เดินเรือ คลองสำโรง ในแผนที่ GPS
ประวัติ
คลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง มีความยาวประมาณ 55.650 กิโลเมตร ขุดในสมัยขอมเรืองอำนาจ ระหว่างพ.ศ.978 ถึง1700 หลักฐานที่พบคือ คำดั้งเดิมซึ่งเป็นภาษาขอม เช่น ทับนาง หนามแดง บางโฉลง ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาขอมชี้แจงว่า "โฉลง" เพี้ยนมาจากคำว่า จรรโลง แปลว่า ยก (ยกในที่นี้ อาจบ่งถึงสภาพท้องถิ่น มีการยกยออยู่ตามลำคลองหรือมีการยกเรือ ลากเรือในช่วงหน้าแล้ง)
ราว พ.ศ.2041 เชื่อกันสืบมาว่าสมเด็จพระรามาธิบดี (ที่ 2 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2034-2072) โปรดให้ขุดลอกชำระคลองสำโรงกับคลองทับนางให้กว้างขึ้น แล้วเรียกชื่อเดียวทั้งสายว่า คลองสำโรง เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง
สำโรง หมายถึง ต้นสำโรง เป็นคำมาจากภาษาเขมรว่า สํโรง (อ่านว่า ซ็อมโรง)
ชุมชนในคลองสำโรงมีเทวสถานตั้งรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ ครั้นขุดลอกชำระเมื่อ พ.ศ.2041 จึงพบเทวรูปสัมฤทธิ์ 2 องค์ เรียกภายหลังว่า พระยาแสนตา องค์หนึ่ง กับ บาทสังขกร อีกองค์หนึ่ง
เทวรูปสัมฤทธิ์ 2 องค์นี้ คนสมัยหลังเรียกด้วยภาษาปาก (ชาวบ้าน) ว่า พระประแดง มีรากจากภาเขมรว่า “กมรเตง” เป็นชื่อยศใช้เรียกพราหมณ์แบบเขมรโบราณสมัยนครธม มีศาลอยู่ตรงโค้งแม่น้ำเจ้าพระยา (กระเพาะหมู) ตรงข้ามปากคลองสำโรง เรียก ศาลพระประแดง
ต่อมายุคปลายอยุธยายาเรียกบ้านเมืองบริเวณปากน้ำว่า เมืองพระประแดง และ ปากน้ำพระประแดง (ขณะนั้นยังไม่มีชื่อเจ้าพระยา) ครั้นยุครัตนโกสินทร์ยกเป็นชื่อ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
สถานที่ท่องเที่ยว
ตลาดน้ำโบราณบางพลี |
น้าทวน น้าฐา น้านิด |
รูปในหลวง ไม่ไหม้ไฟ จากเหตุการ์ณไฟไหม้ตลาดน้ำบางพลี |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น