วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คลองสนามชัย

จุดเริ่มต้นของคลองอยู่ต่อจากคลองด่าน บริเวณแยกคลองบางขุนเทียน ในเขตจอมทอง แล้วไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

เดินเรือ คลองสนามชัย ในแผนที่ GPS

ประวัติ
คลองสนามชัย เป็นคลองที่ขุดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8แห่งกรุงศรีอยุธยา แทนที่คลองโคกขามเดิม ซึ่งมีความคดเคี้ยวอย่างมาก เรียกคลองที่ขุดขึ้นใหม่นี้ว่า คลองพระพุทธเจ้าหลวง แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคตไปก่อน ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้โปรดเกล้าให้พระราชสงครามเป็นนายกอง เกณฑ์คนจากหัวเมืองปักษ์ใต้มาขุดต่อ หัวเมืองปักษ์ใต้ในสมัยนั้น หมายถึงหัวเมืองที่อยู่ทางใต้ของกรุงศรีอยุธยา เช่น เมืองสาครบุรี สามโคก ราชบุรี ธนบุรี นนทบุรี เพชรบุรี ใช้เวลาขุดสองเดือนจึงแล้วเสร็จ จุดเริ่มต้นของคลองอยู่ต่อจากคลองด่าน บริเวณแยกคลองบางขุนเทียน ในเขตจอมทอง แล้วไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ตัวคลองลึก 6 ศอก และกว้าง 7 วา ใช้ในการคมนาคมขนส่ง และทำสงคราม และยังมีชาวต่างชาติใช้เส้นทางนี้ไปกรุงศรีอยุธยาโดยไม่ต้องผ่านเข้าทางแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย

ประตูน้ำคลองสนามชัย

คลองด่าน (ฝั่งธนบุรี)

คลองด่าน (ฝั่งธนบุรี) ปากคลองแยกจากคลองบางกอกใหญ่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ไปออกคลองบางขุนเทียน และคลองสนามชัย ความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เป็นเส้นทางไปออกแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดสมุทรสาคร

เดินเรือ คลองด่าน (ฝั่งธนบุรี) ในแผนที่ GPS

ประวัติ
ปากคลองแยกจากคลองบางกอกใหญ่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ไปออกคลองบางขุนเทียน และคลองสนามชัย ความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นด่านขนอนมาก่อน ด่านขนอนคือด่านที่เป็นกระโจมหลังคา มียอดสำหรับดูเรือในระยะไกล เพื่อตรวจสิ่งของต้องห้าม และเก็บภาษีจากเรือสินค้าต่างชาติทั้งฝรั่ง และจีน ที่ขึ้นล่องผ่านด่านมาติดต่อค้าขายในอาณาจักร ซึ่ง ณ ที่นี้จะสามารถเก็บภาษีทั้งจากเรือที่ผ่านมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา และทางแม่น้ำท่าจีนได้ คลองด่านยังใช้เป็นเส้นทางไปออกแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดสมุทรสาครได้ด้วย ดังปรากฏว่าเป็นเส้นทางเดินทัพไปด่านเจดีย์สามองค์ในสมัยรัชกาลที่ 2

คลองดำเนินสะดวก

เชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีน กับแม่น้ำแม่กลอง

เดินเรือ คลองดำเนินสะดวก ในแผนที่ GPS



ประวัติ
คลองดำเนินสะดวกได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.2409จากพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ที่ว่าการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดสมุทรสาครนั้นเรามีคลองภาษีเจริญ ทำให้การเดินทางไปมาได้สะดวกดี แต่ถ้ามีคลองเชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรีก็จะยิ่งสะดวกขึ้นอีกมาก โดยมีนัยแห่งจุดประสงค์ของพระราชปรารภที่ต้องการเชื่อมโยงแม่น้ำหลัก๓ สาย อันได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ด้วยคลองเพื่อความสะดวกในด้านคมนาคมทางน้ำ โดยแต่เดิมมีคลองภาษีเจริญเชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา และท่าจีนอยู่แล้ว

ต่อมาในปีเดียวกันนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระประสาทสิทธิ์ ( เดิมชื่อ ช่วง บุนนาค ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาศรีสุริยวงศ์ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ตามลำดับ เป็นต้นตระกูล บุนนาค ) เป็นผู้อำนวยการในขุดคลองเพื่อเชื่อมแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลองโดยใช้งบประมาณจากทุนทรัพย์ส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จำนวน 400 ชั่ง และทุนทรัพย์ของพระประสาทสิทธิ์ผู้อำนวยการขุดคลองอีก 1000 ชั่งรวม 1400 ชั่ง หรือ 112,000(1 ชั่ง เท่ากับ 80บาท) ซึ่งคิดตามค่าเงินในปัจจุบันต้องเอา 1,500 คูณเข้าไป(สมัยนั้นก๋วยเตี๋ยวชามละ2-3สตางค์ ) ทั้งนี้งบประมาณดังกล่าวไม่ได้นับรวมแรงงานของประชาชนที่เอาแรงมาช่วยขุดด้วย

ในการขุดคลองครั้งนั้นได้ว่าจ้างแรงงานชาวจีนเป็นผู้ขุดคลองเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้วิธีขุด 2วา เว้น 1วา แล้วปล่อยให้น้ำหลากเซาะให้ทะลุต่อกัน โดยเริ่มต้นขุดจากปากคลองบางยางแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร(อำเภอบ้านแพ้วในปัจจุบัน)ผ่านจังหวัดราชบุรี(อำเภอดำเนินสะดวกในปัจจุบัน)และสิ้นสุดที่บางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม(อำเภอบางคนทีในปัจจุบัน) รวมระยะทางทั้งสิ้น 33.6กม. ใช้เวลาในการขุดรวม 2 ปี เสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2511

เมื่อเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ได้ขุดคลองเสร็จแล้ว ได้จัดทำแผนผังในการขุดคลองยาว 880 เส้น กว้าง 6 วา ลึก 1 วา 2 ศอก(2 ศอก = 1 เมตร , 2 เมตร = 1 วา , 1 เส้น = 40 เมตร) ขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรดูแผนผังแล้วทรงเห็นว่าคลองที่ขุดใหม่มีความยาวมาก และขุดได้ตรงไม่คดเคี้ยว สะดวกต่อการสัญจรไปมา จึงพระราชทานนามให้เป็นมงคล แก่คลองนี้ว่า "ดำเนินสะดวก" จึงได้ชื่อว่า คลองดำเนินสะดวก นับตั้งแต่นั้นมาจวบจนปัจจุบัน

คลองดำเนินสะดวกเป็นคลองซอยเชื่อมต่อกัน จำนวนมากกว่า 200 คลองอันเกิดจากการเข้ามาจับจองที่ดิน หลังขุดคลองเสร็จแล้วของผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งหลังจากเข้ามาจับจองแล้ว ก็ทำการขุดคลองซอยเชื่อมต่อคลองใหญ่(คลองดำเนินสะดวก) และเชื่อมต่อคลองซอยซึ่งกันและกัน เพื่อความสะดวกในการสัญจร

นอกจากนี้คลองดำเนินสะดวกยังมีการแบ่งหลักเขตทั้งหมด 9 หลัก โดยเริ่มหลักแรกเป็นหลักศูนย์ ที่บริเวณปากคลองบางยาง และสิ้นสุดหลักสุดท้ายที่ หลักแปด แต่ละหลักจะห่างกัน 4 กม. หลักเขตทั้ง 9 หลักยัง ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน โดยหลักศูนย์ถึงหลักห้า อยู่ในเขต อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร
หลักหก และหลักเจ็ดอยู่ในเขตอ
.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี และหลักแปดอยู่ที่ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม

สถานที่ท่องเที่ยว
ตลาดน้ำคลองดำเนินสะดวก
ตลาดเก่าบางนกแขวกที่อยู่ปากคลองดำเนินสะดวกริมแม่น้ำแม่กลอง ประตูน้ำ บางนกแขวก เริ่มใช้งานให้เรือแพ่ผ่านเข้าออกคลองดำเนินสะดวก เมื่อปี พ.ศ. 2452 มีนายประตูน้ำทำหน้าที่ก็หลายสิบคน จนปัจจุบันนี้ก็มีอายุการใช้งาน 100 กว่าปี
ที่ทำการประตูน้ำบางนกแขวก

ประตูน้ำบางนกแขวก

ร้านค้าบริเวณประตุน้ำ

คลองภาษีเจริญ

คลองภาษีเจริญ เริ่มต้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกัน ไปเชื่อมแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร รวมความยาว 28 กิโลเมตร

เดินเรือ คลองภาษีเจริญ ในแผนที่ GPS

ประวัติ
พระบาทสมเด็จพรจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 โปรดกล้าฯ ให้ พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศาลบุตร) เจ้าภาษีฝิ่น เป็นแม่กองขุด โดยหักเงินภาษีฝิ่นพระราชทานเป็นค่าจ้างขุด รวม 112,000 บาท แต่รัชกาลที่ 4 เสด็จสวรรคตก่อนที่จะทำการขุดแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดต่อจนเสร็จปี พ.ศ.2415 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขนส่งสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งน้ำตาลในบริเวณนั้นมายังกรุงเทพ ฯ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ทั้งนี้สืบเนื่องจากข้อกำหนดในสนธิสัญญาบาวริ่งส่วนที่เกี่ยวกับการค้า ซึ่งไทยยอมให้มีการซื้อขายข้าวส่งออกต่างประเทศ แต่ภาวะการค้าข้าวก็ยังไม่ดีขึ้นในทันที ต่างจากการค้าน้ำตาลซึ่งได้ผลดีกว่าสินค้าประเภทอื่น ๆ เพราะเป็นสินค้าที่ชาวตะวันตกต้องการมาก และส่งผลกำไรให้มากด้วย ช่วงที่ภาวะการค้าน้ำตาลของไทยเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดช่วงหนึ่ง คือ ช่วงปี พ.ศ. 2393—2410 ดังจะเห็นได้จากจำนวนโรงงานน้ำตาลริมแม่น้ำนครชัยศรี ซึ่งมีมากถึง 23 แห่ง ในปี พ.ศ. 2408 และพื้นที่ปลูกอ้อยที่มีมากที่สุดในช่วงนั้นก็คือ นครชัยศรี ซึ่งแสดงให้เห็นว่านครชัยศรีเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลที่สำคัญ ดังนั้นในภาวะการณ์ดังกล่าวจึงทำให้ไทยกระตือรือร้นที่จะส่งเสริมการค้าน้ำตาลและอำนวยความสะดวกในการขนส่งให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว โดยมีการขุดคลองเจดีย์บูชา คลองภาษีเจริญและคลองดำเนินสะดวก เพื่อให้สามารถลำเลียงน้ำตาลจากแหล่งผลิตมาสู่ตลาดได้อย่างสะดวก

สถานที่ท่องเที่ยว
ตลาดน้ำนิมมารนรดี รูป วิดีโอ เครดิต คุณรัตนโกสินทร์



ประตูน้ำคลองภาษีเจริญ

นาวาคมนาคม แผนที่แม่น้ำคูคลองสยาม ร.ศ. 233 และจุดท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม


นาวาคมนาคม แผนที่แม่น้ำคูคลองสยาม ร.ศ. 233 (2557) และจุดท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
รวบรวมเส้นทาง คมนาคมทางน้ำโดยเรือ ในเส้นทางแม่น้ำสายหลักซึ่งมีประวัติทางวัฒนธรรม 4 ลุ่มน้ำ ใด้แก่

กดเลือกแผนที่ ที่ต้องการเดินเรือ ตามลุ่มแม่น้ำ




iPad Version ใช้ผ่าน Tablet




การใช้งานให้เข้าใช้งานผ่าน Smartphone หรือ Tablet
คู่มือการใช้งาน D.I.Y GPS ของกัปตัน แ จ็ ค ส แ ป ร์ โ ร ว์ ภาค 3 ฉบับแม่น้ำคูคลองสยาม ร.ศ. 233
หมายเหตุ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง Map จาก Google จึงไม่สามารถระบุพิกัดตัวเองได้เหมือนเดิม หาก Map นี้มีประโยชน์หรือมีผู้สนใจมาก จะหาเวลาลงแรงทำเป็น App ให้อีกรอบครับ

แยกตามลุ่มน้ำ
แยกตามแม่น้ำ
คูคลอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
คูคลอง ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ตลาดน้ำ


สัญลักษณ์ในแผนที่


หมายถึง วัด



หมายถึงตลาดน้ำ











วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เชือกเงื่อนที่ใช้กับเรือ และวิธีการใช้งาน

เชือก กับ เรือ เป็นสิ่งที่ต้องมีติดเรือตลอด และเป็นสิ่งอเนกประสงค์ ที่ใช้ในเรือ เราใช้เชือกทำอะไรบ้างบนเรือ

  • ใช้จอดเรือ ผูกสมอเรือ ผูกเรือ
  • ผูกทุ่น
  • ใช้ช่วยเหลือคนจมน้ำ
  • ซ่อมแซมสิ่งของ
  • ใช้ควบคุมการบังคับ ของเรือใบ
  • ฯลฯ

เงื่อนเชือก..... แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่ม คือ
1. ประเภทต่อเชือกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ประโยชน์ต่อเชือกให้ยาวขึ้น
  • เงื่อนพิรอด
  • เงื่อนขัดสมาธิ
  • เงื่อนประมง
  • เงื่อนยายแก่
  • เงื่อนนายพราน
  • ฯลฯ
2. ประเภททำเป็นบ่วง เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับคล้องหรือสวมกับหลัก
  • เงื่อนบ่วงสายธนู
  • เงื่อนผูกคนลาก
  • เงื่อนเก้าอี้
  • รอกเชือก
  • ฯลฯ
3. ประเภทผูกกับวัตถุ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับผูกให้แน่น ใช้รั้งให้ตึง หรือดึงให้แน่น
  • เงื่อนผูกซุง
  • เงื่อนบุกเบิก
  • เงื่อนตะกรุดเบ็ด
  • เงื่อนผูกถัง
  • เงื่อนกระหวัดไม้
  • เงื่อนผูกรั้ง
  • เงื่อนขันชะเนาะ
  • เงื่อนผูกแน่น
  • ฯลฯ

ทักษะเงื่อนเรือ 6 แบบที่ควรทราบ ( Six Knot Skill )

1 เงื่่อนพิรอด Square Knot
   ใช้ต่อปลายเชือกที่ขนาดเท่ากัน ความเหนียวเท่ากัน  2 ข้างเข้าด้วยกัน ซึ่งเงื่อนนี้จะแน่นมากแต่ก็แก้ออกได้ง่าย

2.เงื่อนขัดสมาธิ Sheet Bend
   ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน หรือขนาดเดียวกันก็ได้ โดยใช้เส้นใหญ่พันเป็นบ่วง เส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด ใช้ผูกเชือกับสิ่งที่เป็นขอ หรือหู เช่น ใช้ผูกเชือกสมอเรือ

3.เงื่อนบ่วงสายธนู Bowline
   ใช้ทำเป็นบ่วงที่มีขนาดเงื่อนไม่รูด ใช้ทำบ่วงเพื่อคล้องเรือกับหลักจอดเรือ ขึงใบเรือ หรือทำบ่วงเพื่อไว้ลากของหนัก

4.เงื่อนตะกรุดเบ็ด Clove Hitch
   ใช้ผูกเบ็ด ผูกเรือกับเสาให้แน่น เพื่อจอดเรือ

5.เงื่อน Backhand Hitch
    ใช้ผูกเชือกที่เสาแบบ 2 รอบเพิ่มความความเหนียว ลดการลื่นไหล
ุ6.เงื่อนขัดสมาธิ 2 ชั้น Double sheet bend
   เหมือนเงื่อนขัดสมาธิ แต่เพิ่มวงล็อกสองชั้น




วิธีผูกเชือก กับจุดผูกเรือ Cleat hitch knot กับการผูกเงื่อนที่เรือ