ความสุข จะมีความหมายแท้จริง เมื่อได้แบ่งปัน ... The simple life-ชีวิตที่เรียบง่าย Adventurous-รักการผจญภัย Brave heart-ใจกล้าหาญ Creative-มีความคิดสร้างสรรค์ ...

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ป.ปลาหายไปไหน

ป.ปลาหายไปไหน

ประเทศไทยมีพื้นที่ติดกับทะเลถึง 23 จังหวัด ทะเลไทยอาจจะมีพื้นที่ไม่มากนักแต่ทะเลไทยได้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่ามี ความหลายหลายทางชีวภาพสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณอื่นๆของโลก


แต่ที่ผ่านมาการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งและการพัฒนากิจการประมงไปในทาง ทำลายเพื่อกอบโกยเงินนั้นได้ทำให้ทะเลไทยเสื่อมโทรมและมีปัญหาเข้าสู่ขั้นวิกฤติ การประมงอุตสาหกรรมแบบล้างผลาญ จับทั้งปลาน้อยและปลาใหญ่ แล้วทะเลไทยของเราจะมีปลาเหลือได้อย่างไร


 ไม่เพียงแต่ทะเลไทยเท่านั้นที่มีปัญหา แต่ทะเลและมหาสมุทรของโลกก็ตกอยู่ในขั้นวิกฤติเช่นกัน เพราะการประมงเกินขนาดที่มากเกินศักยภาพการผลิตของทะเลและมหาสมุทร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมสมาคมธุรกิจปลาทูน่าของโลก ซึ่งมีผู้ร่วมประชุมถึง 600 คน เพื่อมาคุยธุรกิจและพูดถึงอนาคตของ "การประมงที่ยั่งยืน" ว่าจะสามารถเป็นไปได้หรือไม่





อุตสาหกรรมประมงทูน่าที่กำลังล้างผลาญมหาสมุทรอินเดีย

 หนึ่งในปัญหาที่กำลังคุกคามมหาสมุทรของเรา คือ การประมงเกินขนาดและการประมงแบบทำลายล้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมทูน่า ที่กำลังคร่าชีวิตสัตว์ทะเลที่ไม่ใช่สัตว์น้ำเป้าหมาย อาทิ ฉลามและเต่า ไทยยูเนี่ยนคือบริษัทหนึ่งที่มีความเชื่อมโยงกับการใช้เครื่องมือประมงแบบ ทำลายล้าง และขณะนี้ผู้คนกว่า 420,000 คน ได้ร่วมกันรณรงค์ให้ไทยยูเนี่ยนลงมือยุติการใช้วิธีประมงแบบทำลายล้าง ในฐานะที่เป็นอุตสาหกรรมปลาทูน่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก

การได้นั่งอยู่กลางมหาสมุทรอินเดียในตอนกลางคืน มันเหลือเชื่อมาก คุณรู้สึกได้ถึงความกว้างใหญ่ของทะเลที่อยู่ล้อมรอบ พลังของคลื่นลูกแล้วลูกเล่า ความลึกและความดำมืด ผมอยากให้คุณลองจินตนาการวาดภาพจากที่ที่อยู่ไกลออกไปหลายกิโลเมตร คุณกำลังมองเห็นกลุ่มแสงเรืองรองขนาดใหญ่ตรงเส้นขอบฟ้า และเมื่อเข้าไปใกล้มันมากขึ้น แสงจ้าจากรางไฟที่มีหลอดไฟฟ้ากำลังสูง 80 ดวง ส่องลงไปในน้ำทุกคืน สัตว์ทะเลที่ว่ายวนกันอย่างหนาแน่นใต้น้ำ ถูกล่อเข้าสู่แสงไฟสว่างจ้านั้น

 
นั่นคือสิ่งที่เราพบระหว่างเผชิญหน้ากับเรือเอ็กซ์พลอเรอร์ ทู เรือจับทูน่าขนาดใหญ่ที่จัดหาวัตถุดิบให้กับไทยยูเนี่ยน มันไม่เหมือนเรือลำอื่นๆที่เราเคยเห็น และแสงไฟสว่างจ้านั้นก็น่าจะด้วยเหตุผลอื่น วิธีทำประมงที่กำลังถกเถียงกันอยู่นี้ใช้ไฟล่อสัตว์ทะเลแทบทุกชนิด ก่อนที่เรือประมงลำอื่นๆจะมาวางเบ็ดทุกอย่างที่เกิดขึ้นมันถูกต้องแล้วหรือ นักกิจกรรมบนเรือเอสเพอรันซาปฏิบัติการอยู่ในมหาสมุทรอินเดียมาแล้วห้า สัปดาห์ เพื่อขจัดการทำประมงทำลายล้างออกไปจากสายการผลิตที่จัดส่งวัตถุดิบให้ไทยยูเนี่ยน ทั้งติดตามและเก็บกู้อุปกรณ์จับปลาที่ทำลายล้างออกไปจากทะเล อย่างที่เรากำลังทำกับเรือเอ็กซ์พลอเรอร์ ทู สัตว์ทะเลว่ายวนอยู่ใต้อุปกรณ์ล่อปลาและเรือประมงก็ใช้อวนล้อมจับขึ้นมาทั้ง หมด แต่เรือเอ็กซ์พลอเรอร์ ทู ใช้อุปกรณ์ล่อปลามากขึ้นและเข้าข่ายการประมงเกินขนาด ไม่ใส่ใจต่ออันตรายขั้นรุนแรงที่จะเกิดกับชีวิตสัตว์ทะเล



เรือเอ็กซ์พลอเรอร์ ทู ทำประมงโดยลอยลำอยู่กับที่ ซึ่งไม่เหมือนเรือลำอื่นๆ โดยทอดสมอไว้กับภูเขาใต้น้ำ โกโก้ เดอ แมร์ ทางตอนเหนือของหมู่เกาะซีเชลส์ นั่นคือสิ่งที่เราพบครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งการลอยลำอยู่กับที่ทำให้เรือประมงลำอื่นๆรู้พิกัดที่แน่นอน เรือเอ็กซ์พลอเรอร์ ทู จึงแค่ลอยลำไว้นิ่งๆ ส่องไฟลงไปใต้น้ำเพื่อล่อปลา

ผู้สนับสนุนของเราในอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และอิตาลี ช่วยกันค้นข้อมูล จนได้รู้ว่า เรือเป็นของบริษัทสัญชาติสเปน ชื่ออัลบาโครากรุ๊ป เป็นบริษัทจัดหาวัตถุดิบส่งให้บริษัทไทยยูเนี่ยนและทูน่ากระป๋องที่วางขายใน ยุโรป ทั้ง จอห์น เวสต์ เปอติ นาวีร์ และ มาเรบู สิ่งที่เราพบจึงชี้ชัดได้ว่า เรือเอ็กซ์พลอเรอร์ ทู เกี่ยวข้องกับการทำประมงอย่างไม่เอาใจใส่ เข่นฆ่าสัตว์ทะเลโดยไม่เลือก ทำประมงเกินขนาดด้วยการจับปลาไปแทบหมดมหาสมุทร และเบียดเบียนวิถีชีวิตของชุมชนประมงท้องถิ่น


เราไม่อาจแล่นเรือผ่านไปได้และปล่อยให้ทำประมงเช่นนี้เกิดขึ้นต่อไป เราจึงต้องเผชิญหน้ากับเรือประมง ดับไฟล่อปลาด้วยการทาสีทับหลอดไฟ และถอนสมอเรือจากดอนใต้น้ำ เรือประมงไม่ชอบวิธีการนี้ของเราและพยายามแล่นเรือหลบเลี่ยง

วันนี้ ที่การประชุมสุดยอดทางการเมืองว่าด้วยการทำประมงทูน่า มีประกาศห้ามใช้ไฟล่อปลาบนเรือประมงอย่างเอ็กซ์พลอเรอร์ ทู

เราจะรู้สึกตัวเล็กนิดเดียวเมื่ออยู่กลางทะเลที่กว้างใหญ่ แต่เราในฐานะมนุษย์ที่กำลังสร้างผลกระทบมหาศาล ผู้คนหลายแสนคนกำลังเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเพื่อแสดงความเคารพต่อมหาสมุทรของเรา นั่นคือความโชคดีที่เราได้มีโอกาสทำ

แล้วคุณจะไม่ร่วมต่อสู้ไปกับเราหรือ?


ทอม โลว บรรณาธิการมัลติมีเดีย กรีนพีซสากล ปฏิบัติการจากเรือเอสเพอรันซา




ข้อมูลอ้างอิง : รวบรวมเอกสารข้อมูลจาก Greenpeace Thailand

http://www.greenpeace.org/seasia/th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น