลุมไปทั่วภาคพื้นที่โดยรอบของมหาสมุทรอาร์กติก โดยเฉพาะประเทศทางตอนเหนือ และ โพลาร์ วอร์เทกซ์ ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นพายุแค่เพียงลูกเดียวเท่านั้น แต่อาจมีหลายลูกเกิดขึ้นพร้อมกันได้ แถมยังอาจจะหมุนวนผิดทิศทาง จนทำให้เกิดการเคลื่อนตัวลงทางใต้ได้ไกลกว่าปกติ

การหมุนวนผิดทิศผิดทางในลักษณะนี้ จะมีขึ้นต่อเมื่อ กระแสลมวนจากขั้วโลกเหนือ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งนี่อาจเป็นสาเหตุสำคัญเหตุหนึ่งที่ทำให้การหมุนของลมถูกเปลี่ยนทิศ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ลมวนจากขั้วโลกเหนือจะเคลื่อนลงมาทางตอนใต้ หรือที่เรียกกันว่า Arctic Oscillation (อาร์กติก ออสซิลเลชัน) จนทำให้พื้นที่ที่อยู่ต่ำลงมาจากขั้วโลกเหนือ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาเหนือ ยุโรป หรือเอเชีย ได้รับผลกระทบจากความหนาวเย็นอย่างรุนแรง ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในปี 2014 ทำให้ ทวีปอเมริกาเหนืออุณหภูมิลดถึง -50 องศาเซลเซียส และยังทำให้ "น้ำตกไนแองการ่า" จากน้ำตก.. กลายร่างเป็น "ธารน้ำแข็ง"

The U.S. side of the Niagara Falls covered in ice on Wednesday, January 8, 2014

4. ลมประจำฤดู  เป็นลมที่เกิดขึ้นในภูมิภาค มักเกิดขึ้นประจำฤดูนั้นๆ เรียกอย่างว่า  ลมมรสุม (Monsoon)   สำหรับทิศทางการพัดนั้นขึ้นอยู่ฤดู  ลมประจำฤดูแบ่งได้เป็น 2 แบบ

  • ลมมรสุมฤดูร้อน หรือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมประเทศไทย ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น

ลมมรสุมฤดูร้อน



  • ลมมรสุมฤดูหนาว หรือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคม จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย จนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ แถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็น และแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี

ลมมรสุมฤดูหนาว

ทิศทางการพัดของลมมรสุม


5.ลมพายุ (Storm)  เป็นลมที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงเนื่องจากความกดอากาศที่แตกต่างกันมากจึงทำให้เกิดลมที่มีความรุนแรงมาก  ซึ่งมีการแบ่งเป็น

  • พายุฝนฟ้าคะนอง  เกิดจากความเปลี่ยนกดอากาศอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนพฤษภาคมของบ้านเรานั้น เอง  จะมีพายุ  ลมแรง  ในตกหนักมาก  ฟ้าร้อง  ฟ้าผ่า  ลูกเห็บต่างๆ
  • พายุหมุนเขตร้อน คือ พายุที่เกิดขึ้น เหนือมหาสมุทร ในเขตร้อน (ละติจูดต่ำ หรือ ใกล้เส้นศูนย์สูตร) เนื่องจากกระบวนการ ถ่ายเทพลังงาน ของอากาศชื้น เหนือมหาสมุทร เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักจะเคลื่อนตัวไปตามกระแสลมรอบข้าง อาจมีกำลังแรงขึ้น หรืออ่อนลง ตามแต่ลักษณะอากาศ ที่เคลื่อนผ่านไป แต่เมื่อเคลื่อนเข้าสู่แผ่นดิน จะอ่อนกำลังลง เพราะไม่มีพลังงานจากไอน้ำ มาเสริมกำลังต่อ

ปัจจุบัน เราแบ่งพายุหมุนเขตร้อน ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับความรุนแรง โดยวัดจากความเร็วลม ณ ศูนย์กลางพายุเป็นหลัก ดังนี้

1. พายุดีเปรสชั่น ความเร็วลมไม่เกิน 63 km/h

2. พายุโซนร้อน  ความเร็วสูงกว่าพายุดีเปรสชั่น แต่ไม่เกิน 118 km/h

3. พายุไต้ฝุ่น (Typhoon)  พายุนี้จะมีความรุนแรงกำลังแรงสูงสุดในระดับพายุหมุนเขตร้อนในมาตราโบฟอร์ต จะมีความเร็วลมมากกว่า 120 km/h  พายุนี้อาจมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาค ถ้าเกิดที่แอตแลนติกเหนือจะเรียกพายุดังกล่าวว่า พายุเฮอร์ริเคน (Hurricane) และถ้าเกิดที่มหาสมุทรอินเดีย จะเรียกพายุดังกล่าวว่า พายุไซโคลน (Cyclone) 

ในประเทศไทย ก็เคยเกิดพายุไต้ฝุ่นขึ้นมา 1 ครั้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 เป็นพายุไต้ฝุ่นครั้งเลวร้ายที่สุดที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรมลายูรอบ 35 ปี เรียกว่า พายุไต้ฝุ่นเกย์ (Typhoon Gay) 

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (Typhoon Gay)



วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 เวลา 08.30 น. พายุไต้ฝุ่นเกย์เคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตอนบนด้วยความเร็วขึ้นฝั่ง 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นความรุนแรงระดับ 3 ขึ้นฝั่งที่อำเภอท่าแซะ และปะทิว จังหวัดชุมพร ทำให้เกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง ที่อำเภอบางสะพานน้อย บางสะพาน ท่าแซะ และปะทิว ทุกอย่างราบเป็นหน้ากลอง


พายุเกย์ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปถึง 537 คน บาดเจ็บ 154 คน บ้านเรือนเสียหาย 38,002 หลัง ประชาชนเดือดร้อน 153,472 คน เรืออับปาง 391 ลำ ถนนเสียหาย 579 เส้น สะพาน 131 แห่ง ทำนบและฝาย 49 แห่ง โรงเรียนพัง 160 โรง วัด 93 วัด มัสยิด 6 แห่ง พื้นที่การเกษตร 80,900,105 ไร่ สัตว์เลี้ยงตาย 83,490 ตัว ประเมินความเสียหาย 11,257,265,265 บาท นอกจากนี้ยังมีรายงานเรือขุดเจาะน้ำมันซีเครสต์อับปางลงนอกชายฝั่ง มีลูกเรือเสียชีวิต 91 คน


พายุได้สร้างความเสียหายอย่างหนักที่เกิดขึ้นกับปะการังนอกชายฝั่งประเทศไทย พายุไต้ฝุ่นเกย์ถือเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยมากที่สุดในรอบ 27 ปี นับตั้งแต่พายุโซนร้อนแฮเรียตถล่มแหลมตะลุมพุก ในปีพ.ศ. 2505 เป็นพายุลูกเดียวในประวัติศาสตร์ที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยในระดับไต้ฝุ่น และยังเป็นพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดขณะขึ้นฝั่งเท่าที่เคยมีมาในคาบสมุทรมลายู

ตอนที่เรือน้ำมันจมตอนนั้น ผมก็อยู่บนเรือสินค้าจุดใกล้เคียงเรือน้ำมันจม เรือเราวิ่งจากเกาะกง กัมพูชาไป ตัดข้ามอ่าวไทย ผ่านมาเลเซีย เพื่อไปสิงค์โปร์  ด้วยสินค้าเต็มลำ ตอนนั้นเรือเราก็เกือบไม่รอด เครื่องยนต์คัมมิ่นส์ทำงานหนักทนไม่ไหวจนพังไป 1 ตัว เวลาหัวเรือชนคลื่น สะท้านแบบแน่นๆทั้งลำเรือ คลื่นซัดตั้งแต่หัวเรือกระจายจนถึงท้ายเรือ คลื่นพายุเกย์บนเรือในตอนนั้น ประมาณนี้ ...



ข้อมูลอ้างอิง
  • กรมอุตุนิยมวิทยา
  • วิกิพีเดีย
  • กรมชลประทาน
  • สารานุกรมเยาวชนไทย