ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เกาะในจังหวัดชลบุรี (Islands in Chon Buri)

เกาะในจังหวัดชลบุรี (Islands in Chon Buri)


















แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดชลบุรี ในแผนที่ GPS

เกาะในจังหวัดชลบุรี มี 47 เกาะ

  • เกาะปรง
  • เกาะร้านดอกไม้
  • เกาะขามน้อย
  • เกาะยายท้าว
  • เกาะท้ายตาหมื่น
  • เกาะค้างคาว
  • เกาะขามใหญ่
  • เกาะสีชัง
  • เกาะหินต้นไม้ หรือ เกาะหินกะยักโดง
  • เกาะหูช้าง
  • เกาะหินขาว หรือ เกาะหินล้อมฟาง
  • เกาะเหลือมน้อย
  • เกาะจุ่น
  • เกาะครก
  • เกาะกลึงบาดาล
  • เกาะสาก
  • เกาะมารวิชัย
  • เกาะริ้น
  • เกาะเหลือม
  • เกาะไผ่
  • เกาะล้าน
  • เกาะลอย
  • เกาะนก
  • เกาะรางเกวียน
  • เกาะเกล็ดแก้ว
  • เกาะแมว
  • เกาะไก่เตี้ย
  • เกาะพระน้อย
  • เกาะครามน้อย
  • เกาะอีเลา
  • เกาะยอ
  • เกาะหมู
  • เกาะอีร้า
  • เกาะพระ
  • เกาะเตาหม้อ
  • เกาะคราม
  • เกาะโรงหนัง
  • เกาะปลาหมึก
  • เกาะโรงโขน
  • เกาะนางรำ
  • เกาะฉางเกลือ
  • เกาะจระเข้
  • เกาะขาม
  • เกาะจาน
  • เกาะแรด
  • เกาะจวง
  • เกาะแสมสาร




เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง


ข้อมูลอ้างอิง
  • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ระบบควบคุมมอเตอร์อัตโนมัติ ตึกเรือ (อควอเรี่ยม) บึงบอระเพ็ด auto motor control

ระบบควบคุมมอเตอร์อัตโนมัติ ตึกเรือ (อควอเรี่ยม) บึงบอระเพ็ด auto motor control
 



 จากของเล่นสู่ของจริง ระบบควบคุมปั้มน้ำอัตโนมัติตึกเรือ อบจ.บึงบอระเพ็ด ใช้ไม่ได้และก็หาคนมาซ่อมหลายเจ้าก็ยังทำไม่ได้ ใช้ได้แต่ระบบ Manual มาหลายปี พอผมได้ข่าวผมก็บอกผมพอช่วยได้ครับ พวกระบบอัตโนมัติ มันของเล่นของผม 555



เนื่องจากระบบควบคุมอัตโนมัติเดิมจะใช้ PLC หรือเรียกอีกอย่างว่า โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable logic Control : PLC) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่างๆ โดยภายในมี Microprocessor เป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุตและเอาต์พุตที่สามารถต่อออกไปใช้งาน

  • ระบบมีอินพุทในการอ่านค่าความดันน้ำในระบบจากถังความดัน , ระดับน้ำจากเกจถังพัก , ทามเมอร์คุมเวลาเปิด
  • เอาท์พุทแมคเนติกส์ , ทามเมอร์คุมเวลาปิด
  • วงจรจะมี 2 ระบบ Automatic กับ Manaul
  • PLC จะทำหน้าที่ สลับการทำงานของ Motor ปั้มน้ำ เพื่อลดการศึกหรอในอุปกรณ์ สามารถตั้งว่าจะให้ Auto Motor 1, 2, 3 หรือ จะสลับเปิดปิดอย่างไรก็ได้ กี่ตัวก็ได้
เนื่องจากการทำงานอัตโนมัติ จะทำได้หัวใจสำคัญจะต้องมีระบบสมองกล Microprocessorซึ่งผมเลือก Board สมองกลมาใช้ควบคุม (ระบบบอร์ดคอมพิวเตอร์จิ๋วตัวนี้ผมเคยใช้ทำระบบขับเรืออัตโนมัติ) โดยใช้วิธีเขียนโปรแกรมควบคุมสั่งงานให้ได้อย่างที่ต้องการ พร้อมระบบปิดตัวเองอัตโนมัติ


 
ในระบบ PLC มันจะทำงานในแบบตารางเวลา มีอินพุท เอาท์พุท ฉะนั้นการควบคุมซับซ้อนจะต้องมีอุปกรณ์อื่นๆอีกช่วย เช่น ทามเมอร์ใช้เป็นดีเลย์เพื่อหน่วงสัญญาณ จำนวนมากมาทำเพื่อให้มันทำงานอัตโนมัติตามเวลาตามสเต็ป พอเปลี่ยนมาใช้สมองกลรุ่นใหม่ ซึ่งเขียนโปรแกรมได้ซับซ้อนกว่า จึงลดอุปกรณ์ไปได้มาก ประหยัดเงินค่าอุปกรณ์ได้เยอะมาก โดยใช้วิธีแก้ปัญหาความซับซ้อนของเงื่อนไขการทำงานต่างๆของระบบ ด้วยการเขียนโปรแกรม



ตอนออกแบบต้องต่อระบบให้ทำงานได้ก่อน อัปโหลดโปรแกรมลงบอร์ด ทดสอบการทำงาน แล้วค่อยทำลงกล่อง เพื่อไปติดตั้ง



แล้วก็ไปตัดต่อใช้สมองกลของเรา ไปคุมตู้คอนโทรลอีกครั้ง



 จาก Hardware เป็นตับ เหลือแค่นี้ ที่เหลือใช้ Software ล้วนๆ เนื่องจากต้องควบคุมโดยมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงต้องสร้างฐานเวลาหน่วยวินาทีขึ้นมาก่อน พอได้วินาที ก็ได้นาที ได้ชั่วโมง ก็ได้วัน จึงไม่ต้องใช้ Hardware Timer งานที่เหลือก็อ่านอินพุท เขียนเอาท์พุท และผลด้วยจอ LCD พร้อมแสดงสถานะมอเตอร์แต่ละตัว เวลาการทำงานและขั้นตอนสถานะการทำงานปัจจุบัน พร้อมกับไฟแสดงผล Emergency ไปที่ห้องผู้ดูแล ในกรณีมอเตอร์ทำงานผิดปรกติ


 สรุป ในระบบอัตโนมัติจะเป็นจริง ต้องมีคอมพิวเตอร์จิ่วที่เป็นสมองกลช่วย ระบบนี้สามารถต่อยอดเป็นระบบควบคุมอะไรก็ได้

ไว้ว่างจะลองทำระบบ  Automatic Boat Manage สำหรับให้ระบบอัตโนมัติทำงานแทนเจ้าของเรือ เวลาที่ไม่อยู่เรือ หรือ ทำงานอัตโนมัติตอนจอดเรือ ระบบนี้จะเหมาะกับเรือใหญ่ ที่จอดในทะเล 555 ต้องรอมีเรือ 40 ฟุตก่อน
  • วัดอัตราการชาร์ทแบ็ตเตอร์รี่จากเครื่องยนต์ เจนเนอร์เรเตอร์ โซล่าเซลล์ วินด์เจนเนอร์เรเตอร์
  • วัดอัตราการใช้ไฟในเรือ ตู้เย็น แอร์ เครื่องทำน้ำแข็ง อินเวอร์เตอร์ เพื่อเวลาไฟไม่พอ ให้ทำการสตาร์ทเจนเนอร์เรเตอร์อัตโนมัติ
  • เปิดไฟจอดเรืออัตโนมัติตอนกลางคืน
  • ใช้เกจวัดระดับน้ำแทน การใช้สวิทซ์ลูกลอย ทำให้ทราบระดับน้ำแท้จริงท้องเรือ เพื่อสั่งงานมอเตอร์ปั้มน้ำอัตโนมัติ พร้อมระบบ Emergency ตอนเรือจะจม ปั้มน้ำทุกตัวในเรือต้องทำงานได้อัตโนมัติได้แม้เจ้าของเรือไม่อยู่
  • ใช้แจ้งตำแหน่งที่เรือ หรือหาเรือกรณีจอดเรือไว้ กรณีเรือเกิดย้ายที่ สมอเกา หรือเชื่อกสมอขาด หาเรือไม่เจอ หรือแจ้งเหตุอัคคีภัย
  • สั่งงานระยะไกลจากมือถือ หรือแทปเล็ต มาเช็คค่าต่างๆของระบบอัตโนมัติ และควบคุมอย่างที่ต้องการ สั่งเปิดไฟ ปิดไฟ เปิดปั้ม เปิดเจนเนอร์เรเตอร์ เปิดแอร์ หรือถอนสมอ ย้ายจุดจอดเรือ และทิ้งสมอ จากระยะไกลผ่านระบบ Mobile
  • มากมายก่ายกอง

ข้อมูลอ้างอิง องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ บึงบอระเพ็ด

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เกาะในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (Islands in Prachuap Khiri Khan)

เกาะในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (Islands in Prachuap Khiri Khan)


เมืองประจวบคีรีขันธ์ หรือเรียกอีกอย่างว่า เมือง 3 อ่าว เพราะจะมีอ่าว 3 อ่าวติดกันเป็นวงๆ

  • อ่าวมะนาว
  • อ่าวเกาะหลัก
  • อ่าวน้อย

 ลักษณะเด่นของที่นี่คือ เป็นเมืองที่เงียบสงบ วิวสวย ค่าครองชีพถูก ที่พัก อาหารการกินราคามิตรภาพ เหมาะเป็น Long Stay พักระยะยาว ... ทริปหลักร้อยวิวหลักล้าน






เกาะในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี 23 เกาะ

  •  เกาะระวาง
  • เกาะระวิง
  • เกาะนมสาว
  • เกาะขี้นก (ต.สามร้อยยอด)
  • เกาะกูรำ
  • เกาะท้ายทรีย์
  • เกาะจาน หรือ เกาะท้ายจาน
  • เกาะร่ำร่า
  • เกาะหัวหิน
  • เกาะสิงห์
  • เกาะสังข์
  • เกาะทะลุ
  • เกาะพิง
  • เกาะหลำ
  • เกาะร่ม
  • เกาะหลัก
  • เกาะพัง
  • เกาะอีแอ่น
  • เกาะแรด
  • เกาะเหลือม
  • เกาะขี้นก (ต.หนองแก)
  • เกาะสะเดา
  • เกาะทราย





แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในแผนที่ GPS


สงครามแปซิฟิก (อังกฤษ: Pacific War) หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (อังกฤษ: Greater East Asia War)

เมื่อญี่ปุ่นบุกไทยใน สงครามมหาเอเชียบูรพา

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นในทวีปยุโรป เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2482 ในระยะแรกฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำการรบแก่เยอรมนี ทำให้เยอรมนีสามารถครอบครองดินแดนทวีปยุโรปตะวันตก ซึ่งประกอบด้วย เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศสไว้ได้เกือบทั้งหมด รวมทั้งเข้ายึดครองนอร์เวย์ และเดนมาร์คทางด้านเหนือได้อีกด้วย

ขณะเดียวกันญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ก็มีความปรารถนาที่จะแผ่อิทธิพลลงมาในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของ สหรัฐอเมริกา จีน อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ จึงได้ฉวยโอกาสที่อังกฤษ ฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำ ในการทำสงครามส่งกำลังเข้าไปในอินโดจีนภาคเหนือ

สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นพันธมิตรของอังกฤษและฝรั่งเศสเล็งเห็นว่า หากปล่อยให้ญี่ปุ่นแผ่อิทธิพลลงมาในเอเชียอาคเนย์จะเป็นภัย และกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของสหรัฐ ฯ ใน มหาสมุทรแปซิฟิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เกาะฟิลิปปินส์และหมู่เกาะฮาวาย ทั้งจะกระทบกระเทือน ต่อระบบการป้องกัน และเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ อีกด้วย ดังนั้น จึงยื่นคำขาดให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกจากจีน มิฉะนั้นสหรัฐ ฯ จะยกเลิกสัญญาการเดินเรือ และการพาณิชย์กับญี่ปุ่นรวมทั้งจะยึดทรัพย์สินของญี่ปุ่นในสหรัฐ ฯ และระงับการส่งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากสหรัฐ ฯ เข้าไปในญี่ปุ่นอีกด้วย

และ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 (ตามเวลาของญี่ปุ่น)ญี่ปุ่นได้ส่งกองบิน ไปทิ้งระเบิดเพิร์ลฮาร์เบอร์ (Pearl Harbor) เพื่อทำลายฐานทัพเรือและกำลังทางอากาศของสหรัฐฯ โดยญี่ปุ่นเลือกโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐที่แข็งแกร่งที่สุด


วิดีโอจำลองเหตุการณ์การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ (จากภาพยนต์ Pearl Harbor)



การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์เริ่มเมื่อ 7.48 น. ตามเวลาฮาวาย ฐานทัพสหรัฐถูกเครื่องบินขับไล่ เครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินตอร์ปิโดญี่ปุ่น 353 ลำโจมตี แบ่งเป็นสองระลอก บินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน 6 ลำ เรือรบแห่งกองทัพเรือสหรัฐทั้ง 8 ลำเสียหาย โดย 4 ลำจม ฝ่ายญี่ปุ่นยังจมหรือสร้างความเสียหายแก่เรือลาดตระเวน 3 ลำ เรือพิฆาต 3 ลำ เรือฝึกต่อสู้อากาศยาน 1 ลำและเรือวางทุ่นระเบิด 1 ลำ อากาศยานสหรัฐ 188 ลำถูกทำลาย ฝ่ายอเมริกันเสียชีวิต 2,403 นาย บาดเจ็บ 1,178 นาย สถานที่ตั้งฐานทัพสำคัญอย่างโรงไฟฟ้า อู่เรือ โรงซ่อมบำรุง โรงเชื้อเพลิงและโรงเก็บตอร์ปิโด ตลอดจนสะพานเทียบเรือดำน้ำและอาคารกองบัญชาการ (ซึ่งเป็นที่ตั้งของฝ่ายข่าวกรอง) ไม่ถูกโจมตี

ฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสียเล็กน้อย คือ อากาศยาน 29 ลำและเรือดำน้ำขนาดเล็กมาก 5 ลำ และทหารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 65 นาย



ในวันที่โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นวันที่กองทัพญี่ปุ่นได้บุกจู่โจมประเทศไทย เวลาเช้าตรู่ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 (ค.ศ. 1941) วันเดียวกัน (ตอนเช้าที่อเมริกา เวลาก่อนตอนเช้าประเทศไทย ประมาณ 9 ชั่วโมง)


โดยยกพลขึ้นบกพร้อมกัน 7 จุด มีจังหวัดสมุทรปราการ(บางปู)เท่านั้นที่ไม่มีการปะทะ นอกนั้นปะทะกับคนไทยทุกจุดคือจังหวัดประจวบ  จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี  ส่วนกองกำลังทางบกที่ข้าศึกรุกผ่านเข้ามาทางจังหวัดพระตะบอง และจังหวัดพิบูลสงครามไร้การต่อต้าน



  • ประเทศไทย ซึ่งเป็นดินแดนถูกเลือกเป็นสถานที่สำหรับการเริ่มต้นในสงครามมหาเอเชียบูรพา ยอมจำนนภายใน 24 ชั่วโมงหลังถูกญี่ปุ่นรุกราน (น่าจะเห็นศักยภาพของญี่ปุ่น ในการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ที่สหรัฐอเมริกา) คิดว่าอย่างไรคงสู้ญี่ปุ่นไม่ได้ รัฐบาลไทยลงนามเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 
  • ฮ่องกง คราวน์โคโลนีของอังกฤษ ถูกโจมตีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม และพ่ายแพ้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยที่กองทัพแคนาดาและอาสาสมัครฮ่องกงมีส่วนสำคัญในการป้องกันดังกล่าว ฐานทัพสหรัฐบนเกาะกวมและเกาะเวกเสียแก่ข้าศึกในเวลาไล่เลี่ยกัน
  • นเดือนมกราคม ญี่ปุ่นรุกรานพม่า อินเดียตะวันออกของดัตช์ นิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน และยึดกรุงมะนิลา กัวลาลัมเปอร์และราบูล หลังจากกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรถูกขับไล่ออกจากมาลายา
  • ในสิงคโปร์เองก็พยายามที่จะต้านทานการรุกของญี่ปุ่นแต่ต้องยอมจำนนเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 และทหารอินเดีย อังกฤษ ออสเตรเลียและดัตช์ตกเป็นเชลยศึกถึงกว่า 130,000 คน อัตราการพิชิตดินแดนของญี่ปุ่นเป็นไปอย่างรวดเร็ว
  • ฝ่ายอังกฤษ ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก สู้รบล่าถอยจากย่างกุ้งไปยังชายแดนอินเดีย-พม่า
  • กองทัพฟิลิปปินส์และสหรัฐอเมริกายังคงทำการรบต้านทานอยู่ในฟิลิปปินส์จนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 เมื่อทหารมากกว่า 80,000 นายได้รับคำสั่งให้ยอมจำนน 


    อนุสาวรีย์รายนามผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก

    อ่าวมะนาวนี้เคยเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ โดยเมื่อครั้งเหตุการณ์สงครามมหาเอเชียบูรพาในปี 2484 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในบริเวณอ่าวมะนาวแห่งนี้เพื่อใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังประเทศพม่า ทหารไทยได้ต่อสู้อย่างเข้มแข็งแม้จะมีกำลังพลเพียง 120 คน ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นซึ่งมีกำลังพลถึง 3,000 คน ซึ่งสุดท้ายแล้วฝ่ายไทยเสียชีวิต 42 ราย ซึ่งประกอบด้วยทหารอากาศ 38 นาย ตำรวจ 1 นาย ยุวชนทหาร 1 คน และครอบครัวทหาร 2 คน
    ดังนั้น ทางกองบิน 5 จึงได้จัดทำพื้นที่ประวัติศาสตร์ซึ่งเคยเป็นสนามรบนี้ให้เป็น “พิพิธภัณฑ์อุทยานประวัติศาสตร์กองบิน 5” โดยมีสิ่งที่น่าสนใจให้ชมหลายอย่าง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงประวัติศาสตร์สมัยญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่อ่าวมะนาว





    เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง


    ข้อมูลอ้างอิง
    • เรือนไทย วิชาการ.คอม
    • วิกิพิเดีย Wikipidia
    • อนุสรณ์สถานแห่งชาติ The National Memorial
    • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
    • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

    บทความที่เกี่ยวข้อง