จากนรกตะรุเตาคุกสุดโหด มาเป็นสวรรค์ของคนรักทะเลและธรรมชาติ
คำว่า "ตะรุเตา" เป็นภาษามลายู เพี้ยนมาจากคำว่า ตือโละตาวาร์ (Teluk Tawar) แปลว่า "อ่าวจืด" หรือ "อ่าวน้ำจืด" เพราะบนเกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่เดียวที่มีธารน้ำจืดอยู่ด้วย
Video from Getting Stamped ในแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบธรรมชาติ แบบสุดๆ หรือตามเกาะห่างไกลต้องยอมรับกันว่า ต่างชาติจะรู้มากจริงๆ เพราะเวลาเขามาเที่ยวเมืองไทย หลายๆคนมาแบบนักเดินทาง บางคนมาอยู่นานหลายเดือน จะหาคนไทยยากมากที่จะมาท่องเที่ยวแล้วฝังตัวเองในแหล่งท่องเที่ยวได้ 2-3 เดือนแบบต่างชาติ ถ้าทำแบบนั้นได้จะรู้หมดทุกตรอกซอกซอย ทรายกี่เม็ดหินกี่ก้อน หรือมาเที่ยวกันเป็นฤดูแบบ Long weekend อยู่แบบบ้าน จัดยาวเข้ากับคนท้องถิ่นเนียนเลย
เกาะในจังหวัดสตูล มี 106 เกาะ
- เกาะปอย
- เกาะสะปัน
- เกาะบูบู
- เกาะอุเสน
- เกาะบงกัง
- เกาะปละปลัง
- เกาะหินใบ
- เกาะหินรู
- เกาะลอกอ
- เกาะจะบัง
- เกาะลันจา
- เกาะเล็ก
- เกาะบัน
- เกาะตูนัน
- เกาะบุทราด
- เกาะตุกุนโต๊ะโพ
- เกาะกา
- เกาะราบา
- เกาะกละ
- เกาะซารัง
- เกาะปะลัย
- เกาะตะรัง
- เกาะซามวง
- เกาะซาไก
- เกาะลอกวย
- เกาะใหญ่
- เกาะแดงน้อย
- เกาะมดแดง
- เกาะบุโร
- เกาะหอขาว
- เกาะแดง
- เกาะบุโร (2)
- เกาะสิงหะ
- เกาะตารัง
- เกาะสาหนา
- เกาะกลัวเลาะ
- เกาะแลน
- เกาะเหล็ก
- เกาะกลาง
- เกาะลูกบีบี
- เกาะละ
- เกาะเปลากอ
- เกาะโต๊ะเส้น
- เกาะแรดน้อย
- เกาะเปลายัน
- เกาะกาตา
- เกาะแลตอง
- เกาะปาหนัน
- เกาะบิสสี
- เกาะหาดทรายขาว
- เกาะคำเป้
- เกาะชูกู
- เกาะแรด
- เกาะระยะโตดนุ้ย
- เกาะแดง (2)
- เกาะเปลาออ
- เกาะตะงาห์
- เกาะหลีเป๊ะ
- เกาะระยะโตดใหญ่
- เกาะบาตวง
- เกาะตังหยงอุมา
- เกาะอาดัง
- เกาะราวี
- เกาะตะรุเตา
- เกาะนกเล็ก
- เกาะนก
- เกาะยาบัง
- เกาะนก (2)
- เกาะฮันตู
- เกาะกวาง
- เกาะตีกาเล็ก
- เกาะพี
- เกาะตีกากลาง
- เกาะตีกาใหญ่
- เกาะเกวเล็ก
- เกาะมดแดง (2)
- เกาะหัวมัน
- เกาะเกวใหญ่
- เกาะตำมะลัง
- เกาะการ๊าฟ
- เกาะขมิ้น
- เกาะปรัสมานา
- เกาะยาว
- เกาะตุกุนแพ
- เกาะลาละ
- เกาะนุโล
- เกาะไก
- เกาะบงกัง
- เกาะลินัน
- เกาะจุปะ
- เกาะตุงกู
- เกาะหน้าบ้าน
- เกาะละมะ
- เกาะลูกหิน
- เกาะบุโหลนไม้ไผ่
- เกาะบุโหลนขี้นก
- เกาะเขาตะโล๊ะแบนแต
- เกาะลินต๊ะ
- เกาะบุโหลนใหญ่
- เกาะเขาใหญ่
- เกาะตามะ
- เกาะลิดีเล็ก
- เกาะลิดีใหญ่
- เกาะกล้วย
- เกาะกะเบ็ง
- เกาะโต๊ะนายมน
แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดสตูล ในแผนที่ GPS
ปี พศ.2480 กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย ได้ทำการสำรวจ"เกาะตะรุเตา"เพื่อจัดเป็นทัณฑสถาน และประกาศ พรก.เป็นเขตหวงห้าม ใช้เฉพาะกิจการของกรมราชทัณฑ์ โดยใช้เป็นสถานกักกันและนิคมฝึกอาชีพ ให้กับนักโทษ ด้วยเห็นว่า"เกาะตะรุเตา"มีทะเลกว้างใหญ่เป็นกำแพงธรรมชาติ ยากต่อการหลบหนีของนักโทษ
บรรดาเหล่านักโทษที่ถูกส่งตัวมากักกันไว้ ณ เกาะตะรุเตาแห่งนี่ มีอยู่ 2 พวก คือนักโทษทั่วไปในคดีอุกฉกรรจ์ และนักโทษการเมือง(กบฏ) ที่มีความคิดเห็นตรงกันข้ามกับรัฐบาล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นนักโทษที่ส่งมาจาก"คุกบางขวาง"
"นักโทษทั่วไป" ถูกกักกันในบริเวณอ่าวตะโละวาว ทสงตอนเหนือ
"นักโทษการเมือง"จะถูกักกันไว้ทางตอนใต้ของเกาะ บริเวณอ่าวตะโละอุตัง
พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ส่งนักโทษการเมืองจากคดีกบฏบวรเดช (พ.ศ. 2476) และกบฏนายสิบ (พ.ศ. 2478) จำนวน 70 นาย มายังเกาะตะรุเตาซึ่งถูกกักบริเวณไว้ที่อ่าวตะโละอุดัง โดยจำนวนนักโทษทั้งหมดมีราว 4,000 คน
ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ. 2484-2488) เกาะตะรุเตาถูกตัดขาดออกจากแผ่นดินใหญ่ เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ยา และเครื่องใช้ต่าง ๆ ต้นปี พ.ศ. 2487 ผู้คุมนักโทษได้ทำตัวเป็นโจรสลัดเข้าปล้นสะดมเรือบรรทุกสินค้าชาวไทยและต่างประเทศที่แล่นแผ่นไปมา เป็นที่หวาดหวั่นของนักเดินเรือเป็นอย่างยิ่ง จนแทบจะไม่มีเรือสินค้ากล้าล่องผ่านย่านนี้
ความเหิมเกริมของโจรสลัดแห่งตะรุเตามีมากขึ้น จนกระทั่งไปปล้นเอาเรือที่กำลังเดินทางไปติดต่อกับอังกฤษที่แหลมมลายูเข้า ร้อนถึงอังกฤษที่ปกครองมลายู จึงต้องทำหนังสือถึงทางการไทย ขออนุญาตส่งกองกำลังยกพลขึ้นบกที่เกาะตะรุเตา ปราบปรามโจรสลัดตะรุเตา จนราบคาบหมดสิ้นในวันที่ 21 มีนาคม ปี 2489 ในที่สุดทางการก็ประกาศยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา นรกตะรุเตาจึงปิดฉากลงในปี 2491
ข้อมูลอ้างอิง
- Getting Stamped
- วิกิพิเดีย
- กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น