ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คลองลัด แม่น้ำเจ้าพระยา

คลองลัด แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากการรวมกันของแม่น้ำ 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน และเป็นที่ตั้ง ของ เมืองหลวงของไทยถึง  ๓  เมืองหลวง ได้แก่


  • พระนครศรีอยุธยา
  • กรุงธนบุรี
  • กรุงเทพมหานคร  
บริเวณตั้งแต่ใต้อยุธยาลงมาถึงกรุงเทพ ฯ   เป็นช่วงที่แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลอ้อมมาก บางช่วงคตเคี้ยวมากจึงมีการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง ภายหลังแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมก็ตื้นเขิน กลายเป็นคลองไป ส่วนคลองลัดที่ขุดใหม่ก็กว้างขึ้นจนกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาปัจจุบัน

การขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยามีครั้งสำคัญๆ อยู่ 4 ครั้ง

   คลองขุดครั้งแรก ขุดในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช พ.ศ. 2065 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดจากปากคลองบางกอกน้อย ถึงปากคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง)  เรียกว่า "คลองลัดบางกอก"(คลองขุดหมายเลข 1 ในรูป) และสมัย พ.ศ. 2081 สมัยสมเด็จพระจักรพรรดิ์ ได้มีการขุดคลองลัดบางกรวย

   คลองลัดที่ขุดขึ้นช่วยย่นระยะเวลาเดินทางได้ 1 วัน ต่อมากระแสน้ำส่วนใหญ่ได้ไหลเข้าสู่คลองลัด ทำให้คลองลัดกว้างและลึกขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างในปัจจุบัน ส่วนเจ้าพระยาเดิมที่ไหลคดโค้ง ก็ค่อยๆ เล็กแคบลงเป็น คลองบางกอกน้อย คลองชักพระ และคลองบางกอกใหญ่

   คลองขุดครั้งที่สอง ขุดในสมัยพระเจ้าพระมหาจักรพรรดิ์ พ.ศ. 2081 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดบางกรวย จากบริเวณคลองบางกรวย ถึงคลองบางกอกน้อย เรียกว่า "คลองลัดบางกรวย" (คลองขุดหมายเลข 2 ในรูป)

   คลองขุดครั้งที่สาม ขุดในสมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2139 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขุด "คลองลัดนนท์"  (คลองขุดหมายเลข 3 ในรูป)

   คลองขุดครั้งที่สี่ ขุดในสมัยพระเจ้าท้ายสระ พ.ศ. 2265 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขุด "คลองลัดเกร็ด" ทำให้ปากเกร็ดเป็นเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนเป็นเกาะเกร็ดดังปัจจุบัน

  การล่องเรือในลำน้ำเจ้าพระยา แม่น้ำคูคลองต่างๆ จะเต็มไปด้วยสถานที่สำคัญ ที่มีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และจุดท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดวาอารามต่างๆ สิ่งก่อสร้างที่มีการผสมผสานจากหลายๆกลุ่มวัฒนธรรม จนรวมมาเป็นชนชาติไทย ซึ่งเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น