ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

ส่วนประกอบของเรือใบ Sailing Component

ส่วนประกอบของเรือใบ Sailing Component

การเรืียกชื่อส่วนประกอบต่างๆ ของเรือใบ ไม่ว่าจะเป็นเรือใบแบบไหน จะมีอุปกรณ์คล้ายๆกัน และมีหน้าที่เหมือนกัน

ในเรือใบจะมีส่วนประกอบหลักๆ คล้ายๆกัน 

ตัวอย่างการเรียกชื่อส่วนต่างๆ ในเรือใบ Dinghy sailing



ตัวอย่างส่วนประกอบต่างๆ เรือใบ Laser


ตัวอย่างส่วนประกอบต่างๆ เรือใบ Optimist


ตัวอย่างส่วนประกอบต่างๆ เรือใบ Hobie cat



คงเรียกชื่อส่วนต่างๆ กันได้แล้วนะครับ ข้อดีของเรือใบขนาดเล็ก คือ วิ่งได้ไวมาก เร้าใจทุกเส้นทาง




คำศัพท์ในการแล่นใบ (Sail glossary)

คำศัพท์ในการแล่นใบ (Sail glossary)

รวบรวบคำศัพท์เกี่ยวกับการแล่นใบต่างๆ เรียงตามหมวดตัวอักษร A ถึง Z




A
Abeam (อะบีม) : แนวข้างทั้งสองด้านของเรือ , ตำแหน่งที่อยู่บนเส้นตั้งฉากของเส้นที่ลากจากหัวเรือไปยังท้ายเรือ
Aft : ตรงด้านท้ายของเรือ , ท้ายเรือ
Ahead (อะเฮด) : ทางด้านหน้า
Airfoil : ใบเรือที่เป็นอุ้งเมื่อรับลม
Amidships (อะมิดชิพส์) : ส่วนกึ่งกลางของเรือ ระหว่าง หัวเรือ กับ ท้ายเรือ และ ยังหมายถึง แนวกึ่งกลาง
ระหว่าง กราบขวา (Port) และ กราบซ้าย (Starboatd)
Anchorage : ที่กำบัง หรือ พื้นที่ ที่เรือจะทอดสมอได้
Apparent wind : ลมที่พัดตกลงมาที่เรือกำลังแล่นอยู่
Astern : ทางท้ายเรือ ด้านหลัง

B
Backing wind shift : ลมที่พัดย้อนกลับแล้วยกตัวลอยขึ้น
Backwind : การดึง ใบใหญ่ หรือ ใบยิบ ออกจากการรับลม เป็นเหตุให้ ลมพัด เข้าด้านหลังของใบเรือ
Bail : การวิดน้ำออกจากเรือด้วยมือ
Bailer : ที่ระบายน้ำออกขณะที่เรือวิ่งด้วยความเร็ว
Barging : การเคลื่อนไปอย่างเชื่องช้า , การหยุด / การขัดจังหวะ
Battens : ชิ้นไม้ยาว บาง แคบ ที่ใส่ไว้ในช่องที่ปลายใบ (leech of a sail) เพื่อทำให้ปลายใบแผ่ออก
Beam : ส่วนที่กว้างที่สุดของเรือ , คานเรือ
Beam reach : การแล่นใบที่ตั้งฉากกับลม , ลมพัดเข้ากราบเรือ
Bearing away : การเปลี่ยนทิศทางเรือให้ออกไปจากลม เรือตกจากทิศทาง ออกนอกเส้นทางที่กำหนด
(การแบ)
Bearing off/away : การเปลี่ยนหัวเรือให้ออกจากจากทิศทางของลมจนกระทั่งกลับใบตามลม
Beat : การแล่นใบไปในทิศทางลมเข้ามาในรูปแบบของการ Tack ในขณะที่แล่นใบแบบ close-hauled
Beating : การแล่นใบทวนลม close-hauled.
Before the wind : การแล่นใบโดยให้ลมพัดเข้ามาทางท้ายเรือ, ในทิศทางเดียวกับลมที่พัดมา ,
แล่นตามลม (running)
Bight : ส่วนของเชือกยกเว้นส่วนปลาย มักจะหมายถึงม้วนเชือก
Block : รอกที่มีเชือกร้อยอยู่
Blowing stink : เป็นคำที่ใช้โดยผู้ฝึกสอนชื่อ Hoofer ซึ่งหมายถึง ลมแรง มีข้อแนะนำว่า
เมื่อเห็นสัญญาณแรกของ Big Stink จะต้องดึงใบและแล่นไป
Bolt rope : เชือกที่ร้อยใบ และตีนใบ เพื่อให้ติดกับ เสา และ บูม
Boom vang : ลวด หรือ เชือก ที่ร้อยจาก บูม ไปยัง โคนเสา เพื่อยึดบูมลง
Boom : เพลาดามัน, เครื่องเสา ที่ติดอยู่กับเสา และมีตีนใบ หรือ ส่วนล่างของใบ ติดอยู่
Bow plate : แผ่นโลหะที่ติดอยู่กับส่วนหัวของเรือที่ใช้ติดกับสายรั้งเสาด้านหน้า
Bow : ส่วนหน้าของตัวเรือ หัวเรือ , คนตีกระเชียงทางหัวเรือ
Broach : เปลี่ยนทางเรือ
Broaching : ลม และ คลื่น ที่กระทำกับด้านข้างของเรือในขณะกำลังแล่นอยู่
Broad reach : การแล่นใบ ด้วยลมที่พัดเข้ามากระทำกับเรือบริเวณกลางลำเรือ
Burgee : ธงดูทิศทางลม หรือ ศรลม
By the lee : การแล่นเรือตามลม (Running) ด้วยการดึงบูมให้อยู่ด้านเดียวกับลมที่พัดเข้ามา

C
Capsize : ลักษณะที่เรือเอียงทั้งลำ โดยเสาขนานกับพื้นน้ำ , อับปาง , เรือล่ม
Cast off : การยอมให้ไป
Center of effort : พื้นที่กึ่งกลางของใบเรือซึ่งแรงลมมากกระทำ อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดกึ่งกลาง
Center of lateral resistance : จุดกึ่งกลางของตัวเรือที่อยู่ใต้แนวน้ำทั้งหมด
อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดกึ่งของตัวเรือ
Centerboard line : เชือก หรือ ลวด ที่ผูกกับส่วนบนของ centerboard ซึ่งใช้ใน การยกขึ้น
หรือ หย่อนลง
Centerboard truck : ช่องกันน้ำสำหรับใส่ centerboard
Centerboard : ไฟเบอร์กลาส หรือ โลหะแผ่น ที่สอด ยื่นผ่าน ท้องเรือ ในตำแหน่ง กึ่งกลางเรือ
ใช้ในการ ป้องกัน เรือเซ ออกนอก เส้นทาง
Chain plate : แผ่นโลหะ ที่ติดไว้ ด้านข้างของเรือ เพื่อใช้รั้ง Shroud
Chart bathymetric : แผนที่แสดงชั้นความลึกของน้ำ โดยใช้เส้นชั้นความลึก
Chart datum : เสันเกณฑ์แผนที่ ระนาบที่การหยั่งน้ำ และมาตรน้ำในแผนที่เดินเรือใช้อ้างอิง ผู้ที่นำร่องในเบตน้ำตื้นต้องตรวจสอบกับแผนที่เสมอ เส้นเกณฑ์มักถูกระบุเฉพาะไว้ในแผนที่ท่าเรือ
Chart correction card : รายการแก้ไขแผนที่ บันทึกจากประกาศชาวเรือ (Notice to Mariners) ที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของแผนที่บางฉบับ
Charthouse/chartroom : ห้องแผนที่ คือ ห้องบนสะพานเดินเรือ หรือใกล้สะพานเดินเรือ ปกติใช้เก็บเครื่องมือเดินเรือ แผนที่เดินเรือ และอุปกรณ์อื่นๆ
Clear ahead : เรือไม่ทาบกัน เป็นเรือแล่นตาม , เรือพ้นหน้า , เรือเราเป็นเรือพ้นหน้า ก็ต่อเมื่อ
ตัวเรือ และ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในตำแหน่งปกติ ของเรืออื่น อยู่ใต้แนวกึ่งกลางลำ (line beam)
จากท้ายของเรือเรา เรืออื่นเป็นเรือพ้นหลัง
Clear astern : เรือไม่ทาบกัน เป็นเรือแล่นนำ ,เรือพ้นหลัง , เรือเราเป็นเรือพ้นหลัง ก็ต่อเมื่อ
ตัวเรือ และ อุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่อยู่ในตำแหน่งปกติ ของเรือเรา อยู่ใต้แนวกึ่งกลางลำ (line beam)
จากท้ายของเรืออื่น เรืออีกลำเป็นเรือพ้นหน้า
Cleat : พุก ไม้ หรือ โลหะ ซึ่งใช้ผูกเชือกของเรือ
Clew : มุมปลายสุดด้านล่างของใบ
Close hauled : การแล่นใบทวนลม โดยใบทำมุมใกล้กับทิศทางที่ลมพัดมามากที่สุด ,
ลมที่พัดค่อนไปทางหัวเรือ
Close reach : การแล่นใบทวนลม โดยคลายใบ ให้อยู่ ระหว่าง Close hauled กับ Reach
(แล่นขวางลม) ปล่อยใบ ออก ประมาณ 1 ใน 4
Cockpit : ห้องบนเรือ
Coming about : การเปลี่ยนการ Tack ด้วยการหันหัวเรือขึ้นทวนลม แล้วให้หัวเรือ ผ่านไป
Tack อีกด้าน (Tacking), come about การหมุนเรือเปลี่ยนทิศทางเพื่อให้ลมปะทะอีกด้านหนึ่งของใบ
Come home : 1. สมองไม่กินดิน : สมอลากครูดไปตามพื้นท้องน้ำเข้าหาเรือ หรือเรียกว่า สมอเกาขณะหะเบสสมอ 2. เข้าสู่ที่เก็บ : หมายถึงสิ่งใด ๆ ที่เคลื่อนที่เข้าไปยังที่เก็บตามปกติ
Come up : ผ่าน หรือ แซง กล่าวเมื่อเรือผ่านที่หมายบนฝั่ง หรือเมื่อเรือได้แซงเรืออื่นแล้ว
Compass : เข็มทิศ

Continental shelf : ไหล่ทวีป
Continental slope : ลาดทวีป คือ พื้นท้องทะเลที่มีความลาดชันจากเส้น 200 เมตรไปยังที่ความลึกมาก มีความผันแปรระหว่าง 3.5 - 6 เปอร์เซ็นต์
Contour line : เส้นชั้นความลึก / ความสูง คือ เส้นในแผนที่เดินเรือ หรือเดินอากาศ ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างจุดต่าง ๆ ที่มีความลึก/ความสูงเท่ากัน
Cordage : สายเชือก เป็นศัพท์ใช้ทั่วไปสำหรับเชือก (ropes) และเส้น (lines) ทุกชนิด
Coriolis force : แรงผลักเฉ / แรงคอริโอลิส คือ ผลกระทบจากการหมุนรอบตัวเองของโลกต่อมวลสารที่เคลื่อนที่ทั้งหมด รวมทั้งมวลอากาศ และมวลน้ำ ลมสินค้าเบี่ยงเบนจากทิศเหนือและใต้โดยแรงนี้
Corsair : โจรสลัด / เรือโจรสลัด เป็นชื่อที่ใช้เรียกโจรสลัด และเรือโจรสลัดในยุโรปและโดยเฉพาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
Counter : ท้ายเรือยื่น หมายถึง ท้ายเรือที่มีดาดฟ้ายื่นออกมา โดยทั่วๆ ไปแล้วท้ายเรือยื่นเป็นเพียงเครื่องตกแต่งให้สวยงาม ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง บางคนถึงกับกล่าวไกลไปกว่านั้นว่า ยังทำให้การลอยตัว (Buoyancy) ของเรือเสียไปด้วยซ้ำ
Counter current : กระแสน้ำวน / กระแสน้ำเวียนกลับ กระแสน้ำรองหรือกระแสน้ำเวียนกลับในมหาสมุทรที่เกิดจากกระแสน้ำข้างเคียง ไหลในทิศทางตรงกันข้ามกับกระแสน้ำหลัก ดังเช่น กระแสน้ำเวียนกลับที่เกิดขึ้นจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม
Course : เส้นทาง , วิถี , แนวทาง , ใบเรือที่ต่ำสุดของเสา
เข็มเรือ หมายถึง เส้นทางที่เรือแล่นกระทำเป็นมุมกับเมริเดียน ระหว่างตำบลที่เรือออกเดินทางกับตำบลที่ปลายทาง หรือกล่าวเป็นภาษาธรรมดาคือทิศทางที่เรือเดินทาง ทิศทางอาจเป็นเข็มจริง (true) เข็มแม่เหล็ก (Magnetic) หรือเข็มไยโร (Gyro) ก็ได้ คำในี้ใช้ย่อว่า CRS
Course recorder : เครื่องบันทึกเข็มเรือ เป็นอุปกรณ์บันทึกเส้นทางเดินเรือเป็นรูปภาพ
Courses : ใบเรือล่างสุด คือ ใบเรือชิ้นล่างสุดบนเสากระโดงของเรือใบที่ขึงใบตามขวาง (a square rigged) ยกเว้นเสาที่สามของเรือที่มีสามเสาหรือมากกว่า เรือใบประเภท bard จึงไม่มีใบเรือล่างสุด

Cove : อ่าวเล็ก ๆ คือ อ่าวเล็ก ๆ ที่ล้อมด้วยแผ่นดิน ใช้เป็นที่หลบคลื่นลมได้ cove ม่ความหมายเดียวกับ small bay, creek หรือ inlet
Cow's tail : หางเชือกหลุดลุ่ย คือ ปลายที่หลุดลุ่ยของเชือก คำแสลงหมายถึง ก้นบุหรี่
Coxcombing : การถักเชือกประดับ คือ การถักปมเชือกสวยงามพันรอบที่จัดด้ามหางเสือ หลักขึงราว เป็นต้น
Cruise : การแล่นเรือ / เที่ยวเรือ การเดินทางเรือสู่เมืองท่าต่าง ๆ ปกติออกสู่เมืองท่าต่างประเทศซึ่งใช้เวลาหลายเดือน
Current direction : ทิศทางกระแสน้ำ คือ ทิศทางที่กระแสน้ำไหลไป เช่น กระแสน้ำทางตะวันออก หมายถึงน้ำไปลไปในทิศทางตะวันออกตรงข้ามกับการเรียกกระแสลม เช่น ลมตะวันออก หมายถึงลมที่พัดมาจากทิศตะวันออก
Current ocean : กระแสน้ำมหาสมุทร คือ การเคลื่อนที่ของทะเลอย่างต่อเนื่อง บางครั้งมีสาเหตุมาจากกระแสลมที่พัดแรง รวมทั้งแรงคงที่ขนาดใหญ่ เช่น การหมุนรอบตัวเองของโลก หรือ การหมุนรอบตัวเองที่ปรากฏอยู่ของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ เช่น กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม กระแสน้ำอุ่นครอมเวลล์ กระแสน้ำอุ่นกุริชิโร
Current table : มาตรากระแสน้ำ หมายถึง บรรณสารของ National Ocean Survey ของสหรัฐฯ ซึ่งให้ข้อมูลในเรื่องกระแสน้ำขึ้นลงในตำบลที่ท้องถิ่นต่าง ๆ ของโลก
Cunningham : เชือกที่ใช้ร้อยตาไก่ ที่ Luff ของใบ ใช้สำหรับ ดึง Luff ใบให้ตึง , มักจะเรียกว่า Downhaul ใช้ปรับคามตึงของ luff ใบ
Cusp : สันทราย / เนินทราย หมายถึง ทรายที่ถูกคลื่นซัดเข้ามารวมกันเป็นหย่อม หรือเป็นแนว ซึ่งยื่นออกไปในทะเลตามแนวหาด


D
Dagger board : กระดูกงูกลาง / centerboard ใช้ เลื่อนขึ้น / เลื่อนลง ในช่องกลางเรือ
Deck : ดาดฟ้าเรือ ตัวเรือแนวนอนด้านบน
Dinghy : เรือพายขนาดเล็กที่ยกไปมาได้ บางครั้งแล่นได้ด้วยใบ
Displacement : ระวางขับน้ำ น้ำหนักของน้ำที่ถูกแทนที่ด้วยเรือ
Dock : อู่ต่อเรือ , อู่ซ่อมเรือ , ท่าเทียบเรือ , เข้าอู่ , เข้าเทียบท่า
Downhaul : เชือกที่ผูกกับด้านล่างของบูม สำหรับทำให้ใบตึง ด้วยการดึงบูมลง
จะทำให้ Luff ใบกระชับด้วย
Downwind : ทิศทางที่ลมพัด หรือ การแล่นตามลม (Running)
Draft : ความลึกของน้ำกับกระดูงูเรือ กินน้ำลึก , ตัวเรือ

E
Ease sheet : ปล่อยใบ
Ebb Tide : น้ำลง
Eye of the wind : เข้าตาลม คือ มุมพื้นที่ที่อยู่ระหว่าง Close Hauled ทั้งสองด้าน
เป็นพื้นที่ที่เรือไม่สามารถแล่นได้

F
Fathom : มาตราวัดความลึก เท่ากับ 6 ฟุต (72 นิ้ว)
Flap : กระพือ
Flood Tide : น้ำขึ้น
Foot : ตีนใบ ขอบด้านล่างของใบเรือ ตั้งแต่ Tack จนถึง Clew
Footstrip : เชือกสำหรับเท้าเกี่ยว เพื่อเอียงตัวปรับแต่ง beam เรือ
Footing : การแล่นใบต่ำกว่า Close Hauled
Fore and aft : แนวกระดูกงู
Forestay : สายที่ขึงท่อนบนของเสาลงไปยังหัวเรือ , ลวดดึงเสาด้านหน้า
Freeboard : ระยะพ้นน้ำ , เหนือแนวน้ำ

G
Gaff : เสาก๊าฟ เสาที่แยกออกทางด้านบนจากเสาใหญ่
Gooseneck : คอห่าน โลหะที่หมุนไปมาได้ติดอยู่กับเสา ใช้สำหรับเสียบบูมเข้ากับเสา
Grommet : ตาไก่ ห่วงที่เจาะบนใบ สำหรับร้อยเชือก
Gungeon : เดือยหางเสือ เป็นห่วงที่มีลูกตนเพื่อผูกเชือก สำหรับทำให้หางเสือหมุนไปมาได้
Gunwales : กราบเรือ ขอบบนของข้างเรือ
Gust wind : ลมกระโชก

H
Halyard : เชือกสำหรับชักใบขึ้นลง
Haul : ดึง , ฉุด , ชัก , ลาก , ลากจูง
Head to wind : หันหัวเรือตรงไปยังลม
Head : มุมส่วนบนสุดของใบ หรือ ส้วม
Heading up : การแต่งใบเรือให้แล่นใกล้กับทิศทางลม , ทวนลม
Headway : แล่นตรงไป
Heave in : To haul in.
Heel : การเอียงไปกราบใดกราบหนึ่ง ด้วยการกระทำของลมต่อใบ หรือ ลูกเรือ
Helm : พังงาด้ามต่อ
Helmsman : ผู้ถือท้ายเรือ
Hiking stick : ดู Tiller extension.
Hiking straps : เชือกรั้งเท้าในเรือ
Hull : ตัวเรือ หรือ ผนังเรือ

I
In irons : เรือ Tack ไม่สำเร็จ เรือเกิดการ Stall (ติดตาลม) พร้อมกับหัวเรือหันเข้าหาลม
In phase : การแล่นใบด้วยมุมที่ดีที่สุดเพื่อไปยังเป้าหมายข้างหน้า , การ tack เพื่อเอาชนะ
และ แล่นใบ เพื่อให้ เรือแล่น สูงขึ้น
Inshore : ตรงไปยังฝั่ง
Irons : เรือที่แล่นตรงไปยังลม ใบจะสะบัดไปมา และ อาจทำให้แล่นถอยหลัง
ISAF : International Sailing Federation (สหพันธ์การแล่นใบนานาชาติ)
Jib : ใบยิบ
Jib halyard : เชือสำหรับชักใบยิบขึ้นลง
Jib sheet : เชือกสำหรับดึงใบยิบ
Jib stay : เชือก หรือ สายสำหรับร้อย Luff ของใบยึด
Jibe : การกลับใบจากด้านหนึ่ง ไปยัง อีกด้านหนึ่ง ขณะเรือกำลังแล่นตามลม
โดยมีลมเข้ามาทางด้านท้าย (gybe)
Jibing : การหมุนเรือ โดยท้ายเรือผ่านตาลม

K

Keel : กระดูกงูเรือ
Keel boat : เรือใบ ที่มีกระดูกงูเรือ ยื่นลงไปในน้ำ และมีน้ำหนักถ่วงไว้ไม่ให้เรือล่ม
Kicker : บางครั้งจะเรียกว่า Vang เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยไม่ให้ boom ยกขึ้น
Knock : ลมพัดขึ้น บังคับให้เรือแล่นได้ต่ำกว่าที่หมาย

L
Lay line : เส้นทางที่เรือแล่น , การแล่นใบ close-hauled ทางกราบขวา เพียงเพื่อจะหาทิศทางลม
ซึ่งจะกลับไปแล่น กราบซ้าย เป็น starboard - tack lay line สำหรับตำแหน่งนั้น
ส่วนทิศทางลมอื่น ๆ ซึ่งเราจะหมายตำแหน่งในการแล่น กราบซ้าย คือ port - tack lay line
Leach : ทางลมพัดออก
Leech : แนวขอบท้ายของใบเรือ
Leeward side : ด้านของเรือที่อยู่ตรงข้ามกับลม
Leeward : ทิศทางที่ลมพัดออกจากเรือ ด้านอยู่ตรงข้ามกับลมพัดเข้าเรือ
Lift : ลมที่พัดขึ้น ทำให้ เรือแล่น ได้สูงกว่า ที่หมาย
Line : เชือก
Luff up : การถือท้ายเรือออกนอกแนวลม วิธีนี้ ทำให้เรือใบ ต้อง Flap หรือ Luff
Luffing : การเปลี่ยน เส้นทาง เดินเรือเข้า ไปหาลม, หันหัวเรือขึ้น , การทำ Luff หรือ Bearing away
เพื่อหา เส้นทาง เดินเรือ ที่ถูกต้อง
Luffing : การนำเรือแล่นเข้าหาลม , ใบเรือสะบัด
Luff : ขอบใบด้านหน้าของใบเรือ ด้านติดกับเสา , ใบลู่ลม , ใบไม่กินลม
Lull : ลมสงบ

M
Main halyard : เชือกสำหรับชักใบเรือขึ้น
Mainsail : ใบเรือ ที่ติดตั้ง อยู่บน เสาใหญ่ , ใบใหญ่
Mainsheet : เชือกที่ใช้ควบคุมมุมของใบเรือ ให้สัมพันธ์กับลม
Mark : วัตถุ หรือ สิ่งต่าง ๆ ที่ลอยอยู่ในน้ำ (bouy) , วัตถุที่ saiing instruction กำหนด ให้เรือ
ต้องผ่าน ในกราบที่กำหนด
Mast slot/groove : ช่องเปิดออกด้านหลังของเสา ที่ซึ่ง เชือกผูก Luff ของใบใหญ่ ร้อยผ่าน
กว้าน ซึ่งเสา บางต้น อาจจะมี รางใบ อยู่ด้านนอก
Mast step : ติดอยู่ที่ ท้องเรือ ซึ่งมีโคนเสา ตั้งอยู่ (Step มักจะออกแบบให้ อยู่บน
ดาดฟ้าของเรือ)
Mast tangs : ติดอยู่ กับเสา เป็นที่ยึดเชือกรั้งเสา หน้า (Forestay) และ ข้าง (Shroud)
Mast : เสา ที่ใช้ติดตั้ง boom และ ใบเรือ , เสาที่ปกติจะตั้งขึ้นไปจากดาดฟ้าเรือ
(สามารถปรับ ความสูงได้ ตามน้ำหนักผู้เล่น)
Masthead : ยอดสุดของเสา
Mooring : เชือกสมอ และโซ่ ซึ่งใช้ในการจอดเรือ , สถานที่จอดเรือ

O

Obstruction : วัตถุ ซึ่ง เรือไม่สามารถผ่านไปได้ โดยไม่เปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางอื่น
แทนเพื่อหลีก เช่น ที่หมาย , เรือช่วยชีวิต , ชายฝั่ง , วัตถุใต้น้ำ หรือ น้ำตื้น, การกีดกัน
On a tack : เรือมักจะ กลับใบทวนลม (Tack) แบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งโดยปกติ เรือใบมักจะ
แล่นกลับไปมาตลอดเวลา
Outhaul : เชือกที่ใช้ ดึง (Haul) มุมใบเรือด้านล่างให้ติดกับปลายบุม
Overlap : การทาบกัน โดยลากเส้นผ่านจากท้ายเรือตัดกับกึ่งกลางของเรืออีกลำหนึ่ง
Overtaking : การแซง การไล่ตามทันกัน

P
Painter : เชือกนิรภัย ที่อยู่หัวเรือของ เรือเล็ก ๆ มักใช้ผูก ยึดเรือ หรือ ทำเป็นห่วงคล้อง
PDF : Personal Floatable Device อุปกรณ์ชูชีพส่วนบุคคล เช่น เสื้อชูชีพ
Pinch : การแล่นใบ เข้าใกล้ลมมาก จนทำให้ ใบเริ่มที่จะ Luff
Pintels : เดือย ซึ่งใช้ร่วมกับ สลัก ประกอบกันเป็น หางเสือ เพื่อให้หมุนไปมาได้
Plane : เมื่อเรือใบ ปักหัวลง ระหว่าง คลื่น และ แล่นขวางลม (Reach) ทำความเร็ว
ได้ตามความกว้างของคลื่น
Port tack : เรือแล่นโดยมีลมพัดเข้ามาทางด้านกราบซ้าย
Port : กราบซ้ายของเรือ เมื่อเราหันหน้าไปทางหัวเรือ
Privileged vessel : เรือลำที่มีสิทธิในทาง
Propel : ขับเคลื่อน
Propeller : ใบจักรเรือ , ใบพัดเครื่องบิน
Proper course : การแล่นเรือให้ตรงกับจุดหมายที่จะไป
Puff : ลมที่พัดกระโชกแรงกว่าธรรมดา
Pulpit : แผ่นโลหะสำหรับป้องกันหัวเรือ


R
Rake : มุมของเสาเรือจากแนวดิ่ง
Reaching : การแล่นใบข้ามลม หรือ เส้นทางแล่นเรือ ระหว่าง Close-hauled กับ
Running (Close, Beam, Broad) , การแล่นเรือแบบง่าย
Ready about : การแสดงออกมาเพื่อแสดงว่า เรือลำนั้นกำลังกลับใบทวนลม (Tack)
Reefing : การลาดขนาดพื้นที่ใบลง
Reward : ใต้ลม
Rig : การเตรียมอุปกรณ์เรือ เชือก เสา เพลา ใบ
Rigging : คำกว้าง ๆ ที่หมายถึง บรรดา เชือกต่าง ๆ สายรั้งเสาต่าง ๆ ที่จำเป็น สำหรับ
เสา และ ใบเรือ
Ripple : ใบสั่นเป็นริ้ว ๆ (luff)
Rudder : แผ่นตัดน้ำแนวทั้งที่หันไปมาได้ ที่อยู่ท้ายเรือ ใช้ในการถือท้ายเรือ ควบคุมด้วย
พังงา หรือ พังงาด้ามต่อ
Running rigging : บรรดาเครื่องใบของเรือ ที่เคลื่อนที่ไปมาได้ และ ร้อยผ่านรอก
เช่น เชือกสำหรับดึงใบ (Halyard) ใบเรือ
Running : การแล่นใบด้วยลมที่พัดกระทำทางด้านท้ายเรือ พร้อมกับการปล่อยใบออกรับลม

S
Sail : ใบเรือ
Sail trim : ตำแหน่งของใบเรือ ที่สัมพันธ์กับลม และทิศทางที่ต้องการ , ใบเรือที่ไม่แต่ง trim
จะทำให้ใบไม่มีประสิทธิภาพ ในการทำงานเท่าที่ควร , สัญญาณที่มองเห็นได้ของ trim คือ
การสะบัดของใบ , การเอียงที่มากเกินไป และ การพัดของอากาศ ผ่าน telltale รวมถึง รูปร่างของใบ
Sailing : การใช้แต่เพียง ลม และ น้ำ เพื่อเพิ่มความเร็ว , รักษาความเร็ว หรือ ลดความเร็ว
Sailing by the lee : การแล่นใบ ในขา Run ด้วยลมที่พัดเข้ามาทางท้ายเรือ ด้านเดียวกับ Boom
(การกลับใบตามลมจะอันตรายมาก)
Sand bar : บริเวณน้ำตื้น ซึ่ง คลื่น หรือ กระแส น้ำ ได้พัดพาทราย หรือ ตะกอน ทับถม
เป็นภูเขาทราย เล็ก ๆ ยาว เนื่องจาก เกิดขึ้นจาก การพัดพาของน้ำ จึงเคลื่อนที่ได้
และไม่ปรากฎอยู่ในแผนที่เดินเรือ
Secure : การทำความเร็ว และปลอดภัย
Sextant : เครื่องมือเดินเรือ ที่ใช้ในการวัดมุมแนวตั้งของวัตถุ เช่น พระอาทิตย์ พระจันทร์
หรือ ดาว ใช้ในดาราศาสตร์เดินเรือ (Celestial navigation)
Shackle : ชิ้น โลหะ หรือ เหล็ก รูปตัว U ที่มีรูอยู่ที่ด้านปลาย , สเกล
Sheet : เชือกที่ใช้ควบคุมใบให้สัมพันธ์กับลม
Sheet line : เชือกใบ
Shove off : ผลักออก , การดันเรือให้ออกจากท่าเรือ หรือ ข้างเรือ
Shrouds : ลวดรั้งด้านข้างของเสาที่โยงจากเสาด้านบนไปยังกราบเรือทั้ง กราบขวา และ
กราบซ้าย ของเรือ , ทั้ง Shroud และ Forestay จะเป็นรูปสามเหลี่ยม เพื่อให้เสาตั้งอยู่ได้
Side slipping : การเซทางข้าง , เกิดขึ้นเมื่อเรือแล่นไปทางด้านข้างกับพริ้วน้ำ
Sidestay : เชือกรั้งเสาด้านข้าง หรือ สายด้านข้างที่ติดอยู่กับเสาลงมายังขอบกราบเรือ
Slack : หลวม ๆ ไม่แน่น , คลาย เพื่อปลดออก
Slap : ตี หรือ ผลักแรง ๆ
Slot : ช่องว่างระหว่าง ใบยิบ และ ใบใหญ่ ซึ่งลมไหลผ่านไปได้
Spinnaker : ใบเรือขนาดใหญ่มาก แต่มีน้ำหนักเบา ใช้ในการแล่นเรือตามลม (running)
หรือ แล่นขวางลม (broad reach)
Spinnaker pole : บางครั้งจะเรียกว่า spinnaker boom เป็น เสาที่ใช้ขยายตีนใบ spinnamker
ให้พ้นขอบของเรือ และช่วยให้ ขอบมุมของเรือมั่นคงขึ้น
Sport Manship : การแข่งขันกีฬาด้วยความซื่อสัตย์ และปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด
Spreaders : แกนที่ใช้ยันสาย shroud ออกไปนอกเรือ
Spring tide : น้ำเกิด , การขึ้นลงของน้ำ ซึ่งมีระดับน้ำแตกต่างกันมาก จะเกิดขึ้นระหว่าง
พระจันทร์ข้างขึ้น จนกระทั่ง พระจันทร์ เต็มดวง เป็นเวลาที่ น้ำขึ้นขึ้นสูงสุด และน้ำลงลงต่ำสุด
ตรงกันข้ามกับ น้ำตาย (neap tide)
Squall : ลมกระโชกที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง และทันทีทันใด มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับฝน
Stall : เรือแล่นได้ช้าลง
Stalling : ปฏิกิริยาของอากาศที่วุ่นวาย สับสน ที่บริเวณด้านท้ายใบ เมื่อปรับใบมากเกินไป
Standing part : เชือกด้านที่ผูกติกอยู่ เป็นเชือกด้านยาว ใช้สำหรับผูก
Standing rigging : บรรดาส่วนประกอบของเครื่องเสาของเรือ ที่ติดตั้งมั่นคง ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
เช่น สายรั้งเสาต่าง ๆ
Starboard tack : เรือกำลังแล่นอยู่ โดยลมเข้ามาทางกราบขวา
Starboard : กราบขวา , ด้านขวาของตัวเรือ โดยหันหน้าไปทางหัวเรือ จากทางท้ายเรือ
Staying clear : การหลีกเลี่ยงการชนกันเนื่องจากการเปลี่ยนเส้นทาง ขณะที่เรือไม่มีสิทธิในเส้นทาง
Stays : เชือกที่ใช้รั้งเสา (shroud)
Steering : พังงาเรือ
Stern : ท้ายเรือ ส่วนด้านหลังของเรือ
Stow : เก็บหรือใส่ให้ถูกต้อง ให้เป็นที่เป็นทาง
Swamp : เรือที่จมเนื่องจากมีน้ำเข้าเรือ
Swell : การขึ้นลง ของ พื้นผิวทะเล หรือ คลื่นลูกใหญ่

T
Tack : มุมใบด้านล่างของส่วนหน้าใบ (ด้านติดกับเสา) , การเย็บไว้ชั่วคราว , ทิศของเรือใบ
ตามที่กำหนดโดยตำแหน่งใบเรือ และทิศทางลม , การแล่นใบแบบสลับฟันปลา , การแล่นตามทิศทางลม
Tacking : Coming about , การกลับใบทวนลม (หัวเรือผ่าน eye of the wind)
Taut : ตึง เกร็ง , กวดขันวินัย
Telltales : แถบผ้า หรือ ด้าย ที่ติดกับ เครื่องเสา หรือ ใบ เพื่อแสดงอาการ หรือ ทิศทาง
ของลม
Thwart : ที่นั่งคนกรรเชียงเรือ , ที่สำหรับยึด centerboard และ ตัวเรือ ยาวตลอดความกว้างเรือ
ที่ตำแหน่งกึ่งกลางเรือ
Tide Table : มาตราน้ำ , ตารางน้ำ
Tiller extension : ส่วนต่อออกมาที่หมุนไปมาได้ ของ พังงา (Tiller) ซึ่งยอมให้ skipper
ควบคุม พังงา ในขณะที่ ห้อยตัว หรือ นั่งค่อนไปทางด้านหน้า
Tiller : พังงาด้าม , แท่งไม้ ใช้สำหรับควบคุม หางเสือ (rudder)
Topside : บนดาดฟ้าของเรือ
Transom : ส่วนของท้ายเรือ (stern) ที่มีหางเสือติดอยู่ , ช่อง
Traveler : สายหรือราง ที่ขวางด้านท้ายเรือ โดยมีเชือกของใบเรือวิ่งไปมาได้
Trim : การเฉลี่ยน้ำหนักในเรือ , การปรับใบเรือให้เข้ากับลม , To sheet in.
Turbulent flow : น้ำท้ายเรือที่พุ่งออกมากพลุ่งพล่าน
Turnbuckle : ส่วนประกอบที่เป็นโลหะที่สามารถ ปรับไข หรือ หมุนได้ ในการ ติดตั้ง หรือ
ปลดออก ของ ส่วนประกอบเครื่องเสา เพลา ใบ ที่ติดตั้งถาวร
Turtle : อาการที่เรือใบพลิกกลับ ท้องเรือคว่ำ เสาชี้ลงใต้น้ำ

U
Underway : ใช้กล่าวถึง เรือแล่นไป และ อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ถือท้าย ในทางเทคนิค
หมายถึง เรือจะ underway ต่อเมื่อ ไม่ได้อยู่บนฝั่ง หรือ ทอดสมอ
Upwind : ทิศทางที่ลมพัดเข้ามา เรือใบแล่น upwind หมายถึง เรือใบแล่นตรงไปยังลม แล่นทวนลม

V

Veer : ลมยกขึ้นที่พัดสวนกลับมา , (ลม) เปลี่ยนทิศทาง , หัน

W
Waterline : แนวน้ำ
Way out : แปลก , พิกล , วิตถาร , ผิดปกติ
Weather helm : เมื่อถือพังงา (tiller) ออกนอกแนวกึ่งกลาง ตามสภาพอากาศ หรือ ลม
เพื่อรักษาเส้นทาง (course)
Weather side : กราบเรือที่ลมเข้ามา (windward side)
Wheel : พังงามือหมุน
Wind shadow : บริเวณที่เกิดอากาศสับสน วุ่นวาย หลังจากการแล่นผ่านของเรือใบ , ขี้ลม
Windward side : กราบเรือซึ่งลมเข้ามา (weather side)
Windward : ทิศทางซึ่งลมพัดเข้ามา , ทวนลม, เหนือลม

Y

Yip : ใบยิบ

ที่มา : rtnsailingclub

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

คำนวนขนาดยางและล้อ Tyre size calculator

คำนวนขนาดยางและล้อ Tyre size calculator

https://tiresize.com/tyre-size-calculator.

ใช้สำหรับคำนวนขนาดยางและขนาดล้อรถลากและล้อเทรลเลอร์ คลิกที่รูปล้อเพื่อคำนวน