ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กระโจมไฟ เกาะโลซิน

กระโจมไฟ เกาะโลซิน




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 13m
ระยะเวลากระพริบ : 2 วับ ทุก 5 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 16nm (29.63 km)

ประวัติ
สงขลามีเกาะในทะเลนอกอยู่ 4 เกาะ คือ เกาะหนู เกาะแมว เกาะขาม และเกาะโลซิน ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายระหว่างประเทศ ให้เป็นเกาะ จริงๆ และเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในประเทศ ตามกฎหมายระว่างประเทศ ส่วนเรื่องว่า เกาะนี้เป็นของจังหวัดไหน เอกสารไม่ค่อยจะตรงกันครับ ของกองทัพเรื่อบอกว่าของสงขลา แต่ของปตทบอกปัตตานี แต่ตัวเกาะดันใกล้นราธิวาส

เกาะเล็ก ๆ ที่อาจพูดได้ว่าเป็นแค่กองหินกลางทะเลเวิ้งว้างในอ่าวไทย โผล่พ้นน้ำขึ้นมาไม่เกิน 100 ตารางเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นหินล้วน ๆ ไม่มีต้นไม้ใบหญ้า ห่างจาก ชายฝั่งอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 106 กิโลเมตร

หากแล่นเรือออกไป เกาะโลซินมองเผิน ๆ เหมือนกับสิ่งแปลกปลอมที่ผุดเหนือน้ำอันเวิ้งว้าง ไม่มีมนุษย์อาศัย และมีเพียงประภาคารคอยส่องไฟนำทางสีขาว สำหรับชาวประมงและเรือทะเลยามค่ำคืนเท่านั้น
เกาะโลซินแห่งนี้อาจไม่ เคยเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ยกเว้นชาวเรือ ชาวประมงที่อาศัยโลซินเป็นแหล่งหาปลาหรือเป็นหมายสำหรับการเดินทาง ต่อมาโลซินเป็นที่รู้จักของผู้คนมากขึ้น และได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักดำน้ำ ที่รักหลงใหลในโลกใต้ทะเลเป็นจำนวนมาก

แต่ทว่าหินระเกะระกะที่รวม ตัวกันผุดเป็นเกาะขึ้นมาแห่งนี้ เบื้องหลังกลับเป็นตำนานของโครงการมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้าน หรืออาจเรียกได้ว่า เกาะโลซินเป็นเกาะที่มีมูลค่าเท่ากับโคตรเพชรเลยก็ได้

เพราะ หากไม่มีเกาะโลซิน วันนี้เราก็คงไม่มีสิทธิ์บนพื้นที่สัมปทานก๊าซกลางอ่าวไทย พื้นที่ครอบคลุมมากกว่า 7,000 ตารางกิโลเมตร และมีแหล่งสำรองก๊าซให้ประเทศถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไทยทั้งหมด

ครั้งนั้นได้มีการใช้หลักการแบ่งสันพื้นที่กลางทะเล ด้วยวิธีลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของแผ่นดินแต่ละฝ่ายขึ้นไป หรือเรียกว่าเขตไหล่ทวีป และปรากฏว่าเส้นตั้งฉากของมาเลเซียทับซ้อนพื้นที่สัมปทานทั้งหม ดของแหล่งก๊าซธรรมชาติมูลค่ากว่าแสนล้านบาทนี้

ดูเหมือนกับว่าไทย จะไม่สามารถใช้สิทธิโต้แย้งได้มากนัก เพราะลักษณะแผ่นดินของมาเลเซียงุ้มเข้ามาในอ่าวไทย ขณะที่แผ่นดินของไทยกลับเทลาดออกไป แหล่งสัมปทานแห่งนี้ ห่างจากจังหวัดสงขลา 260 กิโลเมตร ขณะที่ห่างจากเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ของมาเลเซียประมาณ 150 กิโลเมตร คณะเจรจาครั้งนั้นไปพบเกาะหินกลางทะเลสุดเวิ้งว้าง..นั่นคือเกาะโลซิน จึงได้ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1958 หรือราว ๆ พ.ศ. 2501 ที่ให้ความหมายคำว่าเกาะคือ แผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ เมื่อเกาะโลซินคือแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบของไทย จึงสามารถประกาศสิทธิเขตเศรษฐกิจจำเพาะจากแนวน้ำลดบริเวณชายฝั่งออกไปได้ 200 ไมล์ทะเล และพื้นที่ซึ่งประกาศออกไปนี้ก็ครอบคลุมแหล่งก๊าซมหาศาลนี้ด้วย

ผล ของการค้นพบเกาะโลซินจึงทำให้ทั้งไทยและมาเลเซียหันมานั่งโต๊ะเจรจากัน และสุดท้ายก็ตกลงจะนำพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว มาร่วมกันพัฒนา ภายใต้โครงการพื้นที่ พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือเรียกชื่อย่อว่า เจดีเอ โดยรัฐบาลสมัยนั้นนำโดย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ไปลงนามร่วมกันบริหารจัดการพื้นที่อย่างเท่าเทียม โดยแบ่งผลประโยชน์กันคนละครึ่ง และจนกระทั่งมาถึงการพัฒนา กลายเป็นโครงการสำรวจสัมปทานกลางทะเล โครงการสร้างท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซในปัจจุบัน

ทุกคนคงเคยได้ยิน ชื่อเกาะสิปาดัน สถานที่นักดำน้ำใฝ่ฝันถึง และทำรายได้การท่องเท่ยวให้ประเทศมาเลเซียปีละมากมายแต่เกาะแห่งนี้ก็เป็นกรณีพิพาท ระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซียมาก่อน
อินโดนีเซียได้แต่ประท้วง ขณะที่มาเลเซียค้นหาหลักฐานปี 2545 มาเลซียชนะคดี เพราะว่าอ้างอิงเอกสารเก่าฉบับหนึ่งที่กล่าวถึงการเก็บภาษีไข่เต่าบนเกาะแห่งนี้ และการสร้างกระโจมไฟบนเกาะสิปาดันในปี 1962 และเกาะลิกิตันในปี 1963

การประท้วงไม่ช่วยอะไร หลักฐานต่างหากที่สำคัญกว่าในขณะที่พรมแดนไทยกับประเทศข้างเคียงนั้นมีปัญหา มีเพียงเพื่อนบ้านทางใต้เท่านั้น ที่เราปักปันเขตแดนได้อย่างสมบูรณ์แต่ใครจะรู้ว่า กว่าจะมาถึงวันนี้ มันก็เคยมีปัญหาเช่นกัน ปัญหาที่เรียกว่า Losin's Effect



มองเผินๆ "โลซิน"คือกองหินร้าง ไม่มีคนอาศัย เป็นกองหินโสโครกที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ แต่เพราะความเป็นห่วงใยของทหารเรือไทยในเรื่องดังกล่าว จึงได้สร้างกระโจมไฟคอยส่องไฟนำทางสำหรับชาวเรือยามค่ำคืน นั่นจึงเป็นที่มาของเรื่องราวในครั้งนี้

ไทยและมาเลเซียได้เจรจาเรื่องเส้นเขตแดนในทะเลอาณาเขต ในปี 2515 สามารถทำความตกลงกันได้ ตั้งแต่กึ่งกลาง ปากแม่น้ำโกลกออกไปในทะเล36 ไมล์ทะเลเท่านั้น เพราะเพราะหากยึดตามข้อตกลงสากลแบ่งพื้นที่กลางทะเล
ด้วยวิธีลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของแผ่นดินแต่ละฝ่ายขึ้นไปที่ลักษณะแผ่นดินของมาเลเซียที่งุ้มเข้ามาในอ่าวไทย ขณะที่แผ่นดินของไทยกลับเทลาดออกไป หากลากเส้นตามหลักดังกล่าว เส้นนั้นจะทำมุมออกไปในอ่าวไทยแนวตะวันออกเฉียงเหนือ
ทำให้ไทยเสียเปรียบในการเจรจาอย่างมาก การเจรจาจึงหยุดไปหลายปี

มีการเจรจากันต่ออีกครั้งเมื่อปี 2521 เพื่อจะต่อเส้นเขตแดนในเขตไหล่ทวีปออกไปให้บรรจบกับเส้น claim ของเวียดนามที่กลางอ่าวไทยตอนล่างการเจรจาครั้งนี้บรรยากาศไม่ราบรื่นเหมือนการเจรจาครั้งแรก เพราะประเทศไทยได้นึกถึง โลซิน หินโสโครกร้างกลางทะเลกระโจมไฟกลายเป็นหลักฐานที่สำคัญ ในการอ้างสิทธิ์ของไทย ต่อกองหินร้างนี้
แต่กองหินนั้นไม่ใช่ เกาะ ประเทศไทยจึงไม่อาจอ้างสิทธิ์พื้นที่ทางทะเลได้

แต่โชคเป็นของฝ่ายไทยอีกครั้ง ที่เรายังคงใช้กฎหมายทะเลดั้งเดิม 4 ฉบับ ตามอนุสัญญากรุงเจนีวา ค.ศ.1958 ซึ่งประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ซึ่งกำหนดไว้เพียงว่า แม้เป็นหินกองหินที่โผล่พ้นน้ำ ก็สามารถนิยามว่าเป็นเกาะได้ เมื่อได้ชื่อว่าเป็นเกาะ ก็ย่อมมีไหล่ทวีปเป็นของตัวเอง มีผลไปถึงเขตเศรษฐกิจจำเพาะการกำหนดอาณาเขต ผลประโยชน์และอำนาจอธิปไตยทางทะเล

มาเลเซียไม่ต้องการเจรจาโดยใช้เส้นเขตแนวนี้ ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ เพราะการอ้างอธิปไตยเหนือเกาะโลซิน ทำให้เส้นเขตแนว เกิดเป็นสองแนว แนวที่ลากเป็นเส้นตั้งฉากจากฝั่งออกไปในทะเล ประเทศไทย เสียเปรียบแนวที่ลากโดยยึดถือ เส้นแนวเกาะโลซิน ประเทศมาเลเซีย เสียเปรียบเกิดเป็นพื้นทีทับซ้อนทางทะเล เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีอาณาเขตถึง 7250 ตารางกิโลเมตร

การเจรจาระดับเจ้าหน้าที่ดูเหมือนจะมาถึงทางตัน บรรยากาศทางการเมืองก็ตึงเครียดขึ้นจากปัญหาเรือประมงไทยเข้าไปจับปลาในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนนี้แล้วถูกเจ้าหน้าที่มาเลเซียจับไปดำเนินคดี ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีของไทยคือ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย คือ ดาโต๊ะ ฮูสเซน ออน ทั้งสองท่านมีความสนิทสนมกันเป็นส่วนตัว จึงได้ตกลงใจที่จะคลี่คลายปัญหานี้ โดยกำหนดให้มีการ เจรจา ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2522

ผลของการเจรจา คือ ความตกลงจัดตั้งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว ความตกลงนี้เรียกกัน ว่า MOU เชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันเราเรียกว่า JDA ซึ่งต้องแบ่งปันผลประโยชน์คนละครึ่งหนึ่งกับมาเลเซีย นั่นเองภายหลังมีการลงนามบันทึกข้อตกลงมีการสำรวจ พบว่ามีแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล ในพื้นที่ ถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไทยทั้งหมด โดย 75 เปอร์เซ็นต์อยู่ในพื้นที่ด้านล่างสามเหลี่ยม ในซีกพื้นที่ของมาเลเซีย

หากไม่มี "โลซิน" ไทยย่อมไม่อาจอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อน ขนาด 7250 ตารางกิโลเมตร

หากไม่มี "โลซิน" ไทยก็จะไม่มีสิทธิ์ในแหล่งก๊าซมูลค่ามหาศาลกลางอ่าวไทย

หากไม่มี "โลซิน" เราก็คงไม่มีเส้นเขตแดนที่มีอธิปไตยทางทะเลด้านใต้อ่าวไทยลงไปถึงตรงจุดนี้

และหากไม่มี "โลซิน" เราก็คงไม่มีแหล่งดำน้ำที่สวยงามกลางอ่าวไทย เช่นวันนี้..

ที่มา : chuk07

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น