วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ระบบทุ่นเครื่องหมายทางเรือ Maritime Buoyage System

ระบบทุ่นเครื่องหมายทางเรือ Maritime Buoyage System


ระบบที่ทำให้การเดินเรือมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยจะบอกรายละเอียดหลายสิ่งหลายอย่างเช่น บอกร่องน้ำ ร่องน้ำสาขา แนวทางการเดินเรือ เขตอันตราย จุดปลอดภัย และอีกหลายอย่างมากมาย โดยเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก

การเดินเรือโดยใช้ระบบทุ่นเครื่องหมายทางเรือ กำหนดมาตรฐานโดย สมาคมประภาคารระหว่างประเทศ (International Association of Lighthouse Authority : IALA)

โดยแบ่งแยกตามภูมิภาคของโลก ออกเป็น 2 ภูมิภาค



  • แบบ ภูมิภาค A (Region A) ส่วนใหญ่ยุโรป ออสเตเรีย นิวซีแลนด์ แอฟริกา อ่าวเปอร์เซีย (ประเทศไทยใช้เครื่องหมายทางเรือแบบ ภูมิภาค Aใช้สีแดงกำกับด้านซ้ายของร่องน้ำ เทคนิคการจำ ใช้วิธีจำแบบ กฏสำหรับเลี่ยงเรือชนกัน <--คลิก (เข้าใจเรื่อง Port กับ Startboard ก่อน)
  • แบบภูมิภาค B (Region B) ส่วนใหญ่ทางแคนนาดา อเมริกา อเมริกาใต้ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ใช้สีแดงกำกับด้านขวาของร่องน้ำ (ไม่ต้องจำ!!!! จะได้ไม่สับสน วิธีการจำคือ ให้นึกถึงรถพวงมาลัยซ้าย กับรถพวงมาลัยขวา มันแค่กลับข้างกัน...จำแค่นี้)





การขับเรือผ่านทุ่น หรือเครื่องหมายทางเรือ


เวลาใช้งานก็ชะโงกดูไฟหัวเรือไม่ต้องจำ ไฟที่หัวเรือจะเป็น
  •  สีแดง (ฝั่ง Port) อยู่ทางซ้าย
  • สีเขียว (ฝั่ง Startboard) อยู่ฝั่งขวา
 เวลาขับเรือเข้าหาฝั่ง ให้ขับเดินเรือโดยให้ทุ่นแดงอยู่ข้างเดียวกับฝั่งไฟหัวเรือสีแดง

หลักการจำ ให้เดินเรืออยู่ในร่องน้ำที่สีของทุ่น ตรงกับสีไฟหัวเรือ ในทิศขับเข้าหาฝั่ง ตามรูป

การเดินเรือผ่านทุ่น แบบภูมิภาค A


ระบบเครื่องหมายทางเรือ (Maritime Buoyage System : MBS) แบ่งเป็น

1.ระบบเครื่องหมายทางข้าง (Lateral System) คือ เครื่องหมายที่ติดตั้งทางซ้ายและขวาของเส้นทาง โดยให้สอดคล้องกับทิศทางที่กำหนด

สีประจำตัวคือ สีแดง และ สีเขียว


  •  เครื่องหมายทางด้านกราบซ้าย คือ สีแดง กรณีมีไฟกระพริบ ไฟสีแดง
  • เครื่องหมายทางด้านกราบขวา คือ สีเขียว กรณีมีไฟกระพริบ ไฟสีเขียว


เดินเรือผ่านร่องน้ำ ทุ่นสีแดงอยู่ฝั่งซ้าย ทุ่นสีเขียวอยู่ฝั่งขวา

  • จุดที่ร่องน้ำแยกเป็นสาขา ด้านกราบซ้าย คือ สีเขียวคาด ทุ่นแดงแถบกว้าง แนวนอน 1 แถบ
  • จุดที่ร่องน้ำแยกเป็นสาขา ด้านกราบขวา คือ สีแดงคาด ทุ่นเขียวแถบกว้าง แนวนอน 1 แถบ
เดินเรือผ่านร่องน้ำที่แยกสาขา

ลักษณะเดินเรือ ทิศทางเข้าหาฝั่งทะเล (Away from Open Water) เป็นหลัก  ถ้าในกรณีขับออกไปทะเล (Open Water) สีทุ่นก็จะสลับข้างกัน

สัญลักษณ์และไฟวับ



2.ระบบเครื่องหมายจตุรทิศ (Cardinal Mark) คือ เครื่องหมายบอกทิศที่กำหนดพื้นที่อันตราย โดยใช้ทุ่นจำนวนหนึ่งลูกหรือมากกว่า หรือใช้กระโจมไฟ ติดตั้งในเสี้ยวทิศ เพื่อแจ้งที่หมายสิ่งอันตรายที่สัมพันธ์กับเครื่องหมายนั้น

สีประจำตัวคือ สีเหลือง กับ สีดำ

หลักการจำ สีเหลือง เป็นสีที่ตัดกับสีของน้ำทะเล เป็นสีที่ตรงข้ามกับสีน้ำทะเล จึงมาใช้บอกเป็นจุดที่ไม่ใช่ทะเล หรือจุดอันตราย ส่วนสีดำ คือ สีที่บอกถึงความลึกลับ มองไม่เห็น



เครื่องหมายจตุรทิศ จะมีเครื่องหมายยอด (Top Mark) ที่ติดตั้งบนทุ่น เป็นรูปกรวยคู่ หรือรูปลูกศร วิธีการจำก็ง่ายมากให้นึกถึงเข็มทิศ หรือดูเข็มทิศบนเรือ


ถ้าเข็มหรือ ลูกศรชึ้ขึ้น 2 อัน คือ ทิศเหนือ หมายถึง พื้นที่ทางทิศเหนืออันตราย
ถ้าเข็มหรือ ลูกศรชี้ลง 2 อัน คือ ทิศตะใต้ หมายถึง พื้นที่ทางทิศใต้อันตราย
ถ้าเข็มหรือ ลูกศรชี้ออก 2 อัน คือ ทิศตะวันออก หมายถึง พื้นที่ทางทิศตะวันออกอันตราย
ถ้าเข็มหรือ ลูกศรชี้เข้า 2 อัน คือ ทิศตะวันตก หมายถึง พื้นที่ทางทิศตะวันตกอันตราย

ดูรูปทุ่นพร้อมเครื่องหมายยอดประกอบ ก็เข้าใจ








การใช้แสงไฟบอกทิศของจตุรทิศ

ใช้แสงไฟสีขาวกระพริบในการบอกทิศ จริงๆ แล้วการบอกทิศคือการแบ่งมุมเป็น 360 ส่วนจากหน้าปัดเข็มทิศ แต่ถ้าเราดูที่หน้าปัดนาฬิกา นาฬิกาก็สามารถบอกทิศได้โดย

ถ้ามองแบบนาทีก็แบ่งได้ 60 ส่วน ถ้ามองแบบชั่วโมงก็แบ่งได้ 12 ส่วน หรือถ้ามองแบบทุกๆ 3 ชั่วโมงจะแบ่งได้ 4 ส่วน ซึ่งมันจะตรงกับทิศเหนือ ใต้ ออก ตก พอดี ตามรูป โดย 


  • ทิศเหนือ ตรงกับเลขเลข 12 หรือ 0 
  • ทิศตะวันออก ตรงกับเลข 3
  • ทิศใต้ ตรงกับเลข 6
  • ทิศตะวันตก ตรงกับเลข 9
จึงเอาตัวเลขที่ตรงกับทิศเหล่านี้มาแสดงเป็นรูปแบบไฟกระพริบ
  • จตุรทิศเหนือ (North Mark) ใช้แสงสีขาวไฟวับเร็วมาก หรือไววับเร็ว
  • จตุรทิศตะวันออก (East Mark) ใช้แสงสีขาวไฟวับเร็วมากเป็นหมู่ 3 วับ
  • จตุรทิศใต้ (South Mark) ใช้แสงสีขาวไฟวับเร็วมากเป็นหมู่ 6 วับ
  • จตุรทิศตะวันตก (West Mark) ใช้แสงสีขาวไฟวับเร็วมากเป็นหมู่ 9 วับ


    3.ระบบเครื่องหมายสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว (Isolated Danger Marks) ใช้ติดตั้งอยู่บน หรือบริเวณใกล้เคียงสิ่งที่เป็นอันตรายนั้น เครื่องหมายสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว ทาด้วยสีดำคาดด้วยแถบคาดสีแดง 1 แถบหรือมากกว่าแนวนอน เครื่องหมายยอดเป็นลูกทรงกลมสีดำ 2 ลูก ใช้ไฟวับหมู่สีขาว 2 วับ

    สีประจำตัวคือ สีดำและสีแดง 

    หลักการจำ คือ สีดำเป็นสีที่แสดงถึงความลึกลับ สิ่งที่มองไม่เห็น แถมมีเครื่องหมายยอด (Top Mark) ทรงกลมสีดำตั้ง 2 อัน มันก็จะเป็นดับเบิ้ลลึกลับ ดับเบิ้ลมองไม่เห็น ซึ่งก็คือ จุดนั้นมีสิ่งอันตรายมากอยู่ตรงนั้น


    สัญลักษณ์และไฟวับ



    4.ระบบเครื่องหมายแสดงที่ปลอดภัย (Safe Water Marks)บอกให้ทราบว่าเดินเรือผ่านบริเวณนั้นได้โดยรอบ เครื่องหมายยอดเป็นทรงกลมสีแดง ทาด้วยสีแดงคาดขาวแนวตั้ง ใช้ไฟวับยาว 1 วับ ตัวอย่างเช่น
    • เส้นทางเดินเรือปากร่องน้ำ  (Fairway)
    • เส้นทางเดินเรือกลางร่องน้ำ (Mid-Channel)
    • เส้นทางเดินเรือเข้าฝั่ง (Landfall)
    สีประจำตัวคือ สีแดง และ สีขาว

    หลักการจำ คือ สีขาว เป็นสีที่แสดงความสะอาด บริสุทธิ์ ปลอดภัย สิ่งที่มองเห็น จึงเป็นทุ่นที่แสดงจุดปลอดภัย

    แล้วทำไมต้องมีเครื่องหมายแสดงจุดปลอดภัยด้วย ... ก็เพราะเวลาเดินเรือบริเวณร่องน้ำอาจต้องวิ่งตามทุ่นที่แสดงเครื่องหมายแสดงที่ปลอดภัย


    สัญลักษณ์ และไฟวับ


    5.ระบบเครื่องหมายพิเศษ (Special Marks) เป็นเครื่องหมายพิเศษใช้แสดงพื้นที่พิเศษอื่นๆ เครื่องหมายพิเศษทาสีเหลือง เครื่องหมายยอดเป็นรูปกากบาท (X) รูปร่างทุ่นทรงกระบอก เช่น

    สีประจำตัว คือ สีเหลือง ถ้ามีไฟกระพริบจะสีเหลือง

    หลักการจำ สีเหลือง เป็นสีที่ตัดกับสีของน้ำทะเล เป็นสีที่ตรงข้ามกับสีน้ำทะเล จึงมาใช้บอกเป็นจุดที่ไม่ใช่ทะเล หรือจุดอันตราย
    • แสดงทุ่นสมุทรศาสตร์
    • เครื่องหมายแบ่งแนวการจราจร
    • เครื่องหมายแสดงเขตพื้นที่ฝึกทหาร
    • แสดงแนวสายเคเบิ้ลใต้น้ำ
    • แสดงเขตพื้นที่สันทนาการ
    • แสดงพื้นที่ทอดสมอ
    • แสดงที่ตั้งสิ่งก่อสร้างในทะเล
    • แสดงพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ




    สัญลักษณ์และไฟวับ



    6.ระบบเครื่องหมายแสดงสิ่งอันตรายใหม่ (New Dangers) คือ ที่ไม่ปลอดภัยซึ่งค้นพบใหม่ซึ่งยังไม่ปรากฏในบรรสารการเดินเรือ ยังหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น สันทราย กองหิน หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ซากเรืออับปราง ตัวทุ่นทาสีฟ้าสลับเหลืองตามแนวตั้งในจำนวนที่เท่ากัน เครื่องหมายยอดเป็นเครื่องหมายบวก "+" ทาสีเหลือง ใช้ไฟสีฟ้าสลับกับสีเหลือง แสดงให้เห็นโดยการ

    • วางเครื่องหมายแสดงสิ่งอันตรายใหม่ที่เหมาะสม เช่น เครื่องหมายทางข้าง เครื่องหมายจตุรทิศ และเครื่องหมายสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว
    • ใช้ทุ่นเรืออับปางฉุกเฉิน (Emergency Wreck Marking Buoy : EWMB)

    สีประจำตัว สีเหลือง กับสีฟ้า แนวตั้ง จังหวะไฟสีฟ้า สีเหลือง 1 วินาที คาบมืด 0.5 วินาที สีฟ้า 1 วินาที

    หลักการจำ สีฟ้า คือสีของน้ำทะเล พอตัดกับสีเหลือง ซึ่งเป็นสีบอกจุดอันตราย เลยหมายถึงจุดอันตรายใหม่นั่นเอง



    เครื่องหมายสิ่งอันตรายใหม่ หรืออาจใช้เป็นทุ่นเรือจมฉุกเฉิน Emergency Wreck Bouy สัญลักษณ์และไฟวับ


    7.เครื่องหมายทางเรืออื่นๆ

    • ไฟเสี้ยว (Sector Light) จะแสดงสี และ/หรือ จังหวะสัญญาณไฟต่างๆ ในเสี้ยวที่กำหนดไว้ โดยสีของไฟบอกข้อมูลทิศทางหรือบอกร่องน้ำ ให้กับชาวเรือ
    • แนวนำ (Leading Lines หรือ Range) ช่วยในการนำเรือไปตามเส้นทางตรงอย่างถูกต้องแม่นยำ โดยการใช้การวาง ตัวของแนวไฟ หรือแนวเครื่องหมาย บางกรณีอาจใช้ไฟบังคับทิศ (Directional Light) เพียงดวงเดียว


    ลักษณะไฟของเครื่องหมายทางเรือ

    ไฟนิ่ง คือ ไฟซึ่งนิ่งต่อเนื่องกันอย่างคงที่



    ไฟวาบ คือ ไฟซึ่งระยะเวลาสว่างในแต่ละคาบยาวกว่าระยะเวลามืดช่วงเวลามืดในแต่ละคาบจะเท่ากันไฟ




    วาบเดี่ยว หรือ ไฟคาบเท่า คือ ไฟวาบซึ่งมีช่วงสว่างและช่วงมืดเกิดสลับกันไฟ



    วาบหมู่ คือ คล้ายกับไฟวาบเดี่ยว แต่ใน 1 คาบ กลุ่มของช่วงมืดจะปรากฏซ้ำๆ กัน ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป



    ไฟวับ คือ ไฟซึ่งมีความยาวนานของไฟใน 1 คาบสั้นกว่าความยาวนานของช่วงมืด เวลาที่ใช้ในแต่ละวับเท่ากัน



    ไฟวับเดี่ยว คือ ไฟวับซึ่งเกิดซ้ำกันในอัตราไม่เกิน 50 วับ/นาทีไฟวับหมู่ - ไฟวับติดๆ กันเป็นกลุ่มสลับกับช่วงมืด มีความยาวคงที่ในการเกิดแต่ละคาบ

    ไฟวับหมู่  คือ ไฟวับติดๆ กันเป็นกลุ่มสลับกับช่วงมืด มีความยาวคงที่ในการเกิดแต่ละคาบ


    ไฟวับเร็ว คือไฟวับเหมือนไฟวับเดี่ยวแต่จะที่ติดดับซ้ำกันเร็วๆกว่า


    ไฟสลับ คือ ไฟที่ติดสลับกัน 2 สี อย่างเช่น ทุ่นสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว หรือทุ่นแสดงสิ่งอันตรายใหม่



    ไฟรหัสมอร์ส คือ ไฟที่ส่งข้อมูลรหัสมอร์ส หรือรหัสตัวอักษร



    เอกสารอ้างอิง : ระบบทุ่นเครื่่องหมายทางเรือ กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ ประเทศไทย
                          International Association of Lighthouse Authority : IALA