เส้นทางการค้าโบราณ มีเส้นทางอยู่ 5 เส้นทางด้วยกันคือ
- เส้นทางที่ 1 แหลมอินโดจีน โดยเฉพาะภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย เป็นเส้นทางติดต่อค้าขายของชาวอินเดียและชาวจีน โดยมีพ่อค้าชาวอินเดีย พร้อมด้วยพราหมณ์ เดินทางโดยเรือใบ จากอินเดียภาคใต้มาแวะที่ตะกั่วป่า ซึ่งมีเกาะคอเขาอยู่ที่ปากน้ำ แล้วเดินทางต่อไปตามลำน้ำจนถึงเขาสก ข้ามเขาสกล่องเรือต่อไปตามลำน้ำตาปี เดินทางต่อไปตั้งหลักแหล่งที่เขาตก อำเภอสิชล และหมู่บ้านโมคลาน ส่วนอีกพวกหนึ่งเดินทางต่อไปตั้งหลักแหล่งที่ปากแม่น้ำโขง พ่อค้ารุ่นแรกดังกล่าวนี้ นักประวัติศาสตร์หลายคนลงความเห็นว่า ได้เดินทางต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.100 - 200เมืองกระบุรี ระนอง คุระบุรี ตะกั่วป่า พังงา และกระบี่ เป็นเมืองชายฝั่งทะเลอันดามันฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู ซึ่งมีเทือกเขาสลับซับซ้อนติดต่อกันไป ส่วนด้านอ่าวไทยซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออกของเทือกเขาตะนาวศรี ก็มีเมืองชุมพร หลังสวน ไชยา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชเป็นต้น การติดต่อกันระหว่างชายฝั่งทะเลอันดามันกับอ่าวไทย มีความกันดารมากในสมัยโบราณ น้ำที่ไหลจากทิวเขาตะนาวศรีได้กลายเป็นต้นน้ำของแม่น้ำปากจั่น และแม่น้ำกระบุรี ซึ่งไหลไปออกทะเลอันดามันที่ระนอง ทางฝั่งตะวันตกเป็น เมืองมลิวัน ซึ่งแต่เดิมเป็นของไทย มาตกเป็นของอังกฤษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อ่าวไทย กลายเป็นเส้นทางค้าขายของพ่อค้าในสมัยโบราณ ซึ่งเดินทางข้าม คอคอดกระ อันเป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู นับเป็นเส้นทางการค้าเส้นทางแรก และสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในสมัยโบราณ
- เส้นทางที่ 2 ปรากฎหลักฐานชุมชนโบราณที่ภูเขาทอง ตำบลกำพวน กิ่งอำเภอสุขสำราญ และอาจมีชุมชนเก่าแห่งอื่น เช่นที่ตาคลี บางหิน และกะเปอร์ มีคลองต้นน้ำจากเทือกเขา กลายเป็นคลองบางหิน คลองกะเปอร์ ซึ่งพ่อค้าจากชุมชนโบราณกำพวน บางหิน กะเปอร์ ได้เดินทางผ่านบ้านเชี่ยวเหลียง บ้านนา ลัดเลาะหุบเขาไปติดต่อสค้าขายกับชุมชนโบราณที่บ้านท่าชนะ ไชยา พุมเรียง และบ้านดอน สุราษฎร์ธานี
- เส้นทางที่ 3 คือชุมชนชาวเกาะเขา ซึ่งเป็นเกาะยาวไปถึงปากน้ำตะกั่วป่า ปากน้ำคุระบุรี ปากน้ำตะกั่วป่าเป็นสถานีการค้าที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดในสมัยโบราณ มีหลักฐานระบุเด่นชัดมากกว่าแหล่งอื่น ๆ
- เส้นทางที่ 4 เป็นเส้นทางจากปากอ่าวพังงาไปยังคลองท่อม มีการตั้งหลักแหล่ง และเดินทางติดต่อกับจังหวัดตรัง และนครศรีธรรมราช
- เส้นทางที่ 5 เป็นเส้นทางจากปากน้ำกันตัง โดยล่องเรือไปตามแม่น้ำตรัง แล้วเดินทางผ่านห้วยยอด ทุ่งสง ต่อไปถึงนครศรีธรรมราช
เกาะจังหวัดระนองมี 56 เกาะ
- เกาะกำนุ้ย
- เกาะลูกกำออก
- เกาะกลาง (ต.นาคา)
- เกาะลูกกำกลาง
- เกาะลูกกำใต้
- เกาะนก (ต.นาคา)
- เกาะลูกกำตก
- เกาะค้างคาว
- เกาะล้าน (ต.กำพวน)
- เกาะทับนอ
- เกาะกำนุ้ย
- เกาะกำใหญ่
- เกาะเปียกน้ำน้อย
- เกาะนกฮูก
- เกาะมะพร้าว (ต.บางหิน)
- เกาะเทา
- เกาะเปียกน้ำใหญ่
- เกาะนุ้ย
- เกาะขี้นก (ต.เกาะพยาม)
- เกาะต้นไม้
- เกาะลูกปลาย
- เกาะลูกสินไห
- เกาะโพธิ์น้อย
- เกาะสะระนีย์
- เกาะกลม
- เกาะนกเปร้า
- เกาะภูมิ
- เกาะปริง
- เกาะโชน
- เกาะปลิง
- เกาะคัน
- เกาะโคม
- เกาะไฟไหม้
- เกาะหม้อ
- เกาะหมู (ต.ราชกรูด)
- เกาะขาม (ต.เกาะพยาม)
- เกาะวัวดำ
- เกาะทะลุ (ต.เกาะพยาม)
- เกาะตาวัวดำ
- เกาะโพธิ์
- เกาะลมราบ
- เกาะไร่
- เกาะหลาม
- เกาะเสียด
- เกาะคณฑี
- เกาะขวาง
- เกาะตาครุฑ
- เกาะกลาง (ต.ปากน้ำ)
- เกาะสน
- เกาะยาว
- เกาะเหลา
- เกาะสินไห
- เกาะกำ
- เกาะพยาม
- เกาะช้าง (ต.เกาะพยาม)
- เกาะทรายดำ
แผนที่เดินเรือ แผนที่เกาะจังหวัดระนอง ในแผนที่ GPS
ข้อมูลอ้างอิง
- วิกิพิเดีย
- กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
- รูปจาก PaiNaiHub
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น