ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประภาคาร ปัชโชติวชิราภา

ประภาคาร ปัชโชติวชิราภา เกาะลันตา



คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 30m
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 15 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 15nm (27.78 km)

ประวัติ
ประภาคารนี้ตั้งอยู่ที่ปลายแหลมทิศใต้ของเกาะลันตาเป็นหอคอยทำจากเฟอโรคอนกรีต สร้างเมื่อ พ.ศ.2470 ต่อมาตัวกระโจมไฟเก่าได้ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่สามารถซ่อมแซมได้ ทางราชการจึงได้สร้างใหม่ ในบริเวณใกล้เคียงกัน และเปิดใช้งาน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2514 ใช้ตะเกียงก๊าซอเซทีลีน และได้เปลี่ยนเป็นตะเกียงระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2533 ลักษณะไฟคงเดิม เป็นไฟสีขาว วับ 3 ครั้ง เป็นหมู่ ทุก ๆ 15 วินาที สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 31 เมตร


ประภาคาร กาญจนาภิเษก แหลมพรหมเทพ

ประภาคาร กาญจนภิเษก แหลมพรหมเทพ




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 93m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 9 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 22nm (40.74 km)

ประวัติ
  เนื่องในมหาวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50ปี ในปี พุทธศักราช 2539 กองทัพเรือ ร่วมกับหน่วยราชการ และประชาชน จังหวัดภูเก็ต ได้ร่วมกันดำเนินการจัดสร้างประภาคาร ขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติปีกาญจนาภิเษก ในการพิจารณาหาสถานที่ก่อสร้างนั้น ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่า บริเวณแหลมพรหมเทพ ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นสถานที่ ที่เหมาะสมที่สุด

   เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก และจังหวัดภูเก็ตถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สำคัญทางด้านทะเลอันดามัน การสร้างประภาคารที่บริเวณแหลมพรหมเทพ จะเป็นการเผยแผ่พระบารมีให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลกโดยทั่วไปได้เป็นอย่างดี นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการใช้เป็นเครื่องหมายช่วยในการเดินเรือแล้ว ยังเป็นที่เผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ เช่น ข่าวอากาศ เวลาน้ำขึ้น - ลง เวลาดวงอาทิตย์ ขึ้น - ตก การเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทย เป็นต้น และยังจะเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมแหลมพรหมเทพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็น การส่งเสริมการท่องเที่ยวให้แก่จังหวัดภูเก็ตอีกด้วย

   ประภาคารแห่งนี้ ได้รับพระราช ทานนามว่า “ประภาคารกาญจนาภิเษกแหลมพรหมเทพ” เมื่อการก่อสร้างได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2540 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีเปิดประภาคาร ณ บริเวณแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต รูปแบบของประภาคารด้านหน้าเป็นบันไดทางขึ้น มีวงเข็มทิศประดับที่โถงเหนือ ทางเข้าด้านหน้ามีตราสัญลักษณ์ปีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ด้านข้างตราสัญลักษณ์ประดับธงชาติ ด้านใต้ตราสัญลักษณ์เป็นเครื่องแสดงข้อมูลเวลา ระบบไฟวิ่ง ขนาด 1.50 x 7.00เมตรชั้นล่าง ภายในเป็นห้องกระโจมไฟ 1 ห้อง และห้องแสดงนิทรรศการ 1 ห้อง ซึ่งจะจัดแสดงนิทรรศการทางอุทกศาสตร์ และจะมีแผ่นจารึกชื่อของผู้ที่ให้การสนับสนุนบริจาคเงินในการก่อสร้างประภาคาร ซึ่งสามารถมองเห็นได้ เมื่อเข้ามาภายในประภาคารมีบันไดโค้งครึ่งวงกลม จากห้องแสดงนิทรรศการชั้นล่างขึ้นไปยังห้องดาดฟ้าชั้นบน ซึ่งสามารถชมทิวทัศน์โดยรอบบริเวณได้ จากระดับดาดฟ้าชั้นบนมีบันไดเวียนขึ้นไปยังแท่นติดตั้งตะเกียงประภาคาร วัสดุที่ใช้สร้างประภาคาร ใช้ชนิดที่มีคุณภาพดีเยี่ยม มีความสวยงาม และมีความทนทานสูง โดยใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กกรุหินแกรนิต กระจกสะท้อนแสง ๒ ชั้น สีทอง กระจกใสเจียระไน กรอบอลูมิเนียมสีทอง โลหะปิดทองคำหรือหุ้มทองคำ และทองเหลือง

   ลักษณะ ขนาดและความหมาย ของประภาคารที่สำคัญ ส่วนยอดของประภาคารได้รับการออกแบบโดยการนำลักษณะสำคัญของตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี มาประดิษฐานไว้ ประกอบด้วย

  • พานเครื่องสูง 2 ชั้น เป็นที่ตั้งดวงประทีป หรือตะเกียงประภาคารที่ส่องสว่างรอบทิศ เปรียบประดุจพระบารมีขององค์พระมหากษัตริย์อันแผ่ไพศาลทั่วแผ่นดิน ตะเกียงประภาคารภายใต้เศวตฉัตร 9 ชั้น
  • ช้าง 3 เชือก เทินดวงประทีปอยู่ภายใต้เศวตฉัตร 7 ชั้น มีความหมายถึง ช้างเป็นพาหนะของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นเหมือนข้าช่วงใช้ของพระมหากษัตริย์ จึงเปรียบได้กับประชาชนซึ่งเป็นเหมือนข้ารับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ความหมายโดยรวมเสมือนพสกนิกรเทิดทูนและเชิดชูองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลของพระองค์ที่ให้ความร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี
  • ตะเกียงประภาคารเป็นรูปกรวยกลมทำด้วยอาครีลิคใส ภายในมีโคมไฟหมุนส่องสว่างรอบทิศ ลักษณะไฟเป็นไฟสีขาว วับ ทุกๆ 9 วินาที (สว่าง 0.21 วินาที มืด 8.79 วินาที) วางอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 94 เมตร
  • ฐานรับตะเกียงประกอบด้วยโลหะปิดทองคำ 10 เหลี่ยม มีความหมายถึงทศพิธราชธรรม คือ
  1. ทาน
  2. ศีล
  3. บริจาค
  4. ความซื่อตรง(อาชชวะ)
  5. ความอ่อนโยน (มัททวะ)
  6. ความเพียร (ตบะ)
  7. ความไม่โกรธ (อักโกธะ)
  8. การไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา)
  9. ความอดทน (ขันติ)
  10. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนะ)
  • ส่วนโลหะปิดทองคำ มีความหมายถึง ปีกาญจนาภิเษก หอคอยรับพานติดตั้งตะเกียง ขยายขนาดตามสัดส่วนที่สวยงามลาดลง สลักข้อความทศพิธราชธรรมดังกล่าว พร้อมบทพระราชนิพนธ์

ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระบวรพุทธศาสนา ซึ่งเป็นพระราชจริยาวัตรที่พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทรงปฏิบัติ และเป็นที่ตระหนักกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงบำเพ็ญอย่างไพบูลย์เต็มที่ทุกประการ ต้องตามขัตติยราชประเพณี นับตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ตราบเท่าถึงกาลปัจจุบัน ความสูง 50 ฟุต มีความหมายถึง ทรงครองราชย์มาครบ 50 ปี เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกว้าง 9 เมตร มีความหมายถึง รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี แสงไฟของประภาคารมองเห็นได้ไกล 39 กิโลเมตร มีความหมายถึงปี พ.ศ.2539 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี


ประภาคาร อาภากร

ประภาคาร อาภากร เกาะไผ่



คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 155m
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 20 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 31nm (57.41 km)

ประวัติ
ยอดเกาะไผ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งอยู่ในเส้นทางที่เรือเดินทะเลจะต้องผ่านก่อนเข้าสู่ท่าเรือตอนบนของอ่าวไทยและท่าเรือกรุงเทพฯ ได้มีการสร้างประภาคารเพื่อเป็นอนุสาวรีย์ที่ระลึกถึง พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประภาคาร แ ห่ง นี้ได้รับขนานนามว่า “อาภากร” อันเป็นพระนามเดิมของพระองค์ท่าน ประภาคารแห่งนี้ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการกระทรวงอื่นทั้ง ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน บรรดาข้าราชการในกระทรวงทหารเรือ (ครั้งนั้นยังเป็นกระทรวง) รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้สละทรัพย์ร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติคุณที่พระองค์ท่านเป็นผู้ทำประโยชน์ไว้ต่อประเทศชาติเป็นอเนกประการ ประภาคารอาภากรนี้เป็นประภาคารที่ส่องรัศมีเห็นได้ 31 ไมล์ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 156เมตร มีลักษณะไฟเป็นไฟวับสีขาว ทุกๆ 5 วินาที สร้างด้วยเฟอโรคอนกรีต เมื่อ พ.ศ.2470

ประภาคาร กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ประภาคาร กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ แหลมปู่เจ้า




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 167m
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 15 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 30nm (55.56 km)

ประวัติ
ประภาคารแห่งนี้ ตั้งอยู่บนยอดเสาปลายแหลมปูเจ้า ปากทางเข้าอ่าวสัตหีบ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2502 เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทำเป็นแท่นสูงขึ้นไปทางตั้ง เป็นรูปครีบกระโดงปลา มีความสูงจาก ฐานถึงยอดครีบ 19.50 เมตร ตอนล่างประกอบด้วยห้องบันได และบันไดเหล็กขึ้นตามปล่องภายในครีบกระโดง ตอนบนมีชานคอนกรีต ยื่นจาก แท่นครีบกระโดงสำหรับเป็นที่วางเรือนตะเกียง การก่อสร้างเริ่มเมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2502 และเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2502 รายละเอียดตัวกระโจมคอนกรีต เสริมเหล็ก ทาสีขาว ความสูงของไฟเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 178 เมตร ลักษณะไฟเป็นไฟสีขาว ต่อมาเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2547ยกฐานะขึ้นเป็นประภาคาร

ประภาคาร อัษฏางค์

ประภาคาร อัษฎางค์ (หินสัมปะยื้อ)



คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ความสูงจากฐาน : 16m
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 15 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 10nm (18.52 km)

ประวัติ
   เมื่อ พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับที่เกาะสีชัง ปรากฏว่า สมเด็จพระเจ้าอัษฎางค์เดชาวุธสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ทรงพระประชวร และเสด็จมาประทับรักษาพระองค์อยู่ ณ เกาะสีชัง ทรงพระราชดำริว่า ทางที่เรือจะเข้าร่องเกาะสีชัง คือตำบลที่หินสัมปะยื้อ ท้ายเกาะนั้น มีกองหินโสโครกเป็นที่น่ากลัว หรือต้องระวังมากแก่ผู้เดินทางเข้าออก ณ เกาะสีชังนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำเรือนสว่าง หรือประภาคารขึ้นที่หินนั้น ประภาคารหลังนี้มีชื่อว่า “อัษฎางค์” ดังมีปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๘ พุทธศักราช ๒๔๓๘ ว่า

“อนึ่ง ทรงพระราชดำริว่า ทางเรือที่เข้าช่องเกาะสีชัง คือ ตำบลหินสัมปะยื้อ ท้ายเกาะนั้นมีกองหินหรือหินโสโครกเป็นที่น่ากลัว หรือต้องระวังมากแก่ผู้เดินทางเข้าออก ณ เกาะสีชัง นั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำเรือนแสงสว่างหรือประภาคาร (Lighthouse) ขึ้นที่หินนั้น และจะให้มีคนรักษาเพื่อเป็นที่หมายของเรือไปมาโดยง่ายสะดวกยิ่งขึ้น”

ต่อมาตัวประภาคารหินสัมปะยื้อ และบ้านพักของเจ้าหน้าที่ได้ชำรุดทรุดโทรมมาก และประกอบกับการคมนาคมไม่สะดวก ดังนั้น จึงได้ทำการบูรณะซ่อมแซมตัวประภาคารใหม่ และได้ย้ายบ้านพักของเจ้าหน้าที่ประภาคารไปตั้งอยู่บนเกาะขามใหญ่ (ตรงข้ามเกาะสีชัง) เมื่อ พ.ศ.2512 มาจนถึงทุกวันนี้ สำหรับตัวเรือนตะเกียงที่ติดตั้งบนประภาคาร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงจากระบบน้ำมันก๊าด มาใช้เป็นระบบตะเกียงก๊าซอเซทีลีน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2471 และต่อมาได้เปลี่ยนแปลงมาใช้ตะเกียงระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 15ธันวาคม พ.ศ.2534

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กระโจมไฟ พาหุรัตน์

กระโจมไฟ พาหุรัตน์ เกาะจวง (อดีด ประภาคารพาหุรัตน์)




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ แบบที่ 1 : Group Flashing
ระยะเวลากระพริบ : 2 วับ ทุก 20 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 29nm (53.52 km)

รูปแบบไฟ แบบที่ 2 : Fixed
ความสูงจากฐาน : 130m
สีของแสงไฟ : สีแดง
ครอบคลุมระยะ : 8nm (14.52 km)

ประวัติ
ในปี พ.ศ.2440 ได้มีการสร้างประภาคารขึ้นอีกหนึ่งหลังที่เกาะจวงเป็นประภาคารที่ตั้งอยู่บน ยอดเกาะ มีกำลังส่องสว่างมากที่สุด ในบรรดาประภาคารที่สร้างขึ้นในสยามสมัยนั้น เห็นได้ไกลถึง 29 ไมล์ และยังมีไฟสีแดงที่ส่องไปยังหินฉลาม มองเห็นได้ไกล 8 ไมล์ บรรดาเรือใหญ่ที่เดินทางจากภาคตะวันออก หรือภาคตะวันตกของอ่าวไทยได้อาศัยเป็นที่หมาย มุ่งมายังประภาคารนี้ก่อน ประภาคารแห่งนี้มีชื่อเป็น ทางการว่า “ประภาคารพาหุรัตน์” ชื่อนี้ตั้งขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติ แด่พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพาหุรัตน์มณีมัย ในรัชกาล ที่ 5แต่เดิมใช้น้ำมันก๊าดปีละประมาณ 150 ปีบ เพื่อจุดไฟ ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2504 ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบก๊าซอเซทีลีน และเปลี่ยนมาใช้ตะเกียงระบบไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประจำประภาคาร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2516 ตะเกียงเป็นเลนส์หมุน และเป็นไฟสีขาว 2 วับทุก ๆ 20 วินาที สูง 143เมตร มองเห็นไกล 29ไมล์ เนื่องจากการเดินทางไป - มา ระหว่างฝั่งกับเกาะจวงและความเป็นอยู่ของเจ้าหน้าที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในขณะนั้น จึงได้อนุมัติให้ปรับสถานะของประภาคารเกาะจวง เป็นกระโจมไฟเกาะจวง และให้กระโจมไฟชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นประภาคารชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ตั้งแต่ วันที่ 29มีนาคม พ.ศ.2547


ประภาคาร ระยอง

ประภาคาร ระยอง



คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 15 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 11nm (20.37 km)

ประภาคาร แหลมสิงห์

ประภาคาร แหลมสิงห์




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Group Flashing
ระยะเวลากระพริบ : 3 วับ ทุก 15 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 10nm (18.52 km)

ประภาคาร แหลมงอบ

ประภาคาร แหลมงอบ




คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ : Occulting
ระยะเวลากระพริบ : ทุก 3 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 13nm (24 km)

ตำนานของแหลมงอบ
ตำนานแรก ได้เล่าว่า มีหญิงชราคนหนึ่ง ชื่อ ยายม่อม มีคอกควายอยู่ที่สลักคอก วันหนึ่งควายของยายม่อมได้หายไป ยายม่อมจึงออกตามหาควาย และได้จมน้ำทะเลตายกลายเป็นโขดหินชื่อ ยายม่อม ส่วนงอบของยายม่อมกลายเป็นแหลมงอบ ควายของยายม่อมกลายเป็นโขดหินเล็ก ๆ เช่นกัน ส่วนตำนานของเกาะช้างตำนานแรก เล่าว่า เดิมเกาะนี้มีเสืออยู่ ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีชาวญวนคนหนึ่งชื่อ องค์โด้ ได้ทำพิธีขว้างก้อนหินลงไปในทะเลและสาบว่า ถ้าหินนี้ไม่ผุดขึ้นมาให้คนเห็น เกาะช้างจะไม่มีเสืออีกต่อไป เกาะช้างจึงไม่มีเสือมาจนทุกวันนี้ นิทานเรื่องนี้ นายติ้น ที่เป็นคนที่อยู่เกาะช้างได้เล่าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวง ต้นสกุล สลักเพชรุ้ง นอกจากนี้ยัง มีตำนานแหลมงอบ เกาะช้าง ซึ่งมีผู้เขียนไว้อีกว่า มีความเกี่ยวข้องกับชื่อของหมู่เกาะช้าง ชื่อสถานที่ และเหตุที่เกาะช้างไม่มีช้าง มีอยู่สมัยหนึ่ง พระโพธิสัตว์ได้สร้างตำหนักเลี้ยงช้างอยู่ที่เกาะช้าง มีช้างพลายอยู่เชือกหนึ่งเป็นจ่าโขลง มีชื่อว่า อ้ายเพชร และมีสองตายายคอยเลี้ยงดู ตาชื่อ ตาบ๋าย ยายชื่อ ยายม่อม วันหนึ่ง อ้ายเพชรจ่าโขลงเกิดตกมันเตลิดเข้าในป่า ไปผสมพันธุ์กับนางช้างป่า ตกลูกมา 3 เชือก เมื่อพระโพธิสัตว์รู้เรื่องเข้า จึงได้ทรงสั่งให้ตายายติดตามหาอ้ายเพชร โดยให้ตาไปทางหนึ่ง ยายไปอีกทางหนึ่ง อ้ายเพชรหนีไปจนสุดเกาะด้านเหนือจึงว่ายน้ำมาขึ้นฝั่งซึ่งปัจจุบันนี้เรียก ว่า บ้านธรรมชาติ ส่วนลูกทั้งสามที่ตามมาด้วย ว่ายน้ำยังไม่เป็น จึงจมน้ำตายแล้วกลายเป็นหิน 3 กอง อยู่บริเวณอ่าวคลองสน จนชาวบ้านพากันว่า “หินช้างสามลูก” ในขณะที่อ้ายเพชรว่ายน้ำไปถึงกลางร่องทะเลลึก ได้ถ่ายมูลทิ้งไว้กลายเป็นกองหินอยู่ตรงนั้น เรียกว่า “หินขี้ช้าง” ปัจจุบันมีประภาคารบนหินกองนี้ เมื่อสามารถขึ้นฝั่งได้แล้ว อ้ายเพชรได้เดินเลียบไปตามชายฝั่งทิศใต้ ตาบ๋ายเห็นว่าไปไกลแล้วตามไปไม่ทันจึงเดินทางกลับ ปล่อยให้ยายติดตามไปผู้เดียว ยายม่อมตามไปจนทันช้างขึ้นฝั่งแต่ไม่กล้าเข้าไปในป่าเพราะกลัวว่าสัตว์จะทำ ร้ายเอา ในที่สุดก็ตกลงไปในโคลนไม่สามารถขึ้นมาได้ จนถึงแก่ความตายอยู่ตรงนั้นเอง ร่างกายของแกกลายเป็นหินอยู่ตรงนั้น ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “หินยายม่อม” ส่วนงอบที่สวมไว้ได้หลุดลอยไปติดอยู่ที่ปลายแหลม และกลายเป็นหิน ชาวบ้านเรียกว่า “แหลมงอบ” ตรงบริเวณที่ตั้งประภาคารในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากงอบของยายม่อมที่ลอยไปติดชายฝั่งนั่นเอง เมื่อพระโพธิสัตว์ทราบว่า อ้ายเพชรมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ จึงเข้าใจว่าอ้ายเพชรจะต้องไปที่เกาะอีก จึงเกณฑ์คนให้ทำคอกดักไว้จนเกือบถึงท้ายเกาะด้านใต้ ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณแถบนี้ว่า “บ้านคอก” และเกาะซึ่งเกิดจากลิ่มและสลักที่ทำคอกนั้น เรียกว่า “เกาะลิ่ม” “เกาะสลัก” ส่วนมากจะเรียกรวมกันว่า “บ้านสลักคอก” ฝ่ายอ้ายเพชรนั้น เมื่อเดินเลียบชายฝั่งมาจนถึงท้ายเกาะ ก็ข้ามไปยังเกาะตามที่คาดไว้ พอว่ายน้ำไปได้สักครู่หนึ่งก็ถ่ายออกมากลายเป็น “หินกอง” ทุกวันนี้น้ำในบริเวณนั้นลึกมาก แต่ไม่ได้เป็นเส้นทางเดินเรือ จึงไม่ได้มีการสร้างประภาคารขึ้นที่บริเวณนี้ เมื่ออ้ายเพชรไปถึงแล้วแทนที่จะเข้าคอกไป  กลับเดินเลียบฝั่งอ้อมแหลมเข้าไปทางอ่าวด้านนอก พระโพธิสัตว์จึงได้สั่งให้คนไปช่วยกันสกัดให้กลับมาเข้าคอก ชาวบ้านจึงเรียกที่ ๆ ไปสกัดข้างนี้ว่าไปสลักหน้า และเรียกหมู่บ้านบริเวณนี้ว่า “บ้านสลักเพชร” ซึ่งหมายถึง สลักหน้าอ้ายเพชร โดยเหตุที่เกิดความยุ่งยากนี้ พระโพธิสัตว์จึงฝังอาถรรพ์ไว้ตามเกาะต่าง ๆ มิให้ช้างอาศัยอยู่อีกต่อไป นับแต่นั้นมา เกาะต่าง ๆ จึงไม่มีช้างอาศัยอยู่จนปัจจุบันนี้


แร็มป์ ท่าเทียบเรือประมง แหลมงอบ

แร็มป์ ท่าเทียบเรือประมง แหลมงอบ


วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กฏสำหรับหลีกเลี่ยงเรือชนกัน

กฏสำหรับหลีกเลี่ยงเรือชนกัน
 
การเดินทาง ทางเรือเนื่องจากไม่มีถนน หรือเส้นทางที่ใช้บังคับทิศทางเป็นช่องทางในแบบการเดินทางแบบรถยนต์ จะสามารถเดินทางแบบอิสระทุกทิศทุกทาง จึงจะต้องมี กฏเกณฑ์เวลาเดินทาง ทางเรือ เราเรียกว่า กฏสำหรับหลีกเลี่ยงการชนกัน (Rules for Avoiding Collisions) โดยจะแบ่งเส้นตามตัวเรือเป็นดังนี้ตามรูป

  • Port
  • Starboard
  • Stern


จะสังเกตุว่า Port จะมีสี แดงและ Starboard จะมีสีเขียว ซึ่งตรงกับไฟหัวเรือ ที่เป็นไฟ แดง-เขียว นั่นเอง


Port กับ Starboard เป็นคำที่ใช้เรียกมาตั้งแต่ยุคแรกๆ ของการใช้เรือ และก็ใช้กันมานานจนกลายเป็นคำศัพท์ทางเรือ จนเป็นที่เข้าใจว่า Port คือ ด้านซ้าย หรือ เขตที่เป็นสีแดง ส่วน Starboard ก็คือ ด้านขวา หรือเขตที่เป็นสีเขียว ส่วน Stern ก็คือ ด้านท้ายเรือ (แปลตรงตัว)

คนส่วนใหญ่จะถนัดมือขวา มากกว่ามือท้าย ทำให้เวลาคัดท้ายเรือ หรือคัดหัวเรือ จึงต้องมาคุมที่กาบด้านขวาของเรือ ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่า "steorbord" ซึ่งหมายถึง "ด้านที่เรือจะนำ" ทำให้เวลาคัดท้ายเรือ หรือคัดหัวเรือ จึงต้องมาควบคุมที่กาบเรือด้านขวา และก็เพี้ยนจนกลายมาเป็น Starboard ในปัจจุบัน


เดิมด้านซ้ายเรือไม่ได้ใช้คำว่า Port แต่มาจากภาษาอังกฤษโบราณ จากคำว่า "bæcbord" แล้วเพี้ยนมาเป็นคำว่า "laddebord" ความหมายคือ "ด้านของเรือ ที่ใช้ในการถ่ายสินค้า"  และอีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ด้านข้างเรือที่อยู่ด้านท่าเรือหรือฝั่ง "Port" (เพื่อลดความเสียหายจากพายพวงมาลัย และทำให้ง่ายในการขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลง) และในปี ค.ศ.1844 การเปลี่ยนแปลงจาก "กาบซ้ายของเรือ" เป็น "พอร์ต" ถูกใช้เป็นทางการในราชนาวีอังกฤษ และอีกสองปีถัดมาใน ราชนาวีสหรัฐอเมริกา



หลักการจำ การใช้ Port กับ Starboard ให้ดู ไฟที่หัวเรือเราเป็นเกณฑ์
  • สีแดงจะอยู่ทางซ้าย หมายถึง ด้านนี้อันตราย
  • สีเขียวจะอยู่ทางขวา หมายถึง ด้านนี้ปลอดภัย

  การขับเรือในกฏสำหรับเลี่ยงเรือชนกัน ก็ให้เลี้ยวไปด้านที่ปลอดภัยของตัวเอง คือ สีเขียว หรือทางขวานั่นเอง

Port vs starboard for sailboat


กรณี Port

  • เรือ B อยู่ในฝั่ง Starboard ทิศทางวิ่งไป ฝั่ง Port ลำ A
  • เรือลำ A จะต้องหลีกทาง (Give way) กับ เรือลำ B  โดยการที่เรือลำ A จะต้องไปทางฝั่ง Starboard ของตนเอง
  • เรือลำ B จะขับต่อเนื่อง (Stand on) 
  • ให้ขับด้วยความระมัดระวังทั้ง 2 ลำ และใช้ความเร็วให้เหมาะสม


Port case


กรณี Starboard

  • เรือลำ B อยู่ฝั่ง Port
  • เรือลำ A จะขับต่อเนื่อง (Stand on)
  • เรือลำ B จะต้องหลีกทาง (Give way) โดยทำการเลี้ยวขวา หรือวิ่งไปทางฝั่ง Starboard ของฝั่งตนเอง
  • ให้ขับด้วยความระมัดระวังทั้ง 2 ลำ และใช้ความเร็วให้เหมาะสม

Starboard case
กฏการหลีกเลี่ยงเรือชนกัน sailboat


กรณี Stern (ท้ายเรือ)

  • เรือลำ B จะขับต่อเนื่อง (Stand on)
  • เรือลำ A จะหลีกทาง (Give way) โดยแซงด้านใดด้านหนึ่ง
Stern case


กรณี Port to port

  • กรณีวิ่งหากันโดยหัวเรือตรงกัน
  • เรือลำ A ให้วิ่งไปในเขตสีเขียวของตนเอง หรือ ด้านขวา (Startboard)
  • เรือลำ B ก็วิ่งไปในเขตสีเขียวของตนเองเหมือนกัน หรือ ด้านขวา (Starboard)

Port to port case


กรณีแล่นเข้าใกล้เรือใบ (Approaching a Sailing Vessel)

  • เรือใบลำ A จะขับตรงต่อเนื่องเสมอ (Stand on) ยกเว้นกรณีเรือใบต้องการแซง
  • เรือที่ใช้พลังเครื่องยนต์ ลำ B จะต้องหลีกทางก่อน อย่างชัดเจน เพื่อให้เรือใบลำ A เข้าใจการหลีกทางกัน
  • เรือใบจะไม่สามารถเดินเรือถอยหลังได้แบบเรือที่ใช้เครื่องยนต์ ฉะนั้นเรือใบจึงไม่มีเบรค (การเดินเรือที่ใช้เครื่องยนต์ถอยหลัง ก็คือการเบรค อย่างหนึ่ง) ฉะนั้นเรือที่ใช้เครื่องยนต์ขับ ควรหลีกทางให้กับเรือใบทุกกรณี เพราะเรือใช้เครื่องยนต์จะควบคุมได้อิสระกว่าเรือใบมาก
  • กรณีเรือที่มีขนาดต่างกันมาก ถ้าเรือลำ A เป็นเรือสินค้าขนาดใหญ่ หรือเป็นเรือที่บังคับตัวเองได้ไม่คล่องตัว เรือลำที่บังคับได้คล่องตัวกว่า จะต้องเป็นเรือที่ต้องหลีกทางอย่างชัดเจน ให้กับเรือที่บังคับควบคุมยากกว่า

กรณีการหลีกทางให้เรือใบ


การหลีกการชนกันของเรือใบ (Approaching Another Sailing Vessel)



ประวัติ Port และ Starboard


วิธีจำ Port และ Starboard


การไม่ให้ความสำคัญของกฏหลีกเลี่ยงการชน

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การป้องกันการกัดเซาะและเขื่อนกันคลื่น

การป้องกันการกัดเซาะและเขื่อนกันคลื่น

ท่านที่มีสิ่งปลูกสร้างริมน้ำ และริมทะเล สิ่งปลูกสร้างแบบนี้ต้องการการดูแลและรักษาเป็นพิเศษ เนื่องจากจะมีปัญหาการกัดเซาะ การเพิ่มขึ้น หรือลดหายไปของหาดทราย หรือ การพังทลายของหน้าดิน





เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง

เอกสารอ้างอิง : คุณอนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                     : กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

โครงการพัฒนาเส้นทางเดินเรือ - Pattaya, Hua Hin

โครงการพัฒนาเส้นทางเดินเรือ พัทยา-หัวหิน

โครงการเดินเรือเส้นนึ้ไม่ใช่ไม่เคยมีใครทำ เคยมีหลายบริษัทฯ เคยทำ เคยเดินเรือ แต่พยายามจะนำมาปัดฝุ่นหลายครั้ง แต่พอทำไปแล้วก็ต้องยกเลิกไปหลายครั้ง เนื่องจากเหตุผลในเรื่องความคุ้มทุน ปัญหาคงไม่ได้อยู่ที่ความพร้อมหรือความยิ่งใหญ่ของพัทยา ลองมาศึกษาจากบทสรุปในครั้งที่ผ่านมาดู ...








เลื่อนหน้า ขึ้น-ลง ใช้ แถบด้านข้าง หรือใช้เมาส์ Scroll ขึ้นลง

เอกสารอ้างอิง : ศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย