ท่าเทียบเรือ ร่องน้ำคุระบุรี (Estuary Khuraburi Port)
ข้อมูลร่องน้ำ และท่าเทียบเรือ สำรวจโดย เรือ ต.96
1. ท่า เทียบ เรือ C- 110 C- 141 C- 110 ท่าเทียบเรือประมง อ. คุระบุ รี จ. พังงา เกาะรา ( รา ) เกาะ จง
2. วันที่สำรวจ 30 เม. ย. 54 โดย เรือ ต. 96 ลักษณะน้ำ / ลม / มาตราน้ำ / ข้างขึ้น - แรม ขณะน้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัว ความสูงน้ำ 3. 8 เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ทะเลมีคลื่นเล็กน้อย ความเร็วลม 5 - 6 น็อต ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3. ข้อมูลการนำเรือที่เกี่ยวข้อง แผนที่ที่เกี่ยวข้อง แผนที่ 332 เกาะพระทอง ตำบลที่ ท่าเทียบเรือประมง อ. คุระบุรี จ. พังงา ทุ่นไฟปากร่อง ไม่มี
4. ท่า เทียบ เรือ C- 110 C- 141 C- 110 เกาะรา ( รา ) เกาะ จง
5. การนำเรือเข้าเทียบ / ออกจากเทียบ เข็มเข้าเข็มแรก ( แดง ) ถือเข็ม 110 นำเรือเฉียดปลายด้าน ทิศเหนือของ ก. รา ประมาณ 1000 หลา ถือเข็มนี้ไปจนแบริ่ง ปลาย ก. รา ได้ 250 ระยะ 1600 หลา จึงเปลี่ยนไปถือเข็ม ใหม่ เข็มที่สอง ( เหลือง ) ถือเข็ม 141 ใช้เกาะจงเป็น HEADMARK ซึ่งถ้าไม่สามารถมองเห็นเกาะจงได้ ให้ใช้การ รักษาระยะจากเกาะราเป็นหลัก เมื่อห่างจากเกาะจง ประมาณ 1.2 ไมล์ให้เปลี่ยนไปถือเข็มประมาณ 110 หรือประมาณท้าย เรือเกือบจะตรงกับบ้านหลังคาแดงบนเกาะรา ให้พยามนำเรือ ชิดขอบฝั่งทางด้านซ้ายไว้จะปลอดภัยอย่านำเรือกลางร่องเป็น เด็ดขาดเนื่องจากมีที่ตื้น ( สันทรายกลางร่อง ) ระยะเฉียดประมาณ 40 - 80 หลา แต่ไม่ต้องชิดซ้ายมากนัก เนื่องจากปลายแหลม ตามรูปที่ 1 มีสันทรายยื่นออกมาสังเกตได้จากรูป เมื่อพ้นปลาย แหลมแล้วจึงนำเรือชิดซ้ายตามที่กล่าวไว้ เมื่อนำเรือได้เกือบ ครึ่งทางจะสังเกตเห็นทางฝั่งซ้ายจะมีเนินเขาตาม ซึ่งเมื่อถึง บริเวณนี้ให้ระลึกเสมอว่าถ้าที่เรือตกไปทางขวาจะเกิดอันตราย มากเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีสันทรายอยู่ ระยะเฉียดบริเวณนี้ ควรเฉียดขอบฝั่งอย่างน้อยประมาณ 40 หลา หลังจากนั้นจะพบ คลองแยกไปทางซ้ายมือ บริเวณนี้ให้ระมัดระวังที่ตื้นบริเวณ ปากคลองควรจะเปลี่ยนเข็มไปทางขวาเล็กน้อยเพื่อหลบที่ตื้น บริเวณปากคลองดังกล่าว และจะมองเห็นท่าเทียบเรือประมงอยู่ ตรงหัวเรือ
6. สัน ทราย
7. เกาะจง
8. บ้าน หลังคา แดง
9. เนินเขาอยู่บนฝั่งทางซ้าย ของร่องขาเข้า
10. คลองทางด้านซ้ายมือ
11. ท่าเทียบ เรือ
12. ข้อแนะนำในการเข้าร่องน้ำคุระบุรี ท่าเทียบเรือประมง เรือ ตกฝ. ตกช. ควรนำเรือเข้าเทียบเฉพาะ ในช่วงที่ระดับน้ำขึ้นสูงเท่านั้น ร่องน้ำช่วงนำ เรือเข้าระดับน้ำจะลึกแต่พอนำเรือไปจนถึง ช่วงก่อนที่จะเข้าเทียบท่าเรือน้ำจะตื้น ประมาณ 2-3 เมตร ในร่องน้ำไม่มีทุ่นไฟแสดงขอบเขตของร่องน้ำ ในช่วงที่มีคลื่นลมแรงให้ระมัดระวังเรือประมง ที่เข้ามาทอดสมอหลบอยู่หลัง ก. รา ระวังกระแสน้ำในช่วงน้ำขึ้นน้ำลงที่มีกำลัง ค่อนข้างแรงซึ่งมีผลต่อการนำเรือเข้าเทียบ
13. ตกฝ., ตกช., สามารถจอดเทียบได้ สามารถจอดเทียบได้ทั้งเวลาน้ำขึ้นและน้ำ ลง น้ำลึกบริเวณท่าเรือประมาณ 2.5 เมตร ไม่สะดวกในการจอดเทียบเป็นเวลานาน เนื่องจากเป็นท่าเรือประมงจะมีเรือประมง เข้าและออกอยู่ตลอดเวลา จึงต้องทำการ เลื่อนเรืออยู่เสมอ ใช้จอดเทียบเพื่อหลบคลื่นลมในเวลาที่ คลื่นลมแรง เมื่อนำเรือถึงท่าเทียบท่าเรือประมงก่อนที่ จะเข้าเทียบ ให้นำเรือขนานกับหลักนำ ห่างจากหลักนำอย่างน้อย 50 หลา
14. การติดต่อสื่อสาร - ไม่มี สิ่งอำนวยความสะดวก - ระบบไฟฟ้าไม่มี - ระบบประปาไม่มี - น้ำมันเชื้อเพลิงไม่มี
เรื่องเกี่ยวกับเรือ ท่องเที่ยว และอื่นๆ ชายผู้หลงรัก ท้องทะเล ท้องฟ้า และ ดวงดาว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น