ศีลอด หรือ ศิยาม ในภาษาอาหรับ หมายถึง การอดอาหารและเครื่องดื่ม และการเสพกาม ตั้งแต่ยามรุ่งอรุณ จนกระทั่งถึงเวลาหลังตะวันตกดิน
เดือนรอมฎอน นับได้ว่าเป็นเดือนที่ยิ่งใหญ่เดือนหนึ่งของอิสลาม ซึ่งอัลกุรอานได้กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของเดือนรอมฎอนนี้ไว้ว่า เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาในเดือนนี้ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นอยู่ที่เป้าหมายของการประทานต่างหาก ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการประทานอัลกุรอานนี้ ก็เพื่อให้ใช้คัมภีร์นี้เป็นเครื่องนำทาง และเป็นข้อจำแนกแยกแยะสิ่งถูกสิ่งผิดแก่มนุษยชาติ ให้มนุษย์มุ่งสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ และหากมนุษย์เดินตามหนทางเช่นนี้ ก็จะได้รับความผาสุกทั้งโลกนี้และปรโลก
ดังนั้น เดือนรอมฎอน จึงถือเป็นเดือนที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และจูงใจให้ผู้ศรัทธาทำความดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดือนอื่น ๆ และการถือศีลอดนี่เองก็เป็นหนทางหนึ่ง ที่จะทำให้ชาวมุสลิมสามารถมุ่งไปสู่จุดสูงสุดของความเป็นมนุษย์ได้แท้จริง
การถือศีลอดเป็นบัญญัติ 1 ใน 5 ของอิสลาม ศีลอด หรือที่เรียกว่า "การถือบวช" ตามการเรียกที่คนไทยนิยมเรียกกัน เป็นศีลคล้ายๆ ศีล 5 ของพี่น้องชาวพุทธ แต่ศีลของอิสลามนั้นไม่ปฏิบัติไม่ได้ มุสลิมทุกคนที่บรรลุศาสนภาวะแล้วจำเป็น (วายิบ) ต้องปฏิบัติศีลข้อนี้โดยเคร่งครัด ยกเว้นคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย คนชรา หญิงมีครรภ์ เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ
การกำหนดเดือนอาศัยการดูดวงจันทร์เป็นสำคัญ การเห็นจันทร์เสี้ยวแรกนั้นหมายถึงค่ำนั้นเป็นค่ำของวันใหม่และขึ้นเดือนใหม่ด้วย ซึ่งก็คือ วันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ของปีฮิจเราะห์ศักราช ด้วย
การถือศีลอดเป็นการฝึกหัดร่างกาย ให้รู้จักอดทน อดกลั้น ต่อความยากลำบาก เพื่อให้เข้าใจสภาพอันแท้จริงของผู้ที่อัตคัดขัดสน คนที่อดอยาก ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นการขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์และมีคุณธรรม
เนื่องจากการดูวันแรกของเดือนรอมฏอน จะใช้วิธีการดูดวงจันทร์ โดยนับจากการเห็นดวงจันทร์เสี้ยวแรกของเดือน ก็จะกำหนดให้วันนั้นเป็นวันที่ 1 ของเดือนรอมฏอน
แต่เนื่องจากโลกกลม และมีส่วนโค้งของโลกบดบังดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ การเห็นดวงจันทร์เสี้ยวแรก จังหวัดที่จะเห็นดวงจันทร์ก่อนในประเทศไทย คือ จังหวัดตราด ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ทางด้านตะวันออกที่สุด เราจึงสามารถใช้ตารางน้ำชาวเล ช่วยในการดูพระจันทร์ ที่ใช้กำหนดเป็นวันเริ่มต้นของเดือนรอมฏอนได้
ตัวอย่าง ตารางน้ำชาวเล แหลมงอบ
จะสังเกตุว่า ปีนี้เป็นปีที่เห็นดวงจันทร์ยาก จริงๆ แล้ว วันเริ่มต้นเดือนรอมฏอนจะต้องเป็น วันที่ 6 มิถุนายน 2016 เพราะเป็นวันแรกที่ดวงจันทร์เป็นจันทร์เสี้ยว แต่จะมองเห็นดวงจันทร์เสี้ยวได้ยากเพราะ
วันที่ 6 มิถุนายน 2016 ดวงจันทร์ขึ้นตอนเช้าเวลา 06:45 น. แต่ดวงอาทิตย์ขึ้นเช้าตอนเวลา 05:45 น. ดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนดวงจันทร์ ทำให้มองไม่เห็นดวงจันทร์ และดวงจันทร์ตกตอนเย็นเวลา 19:48 น. แต่ดวงอาทิตย์ตกเย็นตอนเวลา 18:33 น. ดวงอาทิตย์ตกก่อนดวงจันทร์เพียง 45 นาที กว่าท้องฟ้าจะมืดก็เลยยากที่จะเห็นพระจันทร์เสี้ยวแรก
ตัวอย่างภาคใต้ ตารางน้ำชาวเล ปากน้ำบางนรา นราธิวาส
ที่นราธิวาส ถือว่าเป็นภาคใต้ของประเทศไทยที่อยู่ด้านตะวันออกมากที่สุด จึงจะเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนในภาคเดียวกันของภาคใต้
วันที่ 6 มิถุนายน 2016 ดวงจันทร์ขึ้นตอนเช้าเวลา 06:56 น. ดวงอาทิตย์ขึ้นเช้าตอนเวลา 05:57 น. ดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนดวงจันทร์อีก ก็ทำให้มองไม่เห็นดวงจันทร์อีกแล้ว และดวงจันทร์ตกตอนเย็นเวลา 19:42 น. ดวงอาทิตย์ตกเย็นตอนเวลา 18:26 น. ดวงอาทิตย์ตกก่อนดวงจันทร์ 44 นาที กว่าท้องฟ้าจะมืดก็เลยไม่เห็นพระจันทร์เสี้ยวแรกอีก ก็ยากที่จะเห็นอีก...
ดังนั้น ... เราจึงเห็นดวงจันทร์เสี้ยวที่สองได้ง่ายกว่า ดวงจันทร์เสี้ยวแรก ซึ่งเพราะมีเวลาต่างกันมากขึ้นในตอนดวงจันทร์ตกเวลา 20:39 น. และพระอาทิตย์ตกเวลา 18:26 น ในวันที่ 7 มิถุนายน 2559.
ทางสำนักจุฬาราชมนตรี จึงประกาศว่า วันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1437 ตรงกับวันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2559
จะเห็นว่า ตารางน้ำชาวเล นอกจากจะใช้คาดการณ์ระดับน้ำแล้ว ยังสามารถบอกรายละเอียดสิ่งต่างๆ ได้อีกหลายอย่าง แล้วแต่การประยุกต์ใช้งาน ตัวอย่างงานที่ใช้ประโยชน์จากตารางน้ำชาวเล
- การแต่งงานกับตารางน้ำ
- การเลี้ยงสัตว์ทะเล
- การตกปลา และการจับสัตว์ทะเล
- งานถ่ายรูป นิตยสาร วารสาร น้ำขึ้น-น้ำลง จะให้รูปที่สวยไม่เหมือนกัน แสงพระอาทิตย์ แสงพระจันทร์ ทำให้เกิดอารมณ์ และสุนทรียภาพต่างกัน
- งานสิ่งก่อสร้างริมทะเล
- ฯลฯ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง : ตารางน้ำชาวเลรายชั่วโมง <=คลิก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น