ปลาเก๋าแดง
ชื่อสามัญ RED-BANDED GROUPER
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Epinephelus fasciatus (Forskal)
ถิ่นอาศัย หากินอยู่ตามกองหินและแนวปะการัง พบแพร่กระจายทั่วไป ด้านทะเลอันดามันและอ่าวไทย
ลักษณะ ปลาเก๋าแดงรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว แบนข้าง หัวโต จะงอยปากสั้น นัยน์ตาโต ปากกว้างและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ฟันซึ่งมีอยู่ตรงขากรรไกรบนและล่างมีลักษณะเป็นเขี้ยวยาวและคม ครีบหลังยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งยาวกว่าส่วนที่เป็นก้านครีบฝอย ส่วนหน้าของครีบก้นมีก้านแข็งเป็นหนามแหลม ครีบหางมนกลม พื้นตัวมีทั้งสีแดงสด สีชมพูอ่อน และน้ำตาลปนแดง ขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมและขนาดของปลา ข้างตัวมีแถบสีแดงปนน้ำตาล 5 แถบ ขอบครีบหลังที่เป็นก้านครีบแข็งมีสีแดงปนน้ำตาล เกล็ดเล็กละเอียด
ขนาด ความยาวประมาณ 15-90 เซนติเมตร
อาหาร กินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ดี
เรื่องเกี่ยวกับเรือ ท่องเที่ยว และอื่นๆ ชายผู้หลงรัก ท้องทะเล ท้องฟ้า และ ดวงดาว
วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558
ปลาเก๋าแดง
ป้ายกำกับ:
ขนาด L,
ขนาด M,
ขนาด S,
ปลาเก๋าแดง,
ปลาทะเลไทย,
ป้อมยาว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น