วิธีดู สึนามิ แบบชาวเรือ
- ถ้าเราอยู่ในทะเลที่น้ำลึกๆ ถ้าเกิดสึนามิ ยากมากที่จะรู้ว่ามีสึนามิเพราะคลื่นจะสูงขึ้นเพียง 1 ฟุตเท่านั้นเอง แถมเป็นคลื่นยาวซะอีก นั่นหมายความว่าถ้าอยู่ในทะเลลึกจะปลอดภัย แต่จะอันตรายสำหรับคนที่อยู่บนฝั่ง ดูรูปประกอบรูปคลื่น
- ถ้าอยู่บนฝั่ง ก่อนเกิดจะ สังเกตุได้ว่าน้ำจะลดมากผิดปรกติอย่างรวดเร็ว ถ้าเห็นแบบนี้ให้วิ่งไปที่สูงโดยเร็ว เพราะอีกสักพักจะมีคลื่นขนาด 5 เมตรเข้ามา ก็ประมาณตึกชั้น 2 ส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตเกิดจาก จมน้ำ ขาดอากาศหายใจ หรือได้รับบาดเจ็บจากวัสดุต่างๆ ที่พัดมากับน้ำ
โชคดีที่ไม่มีใครคิดอาวุธสร้างคลื่นความถี่ต่ำใต้ท้องทะเลได้ ไม่งั้นเกาะทั้งเกาะ แผ่นดินทั้งผื่นสามารถจมใต้น้ำได้
ทะเลอันดามันจะมี ความเสี่ยงอยู่บ้างในเรื่อง Tsunami แต่โอกาศที่จะเกิด มันไม่บ่อย บางครั้งใน 1 ชีวิตของเราอาจจะเห็นได้แค่ครั้งเดียว แต่เพื่อความไม่ประมาท ลองมาดูกันว่า อะไรบ้างที่ ทำให้เกิดสึนามิ แล้วเราจะป้องกันอย่างไร
สาเหตุที่ทำให้เกิดสึนามิ
1.เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกอย่างฉับพลัน
2.แผ่นดินถล่มใต้ท้องทะเล
3.ลูกอุกกาบาตขนาดใหญ่ตกใส่ท้องทะเล
ลักษณะที่แตกต่างของคลื่นสึนามิ กับคลื่นทะเลทั่วไป คือความยาวคลื่น กับความเร็วคลื่น
-คลื่นทะเลเกิดจาก ลมพัดน้ำที่อยู่บนติดผิวน้ำ มีคาบเวลาเดินทางจากคลื่นหนึ่งไปอีกคลื่นหนึ่ง ประมาณ 20-30 วินาที หรือมีความยาวคลื่นเพียง 100-200 เมตร จำง่ายๆ มันจะเป็นคลื่นสั้นๆ ระลอกสั้นๆ
-คลื่นสึนามิเป็นคลื่นน้ำลึก อยู่ใต้ทะเล มีคาบเวลาจาก 10 นาที - 2 ชั่วโมง ต่อหนึ่งลูกคลื่น ความยาวคลื่นมากกว่า 500 กม. เป็นคลื่นยาว
ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิง
เนื่องจากคลื่นสึนามิ มีความยาวคลื่นมาก จึงสูญเสียพลังงานน้อยมากขณะที่เคลื่อนตัวผ่านมหาสมุทร โดยแปรผันจากความลึกยิ่งลึกยิ่งแรง โดยมีตัวคูณคือแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้มีพลังมหาศาลมาก ที่ความลึก 6 กม สึนามีจะเดินความด้วยความเร็ว 800 กม/ชั่วโมง ก็ประมาณความเร็วเครื่องบินทีเดียว สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
ส่วนใหญ่มนุษย์จะประยุกต์คลื่นความถี่สูงมาใช้มาก เช่น ไมโครเวฟ วิทยุ โทรศัพท์ Gps Sounder TV Computer แต่จะมีอุปกรณ์คลื่นความถี่ต่ำน้อย
วิทยุเดินเรือ ที่ส่งไกลๆ ใช้วัตต์น้อยๆ จะใช้คลื่นความถี่ต่ำ เพราะการลดทอนน้อยมากนั่นเอง หรือนึกถึงวิทยุ Am กับ Fm ก็ได้ครับ
มาตรการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ
2.เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน ให้เตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้โดยด่วน
3.สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่งหากทะเลมีการลดระดับของน้ำลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยงให้อยู่ห่างจากฝั่งมาก ๆ และอยู่ในที่ดอนหรือที่น้ำท่วมไม่ถึง
4.ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่าจะเกิดคลื่น สึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมาก ๆ จะมีขนาดเล็ก
5.คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอซักระยะเวลาหนึ่งจึงสามารถลงไปชายหาดได้
6.ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
7.หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรงในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องคลื่นสึนามิ
8.หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง
9.วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่นกำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น
10.จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง
11.ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหว
12.วางแผนล่วงหน้าหากเกิดสถานะการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณะสุข การรื้อถอนและฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
13.อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะหลบหนีได้ทัน
14.คลื่นสึนามิในบริเวณหนึ่ง อาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาทให้เตรียมพร้อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น