เดินเรือ คลองภาษีเจริญ ในแผนที่ GPS
ประวัติ
พระบาทสมเด็จพรจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 โปรดกล้าฯ ให้ พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศาลบุตร) เจ้าภาษีฝิ่น เป็นแม่กองขุด โดยหักเงินภาษีฝิ่นพระราชทานเป็นค่าจ้างขุด รวม 112,000 บาท แต่รัชกาลที่ 4 เสด็จสวรรคตก่อนที่จะทำการขุดแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดต่อจนเสร็จปี พ.ศ.2415
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขนส่งสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งน้ำตาลในบริเวณนั้นมายังกรุงเทพ ฯ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ทั้งนี้สืบเนื่องจากข้อกำหนดในสนธิสัญญาบาวริ่งส่วนที่เกี่ยวกับการค้า ซึ่งไทยยอมให้มีการซื้อขายข้าวส่งออกต่างประเทศ แต่ภาวะการค้าข้าวก็ยังไม่ดีขึ้นในทันที ต่างจากการค้าน้ำตาลซึ่งได้ผลดีกว่าสินค้าประเภทอื่น ๆ เพราะเป็นสินค้าที่ชาวตะวันตกต้องการมาก และส่งผลกำไรให้มากด้วย ช่วงที่ภาวะการค้าน้ำตาลของไทยเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดช่วงหนึ่ง คือ ช่วงปี พ.ศ. 2393—2410 ดังจะเห็นได้จากจำนวนโรงงานน้ำตาลริมแม่น้ำนครชัยศรี ซึ่งมีมากถึง 23 แห่ง ในปี พ.ศ. 2408 และพื้นที่ปลูกอ้อยที่มีมากที่สุดในช่วงนั้นก็คือ นครชัยศรี ซึ่งแสดงให้เห็นว่านครชัยศรีเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลที่สำคัญ ดังนั้นในภาวะการณ์ดังกล่าวจึงทำให้ไทยกระตือรือร้นที่จะส่งเสริมการค้าน้ำตาลและอำนวยความสะดวกในการขนส่งให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว โดยมีการขุดคลองเจดีย์บูชา คลองภาษีเจริญและคลองดำเนินสะดวก เพื่อให้สามารถลำเลียงน้ำตาลจากแหล่งผลิตมาสู่ตลาดได้อย่างสะดวก
สถานที่ท่องเที่ยว
ตลาดน้ำนิมมารนรดี รูป วิดีโอ เครดิต คุณรัตนโกสินทร์ |
ประตูน้ำคลองภาษีเจริญ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น