กระโจมไฟ พาหุรัตน์ เกาะจวง (อดีด ประภาคารพาหุรัตน์)
คุณสมบัติ
รูปแบบไฟ แบบที่ 1 : Group Flashing
ระยะเวลากระพริบ : 2 วับ ทุก 20 วินาที
สีของแสงไฟ : สีขาว
ครอบคลุมระยะ : 29nm (53.52 km)
รูปแบบไฟ แบบที่ 2 : Fixed
ความสูงจากฐาน : 130m
สีของแสงไฟ : สีแดง
ครอบคลุมระยะ : 8nm (14.52 km)
ประวัติ
ในปี พ.ศ.2440 ได้มีการสร้างประภาคารขึ้นอีกหนึ่งหลังที่เกาะจวงเป็นประภาคารที่ตั้งอยู่บน ยอดเกาะ มีกำลังส่องสว่างมากที่สุด ในบรรดาประภาคารที่สร้างขึ้นในสยามสมัยนั้น เห็นได้ไกลถึง 29 ไมล์ และยังมีไฟสีแดงที่ส่องไปยังหินฉลาม มองเห็นได้ไกล 8 ไมล์ บรรดาเรือใหญ่ที่เดินทางจากภาคตะวันออก หรือภาคตะวันตกของอ่าวไทยได้อาศัยเป็นที่หมาย มุ่งมายังประภาคารนี้ก่อน ประภาคารแห่งนี้มีชื่อเป็น ทางการว่า “ประภาคารพาหุรัตน์” ชื่อนี้ตั้งขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติ แด่พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพาหุรัตน์มณีมัย ในรัชกาล ที่ 5แต่เดิมใช้น้ำมันก๊าดปีละประมาณ 150 ปีบ เพื่อจุดไฟ ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2504 ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบก๊าซอเซทีลีน และเปลี่ยนมาใช้ตะเกียงระบบไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประจำประภาคาร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2516 ตะเกียงเป็นเลนส์หมุน และเป็นไฟสีขาว 2 วับทุก ๆ 20 วินาที สูง 143เมตร มองเห็นไกล 29ไมล์ เนื่องจากการเดินทางไป - มา ระหว่างฝั่งกับเกาะจวงและความเป็นอยู่ของเจ้าหน้าที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในขณะนั้น จึงได้อนุมัติให้ปรับสถานะของประภาคารเกาะจวง เป็นกระโจมไฟเกาะจวง และให้กระโจมไฟชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นประภาคารชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ตั้งแต่ วันที่ 29มีนาคม พ.ศ.2547
เรื่องเกี่ยวกับเรือ ท่องเที่ยว และอื่นๆ ชายผู้หลงรัก ท้องทะเล ท้องฟ้า และ ดวงดาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น