เมืองประจวบคีรีขันธ์ หรือเรียกอีกอย่างว่า เมือง 3 อ่าว เพราะจะมีอ่าว 3 อ่าวติดกันเป็นวงๆ
- อ่าวมะนาว
- อ่าวเกาะหลัก
- อ่าวน้อย
ลักษณะเด่นของที่นี่คือ เป็นเมืองที่เงียบสงบ วิวสวย ค่าครองชีพถูก ที่พัก อาหารการกินราคามิตรภาพ เหมาะเป็น Long Stay พักระยะยาว ... ทริปหลักร้อยวิวหลักล้าน
เกาะในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี 23 เกาะ
- เกาะระวาง
- เกาะระวิง
- เกาะนมสาว
- เกาะขี้นก (ต.สามร้อยยอด)
- เกาะกูรำ
- เกาะท้ายทรีย์
- เกาะจาน หรือ เกาะท้ายจาน
- เกาะร่ำร่า
- เกาะหัวหิน
- เกาะสิงห์
- เกาะสังข์
- เกาะทะลุ
- เกาะพิง
- เกาะหลำ
- เกาะร่ม
- เกาะหลัก
- เกาะพัง
- เกาะอีแอ่น
- เกาะแรด
- เกาะเหลือม
- เกาะขี้นก (ต.หนองแก)
- เกาะสะเดา
- เกาะทราย
แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในแผนที่ GPS
สงครามแปซิฟิก (อังกฤษ: Pacific War) หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (อังกฤษ: Greater East Asia War)
เมื่อญี่ปุ่นบุกไทยใน สงครามมหาเอเชียบูรพา
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นในทวีปยุโรป เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2482 ในระยะแรกฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำการรบแก่เยอรมนี ทำให้เยอรมนีสามารถครอบครองดินแดนทวีปยุโรปตะวันตก ซึ่งประกอบด้วย เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศสไว้ได้เกือบทั้งหมด รวมทั้งเข้ายึดครองนอร์เวย์ และเดนมาร์คทางด้านเหนือได้อีกด้วย
ขณะเดียวกันญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ก็มีความปรารถนาที่จะแผ่อิทธิพลลงมาในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของ สหรัฐอเมริกา จีน อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ จึงได้ฉวยโอกาสที่อังกฤษ ฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำ ในการทำสงครามส่งกำลังเข้าไปในอินโดจีนภาคเหนือ
สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นพันธมิตรของอังกฤษและฝรั่งเศสเล็งเห็นว่า หากปล่อยให้ญี่ปุ่นแผ่อิทธิพลลงมาในเอเชียอาคเนย์จะเป็นภัย และกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของสหรัฐ ฯ ใน มหาสมุทรแปซิฟิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เกาะฟิลิปปินส์และหมู่เกาะฮาวาย ทั้งจะกระทบกระเทือน ต่อระบบการป้องกัน และเศรษฐกิจของสหรัฐ ฯ อีกด้วย ดังนั้น จึงยื่นคำขาดให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกจากจีน มิฉะนั้นสหรัฐ ฯ จะยกเลิกสัญญาการเดินเรือ และการพาณิชย์กับญี่ปุ่นรวมทั้งจะยึดทรัพย์สินของญี่ปุ่นในสหรัฐ ฯ และระงับการส่งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากสหรัฐ ฯ เข้าไปในญี่ปุ่นอีกด้วย
และ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 (ตามเวลาของญี่ปุ่น)ญี่ปุ่นได้ส่งกองบิน ไปทิ้งระเบิดเพิร์ลฮาร์เบอร์ (Pearl Harbor) เพื่อทำลายฐานทัพเรือและกำลังทางอากาศของสหรัฐฯ โดยญี่ปุ่นเลือกโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐที่แข็งแกร่งที่สุด
วิดีโอจำลองเหตุการณ์การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ (จากภาพยนต์ Pearl Harbor)
การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์เริ่มเมื่อ 7.48 น. ตามเวลาฮาวาย ฐานทัพสหรัฐถูกเครื่องบินขับไล่ เครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินตอร์ปิโดญี่ปุ่น 353 ลำโจมตี แบ่งเป็นสองระลอก บินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน 6 ลำ เรือรบแห่งกองทัพเรือสหรัฐทั้ง 8 ลำเสียหาย โดย 4 ลำจม ฝ่ายญี่ปุ่นยังจมหรือสร้างความเสียหายแก่เรือลาดตระเวน 3 ลำ เรือพิฆาต 3 ลำ เรือฝึกต่อสู้อากาศยาน 1 ลำและเรือวางทุ่นระเบิด 1 ลำ อากาศยานสหรัฐ 188 ลำถูกทำลาย ฝ่ายอเมริกันเสียชีวิต 2,403 นาย บาดเจ็บ 1,178 นาย สถานที่ตั้งฐานทัพสำคัญอย่างโรงไฟฟ้า อู่เรือ โรงซ่อมบำรุง โรงเชื้อเพลิงและโรงเก็บตอร์ปิโด ตลอดจนสะพานเทียบเรือดำน้ำและอาคารกองบัญชาการ (ซึ่งเป็นที่ตั้งของฝ่ายข่าวกรอง) ไม่ถูกโจมตี
ฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสียเล็กน้อย คือ อากาศยาน 29 ลำและเรือดำน้ำขนาดเล็กมาก 5 ลำ และทหารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 65 นาย
ในวันที่โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นวันที่กองทัพญี่ปุ่นได้บุกจู่โจมประเทศไทย เวลาเช้าตรู่ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 (ค.ศ. 1941) วันเดียวกัน (ตอนเช้าที่อเมริกา เวลาก่อนตอนเช้าประเทศไทย ประมาณ 9 ชั่วโมง)
โดยยกพลขึ้นบกพร้อมกัน 7 จุด มีจังหวัดสมุทรปราการ(บางปู)เท่านั้นที่ไม่มีการปะทะ นอกนั้นปะทะกับคนไทยทุกจุดคือจังหวัดประจวบ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี ส่วนกองกำลังทางบกที่ข้าศึกรุกผ่านเข้ามาทางจังหวัดพระตะบอง และจังหวัดพิบูลสงครามไร้การต่อต้าน
- ประเทศไทย ซึ่งเป็นดินแดนถูกเลือกเป็นสถานที่สำหรับการเริ่มต้นในสงครามมหาเอเชียบูรพา ยอมจำนนภายใน 24 ชั่วโมงหลังถูกญี่ปุ่นรุกราน (น่าจะเห็นศักยภาพของญี่ปุ่น ในการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ที่สหรัฐอเมริกา) คิดว่าอย่างไรคงสู้ญี่ปุ่นไม่ได้ รัฐบาลไทยลงนามเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม
- ฮ่องกง คราวน์โคโลนีของอังกฤษ ถูกโจมตีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม และพ่ายแพ้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยที่กองทัพแคนาดาและอาสาสมัครฮ่องกงมีส่วนสำคัญในการป้องกันดังกล่าว ฐานทัพสหรัฐบนเกาะกวมและเกาะเวกเสียแก่ข้าศึกในเวลาไล่เลี่ยกัน
- ในเดือนมกราคม ญี่ปุ่นรุกรานพม่า อินเดียตะวันออกของดัตช์ นิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน และยึดกรุงมะนิลา กัวลาลัมเปอร์และราบูล หลังจากกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรถูกขับไล่ออกจากมาลายา
- ในสิงคโปร์เองก็พยายามที่จะต้านทานการรุกของญี่ปุ่นแต่ต้องยอมจำนนเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 และทหารอินเดีย อังกฤษ ออสเตรเลียและดัตช์ตกเป็นเชลยศึกถึงกว่า 130,000 คน อัตราการพิชิตดินแดนของญี่ปุ่นเป็นไปอย่างรวดเร็ว
- ฝ่ายอังกฤษ ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก สู้รบล่าถอยจากย่างกุ้งไปยังชายแดนอินเดีย-พม่า
- กองทัพฟิลิปปินส์และสหรัฐอเมริกายังคงทำการรบต้านทานอยู่ในฟิลิปปินส์จนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 เมื่อทหารมากกว่า 80,000 นายได้รับคำสั่งให้ยอมจำนน
อนุสาวรีย์รายนามผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก |
อ่าวมะนาวนี้เคยเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ โดยเมื่อครั้งเหตุการณ์สงครามมหาเอเชียบูรพาในปี 2484 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในบริเวณอ่าวมะนาวแห่งนี้เพื่อใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังประเทศพม่า ทหารไทยได้ต่อสู้อย่างเข้มแข็งแม้จะมีกำลังพลเพียง 120 คน ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นซึ่งมีกำลังพลถึง 3,000 คน ซึ่งสุดท้ายแล้วฝ่ายไทยเสียชีวิต 42 ราย ซึ่งประกอบด้วยทหารอากาศ 38 นาย ตำรวจ 1 นาย ยุวชนทหาร 1 คน และครอบครัวทหาร 2 คน
ดังนั้น ทางกองบิน 5 จึงได้จัดทำพื้นที่ประวัติศาสตร์ซึ่งเคยเป็นสนามรบนี้ให้เป็น “พิพิธภัณฑ์อุทยานประวัติศาสตร์กองบิน 5” โดยมีสิ่งที่น่าสนใจให้ชมหลายอย่าง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงประวัติศาสตร์สมัยญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่อ่าวมะนาว
เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง
ข้อมูลอ้างอิง
- เรือนไทย วิชาการ.คอม
- วิกิพิเดีย Wikipidia
- อนุสรณ์สถานแห่งชาติ The National Memorial
- กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น