ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เกาะจังหวัดภูเก็ต (Islands in Phuket)

เกาะจังหวัดภูเก็ต (Islands in Phuket)


ภูเก็ต คือ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภาคใต้ ทั้งฝั่งอันดามันตอนบน และฝั่งอันดามันตอนใต้ เป็นจังหวัดที่มีลักษณะเป็นเกาะ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยมีขนาดพื้นที่ของจังหวัดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศ เป็นเกาะที่ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และมีจำนวนมารีน่า มากที่สุดในประเทศ

 




เกาะในจังหวัดภูเก็ต มี 37 เกาะ
  • เกาะแวว
  • เกาะกะลา (ต.เชิงทะเล)
  • เกาะยามู
  • เกาะเฮ (ต.ป่าคลอก)
  • เกาะทะนาน (ต.ป่าคลอก)
  • เกาะแพ
  • เกาะปายู
  • เกาะงำ
  • เกาะนาคาน้อย
  • เกาะแรด
  • เกาะนาคาใหญ่
  • เกาะละวะน้อย
  • เกาะนก
  • เกาะกะลา (ต.ไม้ขาว)
  • เกาะปู
  • เกาะมะพร้าวน้อย
  • เกาะรังน้อย
  • เกาะรังใหญ่
  • เกาะมะพร้าว
  • เกาะมาลี
  • เกาะสิเหร่
  • เกาะทะนาน (ต.ราไวย์)
  • เกาะมัน
  • เกาะแก้วน้อย
  • เกาะแก้วใหญ่
  • เกาะบอน
  • เกาะแอว
  • เกาะราชาน้อย
  • เกาะเฮ (ต.ราไวย์)
  • เกาะราชาน้อย
  • เกาะโหลน
  • เกาะราชาใหญ่
  • เกาะกุย
  • เกาะตะเภาน้อย
  • เกาะไม้ท่อน
  • เกาะภูเก็ต






แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดภูเก็ต ในแผนที่ GPS




จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต (ถลาง)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต




ข้อมูลอ้างอิง
  • วิกิพิเดีย
  • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เกาะในจังหวัดสตูล (Islands in Satun)

เกาะในจังหวัดสตูล (Islands in Satun)


จากนรกตะรุเตาคุกสุดโหด มาเป็นสวรรค์ของคนรักทะเลและธรรมชาติ

คำว่า "ตะรุเตา" เป็นภาษามลายู เพี้ยนมาจากคำว่า ตือโละตาวาร์ (Teluk Tawar) แปลว่า "อ่าวจืด" หรือ "อ่าวน้ำจืด" เพราะบนเกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่เดียวที่มีธารน้ำจืดอยู่ด้วย 




Video from Getting Stamped ในแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบธรรมชาติ แบบสุดๆ หรือตามเกาะห่างไกลต้องยอมรับกันว่า ต่างชาติจะรู้มากจริงๆ เพราะเวลาเขามาเที่ยวเมืองไทย หลายๆคนมาแบบนักเดินทาง บางคนมาอยู่นานหลายเดือน จะหาคนไทยยากมากที่จะมาท่องเที่ยวแล้วฝังตัวเองในแหล่งท่องเที่ยวได้ 2-3 เดือนแบบต่างชาติ ถ้าทำแบบนั้นได้จะรู้หมดทุกตรอกซอกซอย ทรายกี่เม็ดหินกี่ก้อน หรือมาเที่ยวกันเป็นฤดูแบบ Long weekend อยู่แบบบ้าน จัดยาวเข้ากับคนท้องถิ่นเนียนเลย



เกาะในจังหวัดสตูล มี 106 เกาะ
  • เกาะปอย
  • เกาะสะปัน
  • เกาะบูบู
  • เกาะอุเสน
  • เกาะบงกัง
  • เกาะปละปลัง
  • เกาะหินใบ
  • เกาะหินรู
  • เกาะลอกอ
  • เกาะจะบัง
  • เกาะลันจา
  • เกาะเล็ก
  • เกาะบัน
  • เกาะตูนัน
  • เกาะบุทราด
  • เกาะตุกุนโต๊ะโพ
  • เกาะกา
  • เกาะราบา
  • เกาะกละ
  • เกาะซารัง
  • เกาะปะลัย
  • เกาะตะรัง
  • เกาะซามวง
  • เกาะซาไก
  • เกาะลอกวย
  • เกาะใหญ่
  • เกาะแดงน้อย
  • เกาะมดแดง
  • เกาะบุโร
  • เกาะหอขาว
  • เกาะแดง
  • เกาะบุโร (2)
  • เกาะสิงหะ
  • เกาะตารัง
  • เกาะสาหนา
  • เกาะกลัวเลาะ
  • เกาะแลน
  • เกาะเหล็ก
  • เกาะกลาง
  • เกาะลูกบีบี
  • เกาะละ
  • เกาะเปลากอ
  • เกาะโต๊ะเส้น
  • เกาะแรดน้อย
  • เกาะเปลายัน
  • เกาะกาตา
  • เกาะแลตอง
  • เกาะปาหนัน
  • เกาะบิสสี
  • เกาะหาดทรายขาว
  • เกาะคำเป้
  • เกาะชูกู
  • เกาะแรด
  • เกาะระยะโตดนุ้ย
  • เกาะแดง (2)
  • เกาะเปลาออ
  • เกาะตะงาห์
  • เกาะหลีเป๊ะ
  • เกาะระยะโตดใหญ่
  • เกาะบาตวง
  • เกาะตังหยงอุมา
  • เกาะอาดัง
  • เกาะราวี
  • เกาะตะรุเตา
  • เกาะนกเล็ก
  • เกาะนก
  • เกาะยาบัง
  • เกาะนก (2)
  • เกาะฮันตู
  • เกาะกวาง
  • เกาะตีกาเล็ก
  • เกาะพี
  • เกาะตีกากลาง
  • เกาะตีกาใหญ่
  • เกาะเกวเล็ก
  • เกาะมดแดง (2)
  • เกาะหัวมัน
  • เกาะเกวใหญ่
  • เกาะตำมะลัง
  • เกาะการ๊าฟ
  • เกาะขมิ้น
  • เกาะปรัสมานา
  • เกาะยาว
  • เกาะตุกุนแพ
  • เกาะลาละ
  • เกาะนุโล
  • เกาะไก
  • เกาะบงกัง
  • เกาะลินัน
  • เกาะจุปะ
  • เกาะตุงกู
  • เกาะหน้าบ้าน
  • เกาะละมะ
  • เกาะลูกหิน
  • เกาะบุโหลนไม้ไผ่
  • เกาะบุโหลนขี้นก
  • เกาะเขาตะโล๊ะแบนแต 
  • เกาะลินต๊ะ
  • เกาะบุโหลนใหญ่
  • เกาะเขาใหญ่
  • เกาะตามะ
  • เกาะลิดีเล็ก
  • เกาะลิดีใหญ่
  • เกาะกล้วย
  • เกาะกะเบ็ง
  • เกาะโต๊ะนายมน





แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดสตูล ในแผนที่ GPS



ปี พศ.2480 กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย ได้ทำการสำรวจ"เกาะตะรุเตา"เพื่อจัดเป็นทัณฑสถาน และประกาศ พรก.เป็นเขตหวงห้าม ใช้เฉพาะกิจการของกรมราชทัณฑ์ โดยใช้เป็นสถานกักกันและนิคมฝึกอาชีพ ให้กับนักโทษ ด้วยเห็นว่า"เกาะตะรุเตา"มีทะเลกว้างใหญ่เป็นกำแพงธรรมชาติ ยากต่อการหลบหนีของนักโทษ


บรรดาเหล่านักโทษที่ถูกส่งตัวมากักกันไว้ ณ เกาะตะรุเตาแห่งนี่ มีอยู่ 2 พวก คือนักโทษทั่วไปในคดีอุกฉกรรจ์ และนักโทษการเมือง(กบฏ) ที่มีความคิดเห็นตรงกันข้ามกับรัฐบาล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นนักโทษที่ส่งมาจาก"คุกบางขวาง"

"นักโทษทั่วไป" ถูกกักกันในบริเวณอ่าวตะโละวาว ทสงตอนเหนือ
"นักโทษการเมือง"จะถูกักกันไว้ทางตอนใต้ของเกาะ บริเวณอ่าวตะโละอุตัง

พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ส่งนักโทษการเมืองจากคดีกบฏบวรเดช (พ.ศ. 2476) และกบฏนายสิบ (พ.ศ. 2478) จำนวน 70 นาย มายังเกาะตะรุเตาซึ่งถูกกักบริเวณไว้ที่อ่าวตะโละอุดัง โดยจำนวนนักโทษทั้งหมดมีราว 4,000 คน

 ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ. 2484-2488) เกาะตะรุเตาถูกตัดขาดออกจากแผ่นดินใหญ่ เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ยา และเครื่องใช้ต่าง ๆ ต้นปี พ.ศ. 2487 ผู้คุมนักโทษได้ทำตัวเป็นโจรสลัดเข้าปล้นสะดมเรือบรรทุกสินค้าชาวไทยและต่างประเทศที่แล่นแผ่นไปมา เป็นที่หวาดหวั่นของนักเดินเรือเป็นอย่างยิ่ง จนแทบจะไม่มีเรือสินค้ากล้าล่องผ่านย่านนี้

ความเหิมเกริมของโจรสลัดแห่งตะรุเตามีมากขึ้น จนกระทั่งไปปล้นเอาเรือที่กำลังเดินทางไปติดต่อกับอังกฤษที่แหลมมลายูเข้า ร้อนถึงอังกฤษที่ปกครองมลายู จึงต้องทำหนังสือถึงทางการไทย ขออนุญาตส่งกองกำลังยกพลขึ้นบกที่เกาะตะรุเตา ปราบปรามโจรสลัดตะรุเตา จนราบคาบหมดสิ้นในวันที่ 21 มีนาคม ปี 2489 ในที่สุดทางการก็ประกาศยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา นรกตะรุเตาจึงปิดฉากลงในปี 2491



ข้อมูลอ้างอิง
  • Getting Stamped
  • วิกิพิเดีย
  • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

บทความที่เกี่ยวข้อง



วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

High Low Tide Table 2019 / 2562

High Low Tide Table 2019 / ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2562
ตารางระดับน้ำสูงสุดต่ำสุด กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ 2019 / 2562
Support smartphone version

แบ่งต่ามพื้นที่ คลิกเลือกจุดที่ต้องการ ตารางน้ำสุงสุดต่ำสุดในแผนที่


ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด 2019 / 2562
  • บอกระดับน้ำระดับสูงสุด-ต่ำสุด ต่อวัน การใช้งานบางอย่างต้องการรู้ว่าน้ำขึ้นเมื่อใด ลงเมื่อใด ขึ้นสูงสุดเมื่อใด ต่ำสุดเมื่อใด
  • การบอกระดับน้ำละเอียดเป็น เมตรและเซนติเมตร
  • การรู้ระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด เท่ากับการรู้ต่ำแหน่งดิถีดวงจันทร์ 
  • ตารางระดับน้ำสูงสุด-ต่ำสุด จัดทำเพื่อเป็น Backup Site เหมาะสำหรับชาวเล ชาวประมงชายฝั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เกาะในจังหวังตรัง (Islands in Trang)

เกาะในจังหวังตรัง (Islands in Trang)

กินอร่อย ตามรอยมังกร ทะเลตรังแสนงาม เมืองต้องห้ามพลาดที่มีวัฒนธรรมการกินอาหาร และอาหารเลื่องชือ แชมป์ยุทธจักรความอร่อย



เกาะในจังหวัตตรังมี 56 เกาะ
  • เกาะตูเกีย
  • เกาะนก (ต.ตะเสะ)
  • เกาะโต๊ะลาน้อย
  • เกาะโต๊ะลา
  • เกาะแลน (เล็ก)
  • เกาะกา (ต.กันตังใต้)
  • เกาะลูกไม้
  • เกาะเหลาตำ
  • เกาะค้อ
  • เกาะเคี่ยม
  • เกาะแลน (ใหญ่)
  • เกาะเจ้าไหม
  • เกาะกวาง
  • เกาะเชือก
  • เกาะบะราหน
  • เกาะแหวน
  • เกาะกระดาน
  • เกาะมุกด์ หรือ เกาะมุก
  • เกาะลิบง หรือ เกาะตะลิบง
  • เกาะนก (ต.นาเกลือ)
  • เกาะลูกไม้
  • เกาะจากน้อย
  • เกาะปากลัด
  • เกาะจาก
  • เกาะตลับหล่น
  • เกาะกลาง
  • เกาะหลัก
  • เกาะตุลุ้ยน้อย
  • เกาะตุลุ้ยใหญ่
  • เกาะแดง
  • เกาะจังกาบ
  • เกาะตุกุลแพ
  • เกาะจับปี่เล็ก
  • เกาะตาใบ
  • เกาะเบ็ง
  • เกาะจับปี่ใหญ่
  • เกาะเหลาเหลียง หรือ เกาะเลี้ยงเหนือ
  • เกาะเลี้ยงใต้
  • เกาะเภตรา
  • เกาะสุกร
  • เกาะค้างคาว
  • เกาะเหลาตรง
  • เกาะกา (ต.บ้านนา)
  • เกาะฮ้อไล้
  • เกาะท่าสัก
  • เกาะกลาง (ต.บ้านนา)
  • เกาะกลาง (ต.ทุ่งกระบือ)
  • เกาะเตาบุโระ
  • เกาะสากกะเบือ
  • เกาะผี
  • เกาะลอลอ
  • เกาะปลิง
  • เกาะแมง หรือเกาะเมง
  • เกาะไหง (โอนมาจาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เมื่อ 20/12/2556)
  • เกาะม้า (โอนมาจาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เมื่อ 20/12/2556)






แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดตรัง ในแผนที่ GPS

    จังหวัดตรังในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรังเป็นจังหวัดแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) นำพันธุ์ยางพารามาจากมาเลเซีย

    
จังหวัดตรังมีเนื้อที่ประมาณ 4,941 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเล็กเนินน้อยสลับกับที่ราบ ทำให้สันนิษฐานกันว่าชื่อตรัง มาจากคำว่า “ตรังคะ”  ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่าลูกคลื่น ตามสภาพพื้นที่ของจังหวัดตรัง ขณะที่อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งบอกว่า ตรังมาจาก “ตรังเค” ภาษามลายู แปลว่า “รุ่งอรุณ” หรือ “สว่างแล้ว” เพราะสมัยก่อน เรือสินค้าจากมลายูจะแล่นมาถึงตรังตอนสว่างพอดีความเป็นมาของเมืองตรังนั้นเริ่มต้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยพบหลักฐานคือจารึกวัดเสมาเมือง จังหวัดนคร
ศรีธรรมราช ซึ่งบอกไว้ว่า ตรังเป็นหัวเมืองที่ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช และหลักฐานอื่นๆ ที่พบในเวลาต่อมา

สามารถแบ่งยุคสมัยของวิวัฒนาการเมืองตรังได้เป็น 3 ช่วงคือ

1. สมัยตั้งเมืองที่ตำบลควนธานี (พ.ศ. 2354-2436) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พบหลักฐานจากทำเนียบกรมการเมืองตรังว่า พระอุไภยธานี ผู้ว่าราชการเมืองตรังคนแรก ได้สร้างหลักเมืองไว้ที่ควนธานี (อยู่ในอำเภอกันตังในปัจจุบัน ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ 8 กิโลเมตร)

2. สมัยตั้งเมืองที่กันตัง (พ.ศ. 2436-2458) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคนี้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง ท่านเห็นว่าที่ตั้งเมืองเดิมคือควน ธานีนั้นอยู่ห่างจากฝั่งทะเลมาก จึงกราบบังคมทูลขอย้ายที่ตั้งเมืองมาอยู่ที่ตำบลกันตัง เพราะที่นี่เป็นชุมชนใหญ่ มีชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเป็นเจ้าเมืองนี้เองที่ตรังได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก เช่น มีการนำต้นยางพาราจากมลายูมาปลูกเป็นครั้งแรก มีการตัดถนนจากตรังไปพัทลุง สร้างท่าเรือเพื่อรองรับการค้าขายกับต่างชาติ ฯลฯ นับเป็นยุครุ่งเรืองอย่างยิ่งเลยทีเดียว

3. สมัยตั้งเมืองที่ทับเที่ยง (พ.ศ. 2458 จนถึงปัจจุบัน) ล่วงมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงมีพระราชดำริว่า เมืองกันตังมีพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัยจากอริราชศัตรู อีกทั้งมีการระบาดของไข้อหิวาตกโรค จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ตำบลทับเที่ยง

 
สำหรับคนที่ยังไม่ได้แต่งงาน ในเดือนกุมพาพันธ์ของทุกปี จะมีการจัดงานวิวาห์ใต้สมุทรในทุกๆปี ซึ่งโด่งดังไปถึงต่างประเทศ แต่งเสร็จแล้วก็ฮันนีมูลต่อเลย จัดเต็ม


เมืองตรังจะมีวัฒนธรรมการกิน ที่มีของอร่อยมีชื่อเสียงหลายอย่างมาก

มื้อเช้าจัดเต็มกับติ่มซำ
กลางวันตามด้วย หมี่หนำเหลียว อาหารถิ่นประจำจังหวัด
มื้อเย็น หมูย่างตรัง แล้วตบท้ายตามด้วยเบียร์ 555

ข้อมูลอ้างอิง
  • MGR ONLINE
  • กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

บทความที่เกี่ยวข้อง